ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๔/๒๕๕๗

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ฉบับที่ ๓๔/๒๕๕๗
เรื่อง ขอความร่วมมือในการปฏิบัติของศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น




เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด จึงให้ปรับปรุงโครงสร้างส่วนการจัดงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ดังนี้

๑.   ให้ปรับปรุงโครงสร้างการจัดส่วนงานของสำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (สลธ.คสช.) ดังนี้

  ๑.๑   ให้ยกเลิกโครงสร้างการจัดส่วนงานของ สลธ.คสช. ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

  ๑.๒   ให้ใช้โครงสร้างของ สลธ.คสช. (ผนวก ก โครงสร้าง สลธ.คสช.) โดยประกอบไปด้วย ๒ ส่วนงานดังนี้

  ๑.๒.๑   ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย (สรส.): มี พลเอก อักษรา เกิดผล เสนาธิการทหารบก เป็นผู้อำนวยการส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.สรส.) และพลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองเสนาธิการทหารบก เป็นรองผู้อำนวยการส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย (รอง ผอ.สรส.) มีหน้าที่ในการวางแผน อำนวยการ ควบคุม และกำกับดูแลการปฏิบัติภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่รับผิดชอบของ คสช.

  ๑.๒.๑   ส่วนงานการบริหารราชการ (สบร.): มีพลโท ชาตอุดม ติดถะศิริ รองเสนาธิการทหารบก เป็นผู้อำนวยการส่วนการบริหารราชการ (ผอ.สบร.) และ พล.ท. อนันตพร กาญจนรัตน์ ปลัดบัญชีทหารบก เป็นรองผู้อำนวยการส่วนการบริหารราชการ (รอง ผอ.สบร.) มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารราชการของฝ่ายต่าง ๆ ของ คสช. และหน่วยงาน/ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ หน.คสช.

๒.   ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นส่วนราชการที่ขึ้นตรงกับหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๑/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗.



๓๓/๒๕๕๗ ขึ้น ๓๕/๒๕๕๗

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"