ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙/๒๕๕๗

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ฉบับที่ ๔๙/๒๕๕๗
เรื่อง ความผิดสำหรับการสนับสนุนการชุมนุมทางการเมือง




ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ เรื่อง ห้ามชุมนุมทางการเมือง โดยกำหนดห้ามมิให้มั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไปนั้น เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศดังต่อไปนี้

โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลชุมนุมทางการเมืองฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติข้างต้น โดยมีบุคคลกระทำการอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิด โดยการอนุญาตให้ใช้สถานที่ หรือสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการชุมนุมทางการเมือง เช่น เครื่องขยายเสียง เต็นท์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือการกระทำโดยประการอื่น ให้ผู้กระทำการในลักษณะดังกล่าวระงับหรือยุติกระทำการทันที มิเช่นนั้น ผู้กระทำการดังกล่าวอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายในฐานะผู้สนับสนุนผู้กระทำความผิด ซึ่งต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้ตามประกาศข้างต้น และอาจถูกริบทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวด้วย

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๐๐ ง/หน้า ๑/๕ มิถุนายน ๒๕๕๗.



๔๘/๒๕๕๗ ขึ้น ๕๐/๒๕๕๗

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"