ข้ามไปเนื้อหา

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ ฉบับที่ 33

จาก วิกิซอร์ซ
(เปลี่ยนทางจาก ประกาศ คปค. ฉบับที่ ๓๓)

เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๐๕ ก

๓ ตุลาคม ๒๕๔๙
หน้า ๒๘
ราชกิจจานุเบกษา

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ ๓๓
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก
และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกี่ยรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อในระเบียบนี้

"เครื่องราชอิสริยาภรณ์" หมายความว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ตามกฎหมายว่าด้วยเคื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย แล้วแต่กรณี

"ข้าราชการการเมือง" หมายความถึง บุคคลซึ่งเป็นหรือถือว่าเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการการเมืองหรือกฎหมายอื่น

"ข้าราชการ" หมายความว่า ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ยกเว้นข้าราชการการเมือง และให้หมายความรวมถึงข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฏหมายว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น"

ข้อให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานหรือองค์การของรัฐ รวมทั้งบุคคลที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ยกเว้นการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามมติคณะรัฐมนตรี"

ข้อให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๖/๑ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖

"ข้อ๑๖/๑ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้เสนอรายชื่อผู้ที่สมควรขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

(๑)ประธานองค์กรอิสระตามกฎหมาย สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กร

(๒)เลขาธิการหรือหัวหน้าหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามกฎหมายสำหรับพนักงานในองค์กร

(๓)ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารสูงสุดขององค์การมหาชน สำหรับเจ้าหน้าที่ในองค์การ

การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้กับคู่สมรสของบุคคลที่มีสิทธิได้รับพระราชทานตามบัญชีแนบท้าย ให้ผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) เป็นผู้เสนอ

ให้ผู้เสนอรายชื่อผู้ที่สมควรขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามวรรคหนึ่ง (๒) และ (๓) ดำเนินการตามข้อ ๑๗ โดยอนุโลม"

ข้อให้ยกเลิกความในข้อ ๒๒ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ๒๒ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน พนักงานองค์การของรัฐ หรือพนักงานหน่วยงานของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน พนักงานหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามกฎหมาย และบุคคลหรือพนักงานอื่นที่ต้องพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่เพราะเกษียณอายุในปีใด หากเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อยู่ก่อนการพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้มีสิทธิได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในปีที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นด้วย"

ข้อให้ยกเลิกความในข้อ ๒๓ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ๒๓ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

(๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) รองนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ
(๓) รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวน ๕ คน เป็นกรรมการ
(๔) เลขาธิการพระราชวัง เป็นกรรมการ
(๕) ราชเลขาธิการ เป็นกรรมการ
(๖) เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการ
(๗) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ
(๘) รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
(๙) ผู้อำนวยการสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายทุกชั้นตราแก่บุคคลที่สมควรขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่ำกว่าสายสะพายแก่บุคคลดังต่อไปนี้ด้วย

(๑)องคมนตรี

(๒)ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

(๓)ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามกฎหมาย

(๔)ข้าราชการการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร

(๕)คู่สมรสของผู้ดำรงตำแหน่งตามบัญชีท้ายระเบียบที่มีสิทธิได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทาน

ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อกลั่นกรอง ตรวจสอบหรือดำเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย"

ข้อให้ยกเลิกความในข้อ ๒๔ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ๒๔ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่ำกว่าสายสะพายคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

(๑) รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวงที่ประธานกรรมการแต่งตั้ง จำนวน ๕ คน เป็นกรรมการ
(๓) เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการ
(๔) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการ
(๕) รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นกรรมการ
(๖) ผู้อำนวยการสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ
(๗) ข้าราชการในสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นกรรมการเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่ำกว่าสายสะพายทุกชั้นตรา

ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อกลั่นกรอง ตรวจสอบหรือดำเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย"

ข้อให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๓๐/๑ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖

"ข้อ๓๐/๑ข้าราชการที่เปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย ให้เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่อไปได้เสมือนเป็นข้าราชการในตำแหน่งที่ดำรงอยู่ก่อนเปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย"

ข้อให้ยกเลิกบัญชี ๘ บัญชี ๙ และบัญชี ๑๔ ท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้บัญชี ๘ บัญชี ๙ และบัญชี ๑๔ ท้ายประกาศนี้แทน

ข้อให้เพิ่มบัญชี ๒๕ ถึงบัญชี ๓๘ ท้ายประกาศนี้เป็นบัญชีท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖

ข้อ๑๐กรณีไม่มีหลักเกณฑ์ในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่บุคคลใด ให้คณะกรรมการตามข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔ พิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายระเบียบโดยอนุโลม

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

บัญชี 8
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการทหาร
ลำดับ ยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี ร.ง.ม. - ขอพระราชทานได้เฉพาะกรณีพิเศษเท่านั้น
  1. ต้องมีระยะเวลารับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์นับตั้งแต่วันเริ่มเข้ารับราชการจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
  2. ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหาร ให้นับเวลาราชการตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน
  3. เกณฑ์การขอพระราชทานที่กำหนดไว้ตามชั้นยศให้รวมถึงว่าที่ยศนั้น ๆ ด้วย
  4. ลำดับ 6 ซึ่งกำหนดระยะเวลาเลื่อนชั้นตรา 5 ปี หมายถึงต้องดำรงชั้นยศนั้น ๆ รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
2 สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท ร.ง.ช.
3 สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก ร.ท.ม.
4 - จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี
- จ่าสิบโท พันจ่าโท พันจ่าอากาศโท
- จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก
ร.ท.ช. บ.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ร.ท.ช.
  2. ได้ ร.ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ม.
5 จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก อัตราเงินเดือน จ่าสิบเอกพิเศษ พันจ่าเอกพิเศษ พันจ่าอากาศเอกพิเศษ ร.ท.ช. จ.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ร.ท.ช.
2. ได้ ร.ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ม.
3. ได้ บ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ขอ บ.ช.
4. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
6 ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี บ.ม. จ.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน บ.ม.
  2. ดำรงตำแหน่ง ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ช.
  3. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
7 ร้อยโท เรือโท เรืออากาศโท จ.ม.
8 ร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก จ.ช.
9 พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี ต.ม.
10 พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ต.ช.
11 พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ท.ม.
12 พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือน พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ท.ช.
13 พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือน พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ท.ช. ป.ม.
  1. ดำรงตำแหน่งบังคับบัญชา
  2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
  3. ให้ขอได้ในปีก่อนปีเกษียณอายุราชการหรือในปีที่เกษียณอายุราชการเท่านั้น
14 พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือน พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ
- เงินเดือนขั้นต้นของพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
ท.ช. ป.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ช.
  2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
  3. ได้รับเงินเดือนขั้นต้นของพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
15 พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือน พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ
- เงินเดือนขั้นต้นของพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
- ดำรงตำแหน่งรอง, เสนาธิการ, รองเสขาธิการ ของหน่ายงานที่มีผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้นยศ พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือ
- ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกรม, ผู้บังคับการจังหวัดทหารบก, ผู้บังคับหมวดเรือ, ผู้บังคับกองบิน, ราชองครักษ์ประจำ, ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร, ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก, ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ, ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศ, ตุลาการพระธรรมนูญประจำสำนักตุลาการทหาร, ตุลาการพระธรรมนูญฝ่ายศาลทหารสูงสุด, ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าคณะฝ่ายศาลทหารกลาง, ตุลาการพระธรรมนูญรองหัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ, อัยการศาลทหารกรุงเทพ, อัยการฝ่ายอุทธรณ์และฎีกา หรือ
- ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง, นายทหารฝ่ายเสนาธิการ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งดังกล่าว
ท.ช. ป.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ช.
  2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
16 พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ม.ว.ม.
  1. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
  2. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
  3. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
  4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก
- ลำดับ 16–18 การขอกรณีปีที่เกษียณอายุราชการตามข้อ 4 ให้ขอปีติดต่อกันได้
17 พลโท พลเรือโท พลอากาศโท ม.ป.ช.
  1. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
  2. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
  3. ได้ ม.ว.ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
  4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. เว้นกรณีลาออก
18 พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ม.ป.ช.
  1. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
  2. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
  3. ได้ ม.ว.ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
  4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา

บัญชี 9
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการตำรวจ
ลำดับ ยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 สิบตำรวจตรี ร.ง.ม. - ขอพระราชทานได้เฉพาะกรณีพิเศษเท่านั้น
  1. ต้องมีระยะเวลารับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์นับตั้งแต่วันเริ่มเข้ารับราชการจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
  2. ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนตำรวจ ให้นับเวลาราชการตั้งแต่วันเริ่มเข้ารับราชการตำรวจในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน
  3. เกณฑ์การขอพระราชทานที่กำหนดไว้ตามชั้นยศให้รวมถึงว่าที่ยศนั้น ๆ ด้วย
  4. ลำดับ 6 ซึ่งกำหนดระยะเวลาเลื่อนชั้นตรา 5 ปี หมายถึงต้องดำรงชั้นยศนั้น ๆ รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
2 สิบตำรวจโท ร.ง.ช.
3 สิบตำรวจเอก ร.ท.ม.
4 จ่าสิบตำรวจ ร.ท.ช. บ.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ร.ท.ช.
  2. ได้ ร.ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ม.
5 - จ่าสิบตำรวจ อัตราเงินเดือน จ่าสิบตำรวจพิเศษ
- ดาบตำรวจ
ร.ท.ช. จ.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ร.ท.ช.
  2. ได้ ร.ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ม.
  3. ได้ บ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ขอ บ.ช.
  4. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
6 ร้อยตำรวจตรี บ.ม. จ.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน บ.ม.
  2. ดำรงตำแหน่ง ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ช.
  3. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
7 ร้อยตำรวจโท จ.ม.
8 ร้อยตำรวจเอก จ.ช.
9 พันตำรวจตรี ต.ม.
10 พันตำรวจโท ต.ช.
11 พันตำรวจเอก ท.ม.
12 พันตำรวจเอก อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ ท.ช.
13 พันตำรวจเอก อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ ป.ม.
  1. ดำรงตำแหน่งบังคับบัญชา
  2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
  3. ให้ขอได้ในปีก่อนปีเกษียณอายุราชการหรือในปีที่เกษียณอายุราชการเท่านั้น
- ลำดับ 16–18 การขอกรณีปีที่เกษียณอายุราชการตามข้อ 4 ให้ขอปีติดกันได้
14 พันตำรวจเอก
อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ
เงินเดือนขั้นต้นของพลตำรวจตรี
ท.ช. ป.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ช.
  2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
  3. ได้รับเงินเดือนขั้นต้นของพลตำรวจตรี มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
15 พันตำรวจเอก
- อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ เงินเดือนขั้นต้นของพลตำรวจตรี
- ดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการ
ท.ช. ป.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ช.
  2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
16 พลตำรวจตรี ม.ว.ม.
  1. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
  2. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
  3. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
  4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก|-style="vertical-align:top;"
17 พลตำรวจโท ม.ป.ช.
  1. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
  2. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม
  3. ได้ ม.ว.ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
  4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. เว้นกรณีลาออก
18 พลตำรวจเอก ม.ป.ช.
  1. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
  2. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
  3. ได้ ม.ว.ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
  4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา

บัญชี 14
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน พนักงานองค์การของรัฐ หรือพนักงานหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่น ๆ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 หัวหน้าแผนก บ.ม. จ.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทานตามตำแหน่ง
  2. การขอพระราชทานเลื่อนชั้นตรา เว้นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ตามลำดับถึงเกณฑ์ชั้นสูงสุดของตำแหน่ง
  3. ลำดับ 5 ได้ ท.ช. 3 ปี ขอ ป.ม.
  1. ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 8 ปีบริบูรณ์นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
  2. จะต้องดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าซึ่งเป็นตำแหน่งบังคับบัญชาหรือผู้ปกครองขึ้นไป
  3. หัวหน้าแผนกเริ่มขอพระราชทานต้องดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์
2 ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้ากอง บ.ช. จ.ช.
3 ผู้ช่วยผู้ว่าการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือหัวหน้าฝ่าย จ.ม. ต.ม.
4 รองผู้ว่าการ รองผู้อำนวยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารสูงสุด จ.ช. ท.ช.
5 ผู้ว่าการ ผู้อำนวยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด ต.ม. ป.ม.

บัญชี 25
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการการเลือกตั้ง
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ม.ว.ม. ม.ว.ช. ทุกปี
  1. ลำดับ 1–2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
  2. ลำดับ 3–4 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
  3. ลำดับ 5–6 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 120 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
  4. ลำดับ 5–6 กรณีผู้ดำรงตำแหน่งหลายคนให้พิจารณาคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นเพียงตำแหน่งละ 1 คน เท่านั้น
2 กรรมการการเลือกตั้ง ป.ม. ม.ป.ช.
  1. ป.ม. – ป.ช. ปีติดกัน
  2. ป.ช. – ม.ป.ช. ปีเว้นปี
3 ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
4 กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ต.ม. ท.ม. ปีเว้นปี
5 หัวหน้าคณะที่ปรึกษาประธานกรรมการการเลือกตั้ง ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
6 ที่ปรึกษากรรมการการเลือกตั้ง ต.ม. ท.ม. ปีเว้นปี

บัญชี 26
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ม.ว.ม. ม.ป.ช. ทุกปี
  1. ลำดับ 1–2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
  2. ลำดับ 3–5 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 120 วัน นับตั้งแต่วันดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
  3. ลำดับ 3–5 กรณีมีผู้ดำรงตำแหน่งหลายคนให้พิจารณาคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นเพียงตำแหน่งละ 1 คน เท่านั้น
  4. ลำดับ 3 การเริ่มต้นขอชั้นสายสะพายจะต้องดำรงตำแหน่งที่ปรึกษามาแล้วครบ 1 ปี (12 เดือน) ของปีที่จะขอพระราชทาน
2 กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ป.ม. ม.ป.ช.
  1. ป.ม. – ป.ช. ปีติดกัน
  2. ป.ช. – ม.ป.ช. ปีเว้นปี
3 ที่ปรึกษาประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ท.ม. ป.ม. ปีเว้นปี
4 เลขานุการประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
5 เลขานุการกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต.ม. ท.ม. ปีเว้นปี

บัญชี 27
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ม.ว.ม. ม.ป.ช. ทุกปี
  1. ลำดับ 1–2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
  2. ลำดับ 3–4 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
  3. ลำดับ 3–4 กรณีมีผู้ดำรงตำแหน่งหลายคนให้พิจารณาคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นเพียงตำแหน่งละ 1 คน เท่านั้น
2 กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ป.ม. ม.ป.ช.
  1. ป.ม. – ป.ช. ปีติดกัน
  2. ป.ช. – ม.ป.ช. ปีเว้นปี
3 เลขานุการประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
4 เลขานุการกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต.ม. ท.ม. ปีเว้นปี

บัญชี 28
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ป.ม. ม.ป.ช.
  1. ป.ม. – ป.ช. ปีติดกัน
  2. ป.ช. – ม.ป.ช. ปีเว้นปี
  1. ลำดับ 1 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
  2. ลำดับ 2–3 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
  3. ลำดับ 2–3 กรณีมีผู้ดำรงตำแหน่งหลายคนให้พิจารณาคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นเพียงตำแหน่งละ 1 คน เท่านั้น
2 ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
3 เลขานุการผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ต.ม. ท.ม. ปีเว้นปี

บัญชี 29
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ตุลาการศาลปกครอง
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานศาลปกครองสูงสุด ม.ว.ม. ม.ป.ช. ทุกปี
  1. ลำดับ 1–3 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
  2. ลำดับ 4–5 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
  3. ลำดับ 4–5 การนับระยะเวลาปฏิบัติงานสำหรับตุลาการศาลปกครองชั้นต้นให้นับระยะเวลาที่เคยเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานองค์การของรัฐมารวมกับระยะเวลาปฏิบัติงานในตำแหน่งตุลาการศาลปกครองชั้นต้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี (12 เดือน) ของปีที่จะขอพระราชทาน
2 รองประธานศาลปกครองสูงสุด ม.ว.ม. ม.ป.ช. ปีเว้นปี
3 ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
ป.ม. ม.ป.ช. ปีเว้นปี
4 อธิบดีศาลปกครองชั้นต้น
รองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น
ท.ช. ม.ป.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ช.
  2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
  3. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
  4. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
  5. ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
5 ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น
ตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น
ท.ม. ม.ป.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ม.
  2. ได้ ท.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช.
  3. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
  4. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
  5. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
  6. ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.

บัญชี 30
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ และกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ป.ม. ม.ป.ช.
  1. ป.ม. – ม.ว.ม. ปีเว้นปี
  2. ม.ว.ม. 3 ปี ขอ ม.ป.ช.
- ลำดับ 1–2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
- ลำดับ 3–4 ต้องมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
- ลำดับ 3–4 กรณีมีผู้ดำรงตำแหน่งหลายคนให้พิจารณาคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นเพียงตำแหน่งละ 1 คนเท่านั้น
2 กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ท.ช. ม.ว.ม.
  1. ท.ช. – ป.ช. ปีเว้นปี
  2. ป.ช. 3 ปี ขอ ม.ว.ม.
3 ที่ปรึกษาประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
ที่ปรึกษาประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
4 เลขานุการประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
เลขานุการประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
5 เลขานุการกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
เลขานุการกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ต.ม. ท.ม. ปีเว้นปี

บัญชี 31
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท.ช. ป.ช. ปีเว้นปี - ลำดับ 1–3 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2 รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท.ม. ป.ม. ปีเว้นปี
3 สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต.ช. ป.ม. ปีเว้นปี

บัญชี 32
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานราชการ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานบริการ
- กลุ่มงานเทคนิค
บ.ม. จ.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน บ.ม.
  2. ได้ บ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ช.
  3. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
  4. ได้ จ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ช.
  1. ลำดับ 1–4 ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มจ้าง จนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
  2. ลำดับ 5–7 ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มจ้าง จนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
  3. ต้องเป็นพนักงานราชการตามสัญญาจ้างของส่วนราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมาตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547
  4. ต้องเป็นพนักงานราชการที่มีชื่อและลักษณะงานเป็นพนักงานที่เทียบเท่ากับลูกจ้างประจำหมวดฝีมือขึ้นไป ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ
2 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานบริหารทั่วไป
บ.ช. ต.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน บ.ช.
  2. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
  3. ได้ จ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ช.
  4. ได้ จ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ม.
3 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ
จ.ม. ต.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน จ.ม.
  2. ได้ จ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ช.
  3. ได้ จ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ม.
  4. ได้ ต.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ช.
4 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ
จ.ช. ท.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน จ.ช.
  2. ได้ จ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ม.
  3. ได้ ต.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ช.
  4. ได้ ต.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ม.
5 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ
ระดับทั่วไป
ต.ม. ท.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม.
  2. ได้ ต.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ช.
  3. ได้ ต.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ม.
    1. ได้ ท.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช.
6 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ
ระดับประเทศ
ต.ช. ป.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
  2. ได้ ต.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ม.
  3. ได้ ท.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช.
  4. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
7 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ
ระดับสากล
ท.ม. ป.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ม.
  2. ได้ ท.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช.
  3. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
  4. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.

บัญชี 33
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่คู่สมรสกรรมการการเลือกตั้ง
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ต.ช. ม.ว.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปีตามลำดับถึง ป.ม.
  3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. – ป.ช. ปีเว้นปี
  4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ช. – ม.ว.ม. เว้น 2 ปี
- ลำดับ 1–2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2 กรรมการการเลือกตั้ง ต.ม. ป.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปีตามลำดับถึง ท.ช.
  3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ช. – ป.ม. ปีเว้นปี
  4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. – ป.ช. เว้น 2 ปี

บัญชี 34
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่คู่สมรสกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต.ช. ม.ว.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ป.ม.
  3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. – ป.ช. ปีเว้นปี
  4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ช. – ม.ว.ม. เว้น 2 ปี
- ลำดับ 1–2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2 กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต.ม. ป.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ท.ช.
  3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ช. – ป.ม. ปีเว้นปี
  4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. – ป.ช. เว้น 2 ปี

บัญชี 35
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่คู่สมรสกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต.ช. ม.ว.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ป.ม.
  3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. – ป.ช. ปีเว้นปี
  4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ช. – ม.ว.ม. เว้น 2 ปี
- ลำดับ 1–2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2 กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต.ม. ป.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ท.ช.
  3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ช. – ป.ม. ปีเว้นปี
  4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. – ป.ช. เว้น 2 ปี

บัญชี 36
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่คู่สมรสผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ต.ช. ป.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ท.ช.
  3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ช. – ป.ม. ปีเว้นปี
  4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. – ป.ช. เว้น 2 ปี
- ลำดับ 1–2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน

บัญชี 37
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่คู่สมรสตุลาการศาลปกครอง
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานศาลปกครองสูงสุด ต.ช. ม.ว.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ป.ม.
  3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. – ป.ช. ปีเว้นปี
  4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ช. – ม.ว.ม. เว้น 2 ปี
  1. ลำดับ 1–3 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
  2. ลำดับ 4–5 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
  3. ลำดับ 4–5 การนับระยะเวลาปฏิบัติงานสำหรับตุลาการศาลปกครองชั้นต้นให้นับระยะเวลาที่เคยเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานองค์การของรัฐมารวมกับระยะเวลาปฏิบัติงานในตำแหน่งตุลาการศาลปกครองชั้นต้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี (12 เดือน) ของปีที่จะขอพระราชทาน
2 รองประธานศาลปกครองสูงสุด ต.ช. ป.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ท.ช.
  3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ช. – ป.ม. ปีเว้นปี
  4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. – ป.ช. เว้น 2 ปี
3 ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ต.ม. ป.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ท.ช.
  3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ช. – ป.ม. ปีเว้นปี
4 อธิบดีศาลปกครองชั้นต้น จ.ม. ท.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน จ.ม.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ปีเว้นปี ตามลำดับถึง ท.ม.
  3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ม. ขึ้นไป ต้องเว้น 2 ปี ตามลำดับถึง ท.ช.
5 รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลปกครองชั้นต้น จ.ม. ท.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน จ.ม.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ปีเว้นปี ตามลำดับถึง ท.ม.

บัญชี 38
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่คู่สมรสกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติและกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ต.ม. ป.ม.
  1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ปีเว้นปี ตามลำดับถึง ป.ม.
- ลำดับ 1–2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2 กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
จ.ช. ท.ช.
  1. เริ่มขอพระราชทาน จ.ช.
  2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ปีเว้นปี ตามลำดับถึง ท.ช.

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"