ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)


พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ โปรดให้พิมพ์แจก ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพันเอก พระยาสิริจุลเสวก ( พัว จุลเสวก ) ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐

พิมพ์ที่โรงพิมพ์เดลิเมล์ คำนำ ในการพระราชทานเพลิงศพ นายพันเอก พระยาสิริจุลเสวก ( พัว จุลเสวก ) เจ้าภาพมีความประสงค์จะพิมพ์หนังสือที่เกื้อกูลการศึกษาประวัติศาสตร์สักเรื่องหนึ่ง เป็นของสำหรับแจกในงาน ขอให้กรมศิลปากรเป็นธุระหาต้นฉบับ กรมศิลปากรเลือกได้ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพัน จันทนุมาศ ( เจิม ) ซึ่งเป็นหนังสือที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของผู้ใฝ่ใจ ในทางประวัติศาสตร์ เมื่อเจ้าภาพได้รับเรื่องไปพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว ก็แสดงความพอใจ และตกลงรับพิมพ์ดังปรากฏอยู่ในเล่มนี้ บรรดาพระราชพงศาวดารสยามความเก่า จับเรื่องตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ที่กรมศิลปากรมีต้นฉบับอยู่เวลานี้ ทั้งที่พิมพ์แล้วและยังมิได้พิมพ์ คือ ( ๑ ) พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ มีบานพะแนกบอก ไว้ดังนี้ "ศุภมัสดุ ๑๐๔๒ ศกวอกนักษัตร ณ วันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ทรงพระกรุณาโปรดเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ให้เอากฎหมายเหตุของพระโหราเขียนไว้แต่ก่อน และกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่หอหนังสือ และเหตุซึ่งมีในพระราชพงศาวดารนั้น ให้คัดเข้าด้วยกันเป็นแห่งเดียว ให้ระดับศักราชกันมาคุงเท่าบัดนี้ "



ข ได้ความว่า เป็นพระราชพงศาวดารที่สมเด็จพระนารายณ์ มี พระราชโองการให้เรียบเรียงเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๓ ความขึ้นต้นแต่แรกสถาปนาพระพุทธรูปพระเจ้าพะแนงเชิง เมื่อปีชวดจุลศักราช ๖๘๖ ( พ.ศ. ๑๘๖๗ ) และแรกสร้างกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา เมื่อปีขาล จุลศักราช ๗๑๒ ( พ.ศ. ๑๘๙๓ ) สืบมาจนถึงปีมะโรง จ.ศ. ๙๖๖ ( พ.ศ. ๒๑๔๗ ) ตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พิมพ์ อยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑ ( ๒ ) พระราชพงศาวดารฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๓๖ ( ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ) ได้ ปลีกมาเล่มเดียว เป็นฉบับหลวงเขียนครั้งกรุงธนบุรี ว่าด้วยเรื่อง ราวตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พิมพ์อยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔ สำนวนรัดกุมและเก่าไล่เลี่ยกับฉบับหลวงประเสริฐ ( ๓ ) พระราชพงศาวดารฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๔๕ ( ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๒๖ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑) มี ๒ เล่ม เป็นฉบับปลีก ว่าด้วยเรื่องราวในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเล่มหนึ่ง ใน รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเล่มหนึ่ง เข้าใจว่ายังไม่มี การชำระแก้ไขต่อเติมในคราวนั้น เพราะบางแห่งบอกไว้ชัดว่าต้น ฉบับขาดที่ตรงนั้นเท่านั้น แล้วปล่อยให้ขาดอยู่ตามฉบับเดิม เมื่อนำมาสอบกับฉบับชำระเรียบเรียง พ.ศ. ๒๓๓๘ คือ ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม ) ปรากฏว่าฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม ) แต่งเติมตรงที่ขาด ค นั้นแล้ว ฉบับจำลอง จ.ศ ๑๑๔๕ นี้ ถึงจะไม่มีครบบริบูรณ์ ก็เป็นหนังสือที่ดีในทางรักษารูปสำนวนเก่า แต่ยังไม่มีโอกาสพิมพ์ออกให้แพร่หลาย ( ๔ ) พระราชพงศาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม หรือเรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า ฉบับหมอบรัดเล เริ่มความตั้งแต่แรกสร้างกรุงเทพทวาราวดี ศรีอยุธยา ต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร สุดความลงเพียง จ.ศ๑๑๕๔ ( พ.ศ. ๒๓๓๕ ) อันเป็นปีที่ ๑๑ ในรัชกาลที่ ๑ ไม่มีบาน พะแนก แสดงว่าชำระหรือเรียบเรียงเมื่อไร เป็นแต่บอกไว้ที่ปกในเล่มต้นว่า " พระศรีสุนทรโวหารได้ช่วยชำระดูสอบบ้าง เห็นว่าถูกต้องอยู่แล้ว " และมีข้อความในหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดมาแซกผสมอยู่หลายตอน จึงเป็นอันรู้ได้ว่า พงศาวดารฉบับนี้ได้มีการชำระกันมาแล้ว อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งเมื่อรัชกาลที่ ๔ ก่อนที่หมอบรัดเลจะได้นำมาลงพิมพ์ ( ๕ ) พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เริ่มความตั้งแต่ แรกสถาปนากรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร สุดความลง จ.ศ. ๑๑๕๒ ( พ.ศ. ๒๓๓๓ ) ได้ความในพระราชหัตถเลขา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระราชทานไปให้เซอร์ยอนเบาริง ที่เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชำระพระราชพงศาวดารร่วมกับ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๘ เป็นต้นมา ( ดูพระราช หัตถเลขารัชกาลที่ ๔ รวมครั้งที่ ๔ หน้า ๑๖ หรือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๒ หน้า ๒๓๗ ) ง เข้าใจว่าการชำระครั้งนั้น คงจะได้ทรงกระทำมาถึงปีสุดรัชกาล ของพระองค์ ซึ่งสำเร็จเป็นฉบับพระราชหัตถเลขา พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ นั้นแล้ว ที่จะเข้าใจดังนี้ ก็เพราะมีคำว่า ภูษามาลา เป็นที่สังเกตอยู่แห่งหนึ่ง แต่ก่อนมาเรียกคำนั้นว่า มาลาภูษา ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ปีสุดท้ายของรัชกาลที่ ๔ ปรากฏในหมายรับสั่ง ต้นปีว่า มีพระบรมราชโองการห้ามมิให้เรียก มาลาภูษา โปรดให้เปลี่ยนเรียกกลับกันว่าภูษามาลาพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาก็ใช้ คำว่า ภูษามาลา จึงสันนิษฐานว่า ภายหลังเมื่อพระราชทานฉบับเริ่ม ทรงชำระให้แก่เซอร์ยอนเบาริงไปครั้งหนึ่งแล้ว ยังทรงพระอุตสาหะชำระเพิ่มเติมต่อมาจนถึงปีสุดรัชกาลของพระองค์ แต่เสียดายที่ไม่มีบานพะแนกบอกไว้ ชะรอยว่า การที่ทรงชำระต่อ ๆ มานั้น จะยังไม่สม บูรณ์ตามพระราชประสงค์ก็อาจเป็นได้ ( ๖ ) พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ ( จาด ) ข้อความโดยมากยุติกับฉบับหมอบรัดเลพิมพ์ เว้นแต่เรื่อง ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ตอนปลายติดต่อมา มีแปลก ออกไปหลายแห่ง พิมพ์อยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๘ ( ๗ ) พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม ) มีจำนวน สมุดไทยตามลำดับเป็น ๒๒ เล่ม ขาดในระหว่างบ้างบางเล่ม เริ่มต้น แต่แรกสถาปนากรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ต่อมาจนสุดรัชกาล สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พอเริ่มความตอนต้นกรุงรัตนโกสินทรก็หมดฉบับ แต่สังเกตได้ว่า ยังไม่สุดเรื่อง ตอนกรุงศรีอยุธยาพิมพ์แล้ว

จ นับเป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๔ ส่วนตอนกรุงธนบุรีพิมพ์ในเล่มนี้นับเป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๕ พระราชพงศาวดารฉบับนี้ มีบานพะแนกบอกไว้ว่า "ศุภมัสดุ ศักราช ๑๑๕๗ ปีเถาะสับตศก สมเด็จพระบรมธรรมมิกมหาราชาธิราชพระเจ้าอยู่หัว ผ่านถวัลย์ราชณกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา เถลิงพระ ที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงชำระพระราชพงศาวดาร " ดังนี้ จุลศักราช ๑๑๕๗ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๘ เป็นปีที่ ๑๔ ในรัชกาลที่ ๑ ยังมีข้อความตอนท้ายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ (ดูประชุม พงศาวดารภาคที่ ๖๔ หน้า ๓๗๘ ) กล่าวเป็นบานพะแนกเพิ่มเติมไว้อีกว่า "เพียงนี้เรื่องพระเพทราชากับพระเจ้าเสือทำไว้แต่ก่อน บัดนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้เจ้าพระยาพิพิธพิชัย กระทำเรื่องพระนารายณ์เป็นเจ้ากับพระเพทราชา พระเจ้าเสือ พระบรมโกศ พระเจ้าพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ทำศักราชภัดกันไป " ถ้อยคำตรงนี้น่าจะหมายความว่า เรื่องที่ชำระเรียบเรียงไว้แต่ก่อนฉะเพาะตอนกรุงศรีอยุธยา สุดลงเพียงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือแล้วมีพระบรมราชโองการให้ท่านเจ้าพระยาพิพิธพิชัย ร้อยกรองเพิ่ม เติมขึ้นอีก แต่มิได้เอาข้อความปรับปรุงเข้ากับที่แต่งไว้แต่ก่อนนั้น คงให้แยกอยู่ต่างหาก การทำเช่นนี้ ให้ความรู้ในทางตำนานการชำระ เรียบเรียงพระราชพงศาวดารเป็นอย่างดี จะได้ทราบถ่องแท้ว่า เรื่อง แต่ก่อนมีอยู่เพียงไหน แต่งเติมต่อมาอีกเท่าไร มิฉะนั้นจะหาทางสันนิษฐานให้ทราบใกล้ความจริงได้ยาก

ฉ หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม ) มีข้อความเป็นหลักฐานแตกต่างจากฉบับหมอบรัดเล และฉบับพระราชหัตถเลขาหลายแห่ง เป็นประโยชน์มากในทางสอบสวนค้นคว้าประวัติศาสตร์สยาม ซึ่งผู้ได้รับคงยินดีอนุโมทนาทั่วกัน ในการพิมพ์ครั้งนี้ ฉบับหลวงที่อาศัยสอบทานมีไม่บริบูรณ์ จึงน่า จะมีการขาดตกบกพร่องอยู่บ้าง แต่กระนั้นก็ได้พยายามที่จะให้เรียบร้อยเป็นอย่างดีที่สุด ส่วนตอนไหนขาดเรื่องอะไรบ้างก็บอกไว้ด้วย ทั้งยังชี้ข้อความใน หนังสือต่าง ๆ ที่แย้ง หรืออนุโลมกัน ทำเป็นเชิง อรรถไว้ อีกตามสมควร นอกจากพระราชพงศาวดาร ได้รวบรวมสำเนาท้องตรา พ.ศ. ๒๓๑๖ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๗ และบัญชีช้างหลวง พ.ศ. ๒๓๑๙ ถึง พ.ศ. ๒๓๒๐ เท่าที่ยังมีฉบับเหลืออยู่มาเรียงไว้ด้วย เป็นหลักฐานประกอบพงศาวดารได้ อีกหลายข้อ อนึ่ง เพื่อสะดวกแก่การค้นหานามและเหตุการณ์สำคัญ เป็นต้นได้ทำสารบาญค้นเรื่องไว้ท้ายเล่มนี้พร้อมเสร็จ กรมศิลปากรขอ อนุโมทนา กุศลธรรมิกพลี ที่เจ้าภาพสร้างสมบำเพ็ญเพื่ออุทิศมนุญญานิสงส์ อันพึงสำเร็จโดยฐานะสมควรแก่ นายพันเอก พระยาสิริจุลเสวก ( พัว จุลเสวก ) เพิ่มพูนความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นในสัมปรายภพเบื้องหน้าต่อไป กรมศิลปากร วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐


พระยาสิริจุลเสวก ( พัว จุลเสวก ) พ.ศ. ๒๔๓๐ - พ.ศ. ๒๔๗๗






ประวัติสังเขป พ.อ. พระยาสิริจุลเสวก

พ.ต. หลวงสารานุประพันธ์ บันทึก


นายร้อยโท ขุนพิสดารพิธียุทธ์ ( พิสดาร จุลเสวก ) ผู้แทนและ จัดการ ผลประโยชน์ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าจุลจักรพงษ์และผู้เป็นศิษย์ ที่รักของข้าพเจ้า พร้อมด้วยคุณหญิงเชื้อ สิริจุลเสวก ผู้มารดา ได้มาหาข้าพเจ้า และขอร้องให้ข้าพเจ้าช่วยเรียบเรียงประ- วัติสังเขปของนายพันเอก พระยาสิริจุลเสวก ลงพิมพ์ในหนังสือซึ่งจะแจกชำร่วยในงานพระราชทานเพลิงศพของท่านผู้นั้น ในฐานที่ข้าพเจ้าเคยชอบรักและนับถือ พ.อ. พระยาสิริจุลเสวก อย่างใกล้ชิดสนิทสนมกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ ปีก่อนท่านจะถึงอนิจจกรรม ข้าพเจ้าจึงไม่มีเหตุผลอันใดจะปฏิเสธได้แม้ทั้งที่ในเวลาเรียบเรียงนี้จะกำลังมีราช-การในหน้าที่ชุกมาอยู่ก็ตาม และข้าพเจ้าก็ได้ปฏิบัติสนองความประสงค์ ของท่านผู้ขอร้องครบถ้วนแล้ว คือบทประพันธ์อันนี้ ซึ่งถ้าบังเอิญจะมีสิ่งใดบกพร่องก็จำต้องขอรับอภัยอย่างดุษณีจากบรรดาท่านผู้ได้รับแจกชำร่วยไป เพราะการร้อยกรองประวัติการณ์ของบุคคลผู้มีเกียรติเด่น



ซ เป็นที่ชอบรักมักคุ้นแก่ชาวชนทั่วไปดั่งเช่น พ.อ. พระยาสิริจุลเสวก นั้น ย่อมไม่มีทางที่จะมิให้ขาดตกบกพร่องไม่กรณีใดก็กรณี ๑ อย่าง ไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยังเว้นเสียซึ่งความภูมิใจมิได้ ในการได้ฝากบทประพันธ์น้อย ๆ นี้ไว้เป็นอนุสสรณีย์อัน ๑ แห่ง ปฏิการกิจ สนองท่าน ผู้วายชนม์ ผู้เคยมี อุปการะคุณแก่ข้าพเจ้ามาแต่หนหลัง พระยาสิริจุลเสวก เป็นตัวอย่างของตัวอย่างทั้งหลายในเกียรติประวัติแห่งข้าราชการผู้มีวิริยะพากเพียร เป็นเบื้องหน้า มี กตัญญูกตเวทีอย่างแรงกล้าเป็นนิสสัย ดุจพื้นประกิจรองรับวิเชียรมณี ส่งวิริ- ยะภาพนั้นให้บรรลุผลจนเห็นเด่น เพราะเช่นนั้นข้าพเจ้าจึ่งได้กล่าวแต่ต้นว่าการเรียงประวัติของผู้กอบด้วยบุคคลิกลักษณะเช่นพระยาสิริจุลเสวกนี้ เป็นของยากนักยากหนาที่จะหาถ้อยคำใดมาสรรพรรณนาให้ผู้อ่านได้ตระหนักชัดกับพฤติการอันแท้จริงที่ได้แสดงตลอดกาล ๔๖ ปีกับ ๔ เดือนแห่งอายุสมัยของเจ้าคุณผู้นั้น โดยนามเดิม คือนายพัว จุลเสวก โดยชาติกำเนิด คือนายพันธ์ จุลเสวก บิดา และนางคล้อย จุลเสวก มารดา โดยกาลปฏิสนธิ คือวันอังคาร แรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุล นพศก จุลศักราช ๑๒๔๙ ตรงกับวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๐ พระยาสิริ ฯ มิได้มีสิ่งใดผิดแผกยิ่งล้นไปกว่าสามัญชนทั้งหลาย ซึ่ง ข้อนี้ย่อมเป็นข้อแรกแห่งความสนใจของท่านผู้อ่านทั้งหลาย พระยาสิริ ฯ แต่ครั้งเป็นเด็กชายพัว จุลเสวก นั้น ได้รับอุปการะเลี้ยงดูจากท่านบิดามารดาเยี่ยงนักกสิกรรมและนักอุตสาหกรรม ตามฐานะเท่าที่ท่านจะสามารถประสิทธิ์ประสาท

ฌ ได้ เพราะภูมิประเทศอันเป็นภูมิลำเนาที่เริ่มต้นชีวิตของพระยาสิริ ฯ นั้น คือบางระมาด อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ดั่งปรากฏในประวัติความทรงจำซึ่งพระยาสิริจุลเสวกบันทึกไว้เองตั้งแต่ยังทรงชีพอยู่ ว่าดั่งนี้ "ราว พ.ศ. ๒๔๓๖-๗ ได้รับความอบรมจากบิดามารดาให้รู้จัก การทำสวนทำนา การศาสนา เป็นต้นว่า เวลาไปทำสวนก็เอาไปด้วยให้เห็นวิธีทำสวนตั้งแต่ขุดดิน พรวนดิน ดายหญ้า ลอกท้องร่อง ปลูกต้นไม้ รักษา และรดน้ำต้นไม้ ตลอดจนการเฝ้าเก็บผลไม้ขาย ครั้นถึงเวลาทำนาก็เอาไปด้วย เริ่มตั้งแต่ไล่นก เกี่ยวข้าว นวดข้าว จนขนข้าวขึ้นฉาง วันพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำหยุดทำงาน ไปทำบุญและฟังธรรมที่วัดจำปา " ครั้นรู้จักชีวิตธรรมชาติพอแล้ว ท่านบิดามารดาได้นำไปฝากเข้า โรงเรียนหนังสือไทย ณ โรงเรียนประถมศึกษาวักมณฑป ในคลองบางระมาด เรียนอยู่ ๓ ปี จบหลักสูตรของสมัยนั้น ซึ่งเป็นยุคแรกแห่ง การศึกษาแบบใหม่ที่เพิ่งเริ่มจัดขึ้นในกรุงสยาม ลำดับจากนั้นท่านบิดามารดาก็ให้บรรพชาเป็นสามเณร พอลาสิกขาบทก็ส่งเข้าเรียนหนัง- สือขอมต่อไปที่วัดจำปานั้นเองตามความนิยมของคนไทยในสมัยนั้น การเรียนหนังสือขอมของเด็กชายพัว จุลเสวก เป็นการเรียนแบบ "ศิษย์ วัด" ฉะนั้นจึ่งเป็นการฝึกนิสสัยให้เกิดความกล้าแข็ง ความอดทน ต่อการตรากตรำทั้งหลายให้มั่นคงขึ้นไปในตัว อย่างไร ก็ตาม หลังจากนั้น พระยาสิริ ฯ ก็ได้ที่พึ่งใหม่ คือ หลวงสกลผดุงเขตต์ผู้เป็นอาว์ ซึ่งขณะนั้นเป็นนายอำเภอบางกอกใหญ่ ญ ชวนไปอยู่ด้วยที่ตลาดขวัญ จังหวัด นนทบุรี หลวงสกล ฯ ให้ความ อบรมในชีวิตใหม่ เป็นชีวิตการสมาคมที่วิวรรธนาการขึ้นจากแหล่ง เดิม โดยฝึกหัดให้ทำงานปนอยู่กับเสมียนอำเภอทั้งหลาย พระยาสิริ ฯ ค่อยรู้จักโลกมากขึ้น จึ่งปรากฏว่าวิชาเท่าที่ได้รับมาแล้วนั้นยังไม่พอ แก่การจะทำงานได้ จึงต้องกลับไปเข้าโรงเรียนอีกวาระ ๑ ซึ่งระหว่างนั้นมีอายุได้ ๑๒ ปีแล้ว การเข้าโรงเรียนยุคหลังของพระยาสิริ ฯ นี้เป็นการเรียนเอาจริงจัง ณโรงเรียนวัดจักรวรรดิ์ราชาวาศ ผ่านชั้น ประโยคประถม แล้วก็ย้ายไปเรียนณ โรงเรียนมัธยมวัดราชบุรณะ ( เป็นสวนกุหลาบวิทยาลัยเดี๋ยวนี้ ) จนสอบไล่ได้ชั้นมัธยมตอนต้นเมื่ออายุ ๑๘ ปี แต่ยังมิทันสำเร็จชั้นสูงสุดของโรงเรียนนั้นก็ต้องเริ่มชีวิต แรกของการทำงานหาอาชีพ โดยออกมาเป็นเสมียนกรมสรรพากรรับ เงินเดือน ๆ ละ ๔๐ บาท และได้มีโอกาสทำการตรวจบัญชีโรงรับ จำนำยี้ห้อฮั่วเส็ง ได้รับเงินบำเหน็จพิเศษอีกเดือนละ ๔๐ บาท รวมเดือนละ ๘๐ บาท ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ คือระหว่างทำงาน ณ ที่นั้น ก็ได้กระทำการสมรสกับนางสาวเชื้อ เริ่มตั้งครอบครัว ตั้งมูลนิธิ เป็นคหบดี ผู้ครองเรือนอันมีหลักฐานตั้งแต่บัดนั้น ดั่งได้กล่าวแล้วแต่ต้นว่า พระยาสิริ ฯ เป็นผู้กอบด้วยความขยันขัน แข็ง ประกอบด้วยมานะอุตสาหะและวิริยะภาพอันแรงกล้า ฉะนั้นงานของพระยาสิริ ฯ ที่ทำ จึ่งเป็นผลเชิดชูความดีความชอบเด่นขึ้นโดยลำดับ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๐ กรมสรรพากรก็เลื่อนตำแหน่งให้เป็นเจ้าพนักงาน


ฎ ผลประโยชน์ประจำอำเภอเมืองมีนบุรี รับเงินเดือนเดือนละ ๖๐ บาท ประจวบกาลสมัยแห่งชนมายุบรรจบครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ถึงกำหนดจำต้องเข้ารับราชการทหารตามหน้าที่พลเมืองดี พระพี่เลี้ยงสมบุญ ได้ นำถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับใช้ อยู่ใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานารถ ( ตามพระนามาภิไธยสมัยนั้น ) ซึ่งตามพระนามสมญา มวลข้าราชการมักเรียกกันว่า "ทูลกระหม่อมเล็ก" พระยาสิริ ฯ รับสนองพระธุระไม่นานนัก ก็เป็นที่ต้องพระอัธยาศัย เหตุเพราะพระยาสิริ ฯ มีบุคคลิกลักษณะบางประการในทางปฏิบัติตนให้ผู้บังคับบัญชาสงสารปราณีโดยคุณธรรมแห่งความสงบเสงี่ยม ความไม่ทะเยอทะยาน และความสุภาพในมรรยาทอันเต็มเปี่ยมด้วยวินัย กอบกับความจงรักภักดีและกตัญญูกตเวทีอย่างวิเศษ เมื่อเช่นนี้ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ " ทูลกระหม่อมเล็ก " จะต้องทรงโปรดปรานและ ทรงพระกรุณากราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมราชินีพระพันปีหลวงขอพระราชทานยกเว้นค่าเช่าตึกพระคลังข้างที่ซึ่งพระยาสิริ ฯ พักอาศัยอยู่กับภรรยา ตำบลท่าโรงยาเก่า สมเด็จพระพันปีหลวงก็โปรดพระราช-ทานยกให้ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ จึ่งเป็นอันว่า พระยาสิริฯ ได้อยู่ตึกโดยมิต้องเสียค่าเช่า เท่ากับได้รับพระราชทานที่พำนักอาศัยโดยตรง โดยพระกระแสดำรัสแนะนำของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถที่ตรัสไว้ว่า "ลูกผู้ชายควรเป็นทหารทุกคน " พระยา


ฏ สิริ ฯ จึงขอสมัครเข้ารับราชการทหารในกองโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม ได้รับการบรรจุเข้าตำแหน่งจ่านายสิบประจำกองบังคับการ โรงเรียนนายร้อยชั้นประถมในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ นั้นเอง พระยาสิริ ฯ บันทึกไว้ถึงกิจวัตรที่ท่านต้องปฏิบัติในระหว่างรับราชการทหาร เป็นการเปลี่ยนชีวิตอีกครั้ง ๑ ว่าดังนี้:- "ในระหว่างที่รับราชการในตำแหน่งจ่านายสิบกองบังคับการโรง- เรียนประถมนี้ ผู้บังคับบัญชาได้กำหนดตารางงานให้ทำ คือตั้งแต่ ย่ำรุ่งถึง ๘ นาฬิกาเช้า ฝึกหัดทหารตามแบบฝึกหัดทหารราบ ตั้งแต่ ๙ นาฬิกาถึง ๑๗ นาฬิกา ทำงานในกองบังคับการ มีการรับส่งหนังสือพิมพ์หนังสือโต้ตอบ และเก็บหนังสือราชการ เป็นต้น" ชีวิตที่เปลี่ยนจากพลเรือนมาเป็นทหารนั้น ใคร ๆ ย่อมรับรองร่วม กันว่าเป็นการเปลี่ยนอย่างใหญ่ เพราะต้องเปลี่ยนตั้งแต่ความเป็นอยู่อันทำตามชอบใจตนมาเป็นความเป็นอยู่อันอยู่ภายในกรอบแห่งวินัยภายใต้การนำของผู้บังคับบัญชา แต่พระยาสิริ ฯ มิได้ท้อถอย คงปฏิบัติการได้คล่องแคล่วตามกิจวัตรที่ท่านเองบันทึกไว้ จนสำเร็จผลเป็นความเรียบร้อยหาความผิดมิได้แม้สักน้อย ล่วง พ.ศ. ๒๔๕๒ ยุ๊ก โยฮัน อัลเบรต ผู้สำเร็จราชการ แห่งนครบรันสวิค ประเทศเยอรมนี พร้อมด้วยพระชายา ทรงกำหนดการจะเสด็จมาเยี่ยมกรุงสยาม ซึ่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบก มีหน้าที่จัดการรับเสด็จและมีการประลองยุทธใหญ่ที่ทุ่งพญาไท กับการตรวจพลณท้องสนามหลวง เหตุนั้นจึงมีการระดมพลทหารในกอง

ฐ พลทหารบกที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๙, มารวมเป็นกองทัพพิเศษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประ- ชานารถเป็นแม่ทัพพิเศษ ทำการประลองยุทธครั้งนี้ เพราะฉะนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้นจึงมีรับสั่งให้พระยาสิริ ฯ ลาออกจากตำแหน่งจ่านายสิบประจำกองบังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม แต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ ย้ายมารับราชการในกองบัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบกในตำแหน่งเสมียนเอก ทั้งนี้ก็ด้วยพระประสงค์จะใช้พระยาสิริ ฯ ในการเขียนและพิมพ์กำหนดการรับรองและการระดมพล การประลองยุทธ การตรวจพลสวนสนาม ซึ่งจำต้องทำเป็นการใหญ่พิเศษเป็นครั้งแรกจำเดิมแต่ประเทศสยามได้เริ่มตั้งกองทหารสมัยใหม่ฐานที่พระยาสิริ ฯ มีชื่อเสียงในความคล่องแคล่วทางพิมพ์ดีด และการหนังสืออย่างหาตัวจับยากสำหรับสมัยนั้น โอกาสนั้นเองอำนวยให้ พระยาสิริ ฯ ได้รับสนองราชกิจใกล้ชิดพระองค์ทูลกระหม่อมเล็กตั้ง แต่บัดนั้นมา วันที่ ๑๗ พฤษาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง พิษณุโลกประชานารถทรงรับดำรงผู้รั้งตำแหน่งเสนาธิการทหารบกอีกตำแหน่ง ๑ จึงมีรับสั่งให้พระยาสิริ ฯ ย้ายจากกรมบัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบก มาเป็นเสมียนเอกประจำกรมบัญชาการกรมเสนา- ธิการทหารบก ซึ่งเป็นกรมใหญ่และกรมสำคัญที่สุดในราชการทหาร บกของกระทรวงกลาโหม จำเดิมแต่พระยาสิริ ฯ ได้มารับราชการอยู่ ณกรมนี้ ได้คิดวางระเบียบการหนังสือทุกชะนิดขึ้นให้รัดกุม มีบัญชี

ฑ รับ ออก ส่งหนังสือ และบัญชีเก็บหนังสือราชการต่าง ๆ เพื่อสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ผู้บังคับบัญชาจะตรวจค้นหาได้สะดวกขึ้น นับเป็นที่ต้องพระทัยและชอบด้วยราชการยิ่งนัก อันคุณงามความดีของพระยาสิริ ฯ ในหน้าที่ราชการเกี่ยวแก่การหนังสือนั้น ได้ปรากฏอย่างเด่นเพียงไรจะเห็นได้จากองค์พะยานต่อไปนี้เป็นข้อพิสูจน์ คือ การเลื่อนวิริยะฐานะจากเสมียนเอกขึ้นว่าที่นาย ร้อยตรีตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก อันเป็นอุทาหรณ์แรกแห่งการเลื่อนชะนิดนี้ นับว่าพระยาสิริจุลเสวกเป็นผู้ชะนะประวัติ การณ์การเลื่อนยศทหารซึ่งไม่เคยมีมาแต่เก่าก่อน และต่อมาจนบัดนี้ ก็ไม่ปรากฏอีก สำเนาลายพระหัตถ์ ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชา-นารถ ต่อไปนี้ย่อมเป็นหลักฐานสำคัญในเกียรติประวัติอันสูงเด่นของพระยาสิริ ฯ

" กรมเสนาธิการทหารบก " วันที่ ๒๔ มกราคม ร.ศ. ๑๒๙ ( พ.ศ. ๒๔๕๓ ) "ทูล นายพลเอก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ทรงทราบ "หม่อมฉันอยากจะขอประทานให้เลื่อนเสมียนเอกขึ้นว่าที่นาย ร้อยตรี เป็นพิเศษตามเหตุผลที่จะทูลอธิบายต่อไปนี้


ฒ "นายพัว เสมียนเอก กรมเสนาธิการทหารบกได้เข้ารับราชการทหารแต่ ร.ศ. ๑๒๖ ( พ.ศ. ๒๔๕๐ ) ในหน้าที่จ่านายสิบกองบังคับ การโรงเรียนนายร้อยชั้นปถม ภายหลังได้ย้ายมาเป็นเสมียนเอกกรมบัญชาการโรงเรียนทหารบก ครั้นเลิกกรมบัญชาการนั้นแล้ว ก็ย้าย มาเป็นเสมียนเอกในกรมเสนาธิการทหารบก ทำการอยู่จนบัดนี้ เป็น ผู้มีวิชาเสมียนเอกบริบูรณ์ดีเยี่ยมทุกอย่าง พิมพ์ไตป์ ไรเตอร์ ( สมิทพรีเมียร์ ) ได้ดีและเร็วหาตัวจับยาก เป็นผู้มีความสามารถ และหม่อมฉันได้ใช้ใกล้ชิดตัวมา ๓ ปีเศษแล้ว ทำการในทางหนังสือต่าง ๆ ทุกอย่าง ทั้งทำการที่นับว่าลับอยู่เสมอ ไม่เคยปรากฏว่ามีสิ่งใด แพร่งพรายออกไปเลย นับว่าเป็นผู้ที่ไว้ใจได้เป็นพิเศษคนหนึ่ง "นายพัวรับเงินเดือนอัตราเสมียนเอกชั้น ๑ ( ๗๕ บาท ) มาแต่ ต้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ได้บำเหน็จรางวัลอย่างใดอีกเลย และไม่ สามารถจะเลื่อนชั้นเงินเดือนต่อไปอีกด้วย จึงเห็นว่ามีอยู่ทางเดียวที่จะบำรุงน้ำใจได้ก็ในทางให้เป็นนายทหาร และเมื่อคำนึงดูการที่กระ ทรวงกลาโหมเคยรับบุคคลพลเรือนเข้าสำรองราชการแล้วภายหลังให้ว่าที่นายร้อยตรี และเป็นนายทหารสัญญาบัตรทั้งฝ่ายผู้ช่วยพลรบและพลรบตามลำดับชั้น ชั้นต้นก็สอบไล่วิชาตามหลักสูตรสำหรับเสมียนเอกนั้นเอง เมื่อสอบไล่ได้ดีก็รับเข้าสำรองราชการประมาณ ๑ ปี และก็ได้ว่าที่นายร้อยตรี นายพัวนี้มีคุณวุฒิเป็นนายทหารสัญญาบัตรตามระเบียบนี้ได้ การสอบไล่นั้นก็สอบแล้ว และได้ทำราชการใน


ณ กรมเสนาธิการทหารบกมาถึง ๓ ปีเศษแล้ว โดยไม่มีความเสียหายอย่างใดเลย จึงขอประทานให้เสมียนเอก นายพัว ว่าที่นายร้อยตรี รับเงินเดือนอัตรานายร้อยโทชั้น ๓ ( ๘๕ บาท ) ตั้งแต่กุมภาพันธ์ ศกนี้เป็นต้นไป และขอประทานให้ประจำกองบัญชาการกรมเสนาธิการทหารบก เพราะในเวลานี้กรมเสนาธิการทหารบกมีการงานมากขึ้น กว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก มีปลัดกรมกับนายเวร ๒ นายเท่านั้น หาเป็นการเพียงพอไม่ การจะควรประการใดแล้วแต่จะโปรด ( ลงพระนาม ) จักรพงษ์ เสนาธิการทหารบก "

และเสนาบดีกระทรวงกลาโหมทรงพระอนุญาตเป็นพิเศษ แต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นต้นมา พระยาสิริจุลเสวกก็ได้เลื่อน ขึ้นเป็นทหารสัญญาบัตรจำเดิมแต่วาระนั้น การเลื่อนฐานะจากเสมียนเอกขึ้นว่าที่นายร้อยตรี เป็นนายทหารสัญญาบัตรครั้งนี้ ทำให้พระยาสิริจุลเสวก เปลี่ยนชีวิตใหม่อีกหน ๑ เป็นการเปลี่ยนอย่างใหญ่ เปลี่ยนไปในทางส่งเสริมรัศมีให้สุกใสไพโรจน์ ปรากฏเกียรติเด่นขึ้นในสายตาของมหาชน เมื่อเช่นนี้จึ่งเป็นของธรรมดาที่ต้องเกิดผู้อิจฉาริษยาพระยาสิริ ฯ ซึ่งจะหลีกพ้นมิได้ แต่พระยาสิริ ฯ มิได้ตอบแทน "ปรปักษ์ " ของท่านด้วยเวร ตรงข้าม


ด ท่านได้พยายามบำเพ็ญตนของตนให้สมกับเกียรติยศเกียรติศักดิ์ จนเป็นที่รับรองกันในหมู่ผู้รู้การณ์ว่า เท่าที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ทรงโปรดปรานแล้ว แต่งตั้งให้นั้นไม่เป็น ของผิด และไม่ยิ่งหรือหย่อนไปกว่าคุณงามความดี ซึ่งพระยาสิริ ฯ ได้ทำไว้เลย มีข้อพิสูจน์ความจริงในโสวจัสตา ของพระยาสิริจุลเสวก จากสมุดบันทึกความทรงจำอีกเล่ม ๑ ซึ่งพระยาสิริ ฯ เขียนไว้ด้วยมือของท่านเอง เป็นข้อเตือนใจตนเอง มีความตอน ๑ ว่าดังนี้ " เมื่อผู้บังคับบัญชายกย่อง และ เลื่อนฐานะขึ้นเป็นนายทหารสัญญาบัตรเช่นนี้ ก็เป็นการจำเป็นที่เราจักต้องขวนขวาย และฝึกฝนตนเอง ให้มีความรู้และความสามารถให้สมกับตำแหน่งหน้าที่โดยเต็มสติกำลัง และความสามารถ เมื่อแรกเป็นนายทหารยังขี่ม้าไม่เป็น ก็ต้องฝึกหัดขี่ม้าทั้งม้าเทศและม้าไทย ระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ แบบฝึกหัดสำหรับนายทหารจักต้องรู้และปฏิบัติที่เรายังไม่เคยเรียน หรือเคยทำ ก็ต้องเรียนต้องทำต้องรู้ แต่ความรู้เหล่านี้เราจะเรียน โดยหาครูมาสอน หรือจะเป็นนักเรียนอย่างนายทหารที่ออกจากโรง-เรียนนายร้อยนั้นหาได้ไม่ แต่นายทหารที่ออกรับราชการตามกรม กอง ก็ออกไปจากโรงเรียนนายร้อย เราก็เคยอยู่ในโรงเรียนนายร้อย มาแล้ว ย่อมได้ยินได้ฟังมากมาย เห็นการฝึกหัดสั่งสอนทหารมาทุก สิ่งทุกอย่าง เมื่อผู้บังคับบัญชาหลงลืมหรือใช้สอยก็ทำได้และรู้จักผิด


ต และชอบ ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาดำเนินกิจการไปได้ โดยไม่มีเสีย หายอย่างใด" อย่างไรก็ตาม พระยาสิริ ฯ เป็นคนฉลาดกอบด้วยไหวพริบ และปฏิภาณอย่างยอดเยี่ยมเป็นอัจฉริยนิสสัย ซึ่งจะหาตัวจับได้ยาก การปฏิบัติหน้าที่ของพระยาสิริ ฯ โดยตรงแด่ "ทูลกระหม่อมเล็ก" จึง เป็นมาด้วยดีปราศจากการบกพร่อง พระยาสิริ ฯ ได้ กระทำสำเร็จ ต้องด้วยพระประสงค์เกือบทุกประการ รายการสังเขปแห่งประวัติ-การณ์ต่อไปนี้ย่อมเป็นองค์พะยานสนับสนุนกรณีให้เห็นเด่นว่า พระยาสิริ ฯ ได้รับผลจากความสวามิภักดิ์จงรักภักดีทั้งในราชการแผ่นดิน และส่วนพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ นั้นเป็นอย่างน่าปิติเพียงใด วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ รับพระราชทานสัญญาบัตร นายร้อยตรี วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ . ๒๔๕๕ รับพระราชทานสัญญา-บัตร นายร้อยโท และรับเงินเดือนอัตรานายร้อยโทชั้น ๒ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เลื่อนตำแหน่งเป็นนายทหารคนสนิทของเสนาธิ-การทหารบก และนายทหารคนสนิทของจเรสัตว์พาหะนะทหารบกและการทหารม้า วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๗ รับพระราชทานเลื่อน ยศเป็นนายร้อยเอก และรับเงินเดือนอัตรานายร้อยเอกชั้น ๓ มีนาคม เป็นนายทหารรับใช้ของเสนาธิการทหารบก ไปในการประลองยุทธ ภายในกองทัพน้อยทหารบกที่ ๑ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงรามภักดี วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘


ถ มีตำแหน่งเป็นกรรมการสภากาชาดสยาม และมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดสยามอีกตำแหน่งหนึ่งเป็นพิเศษ และเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคนแรก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม ตามเสด็จสมเด็จ พระอนุชาธิราช เจ้าฟ้า กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ไปตรวจราชการมณฑลนครราชสีมาและมณฑลอุบล และมณฑลภาคพายัพ คือ มณฑลนครสวรรค์ มณฑลมหาราษฎร์ มณฑลพายัพ เดือนมีนาคมเป็นนายทหารคนสนิทของผู้อำนวยการประลองยุทธใหญ่ ในเขตต์มณฑลกรุงเก่า และได้รับความชมเชยจากผู้อำนวยการประ- ลองยุทธใหญ่ และเสนาบดีกระทรวงกลาโหมว่า เป็นผู้ที่มีความชอบพิเศษทำการดีเยี่ยมกว่าผู้อื่น ( ฉะเพาะในตำแหน่งหน้าที่ ) ในเวลาประลองยุทธซึ่งควรประกาศนามให้ปรากฏตามแจ้งความสำหรับทหารบกที่ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๙ เลื่อนขึ้นรับเงินเดือนอัตรานายร้อยเอก ชั้น ๑ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ รับพระ ราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์มงกุฏชั้น ๕ เดือนมีนาคม เป็นนายทหารคนสนิทของผู้อำนวยการประลองยุทธใหญ่ ในเขตต์มณฑลนคร-ไชยศรี และราชบุรี ได้รับความชมเชยจากผู้อำนวยการประลองยุทธใหญ่ และเสนาบดีกระทรวงกลาโหมว่า เป็นผู้ที่ได้กระทำการเป็นผล ดี มีคุณควรได้รับความยกย่องเป็นพิเศษตามแจ้งความสำหรับทหารบกที่ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ เลื่อนขึ้นรับเงินเดือนอัตรานายพันตรี ชั้น ๓ รับพระราชทานสัญญาบัตรยศนายพันตรีแต่วัน

ท ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ กระทรวงกลาโหมสั่งให้ แต่งตัวสังกัด กรมทหารบกราบที่ ๑ มหาด- เล็ก รักษา พระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในศกนี้เสนาธิการทหารบกเตรียมการประกาศสงครามกับประเทศเยอร-มนี และได้เป็นกรรมการคัดเลือกผู้อาสาไปในงานพระราชสงคราม ณทวีปยุโรป ได้รับความชมเชยจากเสนาบดีกระทรวงกลาโหมตามแจ้งความสำหรับทหารบกที่ และได้รับพระราชทานเหรียญที่ ระลึกในราชสงคราม วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับเครื่อง ราชอิสสริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้น ๕ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้เลื่อนยศเป็น นายพันโท วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์มงกุฎ ชั้น ๔ และเหรียญรัต- นาภรณ์ชั้น ๔ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นราชองครักษ์เวร และเป็นกรรมการผู้ริเริ่มและเป็นเลขานุการสโมสรกลาโหมใน พระบรมราชูปถัมภ์คนแรก วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ เลื่อนขึ้น รับเงินเดือนอัตรานายพันโทชั้น ๒ และเป็นเลขาธิการสภาบำรุงวิทยา-ศาสตร์ของทหารบก วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นพระศรีณรงค์ วิชัย ความอดทน และ ความพากเพียร มานะอย่างแรงกล้า ประกอบกับความกตัญญูกตเวทีของพระยาสิริ ฯ ส่งผลให้ปรากฏเด่นเป็นเกียรติ


ธ ประวัติอันงาม ซึ่งน้อยคนนักจะทำได้เสมอเหมือน เราท่านย่อมทราบกัน อยู่ดีว่า ในสมัยราชาธิปไตยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น การทำตนให้เจ้านายโปรดปรานทนทาน เพราะทรงเห็นความสามารถอย่างมั่นคงยงยืนนั้น ไม่ใช่เป็นของปฏิบัติได้ง่าย และฉะเพาะอย่างยิ่งสำหรับทูลกระหม่อมเล็กพระองค์นี้แล้วยิ่งยากนัก ข้าพเจ้ายังไม่ลืมภาพ ๑ ที่ได้ประสพกับตาเองขณะเล่น เต็นนิสอยู่กับพระยาสิริ ฯ ที่สโมสรกลาโหมวัน ๑ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ซึ่งวันนั้นเป็นวันที่ข่าวร้ายที่สุดในชีวิตของท่านได้มาปรากฏขึ้น กล่าวคือโทรเลข ด่วนส่งจากสิงค์โปร์แจ้งมาว่า สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประ-ชานารถ ซึ่งประชวรด้วยโรคพระปับผาสะนั้น เสด็จทิวงคตเสียแล้ว พระยาสิริ ฯ ผงะทิ้งแร็กเก็ท เดินเซออกนอกสนามไปซุดกายลงบนเก้าอี้พัก ร้องไห้ร่ำไรคร่ำครวญด้วยเสียงดังก้อง จนสมาชิกที่เล่นด้วยกัน ทุกคนพากันทราบเรื่องทิวงคตเพราะอาการวิปโยคทุกข์ของพระยาสิริ ฯ นั้นเอง ชีวิตแห่งวาสนาของ พระยาสิริจุลเสวก ได้ถึงบริเฉทลงเป็นขั้น แรกแต่วาระนั้น แต่ยัง..... สำหรับผู้มีความกตัญญูกตเวทีอย่างแรงกล้า กอบกับสมรรถภาพอันบริบูรณ์ในตนเองอย่างพระยาสิริ ฯ นั้น ความสดชื่น แห่งวาสนายังจะยุตติลงเสียเพียงนั้นหาได้ไม่ และข้อนี้เอง เป็นเครื่องพิสูจน์สำคัญอีกส่วน ๑ ที่ว่า พระยาสิริ ฯ มีความสามารถในตนจริงหรือไม่ นั่นคือ หลังจากการทิวงคตของพระจอมบุรพการีแห่งพระยา

น สิริจุลเสวกแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต มาทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกสืบต่อไป และพระยาสิริจุลเสวกก็ได้ตำแหน่งนายทหารคนสนิทของ เจ้านายพระองค์นี้เช่นพระองค์ก่อน และปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นที่เรียบร้อย เช่นเดียวกับสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ที่เสด็จทิวงคตไปนั้นทุกประการ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนกับธันวาคมปี พ.ศ. ๒๔๖๔ พระยาสิริ ฯ ได้ตามเสด็จจอมพล สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในคราวเสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา มณฑลปราจีน และประเทศกำภูชา คือ เมืองพะตะบอง เสียมราษฎร์ พนมเป็ญ ตามหน้าที่เป็นที่ต้องพระอัธยาศัย และทรงไว้วางพระหฤทัยเป็นอันมาก ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ ก็เลื่อนขึ้นรับเงินเดือนอัตรานายพันโทชั้น ๑ ครั้น ต่อมาในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ก็เลื่อนขึ้นรับเงินเดือนอัตรานายพันเอกชั้น ๓ และรับสัญญาบัตรเลื่อนยศเป็นนายพันเอกเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ปีเดียวกันนั้น เส้นวาสนา ของพระยาสิริจุลเสวก เปล่งปลั่งแจ่มใสตลอดมาโดยลำดับกาล ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ นั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นราชองครักษ์ และรุ่งขึ้นปี ๒๔๖๙ ก็ย้ายตำแหน่งมาเป็นหัวหน้านายทหารคนสนิทของเสนาบดีกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๗๐ เลื่อนเงินเดือนชั้น ๒ และต่อมาเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ก็ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระยาสิริจุลเสวก ถึงยุคนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระ


บ นครสวรรค์วรพินิต ทรงย้ายไปเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และนายพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช มาเป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม การทำงานของพระยาสิริ ฯ ก็คงดำเนินมาเป็นปกติ และ พ.ศ. ๒๔๗๓ ก็ได้เลื่อนชั้นเงินเดือนขึ้นอัตรานายพันเอกชั้น ๑ เต็มขีดบริบูรณ์ของนายทหารผู้ใหญ่รองจากชั้นนายพล ตราบจนถึงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงจัดรูปกองทัพบกใหม่ เป็นไปในทางประหยัด เพราะปีนั้นการเศรษฐกิจของประเทศซุดโซมลง พระยาสิริ ฯ ก็ออกจากประจำการเป็นนายทหารนอกราชการรับบำนาญตลอดมาจนถึงวันสิ้นชีพ พระยาสิริจุลเสวก ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ จตุรถาภรณ์ช้างเผือก กับ ตริตาภรณ์มงกุฎสยามเป็นสูงสุด แต่ในระหว่างที่พ้นจากประจำการแล้ว พระยาสิริจุลเสวกก็ยังมาทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดสยาม จัดการปรับปรุงสภากาชาดให้บรรลุความเจริญยิ่งขึ้น จนได้รับเหรียญสมนาคุณทองลงยาอันเป็นชั้นเยี่ยมของสภาที่กล่าวนามนั้น ตราบถึงวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระยาสิริจุลเสวกได้ขอเวนคืนตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาด เพื่อประหยัดรายจ่ายของสภา ซึ่งเป็นของน่าเห็นน้ำใจอันดีงามที่พระยาสิริ ฯ แสดงเป็นตัวอย่างไว้ ควรเป็นที่ทราบในที่นี้ด้วยว่า จำเดิมแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการณต่างประเทศ เมื่อ


ป พ.ศ. ๒๔๖๔ แล้ว พระยาสิริ ฯ ก็ได้ทำการติดต่อ รับสนองพระกรณียกิจตามพระประสงค์อยู่เสมอตลอดมาความสามารถในหน้าที่ตลอดจนนิส- สัยซื่อถือสัตย์มั่นกตัญญูของพระยาสิริ ฯ รวมทั้งอัธยาศัยเยือกเย็นสุขุมบริบูรณ์ด้วยความเป็นผู้ใหญ่ ได้ทำให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงโปรดปรานไว้วางพระทัยอย่างสนิท เมื่อพระ องค์เจ้าจุลจักรพงษ์เสด็จเยี่ยมพระนครครั้งแรก พระยาสิริ ฯ ก็ได้ไป รับเสด็จถึงสิงคโปร์ แล้วไปส่งเสด็จที่ชะวา ครั้นเมื่อพระยาสิริ ฯ ได้ เวนคืนตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดสยาม ความก็ทราบถึง พระกรรณพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ จึงโปรดประทานพระอนุเคราะห์อย่างใหญ่ คือ เงินเบี้ยเลี้ยงชีพให้พระยาสิริ ฯ ตั้งแต่นั้นมา พะยานแห่งความไว้วางพระทัยของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ในตัวพระยาสิริจุลเสวกนั้น จะได้เห็นจากข้อความในพระหัตถ์เลขาที่ทรงลิขิตไว้ใต้พระฉายาลักษณ์ ซึ่งทรงประทานไว้ ว่า ดังนี้ " ให้พระยาสิริจุลเสวก จากผู้ที่มีความไว้ใจอย่างที่สุด จุลจักรพงษ์ วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ "

ชีวิตบั้นปลายของพระยาสิริจุลเสวก หลังจากพ้นหน้าที่ราชการทุก


ผ อย่างมาแล้วนี้ เป็นชีวิตที่เป็นมาด้วยความสุขความสมบูรณ์เยี่ยงปกติชน แต่เนื่องจากความซื่อสัตย์สุจริต อันเป็นคุณธรรมสำคัญประจำตัว พระยาสิริ ฯ มาแต่ไหนแต่ไร พระยาสิริ ฯ จึ่งมิได้มีโอกาสว่างพักเต็มที่กล่าวคือ เมื่อพ้นหน้าที่ราชการ ก็มีกระแสรับสั่งจากพระเจ้าวรวงศ์ เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งประทับอยู่ในต่างประเทศ โปรด ให้พระยาสิริจุลเสวกเป็นผู้แทน พระองค์ท่านดูแลจัดการผลประโยชน์ ณสำนักงานจัดการผลประโยชน์ ฯ สืบต่อมาจนถึงปัจฉิมวารของพระยาสิริ ฯ อนึ่งเล่าระหว่างที่พระยาสิริ ฯ ปฏิบัติการงานถวายนั้น ก็เป็นที่ชอบพระอัธยาศัยและไว้วางพระทัย ได้ประทานที่ดินและตึกให้อีก วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ซึ่งเป็นวาระที่โรคมาเลเรีย อันได้เบียดเบียฬพระยาสิริ ฯ มาช้านาน เนื่องจากความตรากตรำในหน้าที่แต่ตัวท่านเองมิทราบชัดนั้นได้กำเริบร้ายแรงขึ้น แพทย์รักษามีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดก็ถึงแก่กรรม ณบ้านถนนสีลม จังหวัดพระนคร ท่ามกลางบุตร ภรรยา และประยูรญาติทั้งมวล เป็นอันปิดฉากชีวิต อันรุ่งโรจน์วาสนาของ นายพันเอก พระยาสิริจุลเสวก ลงเป็นอวสานในชนมายุกาล ๔๖ ปี ๓ เดือน กับ ๑๔ วัน นายร้อยโท ขุนพิสดารพิธียุทธ์ ( พิสดาร จุลเสวก ) เป็นบุตรชาย คนเดียวของพระยาสิริจุลเสวก กับคุณหญิงเชื้อ ซึ่งรับสืบทายาทสกุลจุลเสวกต่อไป โดยพระบารมีแห่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า จุลจักรพงษ์ ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงตลอดทั้งบุตรภรรยาของพระยา สิริ ฯ สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ฝ มรณกรรมของพระยาสิริ ฯ ย่อมยังความเศร้าสลดอันมีขอบเขตต์ไพศาลมาสู่วงศาคณาญาติ ตลอดจนมิตรสหาย และผู้รู้จักคุ้นเคยเพราะโดยนิสสัย อัธยาศัย พระยาสิริ ฯ เป็นบุคคลผู้หนึ่ง ซึ่งใจเย็น ใจอ่อน พร้อมที่จะช่วยทุกข์แก่คนทุกชั้นที่บากหน้าเข้ามาขอความอุปการะทุกเมื่อ โดยกิริยามรรยาท พระยาสิริ ฯ เป็นคนสุภาพอ่อนโยนและละมุนละไมเป็นที่น่ารักน่าเคารพแก่คนที่ได้ผ่านเข้ามาติดต่อ โดยลักษณะเพื่อน พระยาสิริ ฯ เป็นเพื่อนดีของคนทุกคน และเป็นเพื่อนที่อารีอารอบและใจกว้างขวาง โดยลักษณะผู้ใต้บังคับบัญชา พระยา สิริ ฯ เป็นผู้บังคับบัญชาที่ดี ไม่ทำให้ผู้บังคับบัญชาเดือดร้อน และ ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่ เป็นที่ไว้วางใจได้อย่างมั่นคง โดยลักษณะผู้บังคับบัญชา พระยาสิริ ฯ ก็เป็นผู้บังคับบัญชาที่ดี รู้จักปกครองผู้น้อยที่อยู่ใต้บังคับบัญชาให้ทั้งรักและกลัวเป็นนิสสัย ฯ ล ฯ พระพุทธภาษิตบท ๑ กล่าวว่า " กลฺยาณํ ยทิวาปาปํ น หิ กมฺมํ วิมสฺสติ " แปลว่า กรรมดีหรือชั่วก็ตาม ย่อมไม่ศูนย์หายไปเลย วิญญาณพระยาสิริจุลเสวก ได้สละร่างไปแล้ว........สละไปด้วย ความสุกใสไพโรจน์ ในปรภพ แต่คุณงามความดีของพระยาสิริ ฯ เท่าที่ได้สร้างสมไว้แต่ปางหลังยังคงสถิตเสถียรสถาวรอยู่ในโลกนี้โดยมิ สิ้นศูนย์ ท่าน รัสกิน กล่าวภาษิตไว้ในเรื่อง อันทู ฮิส ลาสต์ ( Unto his last ) ว่า "The Maximum of life can only be reached by the maximum off


พ virtue " ความว่า " ระดับสูงสุดแห่งชีวิตอาจบรรลุถึงได้ด้วยระดับสูง สุดแห่งเกียรติคุณ " ท่าน เช็กสเบียร์ กล่าวภาษิตไว้ใน เรื่องแฮมเลทว่า " He 's truly valiant that can wisely suffer the worst that man can breathe " ความว่า "เขาผู้ซึ่งสามารถทนทรมานอย่างฉลาดได้ต่อสิ่งร้ายที่สุดซึ่งมนุษย์จะสามารถทนได้นั้น นับเป็นคนกล้าหาญอย่างแท้จริง " พระยาสิริจุลเสวกได้บรรลุถึงระดับสูงสุดแห่งชีวิตแล้วด้วยเกียรติ คุณอันสูงสุดซึ่งท่านได้สร้างสมไว้เองพระยาสิริจุลเสวกได้เคยทนทรมาน ต่อสิ่งร้ายที่สุดเท่าที่มนุษย์จะทนได้แล้วในชีวิตของท่านตลอดมา จึ่งจัดว่าท่านเป็นผู้กล้าหาญยิ่งด้วยความมานะบากบั่น...............สิ่ง เหล่านี้คือคุณงามความดีของพระยาสิริจุลเสวก อันจะตกทอดเป็นมฤตกของโลกนี้สืบไป ข้าพเจ้าขอตั้งสมาธิน้อมใจด้วยคาระวะแด่ท่านผู้มีเกียรติประวัติ คือพระยาสิริจุลเสวก ผู้ซึ่งร่างของท่านกำลังจะได้รับการพระราชทานเพลิงเป็นเกียรติยศในท่ามกลางญาติมิตรและบริวารทั้งหลาย และหวังว่าบรรดาท่านผู้มาให้เกียรติยศประชุมเพลิงในโอกาสนี้ คงจะรำลึกนึกถึงเกียรติคุณของท่านผู้ล่วงลับไปสู่สุคติแล้ว และอนุโมทนากุศลบุณย-ราศีซึ่งบุตรภรรยาของท่านกำลังบำเพ็ญอยู่ในวาระนี้โดยถ้วนทั่วกัน

บ้าน " ปาจิณพยัคฆ์ " ถนนนามบัญญัติ พระนคร วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐ สารบาญ

คำนำ หน้า ก บานพะแนก " ๑ พระราชพงศาวดาร " ๑ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกออกจากวัดพิชัย รบฝ่ายกองทัพพะม่ามุ่งตรงไปนครนายก " ๒ เดินทัพจากนครนายกไปทางปราจีนบุรี " ๔ ผ่านปราจีนบุรีเลี้ยวลัดไปยังชลบุรี " ๕ ผ่านชลบุรีไปจังหวัดระยอง " ๖ กรมการจังหวัดระยองคิดประทุษร้าย " ๗ กรมการจังหวัดระยองแตกหนีแยกไปตั้งซ่องอยู่ที่ บางปลาสร้อยและบ้างแกลง " ๘ แต่งคนไปเกลี้ยกล่อมพระยาจันทบุรี " ๘ ให้หลวงพิชัยราชาไปเกลี้ยกล่อมพระยาราชาเศรษฐี " ๑๑ ยกทัพไปปราบขุนรามหมื่นส้องที่บ้านแกลง " ๑๑ ยกทัพกลับมาปราบนายทองอยู่ นกเล็ก ที่บางปลาสร้อย " ๑๒ เดินทัพไปพักอยู่ที่จังหวัดระยอง " ๑๔ พระยาจันทบุรีให้พระสงฆ์มานำทัพ " ๑๔ เดินทัพตรงไปยังจันทบุรี " ๑๕


( ๒ ) พระยาจันทบุรีไม่ยอมส่งตัวขุนรามหมื่นส้อง ออกมาลุกะโทษ หน้า ๑๗ เดินทัพเข้ายึดจันทบุรี " ๑๗ พระยาจันทบุรีหนีไปเมืองพุทไธมาศ " ๑๘


ตอนกู้ชาติ ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาปราบพะม่าโพสามต้น " ๑๙ ทัพหน้าตีค่ายโพสามต้นฟากตะวันออกแตก " ๒๐ พระนายกองออกสวามิภักดิ์ " ๒๐ ถวายเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ " ๒๑ แต่งคนขึ้นไปเกลี้ยกล่อมเมืองลพบุรี " ๒๑ เคลื่อนกองทัพลงมาตั้งพักอยู่ธนบุรี " ๒๑ แจกจ่ายอาหารเลี้ยงราษฎรมากกว่าหมื่นคน " ๒๑ ทัพทะวายตีล่วงเข้ามาล้อมค่ายบางกุ้ง " ๒๒ ยกทัพเรือไปขับไล่ทัพทะวายแตกยับเยิน " ๒๒ หัวเมืองชั้นในสงบราบคาบ " ๒๓ บำรุงพระพุทธศาสนา " ๒๓ ยกทัพขึ้นไปปราบพิษณุโลกแต่ต้องถอยทัพกลับ " ๒๔ กรมหมื่นเทพพิพิธไปอยู่นครราชสีมา " ๒๔


( ๓ ) นครราชสีมาเกิดปั่นป่วน หน้า ๒๕ กรมหมื่นเทพพิพิธไปอยู่พิมาน " ๒๖ เกลี้ยกล่อมพระนายกองหนีไปอยู่พิมาย " ๒๖ กองทัพธนบุรีออกตามจับกรมหมื่นเทพพิพิธ " ๒๖ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบดาภิเษก " ๒๗ ข้าวแพง " ๒๘ หม่อมเจ้าอุบล หม่อมเจ้าฉิม เป็นโทษ " ๒๘


ตั้งต้นรวมอาณาจักรไทย ปราบนครศรีธรรมราช " ๒๙ โปรดให้พระเจ้านราสุริวงศ์ครองนครศรีธรรมราช " ๓๒ ปราบสวางคบุรี " ๓๓ แขกเมืองตรังกานูและยักกตราถวายปืนคาบศิลา ๒,๒๐๐ บอก " ๓๓ หลวงโกษา ( ยัง ) แตกจากพิษณุโลกหนีไปทาง ทิศอิสาน " ๓๓ โปรดให้พระราชาคณะในกรุงขึ้นไปอยู่สั่งสอนพระสงฆ์ ฝ่ายเหนือ " ๓๖ ทรงตั้งข้าหลวงครองเมืองฝ่ายเหนือ " ๓๗


( ๔ ) กองทัพพะม่าเชียงใหม่ลอบยกมาตีเมืองสวรรคโลก หน้า ๓๗ กองทัพพะม่าแตกกลับไป " ๓๘ ทัพหลวงเสด็จขึ้นไปปราบพะม่าเชียงใหม่ " ๓๘ ทัพหลวงถอยจากเชียงใหม่ " ๓๙ ปราบเมืองพุทไธมาศและเขมร " ๔๐ พระยาราชาเศรษฐีเจ้าเมืองพุทไธมาศแตกหนีไป " ๔๒ โปรดให้พระยาพิพิธเป็นพระยาราชาเศรษฐี " ๔๒ พระองค์อุทัยเจ้ากรุงกัมพูชาหนีไปเมืองลูกหน่าย " ๔๓ ทัพหลวงเสด็จไปกรุงกัมพูชา " ๔๓ ปราบพะม่าเชียงใหม่ " ๔๔ โปชุกพลาและมะยุง่วน แม่ทัพพะม่าแตกหนีไป จากเชียงใหม่ " ๔๔ โปรดให้พระยาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการ ครอง นครเชียงใหม่ " ๔๗ โปรดให้พระยาลำพูนเป็นพระยาอัยวงศ์ ครองนคร หริภุญชัย " ๔๗ โปรดให้พระยากาวิละครองนครลำปาง " ๔๗ พระยาวิเชียรปราการถวายนัดดานารี แต่ไม่ทรงรับ " ๔๘ พระยากาวิละถวายนัดดานารี " ๔๙ ทัพหลวงเสด็จกลับลงมาถึงเมืองเถิน " ๕๐ พะม่ายกเข้ามาทางด่านแม่ละมาว " ๕๐

( ๕ ) ทัพหลวงเสด็จกลับลงมาถึงเมืองตาก หน้า ๕๐ เรือพระที่นั่งกะทบตอไม้ล่มลง " ๕๑ ทัพหลวงเสด็จกลับลงมาถึงกรุงธนบุรี " ๕๔ โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทร พิทักษ์ ยกทัพไปตั้งรับพะม่าที่ราชบุรี " ๕๔ โปรดให้พระยาพิชัยไอศวรรย์ยกทัพไปขับไล่พะม่าที่ นครชัยศรี " ๕๕ ทัพหลวงเสด็จไปราชบุรี " ๕๖ ตำนานการหล่อปืนมหาเศวตรัตน์ " ๕๗ พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ทหาร " ๖๒ พระราชทานพระราชอาชญาสิทธิแก่เจ้าพระยานคร สวรรค์ " ๖๖ กองทัพพะม่ามารุกรานฝ่ายเหนือ " ๖๘ ทัพหลวงเสด็จขึ้นไปต่อต้านทัพพะม่า " ๖๘ เมืองพิษณุโลกเสียแก่พะม่า ว่าเพราะสิ้นสะเบียง " ๗๔ กองทัพพะม่ารีบกลับไปอังวะ " ๗๔ ทัพไทยออกตามตีทัพพะม่า " ๗๔ พุทธทำนายของมหาโสภิต " ๗๕ โปรดให้พระยาจักรี ( ด้วง ) เจ้าพระยาสุรศรี ( บุญมา ) พระยาธรรมา ( บุญรอด ) กลับ ลงมาทำนาฟากตะวันออกกรุงธนบุรี " ๗๘

( ๖ ) เจ้ากรุงปัญยีซื้อปืนถวาย ๑,๔๐๐ บอก พร้อมทั้งเครื่อง บรรณาการ หน้า ๘๐ ราชาภิเษกพระเจ้านครศรีธรรมราช " ๘๐ บริจจาคพระราชทรัพย์แจกคนอนาถาทั้งในกรุงนอกกรุง " ๘๒ การพระราชกุศลสักการะพระบรมอัฐิกรมพระเทพามาตย์ " ๘๒ ทรงปฏิสังขรณ์วัดบางยี่เรือนอก ( คือวัดอินทาราม ) " ๘๒ โปรดให้หล่อปืนใหญ่ " ๘๓ แต่งกองทัพไปปราบพระยานางรองตลอดถึงเมืองโขง, เมืองป่าสัก, เมืองอัตบือ " ๘๓ โปรดให้เจ้าพระยาจักร ( ด้วง ) เป็นสมเด็จพระเจ้า กษัตริย์ศึก " ๘๓ โปรดให้สร้างพระพุทธปฏิมาฉลองพระองค์ " ๘๕ มีพระราชปุจฉาถามพระสงฆ์ด้วยเรื่องผลของทาน " ๘๖ ปราบนครเวียงจันท์ " ๘๗ อัญเชิญพระแก้วมรกตมากรุงธนบุรี " ๘๗ พระมหาดาคิดการกบฏ " ๘๗ กำจัดพวกญวนกบฎ ( มีองเชียงชุนเป็นหัวหน้า ) " ๘๗ ปราบเขมร " ๘๘ พวกนายบุนนาคกบฎยกปล้นกรุงธนบุรี " ๘๙ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระผนวช " ๙๑


( ๗ ) พระยาสุริยอภัย ( บุญเมือง ) ยกทัพมาจาก นครราชสีมา หน้า ๙๒ พระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์สงครามคุมทหาร ออกต่อสู้ พระยาสุริยอภัย ( บุญเมือง ) " ๙๒ สมเด็จพระเจ้ากษัตริย์ศึก ( ด้วง ) รีบเดินทัพกลับ จากเขมร " ๙๓ สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี " ๙๓ ประหารชีวิตขุนนาง ๔๐ เศษ " ๙๔ ให้พระยาธรรมา ( บุญรอด ) และพระยาวิจิตรนาวี จับการสร้างพระราชวังใหม่ที่ฟากตะวันออกกรุง ธนบุรี " ๙๔ ชำระโทษกรมฝ่ายใน " ๙๔ ล้อมจับสมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทร พิทักษ์ และเจ้าพระยานครราชสีมาที่เขาน้อยใกล้ ปถวี ได้แล้วนำมาสำเร็จโทษที่กรุงธนบุรี " ๙๕ ราชาภิเษกเปลี่ยนพระวงศ์ใหม่ " ๙๕ เหตุการณ์ข้างเมืองอังวะ " ๙๖ สำเนาท้องตราปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๑๖ " ๙๗



( ๘ ) ฉบับที่ ๑ ถึง พระยายมราช ให้รวบรวมพรรค พวกสมกำลัง ยกลงไปขุดคูเลนณกรุงธนบุรี หน้า ๙๗ ฉบับที่ ๒ ถึง พระยานครชัยสิน เป็นต้น ให้ยกลง ไปจับการขุดคูเลนพระนคร " ๙๘ ฉบับที่ ๓ ถึงพระยาสุนทรพิพิธ ให้ยกลงไปจับการ ขุดคูเลนพระนคร " ๙๘ ฉบับที่ ๔ ถึงพระยาสุพรรณบุรี เป็นต้น ให้ลงไป จับการขุดคูเลนพระนคร " ๙๙ ฉบับที่ ๕ ถึงพระยายมราชเป็นต้น ให้เตรียมทัพยก ไปก้าวสกัดทัพพะม่าทางตะวันออก " ๑๐๐ สำเนาท้องตราปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๑๗ " ๑๐๓ ฉบับที่ ๑ ถึงเจ้าพระยาสวรรคโลก " ๑๐๓ ฉบับที่ ๒ ถึงเมืองกาญจนบุรีและเมืองศรีสวัสดิ ให้ เตรียมการคอยรับกองรามัญอพยพ " ๑๐๔ ฉบับที่ ๓ แสดงว่า เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชรักษา การในตำแหน่งสมุหนายก " ๑๐๔ ฉบับที่ ๔ ถึงเจ้าพระยาสวรรคโลก ว่ามีความผิดต้อง ถูกจำลงไปณกรุง " ๑๐๕ ฉบับที่ ๕ ถึงพระศรีสวัสดิ ให้สืบเหตุการณ์เมืองพะม่า " ๑๐๖ ฉบับที่ ๖ ถึงเมืองกำแพงเพ็ชร์ และเมืองนครสวรรค์ ให้เตรียมการรับเสด็จ " ๑๐๗

( ๙ ) ฉบับที่ ๗ ถึงเมืองสิงห์เป็นต้น ให้เตรียมทัพไปชุมพล ณบ้านระแหง หน้า ๑๐๘ ฉบับที่ ๘ ถึงเจ้าพระยานครราชสีมาเป็นต้น ให้รีบจัด แจง เลก ส่ง ไป เข้า กองทัพ รับเสด็จณเมืองตาก บ้านระแหง " ๑๐๙ ฉบับที่ ๙ ถึง ผู้รักษาเมืองกรมการ ให้รีบดำเนินการ ตามท้องตราฉบับที่ ๘ " ๑๑๐ บัญชีช้างหลวงปีวอกอัฐศก พ.ศ. ๒๓๑๙ " ๑๑๑ ถูกพะม่าตีต้อนเอาไป ๓๘ ช้าง " ๑๑๒ พระราชทานแก่กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ๑๐ ช้าง " ๑๑๒ ล้มและให้กองทัพรับพระราชทาน " ๑๑๒ จ่ายไปนครศรีธรรมราชและกรุงกัมภูชา " ๑๑๓ มฤดกเจ้าพระยาสวรรคโลก ๒๒ ช้าง " ๑๑๓ มฤดกเจ้าพระยาจักรี ( หมุด ) " ๑๑๔ มฤดกเจ้าพระยาสรรค์มอบแก่พระยาสรรค์ " ๑๑๔ บัญชีช้างหลวงปีระกานพศก พ.ศ. ๒๓๒๐ " ๑๑๔ ช้างอยู่ตามหัวเมือง " ๑๑๕ นำไปเมืองไทรบุรี " ๑๑๕ ไปด้วยทัพพระยาจักรี ( ด้วง ) และพระยาธรรมา ( บุญรอด ) " ๑๑๖ สารบาญค้นเรื่อง " ๑๑๗




ตัวอย่างลายมือในต้นฉะบับสมุดไทย



พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )

บานพะแนก (๑) ศุภมัสดุ ศักราช ๑๑๕๗ ปีเถาะสับตศก ( พ.ศ. ๒๓๓๘ ) สมเด็จพระบรมธรรมิกมหาราชาธิราชพระเจ้าอยู่หัว ผ่านถวัลราชย์ณกรุง เทพทวาราวดีศรีอยุธยา เถลิงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงชำระ พระราชพงศาวดาร

พระราชพงศาวดาร อนึ่งณวัน ๗๒ ค่ำ ปีจออัฐศก ( จ.ศ. ๑๑๒๘ พ.ศ. ๒๓๐๙ ) ขณะเมื่อกรุงเทพมหานครยังมิได้เสียนั้น พระเจ้าอยู่หัวอันมีภินิหารนับในเนื้อหน่อพุทธางกูรเจ้า ตรัสทราบพระญาณว่ากรุงศรีอยุธยาจะเป็น

(๑) พ.ศ. ๒๓๓๘ เป็นปีที่ ๑๔ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์



๒ (๑) อันตราย แต่เหตุอธิบดีเมืองแลราษฏรมิเป็นธรรม จึงอุตสาหะด้วยกำลังกรุณาแก่สมณพราหมณาจารย์ แลพระบวรพุทธศาสนาจะเสื่อมสูญเสีย จึงชุมนุมพักพวกพลทหารไทยจีนประมาณ ๑,๐๐๐ เศษ สรรพด้วยเครื่องสาตราอาวุธต่าง ๆ แลประกอบด้วยทหารผู้ใหญ่นั้น พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา หลวงราชเสนา ขุน อภัยภักดี หมื่นราชเสน่หา แล้วยกออกไปตั้งณวัดพิชัยอันเป็นที่ มงคลมหาสถาน ด้วยเดชพระบรมโพธิสมภาร เทพดาเจ้าอภิบาลรักษาพระพุทธศาสนาส้องสาธุการ บันดาลให้วรรษาการห่าฝนตกลงมาเป็นมหาพิชัยฤกษ์ จำเดิมแต่นั้นมาจึงให้ยกพลพยุหกองทัพออกจากวัดพิชัย ฝ่ากองทัพพะม่าออกมาเป็นเพลาย่ำฆ้องยามเสาร์ ได้รบกันกับพะม่าเป็นสามารถ พะม่ามิอาจจะต่อต้านทานพระบารมีได้ ก็ถอยไป จึงดำเนินด้วยพลทหารมาโดยสวัสดิภาพ ไปตามทางบ้านข้าวเม่าพอบรรลุถึงสำบัณฑิตเพลาเที่ยงคืน 2 ยามเศษ เพลิงเกิดในกรุงเทพฯ

(๑) ฉบับหมายเลข ๒/ไฆ ว่า "จึงอุตสาหะด้วยกำลังกรุณาแก่สมณพราหมณาจารย์ แลพุทธศาสนาจะเสื่อมสูญ เดิมชื่อจีนเจ้ง ซึ่งเป็นพ่อค้าเกวียน มีความชอบในแผ่นดิน ได้ไปเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอยู่ณเมืองตาก" ( ความที่แซกลงนี้ กระแสเรื่องรับกับพระราชพงศาวดารตอนจวนเสียกรุงเก่า ฉบับหมายเลข ๒/แฆ สมุดไทยดำเส้นดินสอขาว มีพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเจือปนอยู่ด้วย ซึ่งยังไม่ได้พิมพ์ และอีกแห่งหนึ่งคือพุทธทำนายของพระมหาโสกิต เจ้าอธิการวัดใหม่ ในตอนท้ายเล่มนี้ )


๓ ไหม้แต่ท่าทรายตลอดถนนหลวงไปจนวัดฉัททันต์ แสงเพลิงรุ่งโรจ โชตนาการ ครั้งพระองค์ได้ทอดทัศนาเห็นก็สังเวชสลดพระทัย ด้วยอาลัยถึง สมณพราหมณาจารย์ขัติวงศานุวงศ์ แลเสนาพฤฒามาตย์ราษฏร และพระบวรพุทธศาสนา มิใคร่จะไปได้ ดุจมีใจย่อหย่อนจากอุตสาหะ ซึ่งตั้งปฏิธานปรารถนาว่าจะแก้กรุงเทพมหานคร ซึ่งพระบวรพุทธ ศาสนา เทพดาเจ้าจึงบันดาลให้สมฤดีมีกำลังกรุณาอุตสาหะ ครั้นรุ่งขึ้นวัน ๑๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๘ ปีจออัฐศก ให้ยก (๑) กองทัพไปถึงบ้านโพสามหาว พะม่ายกทัพติดตามไป จึงให้ตระเตรียมพลทหารไทยจีนไว้ ครั้นกองทัพพะม่ายกมาถึง จึงดำเนินพลทหารออก รบเป็นสามารถ พะม่าแตกระจัดกระจายพ่ายแพ้ไป เก็บได้เครื่อง สาตราวุธเป็นอันมาก จึงหยุดประทับแรมอยู่บ้านพรานนก ฝ่าย ทแกล้วทหารออกไปลาดเลี้ยวเที่ยวหาอาหาร จึงพบกองทัพพะม่ายกมาแต่บางคาง พะม่าไล่ติดตามมาถึงที่ประทับ จึงเสด็จขึ้นมากับม้าทหาร ๔ ม้าออกมารบกับพะม่าก่อน กองทัพทั้งปวงจึงตั้งปืนปีกกาออก รบแซงล่อข้าง กองทัพพะม่า ๓๐ ม้าแตกย่นไปถึงพลเดินเท้า ๒๐๐๐ ก็กระจายไป ฝ่ายทแกล้วทหารเห็นกำลังบุญฤทธิเป็นอัศจรรย์ดังนี้ ก็ ยกย่องว่าเป็นจอมกษัตริย์สมมุติวงศ์ _________________________________________________________ (๑) ฉบับหนึ่งว่า บ้านโพสาวหาร อีกฉบับหนึ่งว่า บ้านโพสังหาร


๔ ครั้นรุ่งขึ้นณวัน ๒๒ ค่ำ ขุนชำนาญไพรสณฑ์ แลนายกอง ช้างสามิภักดิ์เอาช้างมาถวาย พลาย ๕ พัง๑ เข้ากันเป็น ๖ ช้าง จึง นำเสด็จไปถึงบ้านบางดง เข้าหยุดประทับในที่นั้น แล้วสั่งให้หาขุนหมื่นพันทนายบ้านออกมา จะประศาสน์ราโชวาทโดยดี แลขุนหมื่นพันทนายบ้านมิได้เชื่อพระบารมี ขัดแข็งคิดประทุษร้าย ซ่องสุมโยธาทหารไว้คอยปองทำร้าย ครั้นตรัสทราบเหตุนั้นแล้วมิได้จองเวร คิด ว่าเป็นข้าขอบขันธเสมา มีอิจฉาการแต่จะให้เป็นสุขพร้อมกัน จึงให้ทหารไปว่ากล่าวเกลี้ยกล่อมโดยธรรมราชประเพณีถึง ๓ ครั้ง ก็มิได้อ่อนน้อม กลับท้าทายอีก จึงตรัสว่าเป็นผลกรรมแห่งสัตว์ทั้งปวงแล้ว ครั้นณวัน ๓๒ ค่ำ ปีจออัฐศก จึงเสด็จทรงม้านำพลทหาร ๒๐ ฝ่าเข้าไป ขุนหมื่นพันทนายชาวบ้านบางดงมากกว่า ๑๐๐๐ ออกต่อสู้ยิงปืนสะกัดหน้าหลังหวังจะทำอันตราย ด้วยเดชะพระบารมี จะได้ถูกต้องผู้ใดหามิได้ ก็ขับม้านำทหารบุกรุกเข้าไป ให้ทหารปีนขึ้นหักเอาค่ายได้ ไล่ตะลุมบอนฟันแทงทหารชาวบ้านบางดงแตกกระจัดกระจายแหกค่ายหนีไป ได้ช้างพลาย ช้างพัง ๗ ช้าง และได้ หิรัญสุวรรณธัญญาหารเป็นอันมาก ครั้นณวัน ๔๒ ค่ำ จึงยกพลทหารมาประทับตำบลหนองไม้ทรุงตามทางเมืองนครนายก ประทับรอนแรมไป ๒ วันถึงบ้านนาเริ่ง ออกจากบ้านนาเริ่งวันหนึ่งจึงถึงเมืองปราจินบุรี ข้ามด่านกบแจะหยุดพักพลหุงอาหารณฟากตะวันออก แล้วให้ยกพลนิกายข้ามทุ่งไปจนเวลา


๕ บ่าย ๕ โมง ตรัสทราบว่า พระเชียงเงิน ขุนพิพิธวาที นักองค์ราม เจ้ากรุงกัมพูชา ๓ คนนี้มามิทัน จึงทรงม้าเสด็จมากับหลวงพรหมเสนา จะเร่งพวกพระเชียงเงินก็มิได้พบ ครั้นณวัน ๒๒ ค่ำ ให้ยกพลทหารเข้าไปในป่า หยุดประทับที่สำนักหนองน้ำ หุงอาหารสำเร็จแล้ว พอเพลาบ่ายประมาณ ๒ โมงพระเชียงเงินมาถึง ทรงพระพิโรธตรัสให้โบย ๓๐ ที แล้วตรัสเห็น กิริยาพระเชียงเงินว่ามิเป็นใจด้วยราชการ จึงสั่งให้ประหารชีวิตเสียนายทัพนายกองทูลขอชีวิตไว้ ครั้นเพลาบ่ายประมาณ ๔ โมง พะม่าไล่แทงฟันคนซึ่งเลื่อยล้าอยู่นั้นวิ่งหนีมาตามทาง ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็น จึงให้นายบุญมีขึ้นม้าใช้สวนทางลงไปประมาณ ๒๐๐ เส้น พบกองทัพพะม่ายกขึ้นมาแต่ปากน้ำ โจ้ โล้ทั้งทัพบกทัพเรือ มาขึ้นที่ท่าข้าม ครั้นเห็นธงเทียวเสียงฆ้อง กลองรู้ว่าเป็นพะม่ามั่นคงแล้ว น้ำก็กลับมากราบทูลตามได้เห็น ทุกประการ จึงรับสั่งให้พลทหารตั้งปืนตับใหญ่น้อยดาซุ่มอยู่ ๒ ข้างทางแล้วให้คนหาบเสบียงครัวไปก่อน แต่พระองค์กับทหารประมาณ ๑๐๐ เศษคอยรับพะม่า ครั้นเพลาบ่ายโมงเศษพะม่ายกกองทัพมาถึง จึงเสด็จนำหน้าพลทหารด้วยหลวงชำนาญไพรสณฑ์ พระเชียงเงิน นายบุญมี นายทองดี นายแสง ทหาร ยกออกรับล่อพม่านอกปืนใหญ่น้อยซึ่งตั้งดาไว้ประมาณ ๖-๗ เส้น พะม่ายกทัพเรียงเรื่อยมาจำเพาะในพงแขม ครั้นเข้ามาใกล้ได้ทีแล้ว ก็ยิงปืนใหญ่น้อยพร้อมกัน ถูกพะม่า


๖ ล้มตายเป็นอันมาก พะม่าที่ยังเหลืออยู่นั้นอุดหนุนกันเข้ามาอีก จึงล่อให้ไล่เข้ามาแล้วยิงปืนใหญ่น้อยถูกพะม่าล้มตายทับกันเป็นอันมาก พะม่าหนุนเข้ามาอีก วางปืนตับคำรบ ๓ ครั้ง พะม่าแตกกระจัดกระจายไปจึงรับสั่งให้พลทหารโห่ร้องตีฆ้องกลองสำทับ พะม่าแตกจะคุมกันเข้า มิได้ จึงให้ยกพลนิกายมาประทับตามลำดับ บ้านทองหลาง , ตะพานทอง, บางปลาสร้อย ถึงบ้านนาเกลือ นายกล่ำคุมไพร่พลทหารอยู่ที่ นั่นคอยสะกัดคิดประทุษร้าย เสด็จทรงช้างพระที่นั่งสรรพด้วยเครื่อง สรรพาวุธ ทรงพระแสงปืนต้นรางแดงกับหมู่พลโยธาหาญ เข้าไปใน หว่างพลทหารซึ่งนายกล่ำอยู่นั้น ด้วยเดชโพธิสมภาร บันดาลให้นายกล่ำกับพลทหารสยบสยองกลัวพระอานุภาพ วางอาวุธเสียลงถวายบังคมอ่อนน้อม ขอยอมเป็นข้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงนำเสด็จพระดำเนินเข้าไปประทับในสถานอันควร แล้วพระราชทานทรัพย์แลราโชวาทให้ตั้งอยู่ในยุติธรรม ครั้นรุ่งขึ้นณวัน ๓๒ ค่ำ นายกล่ำคุมไพร่ ๑๐๐ นำเสด็จไปถึง พัทยา หยุดประทับแรมที่นั้น รุ่งขึ้นยกมานาจอมเทียนประทับแรมที่นั้นคืนหนึ่ง จึงยกมาแรมทัพไก่เตี้ย รุ่งขึ้นมาประทับแรมสัตตหีบ แล้ว ยกมาชายชเล ประทับแรมอยู่จนเพลารุ่งขึ้นมาประทับหินโด่ง รุ่งขึ้นประทับแรมน้ำเก่า ผู้รั้งเมืองระยองกรมการทั้งปวง ชวนกันมาต้อนรับเสด็จ ถวายธัญญหารเกวียนหนึ่ง เสด็จดำเนินมาถึงประตู จึงพระ ราชทานปืนคาบศิลาบอกหนึ่งแก่ผู้รั้งเมืองระยอง แล้วเสด็จมาประทับ


๗ อยู่ณวัดลุ่ม ๒ เวน รับสั่งให้จัดลำเลียงอาหารขุดค่ายคู แลนายบุญรอด แขนอ่อน นายบุญมาน้องเมียพระยาจันทบูร เข้าถวายตัวทำราชการอยู่ด้วย จึงนำคุยหรหัสกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าแจ้งเหตุว่า ขุน (๑) รามหมื่นส้อง นายทองอยู่ นกเล็ก ขุนจ่าเมือง ด้วง หลวงพลแสนหาญกรมการเมืองระยอง คบคิดกันคุมพักพวกพลทหารประมาณ ๑,๕๐๐ เศษจะยกเข้ามาทำประทุษร้าย จึงมีพระราชบริหารสั่งให้หาผู้รั้งเมืองระยองมาถามว่า เรามาทำราชกิจทั้งนี้ไซร้ ด้วยกรุณาจะให้สมณ ทวิชาจารย์ประชาราษฏรทั้งปวงเป็นสมานสุขสามัคคีรสมิได้วิหิงษา ซึ่งกระทำการอุบายประทุษร้ายเราผู้มีกรุณาจิตต์นั้นจริงหรือประการ ใด ผู้รั้งเมืองระยองมิรับ ตรัสทราบพระญาณด้วยอาการกิริยา จึง ตรัสสั่งให้หลวงพรหมเสนาคุมตัวจำไว้ แลสั่งให้ตระเตรียมสรรพ อาวุธ, ผูกช้าง, ม้า, ปืนใหญ่, ปืนน้อย, ตั้งจุกทางไว้ครบสรรพ ครั้นเพลาค่ำประมาณทุ่มเศษ อ้ายเหล่าร้ายยกทหารลอบเข้ามา ตั้งค่ายล้อมได้ ๒ ด้านแล้ว โห่ร้องยิงปืนใหญ่น้อยระดมรุกเข้ามา จึงตรัสให้ดับแสงเพลิงเสีย จัดทหารประจำหน้าที่สงบไว้ แล้วเสด็จ ด้วยทหารไทยจีนถืนปืนคาบศิลา พระเชียงเงิน ท้ายน้ำ หลวง ชำนาญไพรสณฑ์ หลวงพรหมเสนา นายบุญมี นายแสง ทหาร นายอยู่ ศรีสงคราม นายนาค ทหาร ทำมะรงอิ่ม ทหาร แลทหารจีนนั้นคือหลวงพิพิธ หลวงพิชัย ขุนจ่าเมือง เสือร้าย หมื่นท่อง หลวงพรหม _________________________________________________________ (๑) อีกฉบับหนึ่งว่า หลวงพลเสน่หา

๘ ถือดาบ ง้าว เสด็จออกเที่ยวตรวจตรารอบค่าย ดูท่าทางข้าศึกจะ เข้ามาแห่งใดตำบลใด แลอ้ายเหล่าร้ายชื่อขุนจ่าเมือง ด้วง กับทหารประมาณ ๓๐ คน ลอบไต่ตะพานวัดเนินเข้ามาใกล้ค่ายหลวงประมาณ ๕-๖ วา จึงรับสั่งให้วางปืนพร้อมกัน ถูกขุนจ่าเมืองแลทหารตก ตะพานตายเป็นอันมาก แล้วให้ทหารปืนเข้าตะลุมบอนฟันแทงข้าศึกหักเอาค่ายได้ อ้ายเหล่าร้ายล้มตายแตกยับเยิน หมู่ทหารไล่ติดตามไปทางประมาณ ๕๐-๖๐ เส้น จึงรับสั่งให้ลั่นฆ้องชัยสัญญาเรียก พลทหารเข้าค่ายให้พร้อมกัน แลหมู่ทหารทั้งปวงเข้าค่ายได้จุดเพลิงเผาขึ้นแห่งหนึ่ง แล้วก็เก็บเอาเครื่องสาตราวุธ, หิรัญ, สุวรรณ, วัตถา, ธัญญาหาร, ครอบครัวเป็นอันมาก แล้วกลับมายังค่ายหลวง จึงตรัสให้ยับยั้งอยู่บำรุงทแกล้วทหาร ให้มีกำลังอยู่ณเมืองระยองประมาณ ๗-๘ วัน จึงสั่งให้ประชุมเสนาทหารนายทัพนายกองไทยจีนพร้อมกัน จึงตรัสปฤกษาว่า เราจะทำการครั้งนี้ด้วยความวิหิงษาอาธรรม์หามิได้หวังจะให้เป็นสุขประโยชน์แก่สมณพราหมณาประชากรทั้งปวง ให้ เป็นเกียรติยศสืบไป แลเมืองจันทบุรีจะถึงการพินาศฉิบหายดุจเมืองระยอง แลบัดนี้เราคิดเอ็นดูแก่สัตว์ทั้งปวง แลท่านทั้งหลายจะเห็นว่า ผู้ใดมีอัชฌาสัยจะให้ไปเจรจาโดยยุติธรรม ให้พระยาจันทบูรอ่อน น้อมลง อย่าให้เกิดยุทธสงครามได้ความเดือนร้อนแก่สมณพราหมณาประชาราษฎรได้นั้น จึงเสนาบดีนายทัพนายกองปฤกษาพร้อมกัน กราบบังคมทูลว่า เห็นแต่นายบุญมี มหาดเล็ก นายบุญรอด แขนอ่อนนายบุญมาน้องเมียพระยาจันทบูร สามคนนี้เห็นจะได้ราชการอยู่ ตรัส

๙ เห็นด้วย รับสั่งให้ไปตามคำปฤกษา จึงนายเผือก ญวน นักมา เขมรรับอาษาพาข้าหลวง ๓ คนไปโดยทางชลมารค ออกปากน้ำเมืองระยองแล้วใช้ใบประมาณ ๕ วันถึงปากน้ำเมืองจันทบูร เพลารุ่งขึ้นเช้าจึง เข้าไปหาพระยาจันทบูร เจรจาโดยธรรมราชประเพณีกระแสรับสั่งนั้นพระยาจันทบูรมีความยินดีนัก สั่งให้ขุนนางวางกระทำสัมมาคารวะเลี้ยงดูโดยปกติยินยอมด้วย แล้วว่าอีก ๑๐ วัน ข้าพเจ้าจะแต่งออกไปรับเสด็จและกองทัพเข้ามาณเมืองจันทบูร จะได้คิดอ่านราชการแก้ ฝีมือพะม่า ครั้นเพลาบ่าย ๓ โมง พระยาจันทบูรจึงแต่งเรือรบลำหนึ่ง มีพลกระเชียง ๒๐ พร้อมด้วยเครื่องอาวุธ พระยาจันทบูรลงเรือด้วยข้าหลวงออกมาส่งณปากน้ำถึงที่ทอดเรืออยู่นั้น แล้วพระยาจันทบูรกับข้าหลวง นายเผือก นักมา จึงขึ้นบนศาลเทพารักษ์ ชวนให้กระทำสัตย์ต่อกัน แล้วพระยาจันทบูรกลับแกล้งถามว่า เราได้ให้ความ สัตย์เป็นมิตร์กันแล้ว อย่าได้อำพรางกัน เหตุผลร้ายดีประการใดจงบอกแก่เราแต่ตามจริงเถิด ข้าหลวงจึงตอบว่า เราได้เป็นมิตร์ด้วย ท่านแล้ว จะสู้เสียชีวิตรักษาสัตย์ธรรมไว้มิให้เสียการอย่าสงสัยเลย อันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งเรานี้ มีพระราชจริตปราศจากล่อลวง ถ้า มีพระราชบริหารตรัสสิ่งใดแล้วเป็นสัตย์มิได้หวาดไหว ตั้งพระทัย สถิตอยู่ในพรหมวิหารเพื่อจะให้เป็นพุทธบารมีสืบไป อันบุคคลผู้ใด มิได้คิดประทุษร้ายก่อนแล้วจะได้เบียดเบียนนั้นมิได้มีเลย ท่านจงตั้งภักดีจิตต์ไปถวายบังคมเถิด แล้วข้าหลวงก็ลาออกจากปากน้ำจันทบูร ๒

๑๐ วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ก็ถึงปากน้ำเมืองระยอง จึงขึ้นไปกราบทูลให้ทรงทราบทุกประการ ครั้นได้ทรงฟังก็ทรงพระราชดำริโดยรอบคอบแล้วก็นิ่งไว้ในพระ ทัย ครั้นอยู่มาประมาณ ๑๐ วัน ถึงสัญญาพระยาจันทบูรแล้ว แลพระยาจันทบูรจะได้มาหามิได้ ใช้ ให้แต่คนเอาข้าวเปลือกบรรทุกเรือประมาณ ๔ เกวียนมาถวายณเมืองระยอง ครั้นอยู่มาวันหนึ่งนายบุญเมือง มหาดเล็ก ผู้รั้งเมืองบางละมุง คุมไพร่ ๒๐ คน ว่าพะม่าใช้ให้ถือหนังสือออกไปเมืองจันทบูร ให้แต่ง ดอกไม้เงินทองเข้าไปณโพสามต้น แลพระหลวงขุนหมื่นนายทัพนายกองแจ้งดังนั้นมิได้ไว้ใจ ( เกลือก ) ว่าเป็นพักพวกพะม่าให้มาด้วย กลอุบายใช้ให้ติดตามเรา จะไว้ใจให้อยู่ในกองทัพเรามิได้ ด้วย เอาใจออกหากจากกรุงเทพ ฯ แล้ว ชอบให้ประหารชีวิตเสีย แลนายบุญรอด แขนอ่อน กราบทูลจะขอเอาไปประหารชีวิต ทรงพระกรุณาขอชีวิตไว้ แล้วตรัสประภาษด้วยพระราชธิบายว่า พะม่ามาล้อมกรุงเทพฯ ครั้งนี้ ผู้ใดจะตั้งใจเข้าด้วยพะม่านั้นหามิได้ แต่ถึงกาล แล้ว หากจำเป็นไป อนึ่ง นายบุญเมือง ผู้รั้งบางละมุงนี้ ได้เป็นข้า ใช้เรามาแต่ก่อน เห็นพอจะใช้ได้ราชการอยู่ เลราชการเมือง จันทบูรยังมี ผู้รั้งบางละมุงกับพระยาจันทบูรเป็นคนชอบกัน จะให้เอาหนังสือพม่านี้ไปถึงพระยาจันทบูร ๆ ก็จะยกกองทัพมารับเราเข้าไปคิดราชการด้วยกันตามสัญญา แลจะได้แจ้งในความสัตย์สุจริตนั้นด้วย อนึ่ง พะม่าตั้งอยู่ณเมืองธนบุรีแลล้อมกรุงเทพฯ ไว้นั้น ในกรุงก็ ได้มีหนังสือไปถึงพระยาราชาเศรษฐี ๆ แต่งกองทัพลำเลียงอาหารเข้า ๑๑ มาช่วยถึงปากน้ำ พะม่าคอยสะกัดทางทำอันตรายอยู่ไปมิถึง พอสิ้นเสบียงอาหารแล้วก็กลับไป เห็นว่าความชอบเมืองพุทไธมาศมีแก่กรุงอยู่ บัดนี้เราจะให้ศุภอักษรไป ให้พระยาราชาเศรษฐียกพลทหารเข้า มาช่วยกันรบพะม่าซึ่งตั้งอยู่ณเมืองธนบุรี จึงจะเป็นความชอบแก่ พระยาราชาเศรษฐีสืบไป นายทัพนายกองทั้งปวงก็เห็นด้วย จึงรับ สั่งให้แต่งศุภอักษรออกไปเมืองพุทไธมาศ ณวัน ๑๔ ค่ำ เมื่อเสด็จสถิตอยู่ณเมืองระยองนั้น หมู่ราช ประจามิตร์ ซึ่งแตกไปจากเมืองระยอง ลอบเข้ามาลักโคกระบือช้างม้าไปเนือง ๆ จึงตรัสว่าอ้ายเหล่านี้เรากรุณามันว่าเป็นข้าขอบขันธเสมา จะใคร่ทนุบำรุงจึงมิได้กระทำอันตราย มันก็มิได้อ่อนน้อม ยังจะมาคิดประทุษร้ายอีกเล่า ทั้งนี้ก็เป็นผลวิบากให้เกิดเป็นคนอาสัจอาธรรม ฉะนี้ จะละไว้มิได้ จึงเสด็จกรีฑาพลทหารออกจากเมืองระยองไปณบ้านประแส, บ้านไข้, บ้านคา, บ้านกล่ำ, บ้านแกลง ซึ่งอ้ายขุน รามหมื่นส้องตั้งอยู่นั้น ครั้นเพลาอุษาโยคจึงทรงเครื่องราชภูสิต สำหรับราชรณยุทธสงครามเสร็จ เสด็จนำพลทหารเข้าไล่กระโจมฟันแทง ยิงปืนใหญ่น้อยให้เหล่าร้ายแตกตื่นหนีไป แลอ้ายขุนรามหมื่น ส้องหนีไปอยู่ด้วยพระยาจันทบูร จับได้แต่ทหารหมื่นส้อง นายบุญมี บางเหี้ย นายแทน นายเมือง พม่า นายสน หมอ นายบุญมี บุตรนาย สน แลครอบครัวช้างม้าโคกระบือล้อเกวียน ซึ่งอ้ายเหล่าร้ายลักไปไว้แต่ก่อนเป็นอันมาก แล้วเสด็จยกพลนิกายกลับมาเมืองระยอง บำรุงทแกล้ว ทหาร รวบรวมเครื่องสรรพาวุธปืน ใหญ่น้อย เกลี้ยกล่อม

๑๒ อาณาประชาราษฎร อันแตกตื่นออกไปอยู่ณป่าดงได้เป็นอันมาก ก็เสด็จยับยั้งท่าพระยาจันทบูรอยู่ (๑) ครั้นณวัน๔ ค่ำ พระพิชัยแลนายบุญมีไปถึงปากน้ำเมืองพุทไธมาศ จึงนำเอาศุภอักษรกับฉลองพระองค์อย่างฝรั่งขึ้นไปพระราชทาน พระยาราชาเศรษฐี แล้วเจรจาตามมีรับสั่งไปนั้นทุกประการ พระยาราชาเศรษฐีมีความยินดีนักจึงว่า ระดูนี้จะเข้าไปขัดด้วยลมจะมิทัน ต่อเดือน ๘-๙-๑๐ จึงจะยกพลทหารเข้าไปช่วยราชการให้จงได้ (๒) ครั้นณวัน ๑๕ ค่ำ ราชทูตนำศุภอักษรตอบกับเครื่องราชบรรณาการมาถึงปากน้ำระยอง นายบุญมีจึงนำองไกเสิ้ง จีนทหารกับราชบรรณาการเข้ากราบทูลณค่าย จึงทรงพระกรุณาให้หานายทัพ นายกองมาเฝ้าพร้อมกันแล้ว จึงตรัสประภาษว่า เราปรารภการทั้งนี้ สู้เสียชีวิตเพราะกรุณาแก่สัตวโลก ซึ่งหาที่พึ่งพำนักมิได้ และแผ่นดินจะไม่จลาจลสมบูรณ์เป็นที่ตั้งพระศาสนาได้นั้น เพราะปราศจากหลักตอคือคนอาสัจอาธรรม์ แลบัดนี้นายทองอยู่ นกเล็ก ซึ่งตั้งอยู่เมืองชลบุรี ประพฤติพาลทุจริต คอยทำร้ายข่มเหงอาณาประชาราษฎรผู้หาที่พึ่งมิได้ บันดาที่มีน้ำใจภักดีจะมาพึ่งเรานั้นก็มามิได้ ด้วยนายทองอยู่นกเล็ก เป็นเสี้ยนหนามคอยสะกัดตัดทางสัญจรคนทั้งปวงไว้ ควรเราจะไปสั่งสอนทรมานนายทองอยู่ นกเล็ก ให้ตั้งอยู่ตามธรรมให้ราบคาบ (๑) อีกฉบับหนึ่งว่าแรม ๑๕ ค่ำ (๒) ควรจะเป็นวัน ๗๕ ค่ำ ๑๓ ก่อน สมณพราหมณ์ประชาราษฎรจะได้อยู่เย็นเป็นสุข นายทัพนายกองก็เห็นพร้อมกันตามพระราชดำริ ครั้นณวัน ๖๖ ค่ำ จึงรับสั่งให้ยกพลทหารเสด็จพระราชดำเนิน ไปโดยสถลมารค หยุดประทับอยู่ณบ้านหนองมน ให้ทหารไปสอดแนมได้ความว่า นายทองอยู่ นกเล็ก นั้นอยู่ จึงรับสั่งให้เตรียมพลทหารสาตราวุธปืนใหญ่น้อยไว้พร้อมแล้ว รับสั่งให้ยกทหารเข้าไปหยุดประทับณวัดหลวงทางใกล้เมืองประมาณ ๑๐๐ เส้น จึงดำรัสให้นายบุญรอด แขนอ่อน นายชื่น บ้านค่าย ซึ่งเป็นสหายกันกับนายทองอยู่นกเล็ก เข้าไปว่ากล่าวโดยยุติธรรม นายทองอยู่ นกเล็ก ก็อ่อนน้อมโดยดี นายบุญรอด นายชื่น จึงนำนายทองอยู่ นกเล็ก เข้ามาเฝ้าณวัดหลวง สามิภักดิ์กระทำสัตย์ถวายแล้วนำเสด็จเข้าไปณเมืองชลบุรีประทับอยู่ณเก๋งจีน แล้วนายทองอยู่ นกเล็ก จึงนำเสด็จทรงช้างพระ ที่นั่ง นายบุญมี มหาดเล็ก เป็นควาญท้าย เสด็จเลียบทอดพระเนตร์เมืองชลบุรี แล้วนายทองอยู่ นกเล็ก จึงพาขุนหมื่นกรมการถวายบังคม ทรงพระกรุณาให้นายทองอยู่ นกเล็ก เป็นพระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุท ตั้งขุนหมื่นกรมการตามฐานาศักดิเมืองชลบุรี แล้วพระราชทาน กระบี่บั้งเงินเล่มหนึ่ง เสื้อเข้มขาบดอกใหญ่พื้นแดง ดุมทองเก้าเม็ดตัวหนึ่ง เข็มขัดทองประดับพลอยสายหนึ่ง แล้วพระราชทานราโชวาท สั่งสอนว่า แต่ก่อนท่านประพฤติการอันเป็นอาธรรมทุจริตนั้นจงละเสียประพฤติกุศลสุจริตให้สมควรด้วยฐานาศักดิ์แห่งท่าน จะได้เป็นเกียรติยศสืบไปในกาลเบื้องหน้า จะเป็นวาสนาติดตามในอนาคต แล้วจึงพระราชทานเงินตราไว้ ๒ ชั่งสำหรับสงเคราะห์แก่พราหมณาประชา ๑๔ ราษฎรผู้ยากไร้เข็ญใจซึ่งขัดสนด้วยข้าวปลาอาหาร แล้วตรัสสั่ง พระยาอนุราชว่า ผู้ใดจงใจจะอยู่ในสำนักท่าน ๆ จงโอบอ้อมอารี เลี้ยงดูไว้ให้เป็นผล ถ้าผู้ใดมีน้ำใจสามิภักดิ์จะตามเราออกไป ท่าน จงอย่ามีน้ำใจอิจฉาเกียดกันไว้ ช่วยส่งผู้นั้นออกไปให้ถึงสำนักเรา อย่าให้เป็นเหตุการณ์ประการใดได้ แลท่านจงบำรุงพระบวรพุทธศาสนาอาณาประชาราษฎรให้ทำมาหากินตามลำเนา อย่าให้มีโจร ผู้ร้ายเบียดเบียนแก่กันได้ แล้วพระราชทานเงินตราอาหารแก่สัปเหร่อให้ค้นทรากศพอันอดอยากอาหารตายนั้นเผาเสีย แล้วพระราชทาน บังสกุลทาน และพระราชทานเงินตราอาหารแก่ยาจกวณิพกในเมืองชลบุรีเป็นอันมาก แล้วอุทิศกัลปนาพระราชทานกุศลให้แก่หมู่เปรตไปในปรโลกนั้น เพื่อจะเป็นปัจจัยแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ครั้นณวันศุกร์จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับมาเมืองระยอง ฝ่าย พระยาจันทบูรซึ่งถวายสัตย์ปฏิญาณว่าจะมารับเสด็จนั้น จะได้มาตามสัญญาหามิได้ ด้วยขุนรามหมื่นส้องอันเป็นคนอาสัตย์นั้น ยุยงว่ากล่าวให้ประทุษร้าย ก็ตกแต่งป้อมค่ายคูประตูหอรบเชิงเทิน ตระเตรียมโยธาทหารสรรพด้วยเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่น้อยเสร็จแล้ว จึงคิดอุบายแต่งให้พระสงฆ์ ๔ รูป ขึ้นมาเชิญเสด็จเข้าไปณเมืองจันทบูร แล้วจึงจะกุมจับเอาพระองค์ พระสงฆ์ ๔ รูปมามิทัน เสด็จไปเมืองชลบุรีเสียก่อนแล้ว พระสงฆ์นั้นก็ยับยั้งคอยท่าอยู่ณเมืองระยอง ครั้นเสด็จกลับมาเมืองระยอง เพลาเช้าพระสงฆ์ จึงเข้าไปถวายพระพรตามเรื่องราวพระยาจันทบูรให้มานั้น จึงทรงพระดำริด้วยวิจารณญาณ คัมภีรภาพ ก็ทราบว่าผลกรรมของสัตว์ จึงจำให้เป็นตามเหตุ ๑๕ ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้า จึงมีพระราชบริหารดำรัสด้วยนายทัพนายกองว่า พระยาจันทบูรให้พระสงฆ์มารับเรานี้ ใครจะเห็นดีร้ายประการใดบ้าง นายทัพนายกองปฤกษาเห็นพร้อมกันแล้วกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงเห็นว่าพระยาจันทบูรคิดร้ายเป็นมั่นคง จึงตรัสว่า เมื่อเหตุเป็นฉะนี้แล้วชอบจะไปหรือไม่ไปประการใด นายทัพ นายกองพร้อมกันกราบทูลว่า ควรเสด็จพระราชดำเนินไป ด้วยจะได้ประโยชน์ ๒ ประการ ๆ หนึ่งแม้นว่าพระยาจันทบูรจะเสียสัตย์คิดประทุษร้ายก็ดีจะได้ทรมานให้เสียพยศอันร้าย ถ้าพระยาจันทบูรตั้งอยู่ในความสัตย์ ก็จะได้พระราชทานราโชวาทสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในยุติธรรม ก็เย็นอก สมณพราหมณ์ประชาราษฎรทั้งปวง จะได้เป็นที่ตั้งพระศาสนาสืบไป ครั้นวันพฤหัสบดี เพลาเช้า อุษาโยคยามพฤหัสบดี ตรัสให้ยก พลนิกายสรรพด้วยเครื่องสาตราวุธออกจากเมืองระยอง พระสงฆ์ ๔ รูปนำเสด็จมาประทับรอนแรมโดยระยะทาง ๕ วันถึงบ้านพลอยแหวน ครั้นณวันจันทร์ จึงยกเข้ามาใกล้เมืองจันทบูร ฝ่ายพระยาจันทบูรก็ให้หลวงปลัดกับคนมีชื่อออกมานำทัพ เป็นกลอุบายให้กองทัพหลวงเลี้ยวไปทางใต้เมือง จะให้ข้ามน้ำไปอยู่ฟากตะวันออก จะคอยทำร้ายเมื่อพลทหารข้ามน้ำนั้น พระองค์ทรงทราบจึงให้นายบุญมี มหาดเล็กขึ้นม้าควบไปห้ามทหารกองหน้ามิให้ไปตามทางหลวงปลัดนำนั้น ให้กลับมาตามทางขวางตรงเข้าประตูท่าช้าง เสด็จประทับณวัดแก้วริมเมืองจันทบุรี จึงให้พลทหารตั้งล้อมพระวิหารวัดแก้วแล้วเสด็จประทับอยู่ที่นั้น ฝ่ายพระยาจันทบูรก็ให้พลทหารขึ้นประจำหน้าที่ไว้ แล้วจึงใช้

๑๖ ขุนพรหมธิบาลผู้เป็นพระท้ายน้ำ, นายลิ้ม, นายแก้ว แขก, ทำมะรงพร, นายเมก แขก ออกมารับเสด็จ จึงทรงพระกรุณาตรัสว่า ซึ่ง พระยาจันทบูรให้มาเชิญเราเข้าไปนั้นเห็นไม่ต้องตามประเวณีธรรม ด้วยเหตุว่าผู้น้อยควรกระทำสัมมาคารวะแก่ผู้ใหญ่จึงจะเป็นมงคล แลจะให้ผู้ใหญ่เข้าไปหาผู้น้อยนั้นมิบังควร เป็นอัปมงคลแก่พระยาจันทบูรเรายังจะเข้าไปมิได้ ให้พระยาจันทบูรออกมาหาเราก่อน เราจะได้ แจ้งเนื้อความซึ่งขัดข้องใจเรา ด้วยขุนรามหมื่นส้องอันเป็นปัจจามิตรเรา แลเข้ามาอยู่ด้วยพระยาจันทบูร จะทำให้เราทั้งสองมีน้ำจิตต์อันพิโรธแคลงใจกัน แม้นพระยาจันทบูรจะมิออกมาก็ดี ส่งแต่ขุน รามหมื่นส้องออกมากระทำสัจแก่เราแล้ว เราก็จะเข้าไปด้วยมิได้ แคลง เราตั้งเมตตาจิตต์รักพระยาจันทบูรดังหนึ่งน้องในอุทรเดียวกันถึงพระยาจันทบูรจะทำร้ายเรา ๆ ก็มิได้ปองตอบแทน เราจะรักษาเมตตาธรรมนั้นไว้ ด้วยพระยาจันทบูรมิได้มีพิโรธอันใดกับเรา แล้ว พระราชทานรางวัลแก่ขุนพรหมธิบาล ๆ ก็ถวายบังคมลากลับเข้าไปว่ากล่าวตามรับสั่งมานั้นทุกประการ พระยาจันทบูรจึงใช้ให้ทำมะรงพร กับคนมีชื่อเอาของเสวยออกไปถวาย ให้พระสงฆ์ ๔ รูปซึ่งนำเสด็จมานั้นออกมาถวายพระพรว่าพระยาจันทบูรให้เชิญเสด็จเข้าไป จึงตรัสว่าในเมืองจันทบูรนี้ไม่มีฆราวาสใช้แล้วหรือจึงใช้แต่สมณะ แล้วมีพระ ราชบริหารดำรัสแก่พระสงฆ์ว่า ความนี้โยมก็ได้สั่งไปแก่ขุนพรหม ธิบาลแล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงไปบอกพระยาจันทบูรว่า ขุนรามหมื่นส้องเป็นปัจจามิตรแก่โยม จะยุยงพระยาจันทบูร ๆ หนุ่มแก่ความจะ

๑๗ หลงเชื่อฟังเอาถ้อยคำอ้ายเหล่านี้ ก็จะเสียทีที่รักเอ็นดูกัน ถ้าพระยาจันทบูรตั้งอยู่ในสัตยภาพไมตรี ก็จงส่งขุนรามหมื่นส้องออกมากระทำความสัตย์เถิด พระสงฆ์ก็ถวายพระพรลากลับเข้ามาแจ้งแก่พระยาจันทบูร ๆ จึงใช้ ให้หลวงปลัดออกมากราบทูลว่า พระยาจันทบูรมิได้ตั้งอยู่ในสัตยภาพสามิภักดิ์หามิได้ จะใคร่ส่งขุนรามหมื่นส้องออกมาอยู่ แต่ทว่าขุนรามหมื่นส้องกลัวพระราชอาชญา ด้วยตัวนั้นเป็นปัจจามิตรจะออกมา มิได้ จึงตรัสว่าพระยาจันทบูรมิได้ตั้งอยู่ในสัตยภาพแล้ว แลเห็นว่า ขุนรามหมื่นส้องจะช่วยป้องกันเมืองไว้ได้ ก็ให้ตกแต่งการไว้ให้มั่น คงเถิด เราจะตีเอาให้จงได้ แล้วจึงตรัสสั่งโยธาหาญทั้งปวงให้หุงอาหารรับพระราชทานแล้ว เหลือนั้นสั่งให้เทเสีย ต่อยหม้อข้าวหม้อแกงให้จงสิ้น ในเพลากลางคืนวันนี้ตีเอาเมืองจันทบูรให้ได้ ไปหา ข้าวกินเช้าเอาในเมือง ถ้ามิได้ ก็ให้ตายเสียด้วยกันเถิด ณวัน ๑ ฯ ๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุรนพศก ( พ.ศ. ๒๓๑๐ ) เพลา ๓ ยาม เป็นยามเสาร์ปลอดห่วง ตรัสให้ยกทัพบ่ายหน้าเข้าทิศ อิสาน แล้วจัดทหารไทยจีนลอบเข้าไปประจำด้านอยู่ทุกด้าน เพลา จะเข้าให้สัญญาณ์กันร้องขึ้นจงทุกด้านว่าด้านนี้เข้าได้แล้ว โห่ร้องขึ้นพร้อม ๆ กัน จึงเสด็จทรงช้างพระที่นั่งพังคิรีกุญชรฉัททันต์เข้าทะลายประตูใหญ่ เหล่าทหารซึ่งรักษาประตูและป้อมเชิงเทินนั้นก็ยิงปืนใหญ่น้อยดุจห่าฝน แลจะได้ถูกต้องโยธาผู้ใดผู้หนึ่งหามิได้ กระสุนปืน ลอดท้องช้างพระที่นั่งไป ควาญช้างจึงเกี่ยวไว้ ให้พังคิรีกุญชรถอย ๓ ๑๘ ออกมา พระเจ้าอยู่หัวทรงพระโกรธเงื้อพระแสงจะลงพระราชอาชญานายควาญช้างขอพระราชทานโทษได้ จึงทรงพระแสงกฤชแทงพังคิรีกุญชรขับเข้าทะลายประตูพังลง ทหารหน้าช้างลอดเข้าไปได้ โห่ร้อง ขึ้นพร้อมกันดุจพระราชทานสัญญาณ์ไว้นั้น ฝ่ายทหารซึ่งรักษาประตู (๑) หน้าที่เชิงเทินนั้นแตกตื่นหนีออกมาจากเมือง พระยาจันทบูรก็พาบุตร ภรรยาหนีลงเรือไปสู่ปากน้ำพุทไธมาศ เหล่าพลทหารไทยจีนก็เข้าไป จับครอบครัว หิรัญสุวรรณวัตถาธัญญาหาร ปืนจ่ารงค์มณฑกนกสับคาบศิลา สรรพาวุธทั้งปวงเป็นอันมาก ก็เสด็จยับยั้งอยู่ณเมืองจันทบูรพระราชทานที่ฐานาศักดิ์และบำเหน็จรางวัล แก่ผู้มีความชอบตาม มากแลน้อย ครั้นณวันจันทร์ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุรนพศก เสด็จพระราช ดำเนินทัพโดยทางสถลมารค กอบด้วยพลทหารประมาณ ๑๐๐๐ เศษ เดชะพระบรมโพธิสมภารฝนตก ๗ วัน๗ คืน แล้วตรัสสั่งให้พระพิชัยหลวงราชนรินทร์ เป็นแม่ทัพคุมเรือประมาณ ๕๐ลำเศษ พร้อมด้วย พยุหโยธาทั้งปวงยกไป ทัพหลวงเสด็จโดยทางสถลมารคถึงบ้างทุ่งใหญ่แล้วเสด็จเรือไปล้อมข้าศึกไว้คืนหนึ่ง ฝ่ายวาณิชพ่อค้านายสำเภาทั้งปวงก็ยังมิได้อ่อนน้อม ครั้นเพลารุ่งเช้าจึงดำรัสสั่งนายทัพนายกอง ให้ยกเข้าตีสำเภาอยู่ประมาณกึ่งวันข้าศึกลูกค้าชาวสำเภาต้านทานมิได้ก็อับปราชัยพ่ายแพ้ทัพหลวง ได้ทรัพย์สิ่งของและหิรัญสุวรรณวัตถาลังกาภรณ์เป็นอันมาก _________________________________________________________ (๑) ต่อมาจับได้ ในเมืองพุทไธมาศเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ แต่ไม่ถูกประหารชีวิต ๑๙ ฝ่ายจีนเจียมผู้เป็นใหญ่กว่าชาวสำเภาทั้งปวงยอมสามิภักดิ์ จึงพาธิดามาถวาย ในเวลานั้นก็เสด็จกลับมาณเมืองจันทบูร ยับยั้งอยู่ต่อ เรือรบได้ ๑๐๐ เศษ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุรนพศก ( พ.ศ. ๒๓๑๐ ) พระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้าได้ทรงพระเศาวนาการกิติศัพท์ว่า กรุงเทพมหานครถึงแก่พินาสแล้ว สมณพราหมณาจาริย์ขัติวงศาเสนาพฤฒามาตย์ราษฎรได้ความทุกข์ลำบากนัก ทั้งบวรพุทธศาสนาก็เศร้าหมอง แต่เหตุพะม่าตั้งพระนายกองไว้รั้งเมือง แลผู้ครองเมืองเอก, โท, ตรี, จัตวา บรรดา ซึ่งขึ้นแก่กรุงเทพฯ นั้น ชวนกันกำเริบอหังการตั้งตัวเป็นใหญ่ ให้รับ พระโองการเป็นหมู่เป็นเหล่ากัน จึงบังเกิดโจรภัย ทุพภิกขภัยต่าง ๆ สัตว์ทั้งปวงอนาถาหาที่พึ่งมิได้ จึงทรงพระราชอุตสาหะยกพลทหารสรรพด้วยเครื่องสาตราวุธเป็นอันมาก ออกจากเมืองจันทบุรีมาโดย ทางชลมารค ครั้นณวันปีกุรนพศก ( จุลศักราช ๑๑๒๙ พ.ศ. ๒๓๑๐ ) เพลา เช้า ๒ โมงเศษถึงเมืองชลบุรี จึงมีพระราชบริหารให้พิพากษาโทษ พระยาอนุราช, หลวงพล, ขุนอินเชียง ซึ่งกระทำความผิดด้วย โจรกรรม ตีชิงสำเภาลูกค้าวาณิช กระทำทุจริตให้เสียพระเกียรติยศพระราชสิริสวัสดินั้นตามกฎพระอัยการ แล้วตั้งผู้รั้งกรมการตามฐานาศักดิคุณานุรูปความชอบให้รักษาเมืองชลบุรี ครั้นณวันปีกุรนพศก ยกพลทหารมาถึงปากน้ำเมืองสมุทปราการพอเวลารุ่งเช้าจึงให้เร่งรีบยกเข้าไปจะตีเมืองธนบุรี ครั้นเพลายามเศษกรมการซึ่งอยู่รักษาเมืองธนบุรีนั้นแตกหนีขึ้นไปโพสามต้น แจ้งเหตุ ๒๐ แก่สุกี้ผู้เป็นพระนายกอง ฝ่ายพระนายกองจึงให้จัดพลทหารพะม่า มอญ ไทย เป็นทัพเรือ มองย่าเป็นแม่ทัพตั้งสะกัดอยู่ณพะเนียด (๑) ครั้นเพลากลางคืนเรือรบพระยากลาโหมซึ่งบรรทุกดินประสิวล่มลงให้ลงพระราชอาชญาพระยากลาโหมเสนาบดีฝ่ายทหารเป็นหลายคนซึ่งกระทำความผิด มิได้อยู่ในพระราชโอวาท แล้วตรัสให้รีบยก พลทหารไปในเพลากลางคืน แลกองทัพมองย่าทหารโพสามต้นรู้ว่า กองทัพไทยถึงกรุง ฯ ก็หนีไป ครั้นรุ่งขึ้นณวัน ฯ ๑๒ ค่ำ เพลาเช้า ๓ โมงเศษ ยกเข้าตีค่ายโพ สามต้นฟากตะวันออก พะม่าก็แตกหนีเข้าค่าย จึงตรัสสั่งให้ทำบันไดจะเข้าตีค่ายด้านตะวันตก ซึ่งพระนายกองตั้งอยู่นั้น แลกองพระยาพิพิธ พระยาพิชัย เป็นทัพหน้า เข้าตั้งค่ายประชิดณวัดกลางห่างค่ายประมาณ ๗ เส้นเศษ ด้วยพระเดชเดชานุภาพ ฝ่ายข้าศึกให้สยบสยองกลัวเป็นกำลัง ต่างคนต่างก็หนีออกจากค่ายพระนายกองสิ้น พระนายกองสะดุ้งตกใจ จึงคิดอ่านให้พระยาธิเบศรบริรักษ์ผู้เป็นที่เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช ออกมาถวายบังคมสวามิภักดิยอมเป็นข้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เชิญเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปณจวน จึงรับสั่งมิให้ทหารกระทำอันตรายเบียดเบียนแก่ไพร่ฟ้าประชากรทั้งปวง แล้วทอดพระเนตร์เห็นขัติยวงศา _________________________________________________________ (๑) ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่ามีชื่อหลวงกลาโหม นายกองผู้หนึ่งในกองทัพพระยาพิพัฒโกษา ซึ่งยกไปตั้งรับพะม่าทางท่ากระดาน ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พะม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ บางทีจะเป็นท่านผู้นี้ที่เกี่ยวเนื่องกับพระยาเพ็ชรบูรณ์ ( ปลี ) ปลายสมัยกรุงธนบุรี

๒๑ เสนาบดีซึ่งอนาถาได้ความลำบากเวทนานัก ก็พระราชทานทรัพย์เสื้อผ้า ต่าง ๆ แก่พระนายกองแลเสนาบดีผู้ใหญ่ผู้น้อยเป็นอันมาก แล้วจึงให้เชิญเสด็จพระบรมศพพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ แห่แหนมาณโพสามต้น ถวายพระเพลิงแล้ว จึงพระราชทานฐานาศักดิ์แก่เสนาบดีให้คง ที่อยู่กับพระนายกองดังเก่า อนึ่ง แต่งให้ขึ้นไปเกลี้ยมกล่อมเมืองลพบุรีสำเร็จแล้ว จึงให้รับบุราณขัติยวงศาซึ่งได้ความลำบาก กับทั้งพระบรมวงศ์ลงมาทนุบำรุงไว้ณเมืองธนบุรี จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวดสัมฤทธิศก ทอดพระเนตรเห็นอัฎฐิกเรวฬะคนทั้งปวงอันถึงพิบัติชีพตายด้วยทุพภิกขะ โจระ โรคะ สุมกองอยู่ดุจหนึ่งภูเขา แลเห็นประชาชนซึ่งลำบากอดอยากอาหาร มีรูปร่างดุจหนึ่งเปรตปีศาจพึงเกลียด ทรงพระสังเวชประดุจมีพระทัยเหนื่อยหน่ายในราชสมบัติ จะเสด็จไปเมืองจันทบุรี จึงสมณพราหมณาจารย์ เสนาบดีประชาราษฎรชวนกันกราบทูลอาราธนาวิงวอน สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระบรมหน่อพุทธางกูร ตรัสเห็นประโยชน์เป็นปัจจัยแก่พระปรมาภิเษกสมโพธิญาณนั้นก็รับอาราธนา จึงเสด็จยับยั้งอยู่ณพระตำหนักเมืองธนบุรี จำเดิมแต่นั้น ด้วยกำลังพระกรุณาพระราชอุตสาหะในสัตวโลก แลพระพุทธศาสนา มิเป็นอันที่จะบันทมสรงเสวยเป็นสุขด้วยพระราชอิริยาบถ ด้วยขัติยวงศา สมณาจารย์ เสนาบดี อาณาประชาราษฎรยาจกวณิพกคนโซอนาถา ทั่วทุกเสมามณฑล เกลื่อนกล่นกันมารับ

๒๒ พระราชทานมากกว่า ๑๐,๐๐๐ ฝ่ายข้าราชการทหารพลเรือนไทยจีนนั้น รับพระราชทานข้าวสารเสมอคนละถัง กินคนละ ๒๐ วัน ครั้งนั้นยังหาผู้จะทำนามิได้ อาหารกันดาร ข้าวสารสำเภาขายถังละ ๓ บาทบ้าง ถังละตำลึงหนึ่งบ้าง ถังละ ๕ บาทบ้าง ยังทรงพระกรุณาด้วยปรีชาญาณอุตส่าห์เลี้ยงสัตวโลกทั้งปวง พระราชทานชีวิตให้คงคืนไว้ได้ แลพระราชทานวัตถาลังกาภรณ์เสื้อผ้าเงินตราจะนับประมาณมิได้ จนทุกข์พระทัยออกพระโอฐว่า บุทคลผู้ใดเป็นอาทิคือ เทวดา บุทคลผู้มีฤทธิ มาประสิทธิ์มากระทำให้ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ขึ้น ให้สัตวโลกเป็นสุขได้ แม้นผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเรา ข้างหนึ่งก็อาจตัดบริจาคให้แก่ผู้นั้นได้ ความกรุณาเป็นความสัตย์ฉะนี้ ลุศักราช ๑๑๓๐ ปีชวดสัมฤทธิศก ( พ.ศ. ๒๓๑๑ ) โปมังพะม่า นายทัพคุมพลทหารพะม่าทัพบกทัพเรือประมาณ ๒๐๐๐ เศษ ยกเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง ตีล่วงมาล้อมค่ายจีมบางกุ้งเข้าไว้จะใกล้เสียอยู่แล้ว ครั้นทรงทราบในทันใดนั้น มีพระราชหฤทัยประดุจได้พระลาภอันอุดมกว่าลาภทั้งปวง จึงให้เตรียมพลโยธาทหารทัพเรือประมาณ ๒๐ ลำเศษ แล้วทรงเรือพระที่นั่งสุวรรณมหาพิชัยนาวา สรรพด้วยเครื่องสาตรา อาวุธ ครั้นได้ศุภมงคลนิทานสกุณฤกษ์ พระทัยพร้อมด้วยพหิพยันดร ราชฤทธิ ก็ยกพลนิกายโดยทางชลมารคด้วยอาการอันรวดเร็ว ดุจพระยาชวันราชหงษ์อันนำหน้าสุวรรณหงษ์ทั้งปวงไปในราตรีนั้น ฝ่ายทัพเรือพะม่ายกลงมา ตรัสเห็นแล้วก็รีบเรือพระที่นั่งกับทั้งเรือทหารทั้งปวง ไล่ตะลุมบอนยิงปืนจ่ารงค์มณฑกนกสับคาบศิลา ถูกพะม่า

๒๓ ล้มตายพ่ายขึ้นไปเถิงทัพใหญ่ จึงให้ยิงปืนตับใหญ่ พะม่าแตกตื่นล้มตายด้วยฝีมือทหารไทยฟันแทงตายในน้ำเป็นอันมาก บ้างหนีขึ้นบกเล็ดลอดซ่อนเร้นสะดุ้งตกใจ ที่หนีไปแว่นแคว้นแดนเมืองอังวะได้นั้นน้อยนัก ทหารไทยเก็บได้เครื่องสาตราวุธเรือรบไล่ครั้งนั้นเป็นอันมาก พระเกียรติยศก็ฦาชาปรากฏ ดุจพระยาไกรสรสีหราชอันเป็นที่กลัวแห่งหมู่สัตว์จัตุบาททั้งปวง ครั้งนั้นหมู่คนอาสัจอาธรรม์ ซึ่งคุมพักพวกตั้งอยู่กระทำโจรกรรมณหัวเมืองเอก, โท, ตรี, จัตวา มิได้เชื่อพระบรมธิคุณแลตั้งตัวเป็น ใหญ่นั้น ก็บันดาลให้สยบสยองพองเศียรเกล้า ชวนกันนำเครื่อง ราชบรรณาการต่าง ๆ เข้ามาถวายเป็นอันมาก ทรงพระกรุณาพระ ราชทานเงินทองเสื้อผ้าฐานาศักดิ์โดยสมควรคุณารูป ให้ถือน้ำพระพิพัฒสัจจาแล้ว พระราชทานโอวาทานุศาสน์สั่งสอนให้เสียพยศอันร้ายให้ตั้งอยู่ในยุติธรรม ขณะนั้นลูกค้าวาณิชได้ทำมาค้าขายเป็นสุข บริบูรณ์ด้วยอาหาร ได้บำเพ็ญทศบุญกิริยาวัตถุกุศลต่างๆ ฝ่ายสมณะก็รับจัตุปัจจัยทานเป็นสุขบริโภค ให้บำเพ็ญสมณธรรมตามสมณกิจ ลุศักราช ทรงพระราชดำริว่า พระพุทธศาสนาจักสมบูรณ์รุ่งเรืองนั้น ด้วยบริษัททั้งสี่ปรนนิบัติตามพุทธโอวาท แลพระสงฆ์ทุกวัน นี้ยังปรนนิบัติพระจัตุปาริสุทธศีลสังวรนั้นมิบริบูรณ์ จึงทรงพระกรุณาตั้งพระสังฆราชราชาคณะขึ้นไว้ ให้กำชับว่ากล่าวพระสงฆ์ทั้งปวง แล้วทรงพระราชศรัทธาจ้างให้หมู่เสนาทหารพลเรือน สร้างพระวิหารเสนาสนะกุฏิมากกว่า ๒๐๐ กุฏิ สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก แล้วจึง

๒๔ ตรัสระราชทานโอวาทประศาสน์ ไว้ว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงจงตั้งสติอารมณ์ปรนนิบัติ ตั้งอยู่ในพระจัตุปาริสุทธศีลสังวรวินัยบัญญัติบริบูรณ์ อย่าให้พระศาสนาของพระองค์เศร้าหมองเลย แม้นพระผู้ เป็นเจ้าจะขัดสนด้วยวัตถุจัตุปัจจัยทั้ง ๔ ประการนั้น เป็นธุระโยมจะอุปถัมภ์ ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงมีศีลคุณบริบูรณ์ในพระศาสนาแล้วแม้นจะปรารถนามังสะรุธิระโยม ๆ ก็อาจสามารถจะเชือดเนื้อแลโลหิตออกบำเพ็ญทานได้ ลุศักราช ทรงพระราชดำริว่า พระศาสนาจะวุฑฒิจิรฐิติกาลนั้น เพราะปริยัติกุลบุตรเล่าเรียนพระไตรปิฎก จึงทรงพระกรุณาให้ สังฆการี ธรรมการทำสารบาญชีพระสงฆ์ องค์ใดบอกเล่าเรียน พระไตรปิฎกได้เป็นอันมาก จึงทรงถวายไตรผ้าเทศเนื้อละเอียด แล้วพระราชทานจัตุปัจจัยแก่เถรเณรตามได้เล่าเรียนมากแลน้อย อนึ่งโปรยปรายพระราชทรัพย์แลแจกทานแก่ยาจก ทุกวันปัณรสีอัฎฐมีอุโบสถ แลตั้งนิตยภัตรไว้สำหรับคนโซทั้งปวง ลุศักราช เสด็จยกพลนิกรดำเนินทัพ สรรพด้วยโยธาหาญใหญ่น้อยขึ้นไปปราบเมืองพิษณุโลกถึงตำบลเกยไชย พระยาพิษณุโลกรู้ประพฤติเหตุ แต่งพลทหารให้หลวงโกษา ( ยัง ) ยกออกมาตั้งรับ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จนำพลทั้งปวงเข้ารณรงค์ด้วยข้าศึกครั้งนั้น ฝ่ายข้าศึกยิงปืนมาดังห่าฝนต้องพระชงฆ์เบื้องซ้าย เลียบตัดผิวพระมังสะไปจึงให้ลาดทัพกลับยังกรุงธนบุรี อนึ่ง กรมหมื่นเทพพิพิธซึ่งแตกแก่กองทัพพะม่าณเมืองปราจินบุรี

๒๕ แต่ครั้งกรุงเทพมหานครยังมิได้เสียนั้น พาอพยพยกไปตั้งอยู่ณด่าน โคกพระยา แขวงเมืองนครราชสีมา จึงพระพิมลสงคราม หลวง นรินทร์เจ้าเมืองปราจินบุรี ไพร่ชายหญิงประมาณ ๖-๗ พัน ยกขึ้น ทางด่านจันทึก ฝ่ายพระยานครราชสีมาให้จับฆ่าเสียสิ้น ต้อนเอาครัวเข้าไปไว้ กรมหมื่นเทพพิพิธจึงให้หลวงมหาพิชัย นายทองคำ เอาหมวกฝรั่ง ๑ เสื้อแพรกระบวนจีน ๑ ผ้าเกี้ยว ๒ ผืน ไปให้พระยานครราชสีมา ครั้นอยู่ประมาณ ๑๔-๑๕ วัน หลวงพลออกมาทูลว่า พระยานครราชสีมาเกณฑ์เขมร ๔๐๐ จะจับเอาเจ้าส่งลงไปณกรุงเทพมหานครกรมหมื่นเทพพิพิธจึงคิดการจะหนี หม่อมประยงไม่เห็นด้วย ทูลขอเงิน ๕ ชังกับผ้าน้ำกิ่ง ๑๐ พับ ไปแจกนายบ้านทั้ง ๑๒ ตำบล เกลี้ยกล่อมได้ คน ๔๕๐ ครั้นณวันเดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีจออัฐศก ( จ.ศ. ๑๑๒๘ พ.ศ. ๒๓๐๙ ) จึงให้หม่อมประยง, หลวงมหาพิชัย, หลวงปราบ คุมไพร่ ๓๐ เศษกับพวกชาวบ้านยกเข้าไป รุ่งขึ้นเป็นวันพระ พระยานครราชสีมาจะออกมาทำบุญณวัดบุญ ก็ยกเข้าล้อมจวนจับพระยานครราชสีมาได้ฆ่าเสีย แต่หลวงแพ่งน้องพระยานครราชสีมาขึ้นม้า หนีไปได้ จึงให้ยิงปืนใหญ่ตามสัญญา แล้วเกณฑ์คนออกมารับเจ้า เข้าไปอยู่ประมาณ ๕ วัน หลวงแพ่งชักชวนพระพิมายยกมาล้อมเมืองนครราชสีมา ๆ เกณฑ์คนขึ้นรักษาหน้าที่เบาบางนัก รบต้านทานอยู่ ๔ วัน พวกกองทัพหลวงแพ่งตีเข้าได้ทางป้อมวัดพยับ จับเอาหม่อมดารา หม่อมธารา พระพิชัยราชา หลวงมหาพิชัยกับขุนหมื่นนายหมวด ๔ ๒๖ นายกองฆ่าเสียเป็นอันมาก นายแก่นได้หม่อมอุบลบุตรกรมหมื่น เทพพิพิธเป็นเมีย นายยนได้เสมห้ามเป็นเมีย หลวงแพ่งจะประหารชีวิตกรมหมื่นเทพพิพิธเสีย พระพิมายจึงพาไปไว้ณเมืองพิมาย กรมหมื่นเทพพิพิธกับพระพิมายรักใคร่กันเป็นอันหนึ่งอันเดียว จึงตั้งพระพิมายเป็นพระยาศรีสุริวงศ์ นายสาบุตรพระพิมายเป็นพระยา มหามนตรี ให้พระยาน้อยน้องพระยามหามนตรีเป็นพระยา วรวงศาธิราช ครั้นอยู่มาพระยาศรีสุริวงศ์ พระยามหามนตรี พระยา วรวงศาธิราช คิดกันจะฆ่าหลวงแพ่งเสีย ขณะนั้นหลวงแพ่งทำบุญให้ มีละคร พระยาศรีสุริวงศ์ พระยามหามนตรี พระยาวรวงศาธิราช พาคนมีฝีมือประมาณ ๑๐ คน กับไพร่ ๕๐๐ ลงมาณเมืองนครราชสีมาทั้งสามพระยาเข้านั่งดูละครด้วยกันกับหลวงแพ่ง ครั้นได้ทีพระยา ศรีสุริวงศ์ฟันหลวงแพ่ง พระยามหามนตรีฟันนายแก่น พระยา วรวงศาธิราชฟันนายยนตายทั้งสามคน พวกทหารเมืองพิมายฆ่าฟันทหาร เมืองนครราชสีมาตายเป็นอันมาก แล้วพระยาศรีสุริวงศ์ให้พระยา วรวงศาธิราชอยู่ ณ บ้านจอหอ รักษาเมืองนครราชสีมา พระยา ศรีสุริวงศ์ พระยามหามนตรี กลับไปอยู่ณเมืองพิมาย จึงให้ลงมา รับพระนายกองแลมองย่าซึ่งอยู่รั้งกรุงนั้นขึ้นไปณเมืองพิมาย พระ เจ้าอยู่หัวตรัสทราบเหตุจึงเสด็จกรีธาทัพยกขึ้นไป ฝ่ายกรมหมื่นเทพพิพิธให้พระยาวรวงศาธิราชยกมาตั้งรับทางหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวดำรัสให้พระราชรินทร์ พระมหามนตรี ยกไปตีพระยา วรวงศาธิราช แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินทัพเข้าตีทางบ้านจอหอ จับ

๒๗ ได้พระยาศรีสุริวงศ์ พระยามหามนตรี ให้ประหารชีวิตเสีย แต่ กรมหมื่นเทพพิพิธนั้นให้สำเร็จด้วยท่อนจันทน์ตามประเพณี ฝ่ายพระยาวรวงศาธิราชนั้นแตกหนีไปเมืองเสียมราบ จึงดำรัสให้พระราชรินทร์ พระมหามนตรี ยกกองทัพไปตีเมืองเสียมราบได้ แต่พระยาวรวงศาธิราชนั้นหนีสูญไป พระราชรินทร์ พระมหามนตรี จึงเลิกทัพกลับมากรุงธนบุรี ขณะนั้นโปรดให้พระราชรินทร์เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ พระมหามนตรีเป็นพระยาอนุชิตราชา จางวางพระตำรวจฝ่ายซ้าย, ขวา โดยความชอบ ณวัน ๓๑ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก เพลาย่ำค่ำแล้วทุ่มหนึ่ง มี จันทอุปราคาคาย (๑) ณวัน ๓๑ ค่ำ เพลาเช้าโมงเศษเสด็จออกขุนนาง ตรัส ประภาษเนื้อความจีนเส็งซื้อทองพระพุทธรูปลงสำเภา พระราชสุจริตปรารภตั้งพระอุเบกขาพรหมวิหาร เพื่อจะทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนา แลอาณาประชาราษฏรนั้น อัศจรรย์แผ่นดินไหวเป็นช้านาน (๒) ณวัน ๗๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ เพลา ๒ ยาม แผ่นดินไหว อีกครั้งหนึ่ง _________________________________________________________ (๑) เป็นวันปราบดาภิเษก ตรงกับจดหมายเหตุโหร ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘ และจดหมายเหตุโหร ฉบับพระอมราภิรักขิต ( เกิด ) วัดบรมนิวาส, ยุติกับข้อความในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๙ หน้า ๗๕ และข้อความในคำโคลงเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งนายสวน มหาดเล็ก ประพันธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ (๒) แผ่นดินไหวครั้งที่ ๒ เป็นเหตุการณ์ในเดือน ๕ ควรจะเรียงไว้ต่อเดือน ๔ แต่นี่มาเรียงไว้หน้าเดือน ๓ เห็นจะเป็นเพราะต้องการให้เรื่องแผ่นดินไหวมารวมอยู่ด้วยกันจึงไม่เรียงตามลำดับเดือน

๒๘ ณวัน ๑๓ ค่ำ เพลาเช้า ๓ โมงเศษเมืองลาวหล่มสักมาสู่โพธิ สมภาร ถวายช้าง ๑ ม้า ๕ ณวัน ๑๓ ค่ำ ข้าวสารเป็นเกวียนละ ๒ ชั่ง อาณาประชาราษฏรขัดสน จึงทรงพระกรุณาให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ ผู้น้อยทำนาปรัง ณวัน ๒๓ ค่ำ ข้อราชการเมืองกัมพูชาธิบดีเมืองปากน้ำพุทไธมาศบอกเข้ามา จึงทรงพระกรุณาให้พระกรมท่าไปทำค่ายปากน้ำพระประแดง, ท่าจีน, แม่กลอง ขณะนั้นโปรดเกล้า ฯ ให้พระยา (๑) อนุชิตราชาเป็นเจ้าพระยายมราช ครั้นณเดือน ๕ หนูคะนองกินข้าวในยุ้งฉางและกัดทรัพย์สิ่งของ ทั้งปวงเสีย จึงมีรับสั่งให้ข้าทูลละอองฯ แลราษฎรดักหนูมาส่งแก่ กรมพระนครบาล หนูสงบหายไป ณวัน ๒๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๑ ปีฉลูเอกศก ( พ.ศ. ๒๓๑๒ ) (๒) หม่อมเจ้าอุบล บุตรกรมหมื่นเทพพิพิธ หม่อมเจ้าฉิม บุตรเจ้าฟ้าจิตร์กับนางละคร ๔ คนผิดกับฝรั่งมหาดเล็ก ๒ คน พิจารณาเป็นสัตย์ แล้ว _________________________________________________________ (๑) น่าจะเป็นเพียงพระยายมราช หรือว่าการในตำแหน่งยมราช ยังไม่ถึงเป็นเจ้าพระยาทีเดียว ต่อ ๆ ไปจึงคงเรียกว่าพระยายมราชเท่านั้น (๒) จดหมายเหตุโหรมีว่า จ.ศ. ๑๑๓๗ ณวัน ๒๑๐ ค่ำ "ข้างในเป็นโทษ" น่าสงสัยว่าเศษเจ็ดท้ายศก ( คือ ๑๑๓๗ ) จะเพี้ยนมาเป็นเอ็ด ( คือ ๑๑๓๑ ) จดหมายเหตุของโหรควรจะใกล้ความจริงมากกว่า และจดไว้เพียงว่า "ข้างในเป็นโทษ" ซึ่งหมายความว่า ข้างในทำผิดต้องถูกถอดยศลดตำแหน่งเท่านั้น ไม่ถึงกับถูกประหารชีวิต


๒๙ สั่งให้ฝีพายทนายเลือกทำประจานอย่าให้ดูเยี่ยงอย่างกันต่อไป แล้ว ตัดแขน ตัดศีร์ษะ ผ่าอกเสียทั้งชายหญิง ครั้นณวัน ๗๘ ค่ำ ยกกองทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช (๑) (๒) (๓) เจ้าพระยาจักรี พระยายมราช พระยาเพ็ชรบุรี พระยาอภัยรณฤทธิ์ ๔ นายยกก่อนเป็นกองหน้าไปโดยทางสถลมารค ไพร่ทหาร ๕๐๐๐ เศษ ตีล่วงเมืองไชยาแลท่าข้าม ไปได้ถึงค่ายท่าหมาก ได้รบกัน เป็นสามารถ พระยาเพ็ชรบุรี พระยาศรีพิพัฒตายในที่รบ แต่ลักษมาณาบุตรเจ้าพระยาจักรีนั้น กองทัพนครจับเอาตัวไปได้ แล้ว ล่าทัพกลับถอยมาอยู่เมืองไชยา พระยายมราชบอกเข้ามาให้กราบทูลว่า เจ้าพระยาจักรีเป็นกบฏ มิเต็มใจทำราชการ จึงทรงพระวิจารณ์ ด้วยพระปรีชาญาณ ก็ตรัสทราบเหตุว่า การมิตลอดแล้วจึงเกิดวิวาทกัน ทั้งนี้เป็นบุพวาสนาแห่งเรา อันจะใช้แต่เสนาบดีไปมิสำเร็จ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทางชลมารคด้วยพลทหาร ๑๐๐๐๐ เศษ ทรงพระที่นั่งมหาพิชัยสุวรรณนาวา ยาว ๑๑ วา ปากกว้าง ๓ ศอกเศษ พลกระเชียง ๒๘ คน พร้อมด้วยพยุหเสนาโยธาเครื่องสาตราวุธทั้งปวง ครั้นณวัน ๑๙ เพลา ๓ โมงเช้า ถึงบางทะลุเกิดพยุคลื่นลมหนักเรือรบข้าทหารกองหลวง กองหน้า บ้างแตกล่มเข้าแอบบังอยู่ในอ่าวพระเจ้าอยู่หัวให้ปลูกศาลขึ้นเพียงตา พระราชทานเครื่องกระยาสังเวยบวงสรวงเทพารักษ์ แล้วทรงพระราชสัตยาธิฐาน เอาพระสัจบารมีแต่ _________________________________________________________ (๑) หนังสือราชินิกูลรัชกาลที่ ๓ ว่าชื่อ หมุด (๒) กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ในรัชกาลที่ ๑ (๓) สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก


๓๐ บุพชาติแลปัจจุบันมาเป็นที่ตั้ง ด้วยพระเดชพระกฤษฎานุภาพ คลื่นลม ก็สงบราบคาบลงเป็นอัศจรรย์ แล้วเสด็จไปในวันนั้น ข้าทูลละอองฯ ตามเสด็จไปด้วยเรืออันน้อย ก็เป็นสุขสบายหาอันตรายมิได้ ครั้นณเดือน ๙ ปีฉลูเอกศก เสด็จถึงท่าข้าม ดาวหางขึ้นข้างทิศทักษิณ ครั้นเดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ เพลา ๓ โมงเช้า เสด็จเข้าตีเมืองนครศรีธรรมราช เดชะพระบารมีบรมโพธิสมภาร ไพร่ทหารแล ราษฎรเสนาบดีในกรุงนครศรีธรรมราช บันดาลสยบสยองมิอาจต้าน ต่อได้ก็แตกพ่ายแพ้หนีในเพลานั้น นายคงไพร่ทหารบ่าวพระเสนาภิมุขเห็นช้างพลายเพ็ชร์ที่เจ้านครผูกเครื่องสรรพปล่อยอยู่ จึงจับมาถวายพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นทรงกุญชรหัศดินทร์ช้างต้น ทรงพระที่นั่ง พลายเพ็ชร์เสด็จเข้าเมืองนครศรีธรรมราชได้ เสียแต่นายเพ็ชร์ทนายเลือกถูกปืนตายคนหนึ่ง แลได้ราชธิดาญาติวงศาแลชะแม่พนักงาน, หิรัญ, สุวรรณ, วัตถาลังกาภรณ์ทั้งปวงเป็นอันมาก แลสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีชัยชะนะข้าศึกครั้งนั้น ฝ่ายทแกล้วทหาร ทัพบก ทัพเรือทั้งปวง ยังมามิได้ทันเสด็จ ด้วยอำนาจพระบารมีก็มีชัยเป็นอัศจรรย์ ครั้นกองทัพบกทัพเรือมาถึงพร้อมแล้ว จึงมีพระราชโองการดำรัสให้ภาคโทษไว้ ด้วยเจ้านครพาราชบุตรราชธิดาแลราชทรัพย์หนีไปเมืองเทพา, ตานี, ให้เจ้าพระยาจักรี, เจ้าพระยาพิชัยราชา เร่ง กองทัพบกทัพเรือติดตามไปจับเจ้านครจงได้ ถ้ามิได้จะลงพระราชอาชญาถึงสิ้นชีวิต ๓๑ ครั้นถึงณวัน ๖๑๑ ค่ำ เพลาย่ำค่ำแล้ว ๒ ทุ่มเศษ พระเจ้าอยู่ หัวเสด็จยกกองทัพไปโดยทางชลมารค โดยลำดับที่ประทับรอนแรมจนถึงเมืองสังขลา น้ำแห้งลงเรือพระที่นั่งจะไปมิได้ เดชะพระบรมโพธิสมภารบังเกิดน้ำเปี่ยมคลอง มีพรรณฝูงปลาอาหารให้เห็นประจักษ์ แก่ข้าทูลละอองฯ ทั้งปวง ก็เสด็จด้วยราชานุภาพเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีแม่ทัพเรือ เจ้าพระยาพิชัยราชาแม่ทัพบก ยกทัพติดตามเจ้าเมืองนครไปเถิงเมืองเทพา จับจีนจับแขกมาไถ่ถามได้เนื้อความว่า เจ้าเมืองนครหนีไปเมืองตานี เจ้าพระยาจักรี, เจ้าพระยาพิชัยราชา จึงมีหนังสือไปถึงพระยาตานี ๆ มิอาจขัดไว้ได้ จึงส่ง เจ้านคร, พระยาพัทลุง, พระยาสังขลา, เจ้าพัฒ, เจ้ากลาง กับ ทั้งบุตรภรรยามาให้ เจ้าพระยาจักรีจึงจำคนโทษทั้งปวงใส่เรือรบมาถวายณเมืองสังขลา ครั้นณวัน ๖๑๒ ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินมาถึงเมืองนคร ศรีธรรมราช ครั้นณวัน ๖๒ ค่ำ เพลา ๗ ทุ่มเกิดเพลิงณเมืองนครตำบลนายไก่ทรงพระกรุณาให้มีกฎหมายประกาศไป มิให้ไพร่ทหารไทยจีน ทั้งปวงฆ่าโคกระบือ แลข่มเหงสมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรฝ่ายฝีพายทนายเลือกซึ่งตามเสด็จครั้งนั้น ได้ลาภสการเป็นอันมาก ทรง (๑) พระกรุณาให้เล่นให้สนุก แล้วให้กำถั่วหน้าพระที่นั่งกระดานละ ๕๐ ชั่ง บ้าง ๑๐๐ ชั่งบ้าง สนุกปรากฏว่าทุกครั้ง แล้วทรงพระราชศรัทธา ให้สังฆการีธรรมการนิมนต์พระภิกขุ, เถร, เณร, รูปชีในเมืองนอก (๑) ดูกฎหมายฉบับตราสามดวง ว่าด้วยพระราชกำหนดใหม่ บทที่ ๒๖ ๓๒ เมืองนครศรีธรรมราชมาพร้อม พระราชทานข้าวสารองค์ละถัง เงิน องค์ละ ๑ บาท ที่ขาดผ้าสะบงจีวรก็ถวายไตรจีวร แล้วแจกยาจกวณิพกเสมอคนละ ๑ สลึงทุกวันพระอุโบสถ แล้วทรงพระกรุณาจ้างข้าทูลละออง ฯ ให้ฐาปนาบุรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ, พระวิหาร, การเปรียญ, พระระเบียง, ศาลากุฎี สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก ให้ (๑) ตั้งการสมโพธิพระสารีริกบรมธาตุสรรพด้วยการสมโพธิ แล้วให้ ปฤกษาโทษเจ้านคร เสนาบดีปฤกษาโทษถึงตาย ทรงพระกรุณาไม่เห็นด้วย ให้คงจำเจ้านครไปให้ถึงกรุงเทพฯ จึงปฤกษากันใหม่ แล้วทรงตั้งเจ้านราสุริวงศ์ พระเจ้าหลานเธอ ไว้ครองนครศรีธรรมราช แลให้พระยาราชสุภาวดี, พระศรีไกรลาศ อยู่ช่วยราชการ อนึ่ง ทรงพระกรุณาให้ราชบัณฑิตย์จัดพระไตรปิฎก ลงบรรทุกเรือเข้ามากรุงเทพฯ แต่พอจำลองได้ทุกพระคัมภีร์แล้วจึงจะเชิญ ออกมาไว้ดังเก่า แลพระอาจารย์ศรีซึ่งแตกหนีออกไปอยู่ณเมืองนครศรีธรรมราชนั้น ให้นิมนต์เข้ามากับสานุศิษย์ด้วย ลุศักราช ๑๑๓๑ ปีฉลูเอกศก ( พ.ศ. ๒๓๑๒ ) เสด็จดำเนินทัพกลับมาเมืองธนบุรี จึงตั้งพระอาจารย์ศรีเป็นพระสังฆราช แล้วทรง พระกรุณาจ้างให้ช่างจาน ๆ พระไตรปิฎกทั้งจบ สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก ฝ่ายเจ้านครนั้นพระราชทานโทษ ให้รับพระราชทานน้ำพระพิพัฒสัจจา ตั้งแต่นั้นมาพระศาสนาก็ค่อยเฟื่องฟูขึ้นได้ดังเก่า พระ เจ้าอยู่หัวก็ทรงพระวัฒนาการจำเริญพระปรีชาญาณแลพระกฤษฎา นุภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไปจนถึงจุลศักราช ๑๑๓๒ ปีขาลโทศก ( พ.ศ. ๒๓๑๓ ) _________________________________________________________ (๑) ดูกฎหมายฉบับตราสามดวง ว่าด้วยพระราชกำหนดใหม่ บทที่ ๒๕ ๓๓ วัน ๔๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๒ ปี จะยกกองทัพไปปราบคนอาสัตย์อาธรรมฝ่ายเหนือ ด้วยอ้ายเหล่าร้ายนั้นยกลงมาลาดตระเวน ตีเอาข้าวปลาอาหารเผาบ้านเรือนเสียหลายตำบล ไพร่บ้านพลเมือง ได้ความแค้นเคืองขัดสนนัก เหตุฉะนั้นจึงให้เจ้าพระยาพิชัยราชาถือ พล ๕๐๐๐ ยกไปทางตะวันตก พระยายมราชถือพล ๕๐๐๐ เข้ากันเป็นคน ๑๐๐๐๐ สรรพด้วยเครื่องสรรพาวุธทั้งปวง ครั้นลุศักราช ๑๑๓๒ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๒๓๑๓ ) วันเสาร์ เดือน ๘ แรม ๑๔ ค่ำ เพลาโมงเช้าเศษ เป็นมหาพิชัยฤกษ์ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จจากเมืองธนบุรี ไปโดยทางชลมารค ทรงนาวาพระที่นั่งพร้อมด้วยหมู่พลพยุหโยธา เสนาข้าทหารทั้งปวงประมาณ ๑๒๐๐๐ ครั้งนั้นข้าวแพงเกวียนละ ๓ ชั่ง ด้วยเดชะพระบารมีบรมโพธิสมภาร กำปั่นข้าวสารมาแต่ทิศใต้ ก็ได้เกณฑ์ให้กองทัพเหลือเฟือ แล้วได้ทรง พระบริจาคทานแก่สมณะชีพราหมณ์ยาจกวณิพก แลครอบครัวบุตรภรรยาข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวงแล้ว แขกเมืองตรังกานูแล แขกเมืองยักกตรา เอาปืนคาบศิลาเข้ามาถวาย ๒๒๐๐กระบอก ขณะเมื่อเสด็จพระดำเนินขึ้นไปนั้น ประทับแรมณเมืองนครสวรรค์ ๒ เวนแล้วยกขึ้นไปชาละวัน ประทับแรมเวนหนึ่ง รุ่งขึ้นณวันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๒ ค่ำ ยกไปประทับร้อนปากน้ำพิงเพลาประมาณยามหนึ่งเข้าตีเมืองพิษณุโลกได้ หลวงโกษายังคิดมิชอบ (๑) หนีออกจากเมืองขึ้นไปตั้งค่ายรับอยู่ ณตำบลโทก แล้วเลิกหนีไป (๑) ตั้งอยู่ทางทิศอิสานของจังหวัดพิษณุโลก ๕ ๓๔ ครั้นณวันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๔ ค่ำ เสด็จเข้าไปนมัสการพระ ชินราช, พระชินศรี, พระศรีสากยมุนี ก็ทรงพระโสมนัสปรีดา ปราโมทเลื่อมใสศรัทธา เปลื้องพระภูษาจากพระองค์ทรงพระชินราชเจ้าเสร็จ แรมท่าทัพบกฝ่ายตะวันออกอยู่ ๙ เวน พอพระยายมราชขึ้นไปเถิง จึงพระราชทานข้าวปลาอาหาร แลน้ำสุราพัดให้พร้อมแล้ว สั่งให้ทัพบกยกเร่งรีบขึ้นไปติดเมืองสวางคบุรี แล้วตรัสว่าเราจะยก ทัพเรือขึ้นไปบัดนี้ น้ำยังน้อยนักตลิ่งยังสูงอยู่ อ้ายเหล่าร้ายจะได้ ท่วงทีลอบยิงเอา แต่ไม่ช้าดอก พอทัพบกข้ามแม่น้ำน้อยเสียได้ ๓ วัน น้ำก็เกิดมากขึ้น เดชะพระบารมีบรมโพธิสมภาร ครั้นเถิง ๓ วัน น้ำก็เกิดมากขึ้น เสมอตลิ่งบ้างล้นตลิ่งบ้างประดุจตรัสไว้นั้น จำเดิมแต่ นั้นกองทัพบกทัพเรือทั้งปวง ได้แจ้งเหตุแล้วก็ยกมือขึ้นกราบถวายบังคมเอาพระเดชเดชานุภาพปกเกล้า มีน้ำใจมิได้ย่อท้อต่อการณรงค์องอาจที่จะรบสู้หมู่ปัจจามิตร์ข้าศึก ด้วยเห็นพระบารมีเป็นแท้ วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ เพลา ๒ โมงเช้า ยกทัพหลวง จากเมืองพิษณุโลกโดยทางชลมารค ประทับรอนแรมไปได้ ๓ เวน พบผู้ถือหนังสือบอกกองหน้า ใจความว่าได้เมืองฝางแล้ว แต่อ้าย เรือนซึ่งคิดมิชอบนั้นหนีไป ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงยังติดตามอยู่ ก็ เสด็จรีบไปทั้งกลางวันกลางคืน เถิงตำหนักค่ายหาดสูง ให้นายทัพ นายกองเกณฑ์กันไปติดตามอ้ายเรือนฝางแลนางพญาช้างเผือกจงได้ ครั้นวันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ หลวงคชชาติ กองพระยา


๓๕ อินทรวิชิต จับได้นางพญามงคลเศวตคชสารศรีเมืองตัวประเสริฐ นำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงพระกรุณาพระราชทานบำเหน็จโดยสมควร ครั้นณวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เสด็จยกพลพยุหโยธา ทัพหลวงโดยทางชลมารคไปตำบลน้ำมืด จึงดำรัสให้ตั้งด่านทางชั้นในชั้นนอก ตั้งเกลี้ยกล่อมลาดตระเวนสืบสาวเอาตัวอ้ายเรือนฝางให้จงได้แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับยังพระตำหนักค่ายหาดสูง ครั้นรุ่งขึ้นวันเสาร์ เดือน ๑๐ แรม ๔ ค่ำ สั่งให้แต่งกฎประกาศ กองทัพบกทัพเรือไทยจีนทั้งปวง อย่าให้ข่มเหงรีดราษฎรชาวบ้านแล ฆ่าโคกระบือ อนึ่ง นายกองนายทัพผู้ใดได้บืนแลช้างพังพลายใหญ่ ได้ศอกได้นิ้ว รูปดีรูปกลาง ก็ให้ส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้นค่ำหนึ่ง เสด็จอยู่ณพระตำหนักค่าย หาดสูง แขกเมืองตานีเข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภาร ถวายดอกไม้ทองเงิน แลแขกเมืองยักกะตราถวายปืน ๑๐ บอก วันอังคาร เดือน ๑๑ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาล โทศก (พ.ศ. ๒๓๑๓ ) ทรงพระกรุณาให้นิมนต์พระสงฆ์ฝ่ายเหนือมาพร้อมกันหน้าพระที่นั่ง ขุนนางผู้น้อยผู้ใหญ่ฝ่ายทหารพลเรือนเฝ้าพร้อมกัน จึงดำรัสปฤกษา ว่า พระสงฆ์บันดาอยู่ฝ่ายเหนือนี้ เป็นพักพวกเพื่อนอ้ายเรือนฝางย่อมคิดถือปืนรบศึก ฆ่าคนปล้นเอาทรัพย์สิ่งของ แลกินสุราส้องเสพด้วยสีกาให้ขาดจากสิกขาบทจัตุปาราชิก เป็นลามกอยู่ในพระศาสนาฉะนี้จะไว้มิได้ อนึ่ง พระสงฆ์ฝ่ายใต้ฝ่ายเหนือ ก็แปลกปลอมกันอยู่มิรู้ว่าองค์ ใดดีองค์ใดชั่ว จะได้กระทำสักการบูชาให้เป็นผลานิสงส์แก่ตนแก่ท่านแลให้พระสงฆ์ว่าแต่ตามสัจตามจริง ถ้าได้ผิดในจัตุปาราชิกแต่กาลใด ๓๖ กาลก่อน จะพระราชทานผ้าให้สึกออกทำราชการ ที่มิรับนั้นจะให้ ดำน้ำกับนาฬิกา ๓ กลั้น ถ้าชะนะจะให้เป็นเจ้าอธิการราชาคณะฝ่ายเหนือ โดยสมควรแก่คุณความรู้ ที่แพ้นาฬิกานั้นจะให้ลงพระราชอาชญาแล้วสักข้อมือมิให้บวชได้อีกเลย ถ้าเสมอนาฬิกาจะพระราชทานผ้าไตรให้บวชใหม่ ถ้าไม่รับแต่เดิม ครั้นจะให้ลงดำน้ำกลับคืนคำว่าได้ทำ ผิด จะให้ลงพระราชอาชญาประหารชีวิตเสีย อนึ่ง เมื่อพระสงฆ์จะ ลงดำน้ำนั้น ให้ตั้งศาลกั้นม่านดาดเพดาน แต่งเครื่องพลีกรรมเทพดาพร้อมแล้ว ทรงพระอธิษฐานให้พระบารมีนั้นช่วยอภิบาลรักษาพระ สงฆ์ทั้งปวง ว่าภิกษุองค์ใดมิได้ขาดสิกขาบทจัตุปาราชิก ขอให้พระบารมีโพธิญาณของโยม แลอานุภาพเทวดาอันศักดิ์สิทธิ์ช่วยอภิบาลรักษาพระผู้เป็นเจ้า อย่าให้แพ้แก่นาฬิกาได้ ถ้าแลภิกษุรูปใดศีล วิบัติด้วยจัตุปาราชิก จงสังหารให้แพ้แก่นาฬิกาให้เห็นประจักษ์แก่ตาโลก เดชะพระบารมีสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ครั้งนั้นพระสงฆ์ที่มีศีลบริสุทธิ์ก็ชะนะแก่นาฬิกาหาอันตรายมิได้ ที่ภิกขุทุศีลนั้นก็แพ้นาฬิกาเห็นประจักษ์แก่ตาโลกทั้งปวง พระสงฆ์ดำน้ำครั้งนั้น ชะนะบ้าง เสมอบ้าง แพ้บ้าง เสนาบดีทั้งปวงก็กระทำตามรับสั่งโดยสมควรแก่คุณและโทษ แต่ผ้าไตรที่พระสงฆ์สึกนั้น ได้เผาทำเป็นสมุกไปทาพระมหาธาตุเมืองฝาง แล้วทรงพระกรุณาให้เย็บผ้าจีวรให้ได้ ๑๐๐๐ ไตรบวชพระสงฆ์ไว้ฝ่ายเหนือ แล้วให้ลงมาอาราธนารับพระสงฆ์ราชาคณะแลอันดับ ๕๐ รูปณกรุงธนบุรี ขึ้นไปบวชพระสงฆ์ไว้ทุกหัวเมือง แล้วพระราชทานราชาคณะไว้ให้อยู่สั่งสอนพระสงฆ์ฝ่ายเหนือ พระ พิมลธรรมอยู่เมืองฝาง, พระธรรมเจดีย์อยู่ทุ่งยั้ง, พระธรรมราชา, ๓๗ พระเทพกวี อยู่เมืองสวรรคโลก, พระธรรมอุดมอยู่เมืองพิชัย, พระ โพธิวงศ์อยู่เมืองพิษณุโลก วันศุกร์ เดือน ๑๑ แรม ๑๐ ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองสวางคบุรี สมโภชพระธาตุ ๓ เวนแล้ว ให้บุรณะปฏิสังขรณ์พระอารามแลพระบรมธาตุให้บริบูรณ์ดังเก่า จึงเสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระณย้าง ๓ เวน แล้วเสด็จไปสมโภชพระบรมธาตุเมืองสวรรคโลก ครั้นณวันศุกร เดือน ๑๑ แรมค่ำหนึ่ง สมโภชพระเมืองพิษณุโลก ๓ เวนแล้ว ข้าหลวงซึ่งมีความชอบในการสงคราม ให้รั้งเมืองครองเมืองตามฐานานุกรมลำดับ เจ้าพระยาพิชัยราชาเป็นเจ้าพระยา (๑) (๒) สวรรคโลก พระยายมราชเป็นเจ้าพระยาสุรศรี รั้งเมืองพิษณุโลก (๓) พระศรีราชเดโชรั้งเมืองพิชัย พระท้ายน้ำรั้งเมืองสุโขทัย เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธรรั้งเมืองนครสวรรค์ พระยาอภัยรณฤทธิ์ไปเป็นพระยา (๔) ยมราช ให้ว่าที่สมุหนายกด้วย แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับลงมา ยังกรุงธนบุรี ณวัน ๓ ค่ำ ลุศักราช ๑๑๓๒ ปีขาลโทศก ( พ.ศ. ๒๓๑๓ ) จะยกทัพหลวงขึ้นไปตี เมืองเชียงใหม่ เหตุพะม่าเหล่าร้ายเมืองเชียงใหม่ ยกกองทัพลงมา (๑) มีประวัติพงศาวดารอยู่ในหนังสือศิลปากร เล่ม ๒ (๒) กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในรัชกาลที่ ๑ (๓) พระยาพิชัยดาบหัก ดูหนังสือเสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์ เล่ม ๑๑ ประจำปี พ.ศ. ๒๔๖๙ (๔) สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

๓๘ ตั้งค่ายล้อมเมืองสวรรคโลกไว้ ได้ยุทธนาการรบกันสามารถ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้มีตราขึ้นไปเถิงเมืองพิษณุโลก, เมืองสุโขทัย, เมืองพิชัย ให้ยกไปช่วยรบ พะม่าก็แตก (๑) เลิกหนีไป อาศัยเหตุฉะนี้ จึงยกพลพยุหโยธาทัพหลวง ทั้งนายไพร่ไทยจีนแขกฝรั่ง ๑๕๐๐๐ สรรพด้วยปืนใหญ่น้อยและเครื่องสรรพาวุธทั้งปวง พระเจ้าอยู่หัวทรงนาวาพระที่นั่งกราบเสด็จโดยทางชลมารค ขึ้นไปประทับณพระตำหนักหาดทรายหน้าเมืองฟากตะวันออกเมืองพิชัยกับพักพวกลาวมีชื่อสมัครเข้าทำราชการ ทรงพระกรุณาตั้งให้เป็น (๒) พระยาศรีสุริวงศ์ แล้วสั่งให้เจ้าพระยาจักรี ครู เจ้าพระยามหาราชา อยู่รักษาเรือพระที่นั่งและเรือข้าทูลละอองฯ ทั้งปวงณเมืองพิชัย แล้วยกพลนิกรโยธาทัพหลวงโดยทางสถลมารค ประทับรอน แรมไปหลายเวน เถิงตำบลกุ่มเหลือง จึงหยุดประทับแรมอยู่ณพระตำหนักค่ายมั่นแทบเชิงม้าพลาด ครั้งนั้นเทศกาลคิมหันตฤดูกันดารด้วยน้ำนัก ผู้มีชื่อเป็นมรรคนายกนำมรรคานั้นกราบทูลว่า แต่เชิงเขาข้าง นี้จะไปลงเชิงเขาข้างหน้าโพ้น เป็นระยะทาง ๓ เส้น กันดารน้ำนัก ดำรัสว่าอย่าปรารมภ์เลยเป็นภารธุระแห่งเรา ค่ำวันนี้อย่าตีฆ้องยามจงกำหนดนาฬิกาไว้ เพลา๕ ทุ่มจะให้ฝนตกลงจงได้ แล้วจึงตรัสสั่งเจ้าพระยาสรประสิทธิ์ให้ปลูกศาลเทพารักษ์เพียงตา กระทำพลีกรรม _________________________________________________________ (๑) จดหมายเหตุโหรมีว่า " จ.ศ. ๑๑๓๒ พะม่ายกมาสวางคบุรี แตกกลับไปบางทีทัพหลวงจะเพียงขับไล่พะม่าในคราวปราบเมืองสวางคบุรีนั้น หาได้เสด็จเชียงใหม่ไม่ (๒) ตรงนี้ยังไม่กระจ่าง ๓๙ บวงสรวงเสด็จแล้วทรงพระสัตยาธิษฐาน เอาพระบารมีโพธิสมภารได้สันนิตยาการมาแต่อดีตชาติและปัจจุบันนั้น เป็นที่พึ่งพำนักแก่ไพร่พลทั้งปวง วันนั้นอากาศปราศจากเมฆและฟ้าลมเห็นผ่องแผ้วเป็นปกติเดชะอานุภาพกำลังพระอธิษฐานบารมีและเทวานุภาพ เถิงเพลา ๔ ทุ่ม ๘ บาท ก็บันดาลฝนตกลงหนัก น้ำนองขอนไม้ในป่าก็ลอยไหลไปเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก ครั้นเพลาเช้าก็เสด็จดำเนินพลประทับรอนแรม (๑) ไปจนใกล้เมืองเชียงใหม่ พะม่าและลาวแต่งกองทัพออกมารับ ฝ่ายทัพหน้าก็ตีทัพพะม่าแตกเลิกถอยไปจนกำแพง แล้วตั้งค่ายรายล้อมไว้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสถิตอยู่ณพระตำหนักค่ายในกำแพงดิน แล้วสั่งให้นายทัพนายกองทั้งปวงเข้าปล้นปืนในเพลา ๓ ยามเศษ เพื่อจะฟังกำลังข้าศึก ได้รบกันกับพะม่าสามารถ จวนรุ่งไปเข้ามิได้ถอยออกมาจึงตรัสว่าอันเมืองเชียงใหม่นี้ต้องทำนายอยู่ คำปรำปราเล่าสืบมาว่ากษัตริย์พระองค์ใดยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่นั้นครั้งเดียวมิได้ ต่อยก ไปเป็นคำรบสองจึงได้ ถ้าจะเข้าหาญบุกรุกเอาดวยกำลังกล้าบัดนี้ก็ จะได้ แต่จะเสียไพร่พลมาก และยกมาบัดนี้เหมือนจะดูท่วงทีท่าทางและกำลังข้าศึก ก็ได้เห็นประจักษ์แล้ว ถ้ายกมาครั้งหลังเห็นได้ถ่าย เดียว จึงให้ถอยทัพหลวงล่วงมาเวนหนึ่ง กองทัพทั้งปวงก็เลิกเลื่อนถอยมาตาม ฝ่ายพะม่าก็ยกกองทัพลัดเลาะป่า สะกดตามยิงลงมา ไพร่พลก็ตื่นแตกระส่ำระสาย ถอยย่อย่นมาจนเถิงทัพหลวง อันประทับรับ _________________________________________________________ (๑) พงศาวดารเชียงใหม่ว่ากองทัพพระโกศายกขึ้นไปประชิด ชะรอยจะเป็นทัพหลวงโกศา ( ยัง ) เมื่อแตกหนีไปจากเมืองพิษณุโลกกระมัง ๔๐ อยู่ณเขาช่องแคบนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเห็นดังนั้น จึงเสด็จ ทรงพระแสงดาบต้อนโยธาทั้งปวง ให้กลับรบพะม่าตะลุมบอนแทงฟันกันเป็นสามารถ ทัพพะม่าล้มตายเป็นอันมาก แตกกระจัดกระจาย ก็เสด็จกลับลงมาเถิงกรุงธนบุรีด้วยสวัสดิภาพ ลุศักราช ๑๑๓๒ ปีขาลโทศก ( พ.ศ. ๒๓๑๓ ) ทรงพระวิจารณะ ว่าเมืองเก่านี้น้อยนัก ไพร่พลสิมาก เกลือกมีการสงครามมาหาที่มั่น ผู้คนจะอาศัยมิได้ จึงทรงพระกรุณาให้ข้าทูลละอองฯ ฝ่ายทหาร พลเรือนทำค่ายด้วยไม้ทองหลางทั้งต้น เป็นที่มั่นไว้พลางก่อน จึงจะก่อกำแพงเมื่อภายหลัง ให้ทำค่ายตั้งแต่มุมกำแพงเมืองเก่าไปจนวัด บางว้าน้อยวงลงไปริมแม่น้ำใหญ่ แล้วขุดคูน้ำรอบพระนคร มูลดิน ขึ้นเป็นเชิงเทินตามริมค่ายข้างใน เดือนหนึ่งสำเร็จการ (๑) วันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๓ ปีเถาะตรีศก ( พ.ศ. ๒๓๑๔ ) เพลาเช้าโมง ๕ บาท ได้พิชัยฤกษ์ เสด็จลงพระที่นั่งสำเภาทอง ยกทัพหลวงออกจากเมืองธนบุรีไปทางปากน้ำเจ้าพระยาเรือรบ ๒๐๐ ลำ เรือสำเภา ๑๐๐ ลำ พลทหารไทยจีนฝรั่งเป็นคน ๑๕๐๐๐ เศษ สรรพด้วยเครื่องสาตราวุธทั้งปวง เดชะพระบรมโพธิสมภารคลื่นลมร้ายในพระมหาสมุทรก็บันดาลสงบเป็นปกติ เสด็จไป ๕ เวนประทับปากน้ำจันทบูร จึงให้พระยาโกษาเป็นแม่ทัพยกไปตีตะโพงโสมและกองกุก แล้วเสด็จไป ๖ เวน วันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ (๑) จดหมายรายวันทัพคราวเสด็จพระราชดำเนินไปปราบเมืองพุทไธมาศ (ฮ่าเตียน) ยังเหลืออยู่เกือบบริบูรณ์ มีข้อน่ารู้อยู่ในนั้นมาก ดูประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๖

๔๑ ขึ้น ๘ ค่ำ เถิงปากน้ำพุทไธมาศ สถิตณตึกจีนฟากตะวันตกเฉียงใต้ จึงได้มีหนังสือพระยาพิชัยไอศวรรย์กองทัพหน้า ให้ญวนมีชื่อซึ่งจับได้มานั้นถือเข้าไปเถิงพระยาราชาเศรษฐี ว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ยกกองทัพบกทัพเรือมานี้ พระราชประสงค์จะเศกพระองค์รามราชาให้ครองกรุงกัมพูชาธิบดี แล้วจะเอาตัวเจ้าจุ้ยเจ้าเสสังแลข้าหลวงชาว กรุงซึ่งไปอยู่เมืองใดๆ จงสิ้น ถ้าและพระยาราชาเศรษฐีมิได้ภักดีด้วยเห็นว่าต้านทานได้ ก็ให้แต่งการป้องกันเมืองจงสรรพ ถ้าเห็นว่าจะสู้มิได้ ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดอยู่ ให้ออกมากราบถวายบังคม เราจะ ช่วยทำนุบำรุง เถิงว่าแก่แล้วมามิได้ ก็ให้แต่งหุเอียบุตรออกมา ถวายบังคมจงฉับพลัน ถ้าช้าอยู่จะทรงพระพิโรธฆ่าเสียให้สิ้น พระยาราชาเศรษฐีจึงให้หนังสือตอบออกมาว่า ซึ่งให้หนังสือมาเถิงข้าพเจ้า ๆ ขอบใจนัก จะหาขุนนางมาปฤกษาให้พร้อมกันก่อน ถ้าประนอม พร้อมกันแล้วจึงจะบอกไปให้แจ้ง และพระยาราชาเศรษฐีก็มิได้ ให้ ผู้ใดออกมาบอก จึงดำรัสสั่งกรมอาจารย์ให้จัดกันที่แกล้วหาญเข้า ปล้นเมืองทั้งนายไพร่ ๑๑๑ คน จึงให้เกณฑ์ทหาร ๒๔๐๐ เข้าสมทบแล้วพระราชทานฤกษ์แลอุบายให้ปล้นในเพลา ๒ ยามนั้น ก็ปีนกำแพงเข้าไปได้ จุดเพลิงขึ้นสว่างรุ่งเรือง ได้ยุทธนาการรบกันกับญวนซึ่ง อยู่ในเมืองนั้นช้านาน แลนายทัพนายกองรี้พลทั้งปวงซึ่งตั้งค่ายรายล้อมอยู่นั้น จะบุกรุกเข้าไปช่วยก็มิได้ ด้วยญวนยังรักษาหน้าที่ยิงรบ อยู่ ไพร่พลทั้งปวงก็อิดโรยลง เดชะบรมโพธิสมภารบันดาลดลจิตต์ ๖

๔๒ โยธาทหารทั้งปวงให้สำคัญว่าเสด็จไป ก็มีน้ำใจองอาจแกล้วหาญยิ่งนัก ตีกระโจมเข้าไปทั้งบกทั้งเรือ จีนญวนซึ่งรักษาหน้าที่ก็แตกหนี ไป พอรุ่งขึ้นวันอาทิตย์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เพลาเช้าก็เข้าเมือง (๑) ได้ และพระยาราชาเศรษฐีลงเรือหนีไปได้ วันจันทร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เสด็จเข้าไปสถิตในวังพระยาราชาเศรษฐี จึงตรัสถาม พระญาณประสิทธิ์ พระสุธรรมาจารย์ อาจารย์จันทร์ ว่าเมื่อคุม ทหารเข้าหักค่ายนั้นเข้าข้างฐานใด อาจารย์ทั้งสามให้การมิได้ตรงกัน จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรดูทหารเข้านั้น เห็นผิดด้วย พระราชดำริ ตรัสว่าข้าศึกหนีไปได้ด้วยเข้าผิดกับรับสั่ง ถ้าต่อสู้ก็ จะเสียราชการ จึงให้ลงพระราชอาชญาทั้งนายไพร่ ซึ่งมีความชอบหักค่ายเข้าได้นั้น พระราชทานเงินเป็นบำเหน็จทั้งนายไพร่ ๓๒๕ ชั่ง แล้วให้มีกฎประกาศห้ามอย่าให้ริบราชบาทว์จีนญวนชาวเมือง ให้ค้าขายตามภูมิลำเนาแต่ก่อน แล้วพระราชทานตั้งพระยาพิพิธผู้ช่วยราชการโกษาธิบดีเป็นพระยาราชาเศรษฐี รั้งเมืองพุทไธมาศ แล้วยกทัพหลวงจากปากน้ำพุทไธมาศไปตีกรุงกัมพูชาธิบดี เสด็จโดยทางชลมารค (๒) ประทับรอนแรมรายทางขึ้นไปจนเถิงพนมเพ็ง เจ้าพระยาจักรียกลงมา _________________________________________________________ (๑) ภายหลังจึงมาขอสวามิภักดิ์ ก็โปรดให้เป็นเจ้าเมืองตามเดิม (๒) ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแต่ตามหลักฐานส่วนมากยุตติต้องกันว่า เวลานั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ยังดำรงพระยศเป็นเพียงพระยายมราช จนถึงปลายปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๑๗ หรือต้นปีมะแม พ.ศ. ๒๓๑๘ จึงเลื่อนมาเป็นพระยาจักรี คงอยู่ในชั้นนี้ต่อมาจนพ.ศ.๒๓๒๐ จึงได้เป็นเจ้าพระยาจักรี ส่วนในที่นี้ก็คือเจ้าพระยาจักรี (หมุด) นั้นเอง ๔๓ จากกัมพูชาธิบดีกราบบังคมทูลว่า พระองค์อุทัยยกหนีไปตั้งอยู่บ่อพนมแล้ว ครั้นทรงฟังจึงสั่งให้เจ้าพระยาจักรียกไปตามในวันนั้น ครั้น เพลาบ่าย ๓ โมงเศษยกทัพหลวงตามไป ประมาณยามหนึ่งก็ได้ทรง ฟังหนังสือบอกเจ้าพระยาจักรีว่า ญวนลูกหน่ายมารับพระองค์อุทัยไปแล้ว จึงหยุดประทับแรมอยู่ณเรือพระที่นั่งหน้าบ้านตำหนักเวนหนึ่งเพลาเช้ายกกลับคืนมาถึงปากคลองมักกะสา พบครัวแลเรือเป็นอันมากแล้วยกมาประทับเกาะพนมเพ็ง พระองค์รามราชาลงมาเฝ้า

ต้นฉบับต่อจากนี้ยังขาดอยู่ตอนหนึ่ง ข้อความที่ขาดนั้น คือ (๑) ทัพหลวงเสด็จมาเมืองพุทไธมาศ ( ฮ่าเตียน ) (๒) ทัพหลวงเสด็จกลับกรุงธนบุรี (๓) พระยาราชาเศรษฐีญวนคนเก่ายอมสวามิภักดิ์ ( ดูประชุม พงศาวดารภาคที่ ๓๙ ) (๔) กองทัพพะม่ายกมาตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๕ (๕) โปรดให้สักท้องมือหมายหมู่เลขไพร่หลวง, เลขสังกัด พรรค์ และเลขหัวเมือง ใน พ.ศ . ๒๓๑๖ (๖) กองทัพพะม่ายกมาตีเมืองพิชัยครังที่ ๒ (๗) เดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๓๑๗ ทัพหลวงสมเด็จพระราชดำเนินขึ้น ไปปราบพะม่าเมืองเชียงใหม่


๔๔ ต่อไปนี้เป็นพระราชพงศาวดาร วันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ( พ.ศ. ๒๓๑๗ ) เพลาบ่ายแล้ว ๒ (๑) โมงเศษ เสด็จ ฯอยู่ณพระตำหนักค่ายเมืองลำพูน ทรง ฯ ให้หาพระยาจ่าบ้าน พระยาลำพูน ลาวแสน ขุนหมื่น พักพวกสมกำลัง ซึ่งได้ทำราชการด้วยกันมาเฝ้าให้พร้อม แล้วพระราชทานเสื้อผ้าคนละสำรับ ตามบันดาศักดิ์นายไพร่เป็นอันมาก แล้วพระราชทานผ้านุ่งห่มแก่ภรรยาพระยาจ่าบ้าน พระยาลำพูน วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ครั้นเพลาย่ำรุ่งแล้ว ตระเตรียมปืนเกนหาม ลูกหลวง ลูกชะเลย พร้อมสรรพ ทรงช้างต้นพลายคเชนทรเยียรยง เสด็จ ฯยกพลนิกรโยธาทัพหลวงจากค่ายเมืองลำพูนขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ประทับร้อนณตำหนักค่ายบ่อคกทาง ๓๕๒ เส้น แล้วยก จากบ่อคกไป เพลาบ่าย ๓ โมง เศษถึงพระตำหนักค่ายมั่นริมน้ำเมืองเชียงใหม่ทาง ๑๗๖ เส้น จึงตรัสสั่งให้ยับยั้งโยธาหาค่ายไว้ ให้พร้อมพรุ่งนี้จึงจะยกทัพหลวงขึ้นไปปิดทางอังวะไว้ จับเอาเป็นให้สิ้น ในวันนั้นเพลายามเศษ โปชุกพลา, มะยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่ รู้ว่าทัพหลวงยกขึ้นไป จะอยู่ต้านมิได้ ด้วยกลัวพระเดชานุภาพ พระบารมี พาครัวหนีออกจากเมืองไปทางประตูช้างเผือก ด้วยความกลัวย่ำเหยียบกันออกไปตายอยู่ณประตูนั้นประมาณ ๒๐๐ เศษ ที่ยังหลงรบอยู่ก็มีบ้าง แลกองเจ้าพระยาสุรศรีซึ่งตั้งค่ายล้อมอยู่ตรงประตู _________________________________________________________ (๑) คนสำคัญของเชียงใหม่

๔๕ ท่าแพนั้นออกหักค่าย ชิงได้ค่ายพะม่า ๓ ค่าย แทงฟันพะม่าตายเป็นอันมาก ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เพลารุ่งเช้า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงช้างต้นพระที่นั่งพลายคเชนทรเยียรยง เสด็จ ฯ ไปทอดพระเนตรค่ายข้าทูลละอองฯ ซึ่งตั้งล้อมเมืองเชียงใหม่รอบแล้ว (๑) เสด็จ ฯ กลับมาพระตำหนัก พระยายมราช ผู้ว่าที่สมุหนายก แม่ทัพแลนายทัพนายกองทั้งปวงมาเฝ้าพร้อมกัน จึงทรง ฯ ตรัสประภาษ ว่า พะม่ายกหนีไปทั้งนี้เป็นความคิดฤทธิอุบายของผู้ใด พระยายมราช ผู้ว่าที่สมุหนายก แลนายทัพทั้งปวงพร้อมกันกราบทูลว่า แต่กำลังข้าราชการทำสงครามกับพะม่า ๆ มิได้ยกหนีไป ออกรบเนือง ๆ ครั้น เสด็จ ฯ ยกทัพหลวงขึ้นมาถึง พะม่ายกหนีไป เห็นเป็นอัศจรรย์นัก อันพะม่ายกหนีไปนี้ ด้วยพระเดชเดชานุภาพพระบารมีเป็นแท้ อนึ่งพระสงฆ์ในเมืองเชียงใหม่บอกว่า วันเสด็จ ฯ ถึงเพลายามเศษ เป็นอัศจรรย์แผ่นดินในเมืองเชียงใหม่ไหว อนึ่งทรงพระกรุณาพระราชทานฉลองพระองค์ผ้าส่านพระยายมราชผู้ว่าที่สมุหนายก, เจ้าพระยาสุรศรี ด้วยพระยายมราช ผู้ว่าที่สมุห นายกเหนื่อยหนักว่าทั้งปวง แล้วพระราชทานผ้าไหมแดง ผ้าไหม ม่วง ในกองพระยายมราช ผู้ว่าที่สมุหนายก ๕๕ ผืน ให้แจกทหาร ซึ่งมีความชอบ กองเจ้าพระยาสุรศรี ๔๕ ผืนให้แจกทหาร _________________________________________________________ (๑) นี้คือสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่ตำแหน่งสมุหนายกนั้น ได้พบร่างท้องตราปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๑๗ ได้ความว่าเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชรักษาการอยู่ ๔๖ (๑) อนึ่ง สั่งให้ลงพระราชอาชญาเจ้าพระยาสวรรคโลก ด้วยมิได้ปลงใจในราชการ ให้แต่ขุนหมื่นผู้น้อยทำการ ตัวนั้นอยู่แต่ไกล ให้จำครบแล้วให้เฆี่ยน ๓๐ ที พระหลวงขุนหมื่น ๓๐ ที นายหมวด ๒๐ ที แล้วให้ริบเอาสิ่งของซึ่งแต่เมืองเชียงใหม่ได้นั้น ให้สิ้นเชิงทั้งกองเจ้าพระ ยาสวรรคโลก แล้วตรัสว่า เมืองพะเยาพะม่ากับลาวอยู่ ๑๐๐๐ ตัว กับกรมการทั้งปวงจะอาษาตี ทำราชการแก้ตัวจะได้หรือมิได้ เจ้า พระยาสวรรคโลกกับกรมการทั้งปวงกราบทูลว่าได้ มิได้ ให้ลงพระ ราชอาชญาถึงสิ้นชีวิต วันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เสด็จอยู่ณพระตำหนักค่ายเมืองเชียงใหม่ ทรง ฯ ตรัสสั่งว่า นายทัพนายกองทั้งปวง ถ้าผู้ใดได้ไทย ชาวกรุง ฯ แลแว่นแคว้นกรุง ฯ ไว้ให้ส่งมาถวายจงสิ้นเชิง ถ้าผู้ใด เบียดบังไว้ สืบได้จะเอาเป็นโทษตามกฎ วันอังคาร เดือนยี่ แรม ๑ ค่ำ นายทัพนายกองส่งสิ่งของแลครัว มาทูลเกล้า ฯ ถวาย ได้ปืนใหญ่ ๑๑๐ ปืนน้อย ๒๐๐๐ ( รวม ) ๒๑๑๐ บอก, ฆ้อง ๓๒ คู่, ม้า ๒๐๐ ไทย, มอญ ๕๐๐, ครัวไทยชาว สวรรคโลก ๕๐๐ เศษ จึงตรัสสั่งว่า ครัวไทยชาวสวรรคโลกเป็นกบฎ ต่อแผ่นดิน หนีไปอยู่กับพะม่าเมืองเชียงใหม่ นำพะม่าลงมารบเมือง สวรรคโลก จะเอาไว้มิได้ จะเป็นเยี่ยงอย่างเสียราชการแผ่นดินไป _________________________________________________________ (๑) มีร่างท้องตราเป็นหลักฐานว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๗ คราวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปปราบพะม่าเชียงใหม่นั้น เจ้าพระยาสวรรคโลกต้องโทษอยู่กรุงธนบุรี หาได้ตามเสด็จไปในงานพระราชสงครามด้วยไม่, ดูศิลปากร เล่ม ๒ ๔๗ ให้ครอกเสียจงสิ้นทั้งบุตรภรรยา อนึ่ง ข้าทูลละออง ฯ ผู้ใหญ่ปรึกษาพร้อมกัน กราบทูลขอชีวิตไว้ให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง จึงทรงพระ กรุณาพระราชทานชีวิตไว้ วันพุธ เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ เพลาเช้า เสด็จ ฯ ไปนมัสการพระพุทธ ปฎิมากรณวัดพระสิหิงค์ในเมืองเชียงใหม่ แล้วเสด็จ ฯ ไปทอดพระเนตรเรือนโปมะยุงง่วนเจ้าเมืองเชียงใหม่ อนึ่ง ลาวมีชื่อทั้งปวงว่า แต่ก่อนมาถ้าเทศกาลเดือนยี่ น้ำณแม่น้ำเมืองเชียงใหม่ลง แลบัดนี้น้ำขึ้นมาศอกหนึ่งเป็นอัศจรรย์ วันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ เสด็จอยู่ณพระตำหนักริมน้ำ เมืองเชียงใหม่ ทรง ฯ ตรัสว่า พระยาลาวมีชื่อสวามิภักดิเข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิสมภาร ได้ทำราชการช่วยรบพะม่ามีความชอบ ทรง ฯ พระราชทานพระแสงปืนยาว ปืนสั้น หอก เสื้อผ้า แก่พระยาจ่าบ้านให้ถือพระราชอาชญาสิทธิ เป็นพระยาวิเชียรปราการ ครองนครเมืองเชียงใหม่ พระราชทานพระแสงปืนยาว เสื้อผ้า แก่พระยาวังพราวผู้หลาน ให้เป็นพระยาอุปราชา ฝ่ายหน้านครเชียงใหม่ พระราชทานพระแสงปืนยาว เสื้อผ้า แก่น้อยโพธิ เป็นราชวงศ์ พระราชทาน พระแสงปืนยาว ปืนสั้น หอก เสื้อผ้า แก่พระยาลำพูน ให้ถือพระ ราชอาญาสิทธิ เป็นพระยาอัยวงศ์ ครองนครหริภุญชัย พระราชทานพระแสงปืนยาว เสื้อผ้าแก่ต่อมต่อผู้น้อง ให้เป็นพระยาอุปราชา ฝ่ายหน้านครหริภุญชัย พระราชทานพระแสงปืนยาว พระแสงหอก เสื้อผ้า แก่กาวิละ ให้ถือพระราชอาชญาสิทธิเป็นพระยากาวิละครองนครลำปาง พระราชทานเสื้อผ้าแก่น้อยธรรมผู้น้อง ให้เป็นพระยา ๔๘ อุปราชาฝ่ายหน้านครลำปาง พระราชทานเสื้อผ้าแก่นายสม นายดวงทิพ นายมูลา นายคำฟั้น นายบุญมา ผู้น้อง เป็นราชวงศ์ อนึ่ง ให้จัดแจงตั้งแต่งพระหลวงแสนขุนหมื่นขึ้นไว้ แต่ในแว่นแคว้นเมืองเชียงใหม่, เมืองหริภุญชัย, เมืองนครลำปาง, เมืองแพร่, (๑) เมืองเถิน, บ้านกอะ , ดอกเหล็ก, บ้านนา, ตามรีดตามกอง รั้งเมืองครองเมืองเชียงใหม่, เมืองหริภุญชัย, เมืองนครลำปาง, เมืองแพร่, เมืองเถิน ตามบุรพประเพณีสืบมา วันศุกร เดือนยี่ แรม ๔ ค่ำ เพลาเช้า เสด็จ ฯ ยกพลพยุหยาตรา (๒) ทัพหลวง จากค่ายเมืองเชียงใหม่กลับคืนพระนคร ให้เจ้าพระยาจักรีแม่กองทัพอยู่ช่วยจัดแจงเมืองเชียงใหม่ อนึ่ง ให้คอยฟังข่าวราชการ ซึ่งกองทัพไปตามพะม่า ได้เหตุแล้วจึงเลิกทัพลงมา ตรัสสั่งแล้ว เสด็จ ฯ มาประทับแรมอยู่ณพระตำหนักค่ายเมืองหริภุญชัย จึงเสด็จ ฯ ไปนมัสการพระบรมธาตุ โปรยเงินพระราชทานแก่ลาวเป็นอันมาก แล้วให้พระยาวังพราว น้อยโพธิ ถือน้ำพระพิพัฒสัจจา จำเพาะพระบรมธาตุเมืองหริภุญชัย ในวันนั้นพระยาวิเชียรปราการถวายนัดดานารีเป็นบาทบริจาริกผู้หนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเงิน (๓) ๑ ชั่ง ผ้าสำรับหนึ่ง แล้วส่งตัวนารีผู้นั้นคืน ให้พระยาวิเชียรปราการ _________________________________________________________ (๑) ต้นฉบับเขียน เกาะเป็น กอะ จึงคงไว้ตามต้นฉบับ (๒) ไม่บอกว่าพระยายมราชได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาจักรี แต่ในที่นี้ ดูเหมือนจะไม่ใช่เจ้าพระยาจักรี (หมุด) สมุหนายก (๓) ได้ความว่า การที่ไม่ทรงรับนั้น เพราะทรงรังเกียจในการพรากลูกเขา ดังจะเห็นได้ในตอนพระยากาวิละนำถวายนัดดานารีต่อไป ๔๙ ครั้นรุ่งขึ้นณวันเสาร์ เดือนยี่ แรม ๕ ค่ำ เสด็จ ฯ จากเมืองลำพูน มาประทับแรมแม่ทา ครั้นรุ่งณวันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ ยกจากแม่ทามาประทับแรมแม่สัน ครั้นรุ่งณวันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๗ ค่ำ ยกจากแม่สันมาประทับ แรมหางฉัตร ครั้นรุ่งณวันอังคาร เดือนยี่ แรม ๘ ค่ำ ยกจากหางฉัตรมาประทับแรมลำปาง เพลาบ่าย ๔ โมงเสด็จฯ มานมัสการลาพระบรมธาตุ บูชาด้วยดอกไม้ทอง, เงิน แล้วโปรยเงินพระราชทานแก่ลาวเป็นอันมากแล้วไถ่ครัวชาย ๓ หญิง ๑๔ ( รวม ) ๑๗ คน ถวายเป็นข้าพระบรมธาตุลำปาง อนึ่ง พระยากาวิละถวายนัดดานารีเป็นบาทบริจาริกผู้หนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเงิน ๑ ชั่ง ผ้าสำรับหนึ่ง สั่งให้คืน แก่พระยากาวิละดั่งเก่า พระยากาวิละ พระยาอุปราชา กราบทูล ฯ ว่า บัดนี้เจ้าตัวก็สมัคร บิดามารดาญาติพี่น้องทั้งปวงก็ยอมพร้อมกันอันจะเป็นโทษด้วยพลัดพรากจากบิดามารดา ดุจหนึ่งทรงพระกรุณาเห็นหามิได้ ทรงพระดำริเห็นว่า ตั้งใจสามิภักดิ์เป็นแท้แล้ว จึ่งพา ตามเสด็จ ฯ มาด้วย อนึ่ง สั่งให้บิดาพระยากาวิละ พระยากาวิละ น้อยธรรม อุปราชาคำฟั้น คำล่า ราชวงศ์ ถือน้ำณพระวิหารวัดพระบรมธาตุลำปาง เสด็จฯ ประทับแรมณพระตำหนักค่ายลำปาง ๒ เวน ๗ ๕๐ ครั้นรุ่งณวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๑๐ ค่ำ ยกจากลำปางมาประทับแรมห้วยน้ำต่ำ ครั้นรุ่งณวันศุกร เดือนยี่ แรม ๑๑ ค่ำ ยกจากห้วยน้ำต่ำมา ประทับแรมนายาง ครั้นรุ่งวันเสาร์ เดือนยี่ แรม ๑๒ ค่ำ เพลาบ่ายโมงเศษ เสด็จ ฯ มาถึงพระตำหนักที่ประทับท่าเรือเมืองเถิน นับระยะทางแต่เมืองเชียงใหม่มา ๔๒๑๔ เส้น วันอังคาร เดือนยี่ แรม ๑๕ ค่ำ เพลาเช้า ยกจากเมืองเถิน เสด็จ ฯ โดยทางชลมารคมา ๒ เวน พระเชียงทองบอกขึ้นไปให้ กราบทูลว่าพะม่ายกเข้ามาทางด่านแม่ละมาว วันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๒ ค่ำ ถึงพระตำหนักเมืองตาก จึงตรัสสั่งให้หลวงมหาเทพเป็นแม่ทัพ แลจมื่นไววรนาถยกไป พระราชทาน ม้าต้นสำหรับกองทัพ ๕ ม้า ทรงจัดแจงทัพเสร็จแล้ว เพลาย่ำฆ้องค่ำเสด็จ ฯ มาประทับอยู่ณหาดทรายบ้านตาก บอกไปให้กราบทูลว่า พะม่าซึ่งยกเข้ามาทางด่านแม่ละมาวนั้น ตีแตกเลิกไปแล้ว จึงตรัสสั่งให้ (๑) นายควรนายเวรมหาดไทย ลงไปบ้านระแหง บอกกองทัพพระยา กำแหงวิชิตให้เร่งยกออกไปก้าวสะกัดตีเอาจงได้ เพลา ๒ ยามจึ่ง เสด็จ ฯ ลงเรือหมื่นจง กรมวัง ล่องลงมา หลวงรักษ์โกษาลงท้ายที่ นั่งมาด้วย พบเรือนายควรมาสืบราชการกลับขึ้นไปกราบทูลว่า เห็น (๑) นายควรรู้อรรถ


๕๑ กองไฟอยู่ริมน้ำ ได้ยินเป็นเสียงพะม่าเห่ขึ้น จึ่งตรัสว่าจริงหรือ ประการใด กราบทูลว่าได้ ยินมั่นคง ก็ทรงพระวิมุติสงสัย ให้ นายควรนำเสด็จ ฯ ลงไป ครั้นเห็นกองไฟ จึ่งประทับเรือพระที่นั่งไว้ ให้หมื่นจงไปสอดแนมดู เห็นเรือตะรางใส่พะม่าเมืองเชียงใหม่ พระเพ็ชรปาณี ๆ คุมมาให้เห่ขานยาม ครั้นแจ้งประจักษ์แล้ว จึ่ง เสด็จพระราชดำเนินล่องลงมา เรือพระที่นั่งกระทบตอไม้ล่มลง จึ่ง เสด็จ ฯ ขึ้นไปณหาดทราย พบนายชู, นายเกดละคร นั่งผิงไฟอยู่ นายชู จึ่งถวายผ้าลายผืนหนึ่ง เช็ดพระบาทพระชงฆ์ ฝ่ายหลวงรักษ์โกษา จึ่งเชิญห่อพระภูษาซึ่งชุ่มน้ำมาคลี่ออกดู พระภูษาทั้งนั้นชุ่มเป็นน้ำย้อยแต่พระภูษาส่านองค์หนึ่งแห้งเป็นปกติอยู่ เห็นอัศจรรย์นัก จึ่งเอา มาทูลเกล้า ฯ ถวาย แล้วเสด็จ ฯ มาโดยทางสถลมารค หลวงรักษ์ โกษา นายควร ตามเสด็จมาด้วย เพลาย่ำรุ่งขึ้นณวันศุกร เดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ ถึงพระตำหนักสวนมะม่วงบ้านระแหง จึ่งทรง ฯ สั่งให้ปรึกษาคุณและโทษนายควร จึ่งปรึกษาว่าทรง ฯ ใช้นายควรไป ราชการ แลนายควรไปได้ยินเสียงพะม่าคนโทษ แล้วมิได้สอดแนม เข้าไปใกล้พิจารณาให้ถ่องแท้ แลมากราบทูลว่าได้ยินเสียงพะม่า เห่อยู่ ให้สงสัยพระทัยนัก ต้องด้วยโทษ ๖ สถาน ประการใด ประการหนึ่ง แลซึ่งนายควรได้ตามเสด็จ ฯ มาเป็นเพื่อนพระองค์เมื่อกันดารนั้น เป็นความชอบ คุณกับโทษลบกลบกัน อนึ่ง ทรง ฯ สั่งว่า นายชูละครถวายผ้าลาย ได้เช็ดพระบาท พระชงฆ์เมื่อกันดารเป็นความชอบ พระราชทานเงิน ๕ ตำลึงแก่นายชู วันเสาร์ เดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำ เพลาเช้า ทรง ฯ พระราชทานเงิน ๕๒ (๑) แก่ราษฎรชาวบ้าน ชายหญิงใหญ่น้อยสิ้นทั้งบ้านเสมอคนละ ๑ สลึง ณพระตำหนักสวนมะม่วง วันอาทิตย์ เดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำ เพลาเช้า ๓ โมงเศษ เสด็จออกณพระตำหนักสวนมะม่วง จมื่นสรรเพ็ชญ์ภักดีกราบทูลว่า ขุน อินทรไกลาศ นายสา ปี่พาทย์ นายน้อยชินะ คบกันลอบลักทำเงินตอกตราพดด้วงให้ผิดด้วยพระราชกำหนด พิจารณาเป็นสัจแล้ว ให้ (๒) ประหารชีวิตเสียบไว้หน้าบ้านระแหง อนึ่งสั่งให้หาพระยานนท์มาเฝ้า จึ่งตรัสว่าพระยานนท์หลบราชการเมื่อเสด็จ ฯ มาถึงเมืองตาก จัดแจงกองทัพรับสั่งให้หาทุกหมวดกองพระยานนท์มิได้ไปเฝ้า แล้วพระยาพิพิธโกษาก็ได้บอกกล่าวตักเตือน ว่ามีหนังสือบอกข่าวพะม่าเข้ามาด่านแม่ละมาว ให้เร่งไปเฝ้า ฯ ทรง ฯ จะได้จัดแจงกองทัพ พระยานนท์ก็มิได้ไปเฝ้า ล่วงลงมาบ้านระแหง นั้นเห็นว่าพระยานนท์กลัวพะม่า มิได้สู้เสียชีวิตในราชการเป็นแท้แล้วให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยน ๑๐๐ จำครบลงไปณกรุง ฯ เอาบุตรภรรยาเฆี่ยนด้วยแล้วริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง แล้วทะเวนบก ๓ วัน ทะเวน เรือ ๓ วันแล้วประหารชีวิตเสีย (๓) วันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๗ ค่ำ ผู้มีชื่อบ่าวหลวงอินทร เทพ ผู้ว่า (๑) ดูกฎหมายฉบับตราสามดวง ว่าด้วยพระราชกำหนดใหม่ บทที่ ๑ (๒) ดูกฎหมายฉบับตราสามดวงว่าด้วยพระราชกำหนดใหม่ บทที่ ๘ (๓) ถูกลงพระราชอาชญาเท่ากับพระยาประชาชีพ พ.ศ. ๒๓๑๔ เมื่อเสด็จไป ปราบเมืองพุทไธมาศ ดูประชุมพงศาวดารที่ ๖๖

๕๓ ราชการกรุง ฯ ฟ้องกราบทูลพระกรุณาใจความว่า หลวงอินทรเทพ เบิกข้าวหลวงณฉางเมืองตาก มิได้แจกไพร่กองทัพ เอาข้าวนั้นไป ขายแก่พระยานนท์ เอาเงินส่งไปแก่ภรรยา ครั้นถามได้เนื้อความเป็นสัจแล้วให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ๑๐๐ แล้วให้ปรับไหมใช้ข้าว ๑๐ ต่อ แล้วให้เป็นแต่นายหมวดคุมไพร่ เอาบุตรภรรยาจำไว้ มีการศึกเมื่อใดจึงให้ไปทำราชการแก้ตัว ถ้ามีความชอบแล้ว บุตรภรรยาตัวนั้นคงที่เป็นหลวงอินทรเทพดั่งเก่า อนึ่งทรง ฯ พระราชทานปืนคายสิลา ๑๐๐ บอกไว้สำหรับบ้าน ระแหงจะได้ป้องกันข้าศึก แล้วพระราชทานเสื้อผ้าแก่พระยารามัญ มีชื่อเป็นอันมาก ซึ่งครัวไทย ครัวรามัญ ๔๓๓๕ เข้ามาสู่พระบรม โพธิสมภาร พระราชทานข้าวปลาอาหาร จัดเรือส่งลงไปกรุง ฯ วันพุธ เดือน ๓ ขึ้น ๘ ค่ำ เพลาเช้า เสด็จ ฯ ไปนมัสการพระปฏิมากรณวัดกลางดอยเขาแก้ว จึ่งตรัสประภาษถามพระสงฆ์ว่า พระผู้เป็นเจ้าจำได้หรือไม่ เมื่อโยมยังอยู่บ้านระแหง โยมยกระฆังแก้วขึ้น ชูไว้กระทำสัตยาธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ถ้า ฯ ข้า ฯ จะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณในอนาคตกาลเป็นแท้ ฯ ข้า ฯ ตีระฆัง แก้วเข้าบัดนี้ให้ระฆังแก้วแตกจำเพาะแต่ที่จุก จะได้ทำเป็นพระเจดีย์ฐานแก้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ครั้นอธิษฐานแล้วตีเข้า ระฆัง แตกจำเพาะแต่ที่จุก ก็เห็นประจักษ์เป็นอัศจรรย์ครั้งหนึ่ง พระสงฆ์ถวายพระพรว่าจริงดังพระราชโองการ วันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลาเช้า ยกจากบ้านระแหง

๕๔ เสด็จ ฯ มาโดยทางชลมารค ทรงพระราชศรัทธาถวายผ้าสะบง, จีวร แก่พระสงฆ์ทุกอาราม แล้วพระราชทานเงินแก่ราษฎรชายหญิงใหญ่น้อยทุกบ้าน รายทางลงมา ๕ เวนถึงกรุงธนบุรี ณวันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เพลาเช้า วันพุธ เดือน ๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พระยายมราชนายทัพนายกองทั้งปวงบอกมาให้กราบทูลพระกรุณาขอกองทัพออกไปช่วย เห็นกำลังพะม่าหนักมา จึ่งทรงพระกรุณาให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ, พระยาธิเบศรบดีเป็นแม่ทัพถือพระราชอาญาสิทธิ์ กำกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอยกออกไปตั้งค่ายรับอยู่ณเมืองราชบุรี ครั้นพระเจ้าลูกเธอเสด็จไปถึงเมืองราชบุรี พบพระยาอภัยรณฤทธิ์, พระยาเพ็ชรบุรี, หลวงสมบัติบาล, หลวงสำแดงฤทธา ๔ นายแตกพะม่าเข้ามา แต่พระยาสุนทรพิพิธ, หลวงรักษ์มนเทียร, พระยาสุพรรณบุรี, พระยากาญจนบุรี, พระยานครชัยศรี ๕ นายยังมิพบ จึ่งบอกเข้ามาให้กราบทูล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งให้จับบุตรภรรยาพระยาอภัยรณฤทธิ์ แลบุตรภรรยานายทัพนายกองทั้งปวงจำไว้ ให้พระยาอภัยรณฤทธินายทัพนายกองทั้งปวงราชการแก้ตัวในกองพระยาธิเบศรบดี ถ้าแตกอีกครั้งหนึ่ง จะลงพระราชอาชญาตัดศีร์ษะเสียให้สิ้นทั้งโคตร แล้วให้จัดนายหมวด (๑) นายกองมาเข้ากองทัพพระยาธิเบศรเป็นอันมาก แล้วให้เจ้ารามลักษณ์ ถือพระราชอาชญาสิทธิคุมไพร่ ๑๐๐๐ ไปช่วยราชการ ให้เจ้ารามลักษณ์, พระยาธิเบศรบดีปรึกษาราชการคิดอ่านกันเอาชัยชำนะจงได้ ____________________________________________________________________ (๑) เป็นผู้เข้มแข็งในการสงคราม ต่อมาโปรดให้เฉลิมพระยศทรงกรมเป็น กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ๕๕ วันจันทร์ เดือน ๓ แรม ๕ ค่ำ เพลาเช้าโมงเศษ ตรัสสั่งให้ประหารศีร์ษะพระเทพโยธาเสีย ด้วยโทษผิดตามเสด็จ ฯ มาถึงแล้ว รู้ว่ามีราชการมิได้มาเฝ้าแหน ต่อให้หาตัวจึงลงมาเฝ้า ตรัสถวายไม่ได้ (๑) ราชการ เจ้าพระยาอินทวงศาทูลขอชีวิตไว้ ว่าโทษผิดแต่มิได้เอาใจใส่ราชการ จึงตรัสว่ามันฆ่าคนเสียได้ น้ำใจกำเริบนัก มิได้มาเฝ้าจะ (๒) ไว้มิได้ จึ่งทรงพระแสงดาบประหารศีร์ษะพระเทพโยธาเสียริมป้อมวิชัยประสิทธิ์หน้าพระตำหนักน้ำ วันอังคาร เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ เพลาเช้า เสด็จออกณพระตำหนักแพ ขุนนคร ยกรบัตรเมืองนครชัยศรี บอกมากราบทูลพระกรุณาใจความว่า นายพูน นายสา นายแก่น นายพรม ตำรวจหลัง ๔ คน ถือตราพระราชสีห์ไปเมืองสุพรรณบุรี ไปถึงตำบลบ้านภูม แขวงเมือง นครชัยศรีกับเมืองสุพรรณบุรีต่อกัน พบพะม่าขี่ม้ามาประมาณ ๓๐ ม้าไล่เอา จึงวิ่งหนีเข้ารก แลกะทอผ้าซึ่งใส่ตราพระราชสีห์นั้นตกหายไปอ้ายพะม่าเข้าล้อมบ้านภูม อยู่แต่นายพูน นายสา นายแก่น ๓ คนหนีได้ นายพรมนั้นหายไปไม่พบกัน ครั้นแจ้งในบอกนั้นแล้ว จึ่งสั่งให้พระยาพิชัยไอศวรรย์ ผู้ว่าที่โกษา ยกกองทัพพลรบ ๑๐๐๐ สรรพไปด้วยเครื่องสรรพยุทธ์ ยกไปเมืองนครชัยศรี _________________________________________________________ (๑) ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาธิบดี ดูประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒ เรื่องทรงตั้งพระเจ้านครศรีธรรมราช และพงศาวดารเมืองถลาง (๒) ดูกฎมนเทียรบาล ในกฎหมายเก่า ฉบับมิศบรัดแล พิมพ์ครั้งที่ ๑๐ เล่ม ๒ หน้า ๑๑๘ ข้อ ๒ เรื่องห้ามถวายพระแสงในเวลาทรงพระพิโรธ ๕๖ อนึ่ง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอซึ่งตั้งค่ายมั่นอยู่เมืองราชบุรี ประมาณ ๕ เวน พะม่ายกมาแต่ปากแพรกประมาณ ๒๐๐๐ เศษ ตั้งค่ายอยู่ณบ้านบางแก้ว เจ้ารามลักษณ์, พระยาธิเบศรบดี ปรึกษาพร้อมกัน ให้ หลวงมหาเทพเป็นกองหน้า คุมไพร่ทหาร ๑๐๐๐ ยกไปตั้งค่ายประชิดโอบพะม่าบ้านบางแก้วด้านตะวันตก ทัพเจ้ารามลักษณ์พลทหาร ๑๐๐๐ ยกไปตั้งค่ายประชิดโอบไปด้านตะวันออก ครั้นค่ายเจ้ารามลักษณ์, ค่ายหลวงมหาเทพ มั่นแล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ, พระยาธิเบศบดี จึ่งยกขึ้นไปตั้งมั่นอยู่โคกกะต่าย วันอาทิตย์ เดือน ๓ แรม ๑๑ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๖ ปีมะเมียฉอศก (พ.ศ. ๒๓๑๗) เพลา ๒ โมงเช้า ๗-๘ บาท เป็นมหาพิชัยฤกษ์ เสด็จฯ ยกหมู่พลจัตุรงค์พยุหเสด็จ ฯ ไปโดยทางชลมารค ทรงนาวาพระที่นั่งกราบยาว ๑๓ วา พลพาย ๔๐ คน เรือดั้งโยง ๒ ลำ มีแตรสังข์ปี่พาทย์เรือนำ กลองแขก สรรพด้วยโยธาทหารนายไพร่ ๘๘๖๓ คน ปืนใหญ่น้อย ๒๗๗ เสด็จ ฯ ไปปราบพะม่าณแขวงเมืองราชบุรี เพลาบ่ายโมงเศษ ถึงพระตำหนักค่ายท่าจีน เสด็จ ฯ ประทับคอยน้ำขึ้น ครั้นเพลาประมาณ ๕ ทุ่มเศษ เสด็จ ฯ จากค่ายท่าจีนไปในเพลากลางคืน ครั้นรุ่งขึ้นณวันจันทร์ เดือน ๓ แรม ๑๒ ค่ำ ถึงที่ประทับค่ายเมืองแม่กลองแล้วยกไปเข้าที่เสวยณวัดกลางค่ายบางกุ้ง แล้วยกไปเพลาบ่ายโมงเศษถึงพระตำหนักค่ายมั่นประทับแรมณเมืองราชบุรี ตรัสสั่งให้พระยาวิจิตรนาวีไปสืบเอาข่าวราชการ ณค่ายพะม่าบางแก้ว แล้วเกณฑ์ทแกล้วทหารยกหนุนไปเป็นอันมาก

๕๗ วันอังคาร เดือน ๓ แรม ๑๓ ค่ำ เพลาย่ำฆ้องค่ำแล้ว พระยาวิจิตรนาวีกลับมากราบทูลว่า ข้าทูลละอองฯ ทั้งปวงซึ่งตั้งค่ายประชิดพะม่านั้น ล้อมค่ายพะม่าไว้รอบแล้ว เห็นจะออกไปมิได้ จึ่งตรัสสั่งให้ (๑) เตรียมปืนมหาเศวตรัตน์ ปืนจ่ารง ปืนหน้าเรือ เป็นขวากเหล็ก พร้อม _________________________________________________________ (๑) เป็นชะนิดปืนทอง มีกฎหมายอย่างทรงพระราชดำริ ให้ทำปืนมหาเศวตรัตน์ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๑๗ ว่า วันเสาร์ เดือน ๘ ปฐมาสาธ แรม ๙ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๖ ปีมะเมียฉอศก เพลาเช้า เสด็จ ฯ ออกทอดพระเนตรปั้นหุ่นปืนบนป้อม ทรงพระอักษร ในพระกระดานชะนวน แล้วทรง ฯ สั่งว่า ให้กฎหมายไว้ข้างที่ฉบับหนึ่ง กฎหมายให้ ช่างฉบับหนึ่ง ด้วยปืนครูนั้น เรือนดินในรูเดิมยาว ๕ นิ้วกับเส้นคาหนึ่ง ให้ทำยาวออกอีก นิ้วหนึ่งนี้ได้ขนาดบนป้อม ทอดพระเนตรแล้ว ปากบึ้งรูในให้ทำใหญ่กว่าต้นบึ้งเส้นคาหนึ่ง โดยรอบ เรือนลูกในลำกล้องคงอยู่ แต่ปากบอกในลำกล้องให้ไขออกชั่วเส้นคาย่อม โดยรอบ ผิวนอกเรือนดิน ให้ไขออกใหญ่กว่าเส้นคาโดยรอบ ผิวนอกเรือนลูก ให้ไข ออกสันทัดเส้นคาโดยรอบ ปืนครูยาวคืบ ๘ นิ้วกึ่ง รับสั่งให้ไขยาวออกที่เรือนดินรูบึ้ง นิ้วหนึ่ง เรือนลูกยาวออก ๑๐ นิ้วกึ่ง ยาวทั้งเรือนดินเรือนลูกเป็นสิบเบ็ดนิ้วกึ่ง ทั้งเดิมครู แลยาวออกเป็นศอก ๘ นิ้ว ( ปืนมหาเศวตรัตน์ มีทั้งปืนใหญ่ประจำบ้อม และปืนใหญ่ สนาม จำนวนน่าจะหลายร้อยบอก ยังเหลือมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร ปรากฎในบัญชี กรมกลาโหม ซึ่งรายงานทูลเกล้า ฯ ถวายเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ ปลายรัชกาลที่ ๑ ว่า ได้ ย่อยทองปืนมหาเศวตรัตน์ทำการพระพุทธบาท คือ บุหลังคาพระมณฑป ๑๙๐ บอก ทำการวัดพระแก้ว คือ หล่อเสาเม็ด ๒๒ บอก หล่อเสมา ๖๑ บอก บุหลังคาพระมณฑป ๘๐ บอก หล่อระฆังใหญ่รอบ ๘ กำ ๑๔ บอก หล่อเม็ดราวเทียน ๓ บอก ทำการเบ็ดเตล็ด คือ หล่อฐานพระนาก ๖ บอก หล่อครกสากบานประตูรอบพระราชวัง ๖ บอก ทำเครื่อง ช้าง ๔ บอก รวม ๓๘๖ บอก ) ๘


๕๘ แล้ว ครั้นเพลา ๓ ยามเศษ เสด็จ ฯ ยกพลพยุหจากค่ายมั่นเมืองราชบุรีไปทางวัดอรัญญิก ครั้นรุ่งขึ้นณวันพุธ เดือน ๓ แรม ๑๔ ค่ำ เพลา ๔ โมงเช้า เสด็จ ฯ ประทับร้อนณพระตำหนักค่ายพระเจ้าลูกเธอณศาลาโคกกะต่ายแล้วยกไปประทับแรมณตำหนักค่ายวัดเขาพระ ครั้นรุ่งขึ้นณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๑ ค่ำ เพลาเช้า เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรค่ายพะม่าบางแก้ว ถึงค่ายประชิดหม่อมเจ้ารามลักษณ์ จึ่งตรัสสั่งเจ้าพนักงานให้เร่งทำการปืนใหญ่ ปืนเกนหาม ให้แล้วในเพลาบ่าย ๓ โมง แล้วกำหนดให้บอกมา ฤกษ์ดีจเสด็จ ฯ ขึ้นไป อนึ่ง เพลาบ่าย ๒ โมง กองหลวงบำเรอภักดิ์ หลวงราชเสนา พระยารามัญใหม่มีชื่อ ซึ่งมีตราให้หาอยู่ณเมืองราชบุรีขึ้นมาเฝ้า แล้วจึ่งตรัสสั่งให้ไปตั้งค่ายอยู่รักษาสระน้ำเขาเชิงงุ้มไว้ อย่าให้พะม่า ชิงเอาได้ เห็นว่าพะม่าขัดสนน้ำ ครั้นเพลาบ่าย ๓ โมงฤกษ์ดีแล้ว สั่งให้ยิงปืนใหญ่เถิด ยังไม่เสด็จ ฯ ก่อน ครั้นเพลาบ่าย ๔ โมงเศษ ขุนปลัดเมืองราชบุรีบอกมาให้กราบบังคมทูล ฯ เป็นใจความว่า พะม่ายกมาณประตูสามบานด่านเจ้าขว้าว คนประมาณ ๒๐๐๐ ม้าประมาณ ๕-๖ จับชาวด่านไปได้ ๒ คน จะยกไปหรือจะตั้งอยู่เป็นประการใด รู้เนื้อความแล้วจึ่งจะบอกมาให้แจ้งต่อครั้งหลัง ครั้นทรงฟังหนังสือบอกแล้วจึ่งสั่งให้พระเจ้าลูกเธอ, พระยาราชาเศรษฐี ยกลงไปรักษาค่ายเมืองราชบุรีไว้ให้มั่นคง อย่าให้เป็นเหตุการณ์ได้ แล้วให้รื้อเอา ค่ายเปล่าลงไปตั้งไว้ริมน้ำให้สิ้น ให้ปักขวากจงหนักหนา

๕๙ วันศุกร เดือน ๔ ขึ้น ๒ ค่ำ เพลาเช้า ๒ โมงเศษ หมื่นบาลราชหัว (๑) หมื่นตำรวจในไปสืบข่าวราชการมากราบทูล ฯ ว่า เจ้าพระยาอินทอภัยยกไปรักษาสระน้ำเขาชั่วพราน ตั้งค่ายอยู่ ๓ ค่าย คนประมาณ ๓๐๐ เศษ วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๑ ค่ำ พะม่าเข้าตีครั้งหนึ่งแล้วพะม่าแตกถอยไป คืนวันนั้นพะม่าเข้ารบ ๓ ครั้ง ได้รบพุ่งกันสามารถ จับได้ เป็น พะม่า ๒ ลาว ๑ ( รวม ) ๓ คน แต่พะม่าตายได้เห็นผี ๔๐-๕๐ เศษเจ็บป่วยลำบากเป็นอันมาก ครั้นสืบถามลาวซึ่งจับได้ ให้การว่ายกเข้าตีก่อนนั้น คนประมาณ ๓๐๐ เห็นไม่ได้ ถอยไป จึ่งยกหนุนเข้ามาอีกครั้งหลัง ๆ ครั้งละ๘๐๐ ยกมาแต่ค่ายปากแพรก เป็นคน ๓๐๐๐ ด้วยกัน ครั้นได้ทรงฟังจึ่งสั่งให้เตรียมทหารเสด็จ ฯ ยกไปช่วยเจ้าพระยา อินทอภัย พระเทพวรชุน, หลวงดำเกิงรณภพ กราบทูลห้ามเสด็จ ฯ ไว้ จะขออาษายกไป จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเทพวรชุนหลวงดำเกิงรณภพ คุมเอาทหารกองนอก ทหารกองใน กองอาจารย์ทนายเลือก ปืน ๕๑๙ หอก ๒๒๖ ( รวม ) ๗๔๕ ยกเป็นกองโจรไป ช่วยเจ้าพระยาอินทอภัยในวันนั้น วันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำ เพลา ๒ โมงเช้า เสด็จอยู่ณพระตำหนักค่ายวัดเขาพระ เจ้ารามลักษณ์ส่งเถรจวงอยู่วัดบางนางแก้ว พะม่า จับไว้ในค่าย หนีออกมาได้ ให้นายจุ้ย มหาดเล็ก คุมตัวมาถวายหน้า _________________________________________________________ (๑) ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า มีชื่อ พระอินทอภัย นายกองผู้หนึ่งในกองทัพพระยาเพ็ชรบุรี ซึ่งยกขึ้นไปตั้งรับพะม่าทางเมืองสวรรคโลก ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ๖๐ พระที่นั่ง จึ่งตรัสถาม ให้การว่าพะม่าอยู่ในค่ายประมาณ ๑๐๐๐ เศษ แต่ได้เห็นผู้หญิง ๒ คน ช้าง ๓ ตัว ม้า ๙ ตัว ซึ่งสะเบียงอาหารนั้นที่มีบ้าง หามิได้บ้าง ถ้าจะเฉลี่ยกันกินไป เห็นจะได้สัก ๑๐ วัน ซึ่งน้ำ นั้นจะกินไปได้สักเดือนหนึ่ง อันปืนลูกหลวงลูกชะเลย ซึ่งยิงเข้าไปตกลงในค่าย ถูกคนตายเป็นอันมาก ที่ลำบากก็มี แลพะม่าขุดหลุมอยู่แล้วเอาแตะปิดปากหลุมไว้ เห็นพะม่าระส่ำระสายนัก จึ่งตรัสถามว่าหนีมาหรือ ๆ พะม่าใช้มา ให้การว่า พะม่าจะใช้มาหามิได้ อาตมภาพหนีมา จึ่งตรัสว่าไม่เห็นความจริง ถ้าหนีมา ไหนพะม่าจะไว้ก็จะยิง เสีย เห็นเป็นกลอยู่ ให้นายจุ้ย มหาดเล็ก พาตัวเถรจวงไปส่งไว้ณค่ายเจ้ารามลักษณ์ดั่งเก่า อนึ่ง ให้หมื่นอองวาจา ล่ามพะม่า สืบถามพะม่าและลาว ซึ่งเจ้าพระยาอินทอภัยจับได้ส่งมาถวายณค่ายหลวงว่า นายทัพซึ่งยกมาตีนั้นก็ดี ตั้งค่ายอยู่นั้นก็ดี ชื่อใด พะม่าให้การว่า ซึ่งยกมาตีค่ายสระน้ำ นั้นชื่อเนมะโย ยกมาเป็นคน ๑๐๐๐ ซึ่งตั้งค่ายอยู่บางนางแก้วนั้น ชื่อยุยยองโป ทัพหน้าคน ๑๐๐๐ เศษ แลซึ่งตั้งค่ายอยู่ปากแพรกนั้นชื่อสะแคงมระนอง ทัพใหญ่ เป็นน้าเจ้าอังวะ คนประมาณ ๓๐๐๐ เศษ ยังยกหนุนมาทางทะวายนั้น คนประมาณ ๑๐๐๐ นายทัพนั้น ฯ ข้า ฯ มิได้รู้จักชื่อ อนึ่ง สั่งให้พระยาณรงค์วิชิต ไปตัดเอาศีร์ษะพะม่าซึ่งถูกปืนตาย ณค่ายเจ้าพระยาอินทอภัยณช่องพรานนั้น เอาไปเสียบไว้หน้าค่ายประชิดล้อมไว้นั้น ให้รอบทุกหน้าค่าย

๖๑ อนึ่ง เพลาบ่าย ๕ โมงเศษ ทรง ฯ สั่งให้ประกาศแก่นายทัพนายกองทั้งปวง ซึ่งล้อมพะม่าไว้ณค่ายนางแก้ว ใจความว่า ให้ขังพะม่าไว้ กว่าจะโซ จึ่งเอาข้าวล่อเอา ถ้าพะม่าเร่ร่อนออกจากค่าย ห้ามอย่าให้ชิงเอาค่ายเป็นอันขาดทีเดียว แต่เจ้าหน้าที่นั้นให้รับรองไว้จงหยุด ถ้าพะม่าหนีไปได้ จะเอานายทัพนายกองเจ้าหน้าที่ไพร่พลทั้งปวงเป็นโทษถึงสิ้นชีวิต แลให้ตรวจตรากำชับตามรับสั่ง อนึ่ง สั่งให้พระเทพวรชุนคุมทหารปืนไป ๑๐๐ ให้ยกไปช่วยที่หน้า ที่คนเบาบางนั้น อนึ่ง เพลา ๓ ทุ่ม ๙ บาทเสด็จอยู่ณพระตำหนัก ได้ทรงฟังเสียงปืนใหญ่น้อยระดมกันหนักหนา ทรงพระดำริเห็นว่าพะม่าจะยกหนีไป จึ่งตรัสให้กองทหารกองอาจารย์ยกขึ้นไปช่วยเป็นอันมาก แล้วเสด็จฯ ออกไปนอกค่ายได้ทรงฟังเสียงพะม่าเห่ขึ้น ในทันใดนั้นหมื่นบาลราชตำรวจใน มากราบทูล ฯ ว่า พะม่าออกมาหน้าค่ายหลวงมหาเทพประมาณ ๓๐๐ ครั้นทหารยิงปืนระดมไป พะม่ากลับเข้าค่าย ที่ถูกปืนตายเป็นอันมาก เห็นว่าพะม่าออกมิได้ จึ่งเสด็จ ฯ กลับเข้าไปในค่าย วันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ เพลาบ่าย ๕ โมงเศษ พระเทพวรชุนมากราบทูลบังคมทูล ฯ ว่า ได้แต่งให้ผู้มีชื่อไปสอดแนมดู เห็นค่ายพะม่าตั้งอยู่ลูกแก คนประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ วันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ เพลาเช้าเสด็จ ฯ อยู่ณพระตำหนักค่ายวัดเขาพระ ให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยนขุนอากาศสรเพลิง ๖๐ ที ขุนค้นข้าศึก จีนดวง จีนกี จีนหู้ นายฤกษ์ คนละ ๓๐ ที โทษผิดด้วย

๖๒ ยิงปืนเกนหามลูกหลวง ลูกเดือน ลูกชะเลย แต่ทีละนัด มิได้ยิงพร้อมกันทีละ ๔๐-๕๐ นัดตามรับสั่ง ให้ข้าศึกรู้ตัวเสียราชการไป โทษนั้นเป็นมหันตโทษ ให้ลงพระราชอาชญาแต่เพียงนี้ ด้วยทรงพระกรุณา อยู่แต่พอให้ทราบจำ อนึ่ง เพลาเช้า ๕ โมงเศษ หลวงรักษ์มนเทียรมาเฝ้า จึ่งตรัสว่าข้าราชการทั้งปวง ใช้ให้ไปทำการศึกบ้านใดเมืองใด พ่อมิได้สะกด หลังไปด้วย ก็ไม่สำเร็จราชการ ครั้งนี้พ่อไปราชการสงครามเมืองเชียงใหม่ ให้ลูกอยู่ทำราชการข้างหลัง แลมาพ่ายแพ้แก่พะม่าให้ขายพระบาทพ่อ แล้วกล่าวโทษกันว่าอดข้าวปลาอาหาร อันทำการศึก ครั้งนี้ พ่อจะชิงชังแก่ลูกผู้ใดหามิได้ รักใคร่เสมอกัน อันเป็น กษัตราธิราชเจ้าแผ่นดิน ถ้าผู้ใดมีความชอบ มิได้ปูนบำเหน็จ ผู้ใด ผิดมิได้เอาโทษ ทำฉะนี้ก็ไม่ควรแก่ราชการแผ่นดินหามิได้ อันประเวณีกษัตราธิราช ผู้ใดมีความชอบ ปูนบำเหน็จรางวัล ให้รั้งเมืองครองเมืองตามฐานานุกรมลำดับ ถ้าโทษผิดควรจะตีก็ตี ควรจะฆ่าก็ฆ่าเสีย จึ่งจะชอบด้วยราชการแผ่นดิน จะทำการสงครามกับพะม่าไปได้ แลพ่ออุตสาหะทรมานเที่ยวทำสงครามมาทั้งนี้ ใช่จะจงพระทัยปรารถนาหาความสุขแต่พระองค์ผู้เดียวหามิได้ อุตสาหะสู้ยากลำบากพระกายทั้งนี้เพื่อจะทำนุอำรุงพระศาสนา ให้สมณะชีพราหมณ์ประชาราษฎรเป็น สุขทั่วขอบขันธเสมา เพื่อจะมิให้มีคนอาสัจอาธรรม์ แลครั้งนี้ลูก ทั้งหลายทำการให้พ่ายแพ้แก่พะม่า ครั้นจะเอาโทษก็เสียดายนัก ด้วยได้เลี้ยงดูมาเป็นใหญ่โตแล้ว ผิดครั้งนี้จะยกไว้ ให้ทำราชการแก้ตัวครั้ง

๖๓ หนึ่งก่อน แลเอาบุตรภรรยานั้นมาจำไว้สิ้นแล้ว แลอันจะตั้งค่ายอยู่เมืองราชบุรีนั้น ถ้าพะม่ายกมาตี รับรองหยุดมีชัยชำนะแล้วจึ่งจะพ้นโทษทั้งนายทั้งไพร่ เร่งคิดอ่านจงดีเถิด อันพ่อจะละพระราชกำหนดพระอัยการศึกเสียมิได้ ถึงมาทว่าจะเป็นนายทัพนายกองมิได้ จะพิททูลขอตัวเป็นไพร่ก็ตามใจสมัคร ถ้าจะทำไปได้ ก็ให้เร่งคิดอ่านทำการ แก้ตัวไปให้รอดชีวิตเถิด อนึ่ง เพลาทุ่มเศษ ได้ทรงฟังเสียงปืนในค่ายวงพาด จึ่งตรัสสั่ง ให้กรมอาจารย์ยกเอาอาหารปืนออกไปช่วย พะม่าเลาะออกหน้าค่ายได้ให้ช่วยรบหน้าค่ายนั้น ครั้นเพลาค่ำพะม่าออกรบค่ายพระรัตนโกษา รบกันสามารถ พะม่าถูกปืนตายประมาณ ๔๐-๕๐ คน ได้พะม่าเป็นคนหนึ่ง แลปืนหอกเป็นอันมาก แล้วพะม่ากลับเข้าค่าย ป่วยเจ็บไปเป็นอันมาก วันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ เพลาเช้า พระรัตนโกษาส่งพะม่า ซึ่งจับได้คนหนึ่งมาถวาย ทรง ฯ สั่งให้ถามว่า นายทัพนายกองพะม่าซึ่งอยู่ในค่ายนั้น ปฤกษากันเป็นประการใดบ้าง พะม่าให้การว่า ที่ปรึกษาจะออกมาถวายบังคมก็มีบ้าง ที่ขัดแข็งก็มีบ้าง ปรึกษามิ ลงกัน อนึ่ง เพลาบ่าย ๒ โมงเศษ หลวงบำเรอภักดิ์บอกเนื้อความให้ กราบทูลพระกรุณาว่า พะม่าขี่ม้าผ่านมาประมาณ ๓๐ ม้า ครั้นยิงปืนหลายนัด พะม่าชักม้าหนีไป ครั้นได้ทรงฟังจึงสั่งให้พระณรงค์วิชิต คุมเอาปืนหลักไปพระราชทานค่ายหลวงบำเรอภักดิ์ ๓ บอก เจ้าพระยา

๖๔ อินทอภัย ๓ บอก ให้รักษาค่ายจงดี แล้วสั่งให้ขุนเพ็ชฎาคุมเอาพะม่าซึ่งจับได้ ในค่ายวงพาดนั้น ออกไปนอกค่ายหลวงบำเรอภักดิ์ ที่ทางพะม่าขี่ม้าเข้ามา ๓๐ นั้นแล้วแทงเสีย ที่แทงนั้นให้เห็นแผลหอกข้างหลังให้พะม่าซึ่งอยู่ข้างนอกเห็นว่า หนีออกจากค่ายเขาแทงตายสิ้นแล้ว มันจึงจะครั่นคร้ามลง อนึ่ง เพลาบ่าย ๓ โมงเศษ บังเกิดลมพยุหนักมาหน่อยหนึ่งแล้วหายไป อนึ่ง เพลาย่ำค่ำแล้ว ๕ บาท ขุนวิเศษโอสถหมอ ถือพระอาการทรงพระประชวรสมเด็จพระพันปีหลวง มาถวายณพระตำหนักค่ายวัดเขาพระ ครั้นทอดพระเนตรอาการแล้ว เร่งให้ขุนวิเศษโอสถกลับไป ถ้าเจ้าคุณเป็นเหตุการณ์สิ่งใด ให้เอาหมอจำไว้แล้วริบให้สิ้น แล้ว ตรัสว่าพระโรคเห็นหนักจะมิได้ ไปทันเห็นพระองค์ ด้วยการแผ่นดิน ครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก ครั้นจะไปบัดนี้ ไม่เห็นผู้ใดที่ไว้ใจอยู่ต้านต่อ ข้าศึกได้ วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ เพลา ๓ โมงเช้า ตรัสสั่งให้หลวงอภัยสรเพลิงอยู่รักษาค่าย แล้วจึงเสด็จ ฯ ยกจากค่ายมั่นวัด เขาพระ มาประทับอยู่พระตำหนักค่ายโคกกระต่าย โยธาทั้งปวงจะได้อาศัยน้ำเป็นสุข ครั้นถึงพระตำหนักแล้วผู้มีชื่อกราบทูลว่า พะม่า ขี่ม้าออกมาไล่คนซึ่งเดินไปมาณเขางู จึงเสด็จ ฯ ออกไปนอกค่าย ทอดพระเนตรเห็นม้าพะม่า จึ่งตรัสสั่งให้อาจารย์, ทหาร, ทนายเลือก, ฝีพาย ถือปืน ๕๐๐ ไล่ตีพะม่าให้แตกกระจัดกระจายไป อย่าให้ตั้งอยู่ได้ ครั้นทหาร ๔ หมู่ยกไปทันพะม่า ได้รบกันเป็นสามารถ พะม่า ๖๕ แตกไป ถูกปืนตายบ้าง จับได้มาถวายบ้าง จึ่งตรัสสั่งให้ถาม พะม่าให้การว่า เจ้าเมืองทะวายยกมา ๙๐๐ ปืนน้อย ๑๕๐ มาตั้งอยู่ด่านเจ้าขว้าว ๕๐๐ ยกมาเที่ยวลาดตระเวน ๔๐๐ ม้า ๔ ม้า จึ่งตรัสว่าความชอบซึ่งได้พะม่ามานี้ให้งดไว้ก่อน สำเร็จราชการแล้วจึงจะ พระราชทานปูนบำเหน็จ ด้วยทำราชการพร้อมหน้ากันสิ้น อนึ่ง ทรงพระกรุณาให้สมกำลังข้าทูลละออง ฯ ในกองหลวง ตัก น้ำแต่โคกกะต่ายขึ้นไปพระราชทานให้ทัพหน้า ซึ่งล้อมพะม่าไว้ บางนางแก้วนั้น กับทั้งสะเบียงอาหารสิ่งของบริโภคทั้งปวง ส่งไป พระราชทานเนือง ๆ ไม่ให้ขัดสนด้วยสิ่งใดหามิได้ อนึ่ง ม้าใช้ซึ่งทรง ฯ ให้ไปเอาข่าวราชการณค่ายหลวงบำเรอภักดิ์ค่ายพระยารามัญใหม่ กลับมากราบทูลว่า จะเข้าไปในค่ายนั้นมิได้ ด้วยพะม่าตั้งค่ายโอบค่ายพระยารามัญไว้ ครั้นได้ทรงฟังจึงตรัสสั่ง พระยาธิเบศรบดี คุมเอาทหาร ๕๐๐ กับกองพระยาอภัยรณฤทธิ ผู้ ว่าที่กรมเมือง ให้ยกไปช่วยพระยารามัญเป็นคน ๑๐๐๐ พระยา ธิเบศรบดียกไปวันนั้น ให้พระยาอภัยรณฤทธิ พระณรงควิชัย พระราชบุรีเป็นทัพหน้า พระยาธิเบศรบดีเป็นทัพหลวง กระโจมตีล่วงเข้า ไปได้สับประยุทธ์กันเป็นสาหัส พะม่าตาย ๑๐๐ เศษ เจ็บป่วยลำบากไปเป็นอันมาก จะตั้งค่ายลงมิทัน พระณรงควิชัย นายกองทองสุก ขุนชะนะ นายเขียวฉะไว ถูกปืนล้มลง เสียนายไพร่หลายคน ไพร่เสียน้ำใจถอยย่นลงมาประมาณ ๖-๗ เส้น รับไว้หยุดแล้วพะม่าถอยกลับ ๙

๖๖ เข้าค่าย แล้วจึ่งตั้งค่ายลงไว้ได้ ๖ ค่าย แล้วให้ม้าใช้ลงมากราบทูล ฯ ให้มีตราภาคทัณฑ์ขึ้นไป ว่ารับสั่งให้ตั้งค่ายเดินเข้าไปกว่าจะถึงจึง จะไม่เสียรี้พล แลพระยาธิเบศรบดีกระโจมเข้าไป จะตั้งค่ายตั้งลงมิได้ให้เสียรี้พลแลพระเกียรติยศทั้งนี้ ชอบจะเอานายทัพนายกองเป็นโทษถึงสิ้นชีวิตจึงจะควร ครั้งนี้ทรงพระกรุณาให้งดไว้ ให้พระยาธิเบศรบดีเร่งตั้งค่ายเดินเข้าไป แก้เอามอญออกมาให้จงได้ ถ้ามิได้จะเอา นายทัพนายกองทั้งปวงเป็นโทษถึงสิ้นชีวิตให้สิ้นทั้งโคตร แล้วรับสั่ง ให้ขุนภักดีสงครามคุมทนายเลือกกองนอก ๔๐๐ ยกขึ้นไปช่วยในวันนั้นได้ตั้งค่ายเดินเข้าไปได้ ๙ ค่าย ยังอีก ๓ ค่ายจะถึงค่ายรามัญ จึงแต่งทหารออกรบแย้งไว้ เพลาทุ่มเศษพะม่าพะวงรบอยู่ข้างนี้ หลวง บำเรอภักดิ์ พระยารามัญมีชื่อ จึงแหกค่ายหนีออกมาเข้าค่ายพระยา ธิเบศรบดีได้ ในวันนั้นเจ้าพระยานครสวรรค์ยกไปถึงโคกกะต่าย ทรงพระกรุณาให้หามาเฝ้า แล้วพระราชทานพระราชอาชญาสิทธิแก่เจ้าพระยา (๑) นครสวรรค์ กับพระแสงดาบข้างหนึ่ง ให้เจ้าพระยานครสวรรค์ถือพระราชอาชญาสิทธิ ถ้าผู้ใดย่อหย่อน ให้ลงพระราชอาชญาตาม _________________________________________________________ (๑) พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า ทรงพระกรุณาให้เจ้าพระยา จักรี (ด้วง) ถือพระราชอาชญาสิทธิ์ แต่ตามหลักฐานปรากฏว่า ในเวลานั้นสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ยังเสด็จดำรงพระยศเพียงชั้นพระยาเท่านั้น ดูหมายรับสั่ง เรื่องการพระราชกุศลสักการะสมเด็จพระบรมศพ กรมพระเทพามาตย์ `พ.ศ. ๒๓๑๘ และ กฎทรงตั้งพระเจ้านครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๓๑๙ ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒

๖๗ กำหนดพิชัยสงคราม แล้วพระราชทานเกนหัดถือปืน ๔๐ คน ลูกหาบ ๔๐ คน ม้าต้นม้าหนึ่ง แก่เจ้าพระยานครสวรรค์ แล้วพระราชทานทหารกองนอก ถือปืน ๑๕๐ ลูกหาบ ๑๕๐ คน ให้หลวงอภัยสรเพลิงไปเข้ากองเจ้าพระยานครสวรรค์ แล้วถอดพระธำมรงค์เพ็ชร์องค์หนึ่งพระราชทานเจ้าพระยานครสวรรค์ แล้วพระราชทานพรว่า ชยตุ ภวัง สัพพสัตรู วินาสสันติ ในทันใดนั้นเป็นอัศจรรย์ มหาเมฆยัง ฝอยฝนให้ตกลงมาหน่อยหนึ่ง

ต้นฉบับต่อจากนี้ยังขาดอยู่อีกตอนหนึ่ง ข้อความที่ขาดนั้น คือ ( ๑ ) ล้อมจับพะม่าค่ายบ้านนางแก้วได้ ( ๒ ) กองพะม่าค่ายเขาชะงุ้มแตกหนีเตลิดไป ( ๓ ) ทัพหลวงเสด็จกลับกรุงธนบุรี ( ๔ ) ทรงปูนบำเหน็จทหารผู้มีความชอบ ( ๕ ) โปรดให้สถาปนากรมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอหลานเธอ ที่ เข็มแข็งในการสงคราม (๑) ( ๖ ) ถวายพระเพลิงสมเด็จพระบรมศพกรมพระเทพามาตย์ พระ บรมราชชนนี ซึ่งเสด็จสวรรคตขณะทัพหลวงยังต่อต้านพะม่าอยู่แขวงราชบุรี _________________________________________________________

(๑) มีหมายรับสั่งเรื่องนี้ในเดือน ๖ พ.ศ. ๒๓๑๘ ว่าด้วยการถวายพระเพลิงพระ บรมศพกรมพระเทพามาตย์ ยังไม่ได้พิมพ์

๖๘ (๗) ได้ข่าวศึกพะม่าจะยกจู่โจมมาทางเหนือ โปรดให้พระยา จักรี ( ด้วง ) ขึ้นไปช่วยเจ้าพระยาสุรศรี ( บุญมา ) ณเมืองพิษณุโลก (๘) อะแซวุ่นกี้ยกทัพตีบุกเข้ามาทางเมืองตาก รุกเรื่อยมาจน เข้าประชิดเมืองพิษณุโลก (๘) ทัพหลวงรีบยกขึ้นไปตั้งมั่นอยู่ปากพิง โปรดให้ทัพหน้าตั้ง ค่ายรายขึ้นไปต่อแดนเมืองพิษณุโลก

ต่อนี้ไปเป็นพระราชพงศาวดาร ให้ประชิโอบหลังพะม่าไว้ มุขมนตรีทั้งปวงก็เห็นด้วย เพลา ๔ ทุ่มเศษ จึงถอยทัพหลวงมาตั้งตามพระดำรินั้น วัน ๕๓ ค่ำ (พ.ศ. ๒๓๑๘) ให้หากองทัพเจ้าพระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ณวัดจันทร์ และพระโหราธิบดี พระยากลางเมือง ซึ่งตั้ง วัดบางทราย ยกมาแล้ว ให้เจ้าพระยามหามนเทียรเป็นทัพหลวงถือพล ๕๐๐๐ ให้เจ้าพระยานครสวรรค์เป็นทัพหน้า หลวงดำเกิง หลวง รักษ์โยธา คุมทหารกองนอก, กองใน, กองเกณฑ์หัด ๓๔๐๐ พระราชทานอาชญาสิทธิ์ให้ไปตั้งค่ายรายสุมขึ้นไปดูเชิงข้าศึก ถ้าพะม่า ไม่มาติด จึงยกขึ้นไปติดเข้า แล้วส่งพระราชสงครามให้ลงไปเอาปืนพระราชปักษี, ปืนฉัตร์ชัย ณเมืองนนทบุรี


๖๙ ณวัน ๓๓ ค่ำ พระยาสุโขทัยบอกมาให้กราบทูลว่า พะม่าตั้ง ค่ายบ้านกง ๕ ค่ายแล้ว ยกตามน้ำไปฟากตะวันตก จึงตรัสว่าเกลือกพะม่าจะไปวกหลังตีสะเบียง ให้ยกเอากองพระยาราชภักดีไปช่วย ราชการพระยาราชาเศรษฐีณค่ายเมืองนครสวรรค์กับหมื่นพิทักษ์โกษาให้พระยาธรรมายกหนุนเจ้าพระยานครสวรรค์ขึ้นไป ประชิพะม่า ณวัดจันทร์ฟากตะวันตก ครั้นเพลาย่ำฆ้องค่ำ เจ้าพระยาสุรศรีให้เอาไม้ทำคบเอาผ้าชุบน้ำมันยาง จุดเพลิงใส่ในกระบอกปืนยิงเข้าไป เผาค่ายพะม่าซึ่งประชิดเมืองฟากตะวันตกไหม้ ขึ้นค่ายหนึ่ง หอรบ ๒ หอรบ พะม่าออกมาดับไฟ ยิงตายลำบากไปเป็นอันมาก ณวัน ๖๓ ค่ำ ขุนพัสดีถือหนังสือมากราบทูลว่า พะม่ายกมาตีเมืองกุยเมืองปราน ๆ ต้านทานมิได้ จึงให้เข้ามาตั้งอยู่ฉะอำ แล้ว พะม่าถอยไป พระหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ได้แต่งทหาร ไปขัดทัพอยู่ช่องแคบ จึงตรัสให้เจ้าปทุมไพจิตร์ยกลงไปช่วยราชการเมืองนนทบุรี แล้วให้พระสุนทรสมบัติ หมื่นศรีสหเทพ คุมเอาเสื้อผ้าขึ้นไปพระราชทานไทยรามัญ ซึ่งล่าลงมาณร้านดอกไม้แขวงเมืองกำแพงเพ็ชร์นั้น ณวัน ๗๓ ค่ำ ยกรบัตรเมืองชัยนาทมากราบทูลว่า หลวงพลขุนรองปลัด นายชู ไปสืบข่าวราชการเมืองกำแพงเพ็ชร์ เห็นค่ายพะม่า ณบ้านโนนศาลา ๒ ค่าย บ้านถลกบาตรค่ายหนึ่ง บ้านหลวงค่ายหนึ่งแล้วพะม่ายกลงไปเผาบ้านอุทัยธานีเสีย แล้วยกไปทางใดนั้นยังมิแจ้ง จึงตรัสให้ขุนอินทรเดชะเป็นแม่กอง หม่อมเชฐกุมารเป็นทัพหลวง

๗๐ (๑) หลวงสรวิชิตและปลัดเมืองอุทัยธานีเป็นทัพหน้า ให้หม่อมอนุรุธเทวาเป็นจางวาง ยกลงไปป้องกันสะเบียงและปืนอย่าให้เป็นอันตราย ถ้า มีราชการณเมืองนครสวรรค์ ให้แบ่งกองอาจารย์ไปช่วยบ้าง ตั้งอยู่ คุ้งสำเภา (๒) ณวัน ๑๓ ค่ำ ให้หาเจ้าพระยาจักรี ลงมาเฝ้าณพระตำหนักท่าโรง เจ้าพระยาจักรีป่วยลงมามิได้ ให้เจ้าพระยาสุรศรีลงมา จึง ตรัสปรึกษาด้วยพระราชดำริจะใคร่ผ่อนทัพลงไปตั้งเมืองนครสวรรค์ ป้องกันสะเบียงไว้ แลราชการเมืองพิษณุโลกนั้น เจ้าพระยาสุรศรีจง รับรองรักษา ในวันนั้นหมื่นศรีสหเทพถือหนังสือบอกเจ้าพระยานครสวรรค์กับพะม่าคนหนึ่งลงมาถวายว่า เดินค่ายขึ้นไปถึงบ้าน บางส้มป่อย ตั้งลงมิทัน แล้วพะม่ายกมาได้รบกันเป็นสามารถ จับได้เป็นคนหนึ่ง ถูกปืนตายลำบากลากกันไปเป็นอันมาก บัดนี้พะม่าขัดสนด้วยข้าวและเกลือนั้นแพงนัก หนัก ๒ บาท ซื้อเป็นเงิน ๑ บาท ณวัน ๓๔ ค่ำ พระยารัตนพิมลรักษาค่ายปากน้ำพิงบอกกราบทูลว่า แต่งคนไปสอดแนมถึงวังสองสลึง เห็นพะม่าประมาณ ๒๐๐ ครั้นเพลาบ่ายพะม่าเผาป่าขึ้นใกล้ปากน้ำพิงเข้าไป ๓ คุ้ง จึงดำรัสให้หลวง _________________________________________________________ (๑) นามเดิมว่า หน มีชื่ออยู่ในจดหมายเหตุปูนบำเหน็จ จ.ศ. ๑๑๔๔ ในรัชกาล ที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร ได้เลื่อนศักดิสูงจนเป็นเจ้าพระยาพระคลัง (๒) ในจดหมายเหตุการพระราชกุศลสักการะพระบรมอัฏฐิกรมพระเทพามาตย์ พ.ศ. ๒๓๑๙ ปรากฏว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ยังเสด็จดำรงพระยศเป็นเพียง พระยาเท่านั้น ๗๑ วิสูตรโยธามาตย์ หลวงราชโยธาเทพ คุมเอาปืนใหญ่รางเกวียน ๘ กระบอก ลงไปค่ายปากน้ำพิงฟากตะวันตก ณวัน ๔๔ ค่ำ เสด็จดำเนินด้วยพระบาทขึ้นไปทางฟากตะวันออกแต่ท่าโรงถึงค่ายเจ้าพระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ณบ้านแขกนั้น เสด็จอยู่พระที่นั่งเก้าอี้กลางหาดทราย เจ้าพระยานครสวรรค์, พระยาธรรมาว่ายน้ำข้ามมาเฝ้ากราบทูลว่า พะม่าตั้งค่ายประชิดลง ๔ ค่าย แล้วปักกรุยโอบลงมา จึงตรัสว่ามันทำลวงอย่ากลัวมัน ตั้งรับอย่าตั้งตรงเข้า ไป ให้ตั้งรายเรียงออกไป ถ้ามันตั้งตามไป ให้ตั้งรายแผ่กันออกไป จงมาก ให้คนรักษาค่ายละ ๕๐ คน แล้วอย่าคิดกลัวแตกกลัวเสีย มันจะตีค่ายไหนให้มันตีเข้า อันทหารแล้วองอาจอย่ากลัวตาย ตั้งใจ อาษาพระรัตนตรัยแลพระมหากษัตริย์ เดชะผลกตัญญูนั้นจะช่วยอภิบาลรักษา ก็จะหาอันตรายมิได้ ถ้าใครย่อหย่อนให้ประหารชีวิต เสีย สงครามจึงจะแก่กล้าขึ้นได้ชัยชำนะ แล้วให้ยกเอากองพระยา ศรีราชเดโช กองหมื่นทิพเสนา มาเข้ากองเจ้าพระยานครสวรรค์ ยกเอากองเกณฑ์หัด, ทหารอาจารย์ มาไว้ในกองหลวง แล้วส่งให้ ขึ้นไปเมืองพิษณุโลก หาเจ้าพระยาจักรีลงมาเฝ้าณพระตำหนักค่ายนั้น ครั้นได้ทรงฟังเสียงปืนใหญ่น้อยณปากน้ำพิงหนาขึ้น จึงสั่งเจ้าพระยาจักรีให้จัดแจงรักษาค่ายท่าโรง แล้วเพลา ๓ ยามก็ยกทัพหลวงมา ณปากน้ำพิง ครั้นเพลา ๑๑ ทุ่ม พะม่าขุดสนามเพลาะเข้ารบกองพระยาธรรมไตรโลก กองพระยารัตนพิมล ณคลองตะพอง ยิงระดมทั้ง กลางวันกลางคืน ณวัน ๕๔ เสด็จข้ามตะพานเรือกไปฟากตะวันตก ให้พระยา ๗๒ สุโขทัยหนุนออกตั้งค่ายชักปีกกา ขุดหลุมเดินถึงกันได้ ให้หลวง รักษ์โยธา หลวงภักดีสงคราม ไปตั้งค่ายประชิพะม่าปากตะพอง ให้หลวงดำเกิงคุมเกณฑ์หัด และกองอาจารย์เก่า กองอาจารย์ใหม่ เข้ากองพระยาสุโขทัย หลวงเสนาภักดี ปืนแก้วจินดา ให้ตีวกหลัง ณวัน ๗๓ ค่ำ เพลาเช้า พร้อมกันตีวกหลังกระหนาบเข้าไป รบตะลุมบอนกันสามารถ พะม่าล้มตายเป็นอันมาก ขุนอากาศสรเพลิงถูกปืนตาย ณวัน ๑ ๔ ค่ำ สั่งให้หากองพระโหราธิบดี กองหลวงรักษ์มนเทียร ลงไปตั้งโคกสลุด เรือลำเลียงจะได้ไปมาโดยสะดวก ในทันใดนั้นหลวงเสนาภักดียกรบัตรเหล่ากองปืนแก้วจินดา มากราบทูลว่า ตีวกหลังพะม่ากระโจมเข้าไป พะม่าขุดสนามเพลาะวงรอบไว้ ๓ ด้าน กองอาจารย์ถอยเสียมิได้ช่วยแก่ ฯ ข้า ฯ ทั้งปวงขุดสนามเพลาะรบอยู่คืนหนึ่งพระยาสุโขทัยจึงตีเข้าไป ครั้นได้ทรงฟังจึงสั่งให้เอาอาจารย์ทอง นายดี นายหมวด ไปประหารชีวิตเสีย เลกนั้นพระ ราชทานให้ขุนรามณรงค์คุมทำราชการสืบไป ครั้นเพลาบ่ายเสด็จไปทอดพระเนตร์ค่ายที่รบคลองกะพอง แต่ค่ายนั้นออกไประยะทาง ๒๒ เส้น ให้ตั้งค่ายขุดคลองเดินตามปีกกาให้ถึงกัน ขณะนั้นตรัสภาคโทษพระสุธรรมาจารย์ พระวิสาลสุธรรม แล้วให้ทำราชการแก้ตัว เข้า ตั้งค่ายประชิพะม่ากับกองทหาร กองเกณฑ์หัดสืบไป ในวันนั้นเพลาบ่าย ๕ โมงเศษพะม่าออกปล้นค่าย ได้รบกันเป็นสามารถ หลวงดำเกิง ยิงพะม่าตายเป็นอันมาก อนึ่งขุนหาญทนายเลือกกองนอกรักษาค่าย

๗๓ ให้เพลิงตกในถังดินติดขึ้นคนตายเป็นหลายคน และตัวขุนหาญนั้นย่อหย่อนในการศึกให้ตัดศีร์ษะเสีย แล้วให้หาพระยายมราชซึ่งตั้งณวัดจันทร์ลงมาเฝ้า ให้ถืออาชญาสิทธิบังคับทัพ ๑๐ ทัพ ซึ่งตั้งรับพะม่า ณคลองกะพองให้กล้าขึ้น ณวัน ๕๔ ค่ำ พระยาเทพวรชุน หลวงวิชิตณรงค์ ซึ่ง รักษาค่ายท่าโรง บอกส่งคนแตกจากค่ายวัดพริกฟากตะวันออกมาถวายให้การว่ากรมแสงใน ๒๑๔ คนรักษาค่าย ๕ ลูก เพลาประมาณยามเศษพะม่าข้ามฟากมาปล้น ได้รบกันเป็นสามารถ พะม่าแหกค่ายเข้าได้นายทัพนายกองแตกกระจายกันไป จึงให้ประหารชีวิตหมื่นทิพหนึ่ง ไพร่ ๑๑ คน เสียบไว้ประตูค่ายหลวง แต่บรรดาหนีค่ายนั้น นายไพร่ ได้ตัวมาเมื่อใดให้ฆ่าเสีย แล้วให้เอากองพระโหราธิบดี หลวง รักษ์มนเทียร ซึ่งตั้งค่ายโคกสลุด พระยานครชัยศรี ตั้งอยู่โพทับช้าง ยกมาช่วยราชการทัพหลวงปากน้ำพิง ณวัน ๖๔ ค่ำ เจ้าพระยานครสวรรค์บอกกราบทูลว่า พะม่า ตั้งโอบลงมาถึงริมน้ำ แล้วข้ามไปตีค่ายวัดพริกแตก เห็นพะม่าจะวกหลัง จะขอลาดทัพมาตั้งรับอยู่ฟากตะวันออก จึงดำรัสให้กองพระยา กลางเมือง, พระโหราธิบดี, พระวิชิตณรงค์, พระยาเทพ เข้ากอง พระยายมราช ยกไปตีพะม่าซึ่งตั้งณวัดพริกฟากตะวันออกนั้น ให้หลวงรักษ์มนเทียร รักษาค่ายประชิพะม่ากลางเมือง ณปากน้ำพิงฟากตะวันตก ๑๐

๗๔ ขณะนั้นกองทัพพะม่าวกไปตั้งโอบหลังทัพหลวง แล้วแบ่งกันเข้าแหกค่ายพระยายมราชได้ ในทันใดนั้นพระยายมราชขับทหารเข้าตีคืนชิงเอาค่ายได้ อยู่ประมาณ ๑๑-๑๒ วันพะม่าทำการติดพิษณุโลกกวดขันขึ้น ฝ่ายข้างในเมืองขาดสะเบียงทแกล้วทหารอิดโรยลงเรรวนนัก ข้างทัพหลวงนั้นก็เสียทีลาดถอยมาตั้งณบางข้าวตอก ครั้นเดือน ๕ ข้างขึ้นเจ้าพระยาจักรี, เ จ้าพระยาสุรศรี เห็นเหลือกำลังก็พาทหารฝ่ากองทัพพะม่าหนี (๑) ออกจากเมืองพิษณุโลก ฝ่ายกองทัพทั้งปวงก็แตกกันเป็นอลหม่าน กองทัพพะม่าได้ทีก็ยกไล่ติดตามมา ขณะนั้นพอข้างกรุงอังวะให้ม้าใช้ถือหนังสือมาถึงอะแซวุ่นกี้แม่ทัพว่า กรุงอังวะเกิดเหตุด้วยพระเจ้ามองระทิวงคต ได้ครองแผ่นดินอยู่ ๙ ปี จึงจิงกูซึ่งเป็นราชบุตรพระชนม์ ๒๕ ปีคิดฆ่ามังโปอาเสีย แล้ว ก็ถึงซึ่งขัติยาภิเศก ในศักราช ๑๑๔๓ ปีจึงเสด็จลงไปนมัสการพระมุเตา ณกรุงหงษาวดี ฝ่ายมองหม่องซึ่งเป็นโอรสมังลอกนั้นเป็นกบฎขึ้นฆ่า จิงกูเสีย ชิงเอาเศวตฉัตรได้เป็นใหญ่ในกรุงอังวะ และจิงกูได้สมบัติ อยู่ ๗ ปี อะแซวุ่นกี้รู้เหตุนั้นจึงให้ถอยทัพไป ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงพระโทมนัสน้อยพระทัยแก่ข้าศึกนัก ตรัสให้หาหมื่นสรสำแดงมาถามหน้าพระที่นั่ง จะให้คุมเลกทหาร, คุมเลกเกณฑ์หัด ขึ้นไปตามรบพะม่า นิ่งเสีย มีรับสั่งให้ประหารชีวิตเสีย _________________________________________________________ (๑) จดหมายเหตุโหรว่า จ.ศ. ๑๑๓๘ (พ.ศ. ๒๓๑๙ ) ณวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เสียเมืองพิษณุโลกเวลา ๒ ยามเศษ ๗๕ พระยาพิชัย, พระยาพิชัยสงคราม นั้นยกกลับไปบ้างเมือง จัดทหารออกก้าวสะกัดตีพะม่าจงได้ พระยาเทพ, พระยารัตนพิมล, พระยานครชัยศรี, พระยาทุกขรษฎร์, หลวงรักษ์โยธา, หมื่นอัคเนศรนั้น ให้เป็นกองหน้า พระยาสรบดินทร์ยกไปตีพะม่า (๑) ณวัน ๒๖ ค่ำ พระราชสงครามเอาหนังสือมหาโสภิต เจ้า อารามวัดใหม่ เขียนใส่ใบตาลไปถวายเป็นเนื้อความพุทธทำนายมีใน (๒) (๓) คัมภีร์ธาตุวงศ์ใจความว่า ตระกูลเสนาบดีได้เป็นกษัตริย์ ๔ พระองค์ ๆ สุดนั้นพะม่าจะยกมาย่ำยีกรุงเทพ ฯ เสียแก่พะม่าแล้ว ยังมีชายพ่อ (๔) ค้าเกวียนนั้นจะได้เป็นพระยาครองเมืองทิศใต้กรุงชายชเลชื่อเมืองบางกอก พระยาองค์นั้นจะสร้างเมืองได้ ๗ ปี ในที่สุด ๗ ปีนั้นพะม่าจะยกมาเพียรพยายามกระทำศึกอยู่ ๓ ปี ในพระพุทธศักราช ๒๓๒๐ ปีจุลศักราช ๑๑๓๘ ปี พระนครบางกอกจะเสีย ให้เสด็จขึ้นไปอยู่เมืองลพบุรีอันเป็นที่ประชุมพระบรมธาตุ ข้าศึกศัตรูคิดร้ายมิได้เลย จึงตรัส _________________________________________________________ (๑) ดูเชิงอรรถหน้าต้น (๒) คัมภีร์ธาตุวงศ์ ตามที่ปรากฎในบัญชีคัมภีร์ภาษามคธและภาษาสันสกฤต ฉบับ ของหอสมุดแห่งชาติมี ๒ คัมภีร์ คือ นลาฏธาตุวงศ์ ว่าด้วยการประดิษฐานนลาฏธาตุใน ลังกาทวีป, ทาฐาธาตุวงศ์ ว่าด้วยเรื่องพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้าประดิษฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งสองคนคัมภีร์นั้นไม่มีพุทธทำนายเรื่องนี้เลย (๓) น่าจะหมายความว่าตระกูลพระเพทราชา (๔) คงจะหมายเอาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เช่นกล่าวไว้ในเชิงอรรถหน้าต้นเล่มนี้


๗๖ ว่าจะละเมืองบางกอกเสียมิได้ แต่ปากชีพราหมณ์ว่าแล้วจำจะทำตามจะไปอยู่สัก ๗ วัน ก่อนเพื่อจะให้เป็นเหตุ ณวัน ๒๖ ค่ำ ให้พระยาพลเทพ, หลวงเนาวโชติ, จมื่น เสมอใจ ยกพลขึ้นไปเมืองเพ็ชรบูรณ์ ถ้าพะม่ายกไปติด พอจะต้าน ได้ให้ต้านไว้ ถ้าเหลือกำลัง ให้ผ่อนครอบครัวสะเบียงอาหารลงไป กรุง ฯ ให้เจ้าพระยานครสวรรค์, พระยาสวรรคโลก ยกไปตามพะม่าทางเมืองกำแพงเพ็ชร์ ให้พระยายมราชซึ่งตั้งอยู่ท้ายค่าย ยกลงมา อยู่รักษาค่ายหลวงปากคลองบางข้าวตอก แต่ทัพหลวงเสด็จแรมรับกองทัพเมืองพิษณุโลกอยู่ ๑๑ เวน ณวัน ๔๖ ค่ำ เสด็จถึงพระตำหนักค่ายเมืองนครสวรรค์ ให้ ประหารหลวงชาติสุรินทร์ ซึ่งหนีตาทัพลงมาแต่กองพระยาธรรมไตรโลกนั้นเสีย แล้วจัดกองทัพไทยยกไปทางบกทางเรือ แจกกฏหมายสำหรับทัพทุกกอง ถ้าไพร่ตามนายมิทันให้ฆ่าเสีย ฝ่ายข้าทูลละออง ฯ ตามเสด็จมิทันจะลงพระราชอาชญาถึงสิ้นชีวิต วัน ๗๗ ค่ำ เสด็จโดยทางชลมารค ประทับแรมณพระตำหนักค่ายมั่นบางแขม หลวงวังไปสืบราชการมากราบทูลว่า เห็นพะม่าตั้ง อยู่ในเมืองกำแพงเพ็ชร์ประมาณ ๒๐๐๐ เศษ ครั้นณวัน ๕๗ ค่ำ หมื่นชำนิคชสารมากราบทูลว่า พะม่ายกไปจากเมืองพิษณุโลก เผาวัดเสียสิ้นยังเหลือแต่พระชินราช จึงตรัสให้พระยายมราชยกขึ้นทางตะวันตก ให้พระยาราชสุภาวดีไปทางตะวันออก

๗๗ เจ้าพระยานครสวรรค์นั้นยกขึ้นไปประสมกับวังพระธาตุ ข้ามไปพร้อมกันทีเดียว ณวัน ๕ ๗ ค่ำ ทัพหลวงขึ้นไปประทับแรมฟากตะวันออกเหนือ ปากน้ำขลุม ให้ประหารชีวิตขุนสุนทรรัตน์ หมื่นสนั่น กับบ่าวคน หนึ่ง เสียบไว้ณหาดทรายหน้าค่ายหลวง อนึ่ง หลวงวังไปสืบ ราชการณบ้านสามเรือนมากราบทูลว่า พะม่ายกไปประมาณ ๑๐๐ เศษจึงตรัสให้เจ้าพระยานครสวรรค์ ถอยทัพลงมาจากบ้านโคน แล พระยาสรบดินทร์ยกไปตามพะม่าณเมืองกำแพงเพ็ชร์ บอกมาให้กราบทูลว่า พะม่าบ้านกงธานีนั้นเลิกไปแล้ว พะม่าซึ่งอยู่เมืองกำแพงเพ็ชร์ยกไปทางตะวันตก ณวัน ๕๗ ค่ำ ถอยทัพหลวงมาประทับร้อนณเมืองนครสวรรค์ชาวด่านเมืองอุทัยธานีบอกมากราบทูลว่า พะม่ายกผ่านลงมา ๑๐๐ เศษ เผาพระตำหนักเสีย แล้วแทงหลวงตาลำบากอยู่องค์หนึ่ง แล้วยกไป ทางนารี จึงให้กองแก้วจินดายกไปตาม ถ้าทันเข้าให้ตีจงแตกฉาน แล้วให้ตามไปถึงไทรโยค ณวัน ๗๗ ค่ำ ปีวอกอัฐศก ( จ.ศ.๑๑๓๘ พ.ศ.๒๓๑๙ ) เสด็จถึงเมืองธนบุรี ณวัน ๒๗ ค่ำ พระยายมราช, พระยาราชสุภาวดี บอกลงไป ว่า ได้รบพะม่าเมืองอุทัยธานีเป็นสามารถ จึงให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนอินทรพิทักษ์ ถือพล ๑๐๐๐ ยกทัพเรือหนุนขึ้นไป ณวัน ๕๗ ค่ำ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จทางชลมารค ขึ้นไปถึงพระ

๗๘ ตำหนักเมืองชัยนาทฟากตะวันออก สั่งให้กรมขุนอินทรพิทักษ์กลับลงไปรักษากรุงธนบุรี อนึ่ง พระยายมราชบอกมากราบทูลว่า ตั้งประชิ พะม่าอยู่ณเมืองอุทัยธานีนั้น ขัดสนด้วยสะเบียงอาหารนัก ล่าทัพถอยมาตั้งอยู่ดงไก่เถื่อน หม่อมเจ้านราภิเบศ กองแก้วจินดา บอกมาว่า ติดตามพะม่าไปทัน ได้รบกันณบ้านเดิมบางนางบวชสามารถ พะม่าล้มตายเป็นอันมาก จึงสั่งว่าพะม่ามิได้ตามลงมาติดพันแล้ว เป็นเทศกาลจะได้ทำนา ให้เลิกทัพเมืองพิจิตร์, นครสวรรค์, คุ้งสำเภา ลงมายังค่ายหลวงเมืองชัยนาทให้สิ้น ให้พระยายมราช, พระยาราชสุภาวดี, พระยารามัญ ยกทางบกลงไปยังเมืองนครชัยศรี, เมืองราชบุรี ถ้า พบพะม่าให้ตี ถ้าปะครัวเร้นซ่อนอยู่ในป่าให้กวาดต้อนลงไป อนึ่ง เจ้าพระยาจักรี, เจ้าพระยาสุรศรี, พระยาธรรมา ให้คุม ไพร่พลทั้งปวงทำนาฟากตะวันออกกรุงธนบุรี อนึ่ง พระยายมราช, พระยาราชสุภาวดี ตั้งทำนากะทุ่มแบน หนองบัว แขวงเมืองนครชัยศรี ณวัน ๑๘ ค่ำ เสด็จขึ้นไปเมืองนครสวรรค์ ให้พระยายมราช, พระยามหาเสนา เร่งยกไป แล้วเสด็จกลับลงมาในวันนั้น ลงเรือพระ ที่นั่งณซับพญามาประทับบ้านงิ้ว ณวัน ๓๘ ค่ำ ถึงเมืองธนบุรี บำรุงโยธาหาญไว้ให้มีน้ำใจ ณวัน ๔๙ ค่ำ ปีวอกอัฐศก ( จ.ศ. ๑๑๓๘ พ.ศ. ๒๓๑๙ ) กรมขุนอนุรักษ์สงคราม, กรมขุนรามภูเบศ, พระยามหาเสนา, พระยา ยมราช แลนายทัพนายกองบอกมาให้กราบทูลว่า พะม่าขัดสนด้วยข้าวปลาอาหารนัก เลิกไปจากเมืองอุทัยธานีสิ้นแล้ว พะม่าซึ่งตั้งอยู่เมือง

๗๙ นครสวรรค์นั้นก็เลิกไป อยู่ประมาณ ๘๐๐-๙๐๐ คอยพะม่าซึ่งไปหาข้าวณเมืองเพ็ชรบูรณ์นายมนั้น ณวัน ๗๙ ค่ำ ปีวอกอัฐศก ยกทัพหลวงจากเมืองธนบุรี ๑๑ กอง เสด็จโดยทางชลมารค ขึ้นไปปราบพะม่าณเมืองฝ่ายเหนือ แจ้งใบบอกว่าทัพหน้าตีพะม่าเมืองนครสวรรค์แตกไปทางเมืองกำแพงเพ็ชร์ ณวัน ๕๙ ค่ำ ให้กรมขุนรามภูเบศ, เจ้าพระยาอินทอภัย อยู่รักษาค่ายเมือนครสวรรค์ แล้วยกทัพหลวงไปทางชลมารค ถึงเมืองกำแพงเพ็ชร พะม่าซึ่งแตกไปอยู่ในป่าดงนั้น กองทัพทั้งปวงจับมาถวาย ๓๓๐ เศษ จึงให้พระยายมราช พระยารามัญ ยกติดตามไปทางระแหงจนปลายด่าน ณวัน ๕๙ ค่ำ ถอยทัพหลวงมาถึงบ้านระแหง ทอดพระเนตร์ เห็นต้นข้าวซึ่งพะม่าทำนาไว้นั้น สั่งให้ถอนเสีย ณวัน ๒๙ ค่ำ เสด็จถึงเมืองธนบุรี แล้วทรงพระวิตกถึงสมณะ ซึ่งขับต้อนลงมาแต่เมืองฝ่ายเหนือ จึงประเดียงพระสังฆราชไว้ว่า พระสงฆ์อนุจรอารามใดขัดสนอาหาร ให้เบิกเอาข้าวฉางหลวงไปถวายแล้วทรงพระราชศรัทธาถวายสมณบริกขารแก่อาคันตุกะเป็นอันมาก และให้เลิกคนรักษาหน้าที่เชิงเทินเสีย ไปทำไร่นาตามภูมิลำเนา (๑) ณวัน ๖๑๐ ค่ำ พระยาราชภักดี ซึ่งไปตามพะม่าทางเพ็ชรบูรณ์นายมนั้น ยิงพะม่าตายเป็นอันมาก จับเป็นได้ ๙ คน _________________________________________________________ (๑) พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าพระยาราชภักดีถูกประหารชีวิตเพราะเป็นคนเกียจคร้านและย่อท้อต่อราชการ แต่ในที่นี้ว่าเข้มแข็ง


๘๐ ณวัน ๗๑๐ ค่ำ กองพระยายมราช, พระยารามัญ ตามพะม่า ไปถึงด่านแม่ละมาว ยิงพะม่าตายลำบากเป็นอันมาก จับเป็นได้ ๑๗ คน ณวัน ๑๑๐ ค่ำ พระยาธิเบศรบดี กองอาษาจาม ไปตามพะม่าเมืองพิษณุโลก จับได้ ๑๘ คน กับทั้งเครื่องสาตราวุธเอาลงมาถวาย ณวัน ๗๑ ค่ำ เจ้าพระยาสครสวรรค์, พระยาพิชัยอาษา ส่ง พะม่าลงมา ๔๗ คน กรมขุนอนุรักษ์สงคราม, พระยามหาเสนา ส่ง พะม่าลงมาแต่แขวงกำแพงเพ็ชร์ ๑๑ คน (๑) อนึ่ง เจ้ากรุงปัญยีจัดซื้อปืนถวายเข้ามา ๑๔๐๐และสิ่งของเครื่องบรรณาการต่าง ๆ ณวัน ๒๑๐ ค่ำ ปีวอกอัฐศก ( จ.ศ.๑๑๓๘ พ.ศ.๒๓๑๙ ) เพลาบ่ายนางพระยาช้างเผือกล้ม จึงดำรัสให้ฝังไว้ณวัดสำเพ็งที่ฝังเจ้าพระยาปราบไตรจักร์นั้น ณวัน ๑๑๑ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๘ ปีวอกอัฐศก พระราชทาน (๒) นามเจ้าพระยานคร ให้คืนเมืองเป็นเจ้าขันธเสมาดังเก่า พระราชทานเราชูบริโภคเป็นอันมาก _________________________________________________________ (๑) พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นกปิตันเหล็กอังกฤษ ๑ เจ้าเมือง เกาะหมาก แต่ตำนานเมืองเกาะหมากปรากฏว่า อังกฤษเพิ่งมาปกครองปินังเมื่อรัชกาล ที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทรนี้ (๒) ดูประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒ เรื่องทรงตั้งพระเจ้านคร, ในหนังสือพระราชพิธี ตรุษเมืองนครศรีธรรมราช ออกพระนามพระเจ้านครว่า พระเจ้าขัติยราชนิคม สมมุติมไหศวรรย์

๘๑ (๑) ณวัน ๒๑ ค่ำ เสด็จไปบำเพ็ญพระกรรมฐานณพระอุโบสถวัดบางยี่เรือ แล้วทรงพระประสาทเลื่อมใสศรัทธาอุทิศถวายเรือขมวด ญาปิดทองคำทึบ หลังคาสีสักหลาดเหลืองลำหนึ่ง คนพาย ๑๐ คน พระราชทานเงินตราคนละ ๒ ตำลึง และพาเข้าให้บวชเป็นปะขาว ถวาย (๒) พระรัตนไตรปิฎก พระหีบคู่หนึ่ง สำหรับใส่วิธีอุปเทศพระกรรมฐาน แล้วทรงสัตยาธิษฐานว่า เดชะผลทานนี้จงยังลักขณะปีติบังเกิดแก่ ฯ แล้วอย่าให้ปราศจาก และพระธรรมซึ่งยังมิได้บังเกิดนั้น ขอจงให้ ข้า ฯ บังเกิดแก่ ฯ ข้า ฯ ภิยโยภาวะยิ่ง ๆ ขึ้นไป อนึ่งจงเป็นปัจจัยแก่พระโพธิญาณในอนาคตกาลโน้นเถิด ครั้นเสด็จเชิญพระไตรปิฎกธรรมลงเรือ ข้าทูลละอองฯ ฝ่ายทหาร พลเรือน และราษฎรทั้งปวง แห่แหนขึ้นตามแม่น้ำ ถึงบางยี่ขันแล้ว แห่คืนเข้าไป (๑) จดหมายเหตุการพระราชกุศลสักการะพระบรมอัฐกรมพระเทพามาตย์ พระ บรมราชชนนี ( ยังไม่ได้พิมพ์ ) มีข้อความเริ่มต้นว่า วันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ จ.ศ. ๑๑๓๘ ปีวอกอัฐศก ( พ.ศ. ๒๓๑๙ ) เสด็จ ฯ ออกไปบำเพ็งพระธรรมณวัดบางยี่เรือใน ทรงพระกรุณาสั่งพระยามหาเสนา พระยาจักรี ให้เจ้าพนักงานแต่งการเชิญพระอัฐิสมเด็จ พระพันปีหลวง กรมหลวงพิทักษ์เทพามาตย์ ออกไปบำเพ็งพระราชกุศลบังสกุล ณวัด บางยี่เรือนอก...ดังนี้ จะเห็นได้ว่าการบำเพ็ญพระธรรมนั้น เนื่องในการพระราชกุศล ทรงพระราชูทิศถวายสมเด็จพระบรมราชชนนี เป็นการสนองพระคุณตามพระราชวิสัยที่ทรงพระกตัญญูกตเวทีอย่างแรงกล้า (๒) มีพระบรมราชาธิบายเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยลักษณะการปฏิบัติธรรมชั้นสูง หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า ลักษณะบุญ ทรงเรียบเรียงเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๓ ขึ้น ๒ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๑๙ ใจความย่อ ๆ ไม่รุ่มร่าม เพียง ๒ หน้ากระดาษพิมพ์ดีด ( ยังไม่ได้พิมพ์ ) ๑๑ ๘๒ อนึ่ง ให้พระราชาคณะ, พระยามหาเสนา กำกับการเอาเงินตรา ๑๐ ชั่งไปเที่ยวพระราชทานแก่คนโซในกรุงนอกกรุงธนบุรี (๑) ณวัน ๒๑ ค่ำ เชิญพระอัฐิสมเด็จพระพันปีหลวง ลงเรือแห่แต่ (๒) ฉนวนน้ำเข้าไปพระเมรุวัดบางยี่เรือใน นิมนต์พระสงฆ์สพสังวาสหมื่นหนึ่ง ถวายพระมหาทานเป็นอันมาก สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงศีล (๓) (๔) บำเพ็ญพระธรรม แรมอยู่พระตำหนักวัดบางยี่เรือนอก ๕ เวน แล้ว ให้ทำกุฏิถึง ๑๒๐ กุฏิ แล้วให้บุรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป และ พระเจดีย์ วิหาร คูริมพระอุโบสถนั้นให้ขุดลงแล้วปลูกบัวหลวง ชำระแผ้วถางให้กว้างออกไปกว่าแต่ก่อน แล้วอาราธนาพระสงฆ์ฝ่ายคณะวิปัสสนามาอยู่ณกุฏิซึ่งทำถวาย ให้ข้าทูลละออง ฯ ปรนนิบัติ แล้วเสด็จ ฯ ไปถวายพระราโชวาทแก่พระสงฆ์ โดยอธิบายซึ่งพระองค์บำเพ็ญได้ ให้ต้องด้วยวิธี จะได้บอกบุญ ปฏิ ๆ ศาสนาสืบไป (๕) ณวัน ๖๓ ค่ำ เพลา ๒ ยาม เสือเข้ามากินเขมรชายซึ่งเฝ้าสวน _________________________________________________________ (๑) นี่คือเหตุให้เสด็จ ฯ ไปทรงบำเพ็ญพระธรรมดังกล่าวมาแล้ว (๒) เห็นจะหมายความว่าพระภิกษุทุกนิกายทุกพระอาราม (๓) หมายความว่าทรงศีลแล้วก็เจริญสมาธิตามลำดับภูมิธรรม แต่เหนือสามัญปฏิบัติ (๔) คือวัดอินทาราม ในคลองบางหลวง ยังมีพระแท่นบรรทม และที่บรรจุพระอังคาร ธาตุปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ (๕) เหมือนกับครั้งรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ดูพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑ หน้า ๒๓๗

๘๓ วัดบางยี่เรือ พระเจ้าลูกเธอ และเจ้าพระยาจักรี พระยายมราชข้าหลวงออกไปวางยาเบื่อเสือกินเมาอยู่ จึงแต่งคนเข้าไปแทงเสือ นั้นตาย ณวัน ๒๓ ค่ำเวลาบ่าย ๓ โมงเศษ บังเกิดลมพายุ ลมฝนหนัก เรือนราษฎรในกำแพงนอกกำแพงหักลงเป็นอันมาก (๑) ณวัน ๖๔ ค่ำ หล่อปืนพระพิรุณณสวนมังคุด อนึ่ง แต่ณปีวอกอัฐศก ( พ.ศ. ๒๓๑๙ ) นั้น พระยานางรอง คบคิดการกบฏกับเจ้าโอ้เจ้าอินอรรคฮาด กระทำการกำเริบขึ้น จึงดำรัสให้ เจ้าพระยาจักรี เป็นจอมทัพ ขึ้นไปจับ พระยา นางรอง ฆ่าเสีย เจ้าโอ้ เจ้าอินอรรคฮาด นั้นหนีไปเมืองป่าสัก จึงจัดทัพฝ่ายเหนือให้เจ้าพระยาสุรศรีเป็นแม่ทัพ ยกขึ้นไปบรรจบกองเจ้าพระยาจักรี กระทำแก่เมืองป่าสัก, เมืองโขง, เมืองอัตบือได้ ครั้นปีระกานพศก ( พ.ศ. ๒๓๒๐ ) จึงเลิกทัพกลับมากรุงธนบุรี (๒) ขณะนั้นพระราชทานเจ้าพระยาจักรี ให้เป็นสมเด็จพระเจ้ากษัตริย์ศึก อันพิลึกมหิมา ทุกนัคราระอาเดช นราเรทธิ์ราชสุริยวงศ์ องค์บาท _________________________________________________________ (๑) การหล่อปืนนั้นมีมาแต่ต้นรัชกาล เป็นราชการสำคัญที่สุด เช่นหล่อปืนมหา เศวตรัตน์ดังกล่าวมาแล้ว (๒) หมายรับสั่งในปีชวด พ.ศ. ๒๓๒๓ ยังมีนามว่า เจ้าพระยาจักรี ดูลัทธิ ธรรมเนียม ภาคที่ ๑๐ หน้า ๔ แลพระราชวิจารณ์ของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยเรื่องจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทร์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ หน้า ๑๑๒ ตอนหมายรับสั่งในการพระศพมารดาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ

๘๔ มุลิกากร เอกาทศรฐอิศวรบรมนาถบรมพิตร สถิตณกรุงเทพ ทวารา วดี ศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัฐ ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศ มหาสถาน อนึ่งเข้าทรงนั่งให้โต๊ะแขกดู ๕ บาท ออกแล้วตรัสถามว่าเห็นเป็นประการใด โต๊ะแขกกราบทูลว่า ซึ่งนั่งสมาธิอย่างนี้ อาจาริย์ซึ่งได้ เล่าเรียนมาแต่ก่อนนั้นอันจะได้พบเห็นเสมอเหมือนพระองค์ฉะนี้ไม่มีเลย ณวัน ๔๗ ค่ำ ปีระกานพศพ ( พ.ศ. ๒๓๒๐ ) เพลาเช้า พระ สังฆราช, พระราชาคณะ เข้ามาถวายพระบาลีทรงนั่ง และโต๊ะริศ โต๊ะทอง โต๊ะนก ก็เอาหนังสือข้างแขกซึ่งนั่งรักษาจิตต์เป็นสมาธิเข้า มาอ่านถวาย จึงเมืองนครบอกเข้ามาว่าเมืองตานีกระด้าง ปีหน้าจะขอออกไปตีทรงพระกรุณาตรัสว่าพะม่ายกลงมาเมืองเชียงใหม่ ท้าวพระยาลาวเมืองเชียงใหม่, เมืองนคร เลิกครัวอพยพมาอยู่เมืองสวรรคโลกบ้านระแหง หาผู้ใดไปย่ำยีไม่ กองทัพพะม่าเลิกไปเป็นอันเร็ว ได้ความ ว่า เจ้าอังวะคนเก่าฆ่าญาติวงศ์เสียเป็นอันมาก แล้วน้องเจ้าอังวะ ต่อรบหลาน ๆ แพ้หนีไปอยู่สรวยปู น้องพระเจ้าอังวะผู้ตายครอง ราชสมบัติอยู่ มีศึกกะแซยกมา เมืองจีนยกไปตั้งการที่จะทำกรุงอังวะ จึงส่งราชทูตให้ออกไปแจ้งราชกิจกรุงปักกิ่ง เพื่อจะเสด็จพระราช ดำเนินไปขนาบตีกรุงอังวะด้วยทัพจีน ราชการมากอยู่ กิจการซึ่งจะเป็นเสี้ยนหนามหนหลังต่อขึ้นไปให้สงบไว้ ต่อเมื่อได้ข่าวคราวขึ้นแล้วจึงกำหนดการออกไป

๘๕ แล้วตรัสประภาษถึงพระกรรมฐานว่า พระนาภีพระองค์นั้นแข็ง ไป กระแหม็บมิเข้าผิดกับสามัญโลกทั้งปวง อัศจรรย์นี้ต้องด้วยพระบาลีในพระกรรมฐาน (๑) แล้วตรัสถามพระราชาคณะด้วยพระรูปพระลักษณะ ทรงพระฉายดูเห็นพระปริมณฑลฉะนี้ จะต้องด้วยพระบาลีว่าอย่างไร พระราชาคณะถวายพระพรว่า พระบาลีพระลักษณะสมเด็จพระพุทธเจ้า พระรูปนั้นเปรียบประดุจต้นไทร ปริมณฑลมิได้สูงต่ำมิได้ยาวสั้น มีพระลักษณะหนา ๗ ประการ คือ พระกรขวาหนึ่งซ้ายหนึ่ง พระบาทขวาหนึ่งซ้ายหนึ่ง พระอังษาขวาหนึ่งซ้ายหนึ่ง พระอุระหนึ่ง เป็น ๗ ประการด้วยกัน จึงทรงพระกรุณาให้หล่อพระพุทธรูปจงต้องด้วย พระพุทธลักษณะให้พระสังฆราชเอาพระบาลีออกมากางให้ช่างทำ (๒) อนึ่งพระสังฆราช แปลพระบาลีพระพุทธลักษณะถวายพระลักษณะใหญ่ ๓๒ ประการ พระลักษณะอย่างน้อย ๘๐ ประการ จึงทรงดูในพระองค์ต้องด้วยพุทธลักษณะ คือสูญเท่าวาของพระองค์สิ่งหนึ่ง มีเส้นพระอุณาโลมหว่างพระโขนงขาวอยู่เส้นหนึ่ง พระนาภีเวียนขวา เป็นทักษิณาวัตร ๑ และพระปฤษฎางใหญ่ ๑ ฝ่าพระหัตถ์, ฝ่าพระบาท, พระพาหา, พระอุระ หนาทั้งเจ็ดประการ ก็ต้องด้วยพระพุทธลักษณะ _________________________________________________________ (๑) ว่าด้วยการหล่อพระพุทธรูปฉลองพระองค์ ซึ่งเป็นพระราชประเพณีสืบมาจน ทุกวันนี้ (๒) การแปลบาลีพระพุทธลักษณะนั้น สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรด มีฉบับ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชแปลถวายครั้งรัชชกาลที่ ๒ พิมพ์ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ๘๖ ทั้งเจ็ดสิ่ง และพระปรางหนาอิ่มเป็นปริมณฑล ๑ เมื่ออ่านพระบาลีและชัณสูตรพระองค์ไปทุกประการ ก็ต้องด้วยพระพุทธลักษณะ ๑๒ สิ่ง ที่ไม่ต้องก็ทรงบอกว่าไม่ต้อง อนึ่งพระมหาอำมาตย์ทูลเบิกพระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่เข้ามาเฝ้า ตรัสว่าพะม่ามันจะยกเลิกไป เมืองมันมีศึกอยู่แล้ว พระยาวิเชียรปราการจะพาครอบครัวกลับไปเมืองก็กลับไปเถิด แล้วทรง พระกรุณาให้หลวงวิจิตรนฤมลปั้นพระพุทธรูป ให้ต้องด้วยพระพุทธลักษณะพระเจ้าสมาธิองค์ ๑ พระเจ้ายืนองค์ ๑ (๑) แล้วตรัสถามพระสังฆราชว่า เงินคงอยู่ในพระสุธาบัดนี้ สั่งสอน โลกทั้งปวงให้กระทำทานด้วยทองด้วยเงิน แล้วจะไปได้สมบัติฟากฟ้านั้นจะได้ด้วยกุศลตัวใด ครั้นพระสังฆราชถวายวิสัชนาแล้ว จึงตรัสนิมนต์พระเทพกวีออกไปเมืองกัมพูชา พระพรหมมุนีไปนครศรีธรรมราช ขนคัมภีร์พระวิสุทธิมรรคเอาเข้ามาฐาปนาการไว้แล้ว สั่งปลัดวังให้หาเจ้าตลาดบกตลาดเรือเข้ามา ทรงพระกรุณาจะทายว่า คนนั้นกับผู้นั้นจะ.............( ต้นฉบับชำรุด ).....................แล้ว จะให้รู้จักว่าหญิงนั้นรักราคหรือรักธรรม.......( ต้นฉบับชำรุด )........ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม พระยาทุกขราษฎร์ กรมการ พระกุย พระปรานบุรี บอกส่งคนบ่าวข้าทูลละอองธูลีพระบาท ซึ่งลามูลนายออกไปทำกิน และที่ออกไปทั้งครอบครัวก็มีบ้าง ลุศักราช ๑๑๓๐ ปีจอสัมฤทธิศก ครั้นปีกุรเอกศก ( พ.ศ. ๒๓๒๒ ) _________________________________________________________ (๑) พระราชปุจฉาเพื่อบำรุงการศึกษาพระธรรมวินัยให้รุ่งเรือง เป็นพระราชประเพณีสืบมาเกือบทุกรัชกาลในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ๘๗ (๑) (๒) ดำรัสให้พระเจ้ากษัตริย์ศึกเป็นจอมทัพ ไปกระทำแก่กรุงศรีสัต นาคนหุตได้ จึงอัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตลงมาณกรุงธนบุรี (๓) พระเจ้าอยู่หัวให้แต่ง โรงรับเสด็จขึ้นประดิษฐานไว้ณข้างพระอุโบสถ วัดแจ้ง แล้วก็กระทำมหันตสักการสมโภชเป็นอันมาก ในปีนั้นมหาดาบวชอยู่วัดพระราม ประพฤติพาลทุจจริตมิได้ตั้งอยู่ในศีลสังวรวินัย กอบด้วยการโกหกล่อลวงคนให้ลุ่มหลง กำเริบจิตต์คิดการกบฎต่อแผ่นดิน จึงตรัสให้คุมเอาตัวลงมาสิ้นทั้งพรรคพวก แล้ว ให้ประหารเสียณท้ายป้อมวิชัยประสิทธิ์ อนึ่งในปีชวดโทศก ( จ.ศ. ๑๑๔๒ พ.ศ. ๒๓๒๓ ) นั้น ให้จับ (๔) ญวนกบฏมาประหารเสียทั้งพรรคพวกเป็นอันมาก _________________________________________________________ (๑) จดหมายเหตุโหรฉบับรามัญว่า พระยาจักรี พระยาสรศรี พระยาโคราช ยก ทัพไปล้านช้าง (๒) พงศาวดารเชียงใหม่ว่า เมื่อกองทัพไทยชะนะเวียงจันท์แล้ว ส่งทหารแต่ เวียงจันท์ ๓๐๐ คนไปทางภาคเหนือ ทหารเหล่านั้นทำการข่มเหงให้ซาวเมืองเดือดร้อน มาก จนพระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางต้องทำการต่อสู้ (๓) จดหมายเหตุการรับและสมโภชพระแก้วมรกตมีข้อความพิสดารยังไม่ได้พิมพ์ (๔) จดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทร์ว่าเป็นเหตุการณ์ในปีฉลู พ.ศ. ๒๓๒๔ , ดูพงศาวดารญวน พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ เล่ม ๒ หน้า ๓๗๒, จดหมายเหตุโหรฉบับรามัญว่า พ.ศ. ๒๓๒๔ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ จับนายญวนกบฏฆ่า, ดูพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑ หน้า ๑๐๒ เรื่อง พระยาจีนจันตุ เขมร ลอบหนี, เล่ม ๒ หน้า ๒๓๘ เรื่องพระยาพระราม รามัญ ลอบ หนี, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ หน้า ๑๒๗ ๘๘ (๑) (๒) ครั้นปีฉลูตรี ศก ( จ.ศ. ๑๑๔๓ พ.ศ. ๒๓๒๔ ) เดือนยี่ ดำรัสให้ (๓) จัดทัพเป็น ๖ ทัพ ให้เจ้าพระยาสุรศรีเป็นทัพหน้า พระเจ้ากษัตริย์ ศึก (๔) เป็นจอมพลทัพหลวง กรมขุนอินทรพิทักษ์เป็นทัพหนุน เจ้าพระยา _________________________________________________________ (๑) จดหมายเหตุห้องอาลักษณ์ว่า ณวันจันทร์ เดือน ๗ ขึ้น ๖ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๓ ปีฉลูตรีศก เพลาเช้าเสด็จออกท้องพระโรง เจ้าพระยาแลพระยาพระหลวงขุนหมื่น ข้าทูลละอองฯ เข้าเฝ้าพร้อมกันณ พระที่นั่ง เสด็จ ฯออกทรงแต่งพระราชสารออกไป จิ้มก้องสมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิ้งเมืองปักกิ่งฉบับหนึ่ง พระยาพิพัฒโกษาเป็นผู้เขียน รับสั่ง แลกรมท่าได้จดหมายบอกเจ้าพนักงานทั้งปวงทุกพนักงาน ( มีข้อความพิสดารยัง ไม่ได้พิมพ์ ), จดหมายเหตุโหร ฉบับรามัญว่า จ.ศ. ๑๑๔๓ พระเจ้าแผ่นดินเมืองบางกอก ทรงทำบุญตั้งแต่เข้าพรรษาครึ่งเดือน เย็บจีวร ๔๓๓ ไตร สะบง ๗๐๐๐ สงฆ์ทั้งหลายเย็บ ทำบุญด้วยพระเจ้าแผ่นดิน แล้วพระราชทานแก่เจ้านายแลขุนนางทั้งหลายทอดพระกฐินทั่ว ทั้งอโยธยา มิได้ว่างเว้นสักสถานหนึ่งเลย เดือน ๑๐ เดือน ๑๑ พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานเงินคนยากจนแลข้าราชการน้อยใหญ่เป็นอันมาก, จดหมายเหตุทรงตั้งเจ้าประเทศราชว่า ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้านันทเสนคืนเมืองเป็นเจ้าขันธเสมา นามขัติยราช เป็นพระเจ้านันทเสนราชพงศ์มลาน เจ้าพระนครเวียงจันทบุรี เศกไปณวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๓ ปีเถาะ ( พ.ศ. ๒๓๒๔ ) (๒) จดหมายเหตุโหรยุติต้องกันหมดทุกฉบับว่า โปรดให้ยกทัพไปเขมรเดือนยี่ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๒๔ ตรงตามพระราชพงศาวดารฉบับนี้ ก่อนเกิดกบฏเพียงเดือนเศษ (๓) ดูพงศาวดารญวน เล่ม ๒ หน้า ๓๗๘ (๔) เป็นแม่ทัพใหญ่, ดำรงพระราชตำแหน่งสมเด็จพระมหาอุปราชกรุงธนบุรี ดู ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๙ หน้า ๑๒๗ เป็นต้น



๘๙ (๑) นครสวรรค์เป็นยกรบัตร กรมขุนรามภูเบศรเป็นทัพหลัง พระยาธรรมา (๒) เป็นกองลำเลียง ยกไปตีเมืองพุทไธเพ็ชร์ ฝ่ายการแผ่นดินข้างกรุงธนบุรีนั้นก็ผันแปรต่าง ๆ เหตุพระเจ้า แผ่นดินเสียพระจริตฟั่นเฟือนไป ฝ่ายพุทธจักรอาณาจักรทั้งปวงเล่า ก็แปรปรวนไปเป็นหมู่ ๆ มิได้ (๓) เป็นปกติเหมือนแต่ก่อน เหตุพระเจ้าแผ่นดินนั้นทรงนั่งอูรุพัทธ์ โดย พระกรรมฐานสมาธิ และจะยังภิกษุทั้งปวงให้คารวะเคารพนบนนัสการแก่พระองค์ ฝ่ายการในอากาศเล่า ก็วิปริตต่าง ๆ คือมีอุกาบาตและ (๔) ประทุมกาษบันดาลตกเป็นต้น ณวันเสาร์ เดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๓ ปีฉลูตรีศก ( จ.ศ. ๑๑๔๓ พ.ศ. ๒๓๒๔ ) ไพร่พลเมืองกำเริบ คิดพร้อมกันจะยุทธนาการปล้นเอาเมือง ด้วยพระเจ้าแผ่นดินมิได้ตั้งอยู่ในทศพิธ ราชธรรม ๑๐ ประการ ให้นัยแก่คนพาล ให้ฟ้องร้องข้าทูลละออง ฯ

(๑) นามเดิมว่า บุญรอด ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เป็นเจ้าพระยา ธรรมา แล้วต่อ ๆ มาได้เป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (๒) คือกรุงกัมพูชา (๓) นั่งอูรุพันธ์ หมายความว่าประทับขัดสมาธิ์เจริญพระสมาธิ ตามลักษณะการปฏิบัติธรรมชั้นสูง เป็นสำนวนที่ใช้อยู่ในหนังสือวิสุทธิมรรค (๔) น่าจะเป็น ธูมเกต ๑๒ ๙๐

(๑) ใหญ่น้อย ข้างหน้าข้างใน อาณาประชาราษฎรทั้งหลาย ว่าขายข้าว (๒) ขายเกลือ ขายนอ, งา, เนื้อไม้ สิ่งของต้องห้ามทั้งปวง ไม่ขายว่า (๓) ขาย ไม่ลักว่าลัก แต่พวกโจทก์ ถึง ๓๓๓ คน มีพันศรีพันลาเป็นต้น เอาฟ้องมายื่นแก่โยธาบดี ๆ บังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน ๆ พิพากษากลับเท็จเป็นจริง บังคับว่าถ้าโจทก์สาบานได้ ให้ปรับไหมลงเอาเงินแก่ (๔) จำเลยตามโจทก์หามากแลน้อย ถ้าจำเลยมิรับ ให้เฆี่ยนขับตบต่อยบ้างตายบ้างลำบากเป็นอันมาก แล้วล่อลวงให้ลุกะโทษตามมีแลยากฝ่ายข้าราชการแลราษฎรกลัวภัยคิดรับลุกะโทษเปล่า ๆ ว่าขายสิ่งของ _________________________________________________________ (๑) ดูประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ หน้า ๑๓๖ ว่าด้วยเรื่องข้าวแพง, กฎหมาย ฉบับตราสามดวง ว่าด้วยพระราชกำหนดใหม่ บทที่ ๒๔ และบทที่ ๔๓, หนังสือ ประวัติศาสตร์สมัยปฏิวัตรฝรั่งเศส และสมัยนะโปเลียนโบนาปารต ภาคที่ ๑ หน้า ๒๖๖ (๒) เกลือเพิ่งมีภาษีเมื่อรัชกาลที่ ๓ ดูลัทธิธรรมเนียม ภาคที่ ๑๖ (๓) จดหมายเหตุโหรฉบับพระอมราภิรักขิต ( เกิด ) วัดบรมนิวาส ว่ามีโจทก์ เพียง ๓๓ คน (๔) ดูพระราชบัญญัติยกเลิกวิธีพิจารณาโจรผู้ร้ายตามจารีตนครบาล ตราเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๕, กฏหมายตราสามดวง ลักษณะขบถศึก มาตรา ๒๘ ( กฏหมายเก่า ฉบับมิศบรัดเล พิมพ์ครั้งที่ ๑๐ เล่ม ๒ หน้า ๑๑๖ ) หนังสือพระราชดำรัสในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๐ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร หน้า ๖๒, กฏมนเทียรบาล ใน กฏหมายเก่า ฉบับมิศบรัดเล พิมพ์ครั้งที่ ๑๐ เล่ม ๒ หน้า ๑๑๖ ข้อสุด อันว่าด้วยผู้ ละเมิดพระราชอาชญา


๙๑ ต้องห้ามไปต่างประเทศ เป็นเงินกู่เงินเหรียญคนละ ๑๐๐ ชั่งบ้าง ๒๐๐ ชั่งบ้าง สำคัญว่าสิ้นโทษแล้ว ครั้นมีผู้มาฟ้องกลับพิจารณาหาสิ่งของต้องในลุกะโทษ มากน้อยเท่าใดหักเสียเท่านั้น ที่เหลือและต่างกันให้ปรับไหม ถ้ารับตามฟ้องปรับทวีคูณเอาเงินกึ่งหนึ่ง ถ้าไม่รับจนลงหวายจึงรับให้ปรับจตุรคุณ ที่คนมีก็ให้ได้ ที่หาไม่ก็ขัดสนทนเร่งไป ทุกวันทุกเวลากว่าจะได้ บ้างตายบ้างลำบากได้ความยากไปจนหัวเมืองเอก, โท, ตรี, จัตวา มีหน้าคล้ำไปด้วยน้ำตา ที่หน้าชื่นตาบานแต่ฝ่ายคนพาลซึ่งเป็นโจทก์ อาศัยเหตุอาสัจอาธรรมบังเกิดมีดังนี้ (๑) นายบ้านนายอำเภอไพร่พลเมือง จึงคิดควบคุมกันเป็นหมวดเป็นกองพร้อมกันฆ่าอ้ายวิชิตณรงค์ผู้รักษา ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินให้ไปพิจารณาเงินจีนนั้น จึงเอาพระยาสรรค์ซึ่งรับสั่งใช้ขึ้นไปพิจารณาเอาตัวผู้ร้าย นั้นเป็นแม่ทัพยกลงมาตีเอาเมืองธนบุรี ณเพลา ๑๐ ทุ่มเข้าล้อมกำแพงวังไว้รอบ พระยาสรรค์ตั้งอยู่ณบ้านกรมเมือง พระเจ้าแผ่นดินรู้เหตุ ก็เกณฑ์คนขึ้นรักษาหน้าที่ไว้ (๒) ครั้นรุ่งขึ้นณวัน ๑๔ ค่ำให้พระราชาคณะออกมาเจรจาความ เมือง สารภาพว่าผิดขอชีวิตจะบรรพชา ต่อพระยาสรรค์ ในวันนั้นเพลา ๓ ทุ่ม พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงพระผนวชณพัทธเสมาวัดแจ้ง อยู่ _________________________________________________________ (๑) ดูจดหมายเหตุปูนบำเหน็จ ฉบับลงวัน ๑ ค่ำ จ.ศ. ๑๑๔๔ มีพิมพ์อยู่ ในหนังสือวชิรญาณ (๒) จดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทร์ว่า พวกกบฏขอให้พระราชาคณะเข้าไปเฝ้าถวายพระพร

๙๒ ในราชสมบัติ ๑๕ ปี พระยาสรรค์จึงแต่งทหารไปพิทักษ์รักษาไว้ (๑) แล้วก็เข้าอยู่ในท้องพระโรงกับหลวงเทพน้องชาย จึงจับกรมขุน อนุรักษ์สงครามหลานเธอจำไว้ แล้วเอาเงินในท้องพระคลังแจก ทแกล้วทหาร กรมฝ่ายในฝ่ายหน้า ณวัน ๓ ๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๔ ปีขาล จัตวาศก ( พ.ศ. ๒๓๒๕ ) เพลาเที่ยง เห็นดวงพระจันทร์ปรากฏกลางวัน ครั้นถึงณวัน ๖๕ ค่ำ พระยาสุริยอภัยยกกองทัพไทยลาวประมาณ ๑๐๐๐ เศษ ลงมาจากเมืองจีนราชสีมา มาตั้งอยู่ณบ้าน ครั้งนั้น ข้าราชการเป็น ๒ ฝ่าย เป็นพวกพระยาสรรค์บ้าง เป็นพวกพระยาสุริยอภัยบ้าง การยุทธนาการมิได้สงบเลย ถึงณวัน ๓๕ ค่ำ พระยาสรรค์, พระยามหาเสนา, พระยา (๒) รามัญวงศ์ คบคิดกันปล่อยกรมขุนอนุรักษ์สงครามออกจากเวนจำ ให้ไปณบ้านแต่เพลาพลบค่ำ ตั้งค่ายวางคนรายโอบลงมาวัดบางว้าเพลา ๓ ยามจุดไฟขึ้นณบ้านปูนแล้วยกลงมา ฝ่ายพระยาสุริยอภัยจะได้สะดุ้งตกใจหามิได้ ไล่โยธาทหารให้เข้ารบต้านไว้ วางคนรายกันไป ที่ได้รบหน้าให้วางปืนตับแตกกระจายออก ครั้นเห็นไฟไหม้มาใกล้ _________________________________________________________ (๑) จดหมายเหตุโหรว่า จ.ศ. ๑๑๔๒ วัน ๖๗ ค่ำ ริบเครื่องยศเจ้าวังนอก" หมายความว่า กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ที่เรียกว่าพระเจ้าลูกเธอวังนอกนั้น ต้องโทษมา แต่ปีชวด จ.ศ. ๑๑๔๒ ก่อนเกิดกบฏปีเศษแล้ว มิใช่เพิ่งถูกจับคราวนี้ (๒) ในจดหมายเหตุปูนบำเหน็จว่า กรมขุนอนุรักษ์สงครามร่วมคิดกับพระยาสรรค์พระยามหาเสนา และข้าราชการ

๙๓ คฤหสถานที่อยู่ จึงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ฯ ข้า ฯ บำเพ็ญศีลทานการกุศลใด ๆ ก็ปรารถนาพระโพธิญาณสิ่งเดียว เดชะความสัจฉะนี้ ขอจงพระพายพัดกลับคืนไป อย่าให้ไฟไหม้มาเถิงบ้านเรือน ฯ ข้า ฯ ได้เลย พอตกวจีสัตยาธิษฐานลงลมก็พัดกลับคืนไป เพลิงก็ไหม้อยู่แต่ภายนอกบ้าน ประจักษ์แก่ตาคนทั้งปวง แต่รบกันสามารถจนรุ่งเห็นตัวกันจึง รู้ว่าอนุรักษ์สงครามมารบ ครั้นเพลา ๕ โมงเช้า ขุนอนุรักษ์สงครามและพรรคพวกพลแตกหนีไป ตามจับได้ในวันนั้นจำครบไว้ สืบ เอาพวกเพื่อนได้เป็นอันมาก ณวัน ๗๕ ค่ำ เพลาเช้า ๒ โมง เสด็จพระราชดำเนินทัพมาจาก เสียมราบ ประทับณพลับพลาหน้าวัดโพธาราม ฝ่ายข้าทูลละออง ฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อยพร้อมกันไปเชิญเสด็จลงเรือพระที่นั่งกราบ ข้ามมาพระราชวังสถิตณศาลาลูกขุน มีหมู่พฤฒามาตย์ราชกุลกวีมุขเฝ้าพร้อมกัน จึ่งมีพระราชบริหารดำรัสปรึกษาว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินอาสัจละ สุจริตธรรมเสีย ประพฤติการทุจริตฉะนี้ ก็เห็นว่าเป็นเสี้ยนหนามหลักตออันใหญ่อยู่ในแผ่นดิน จะละไว้มิได้ ขอให้ปริวัตรออกประหารเสีย ฝ่ายทแกล้ว ทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้นเป็นอันมาก ก็นำเอาพระเจ้า (๑) แผ่นดินและพวกโจทก์ทั้งปวงนั้นไปสำเร็จณป้อมท้ายเมืองในทันใดนั้น แล้วสมณะชีพราหมณ์เสนาพฤฒามาตย์ราษฎรทั้งปวง ก็ทูล _________________________________________________________ (๑) จดหมายเหตุโหรว่า "ขุนหลวงดับขันธ์" ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ดูลำดับสกุลเก่าบางสกุล ภาคที่ ๔ สกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี

๙๔ อาราธนาวิงวอนอัญเชิญเสด็จขึ้นปราบดาภิเษก เป็นอิศวรภาพผานพิภพสืบไป พระเจ้าอยู่หัวจึงไปนมัสการพระแก้วมรกต แล้วเสด็จประทับแรมณพลับพลาหน้าหอพระนั้น (๑) ครั้นณวัน ๑๕ ค่ำ พระเจ้าหลานเธอให้ตำรวจคุมเอาตัวขุน อนุรักษ์สงครามกับข้าหลวงซึ่งเป็นพรรคพวก ๔๐ เศษ มีอ้ายพระยา เพ็ชรพิชัย, พระยากลางเมือง, พระยามหาอำมาตย์ และพระ มหาเทพเหนือ หลวงคชศักดิ์ ราชรินทร์เหนือ เป็นต้น เข้ามาหน้า พระที่นั่งแล้วกราบทูลความทั้งปวง จึงดำรัสให้เอาพรรคพวกไปฆ่าเสีย แต่ขุนอนุรักษ์สงครามนั้นให้งดไว้พิจารณา จึงให้การถึงพระยาสรรค์, พระยามหาเสนา, พระยารามัญวงศ์ และพระยาวิชิตณรงค์ หลวง พัสดีกลาง พระเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธให้ประหารเสีย ครั้นณวัน ๒๕ ค่ำ ปูนบำเหน็จข้าหลวงซึ่งมีความชอบโดยฐานาศักดิ์เป็นลำดับกัน แล้วทรงพระดำริว่า ราชฐานใกล้อุปจารอาราม ทั้งสองข้างมิบังควร จึงดำรัสสั่งพระยาธรรมา, พระยาวิจิตรนาวี ให้สถาปนาพระราชนิเวศใหม่ณฟากเมืองข้างตะวันออก ครั้นณวัน ๖๖ ค่ำ เพลาบ่าย ๔ โมง เสด็จสถิตแรมอยู่ยังท้องพระโรง ให้ชำระโทษฝ่ายใน ณวัน ๒๖ ค่ำ เพลา ๕ โมงเช้า สมเด็จพระอนุชาธิราช ล่าทัพ

(๑) จดหมายเหตุโหรฉบับรามัญว่า พระยาจักรีกลับจากเมืองญวนเข้าเมืองบางกอกแล้วฆ่าพระเจ้าแผ่นดินเก่าเสีย อยู่มาสัก ๑๐ วันก็ฆ่าพระยาสรรค์เสียอีก

๙๕ (๑) (๒) มาจากกรุงกัมพูชาธิบดีกราบทูลว่า ขุนอินทรพิทักษ์ ขุนชะนะ ตั้งอยู่เกาะพนมเพ็ง ๒๐๐ ให้เขมร ๓๐๐๐ ญวน ๘๐๐๐ ล้อมไว้ ครั้นณวัน ๑๖ ค่ำ สมเด็จพระอนุชาธิราชจึงชุมพล ๖๐๐๐ เศษแยกกันออกเป็นหลายกอง ไปล้อมจับขุนอินทรพิทักษ์ได้ที่ตำบล เขาน้อยใกล้ปถวี ทั้งขุนชะนะและพรรคพวกเป็น ๗ คน คุมเอาตัวลงมาณเมืองธนบุรี ณวัน ๗๖ ค่ำ กราบทูลพระกรุณาแล้วให้ประหารเสีย ณวัน ๒๖ ค่ำ ปีขาลจัตวาศก ( จ.ศ. ๑๑๔๔ พ.ศ. ๒๓๒๕ ) แรกจับการตั้งวังใหม่ ครั้นณวัน ๒๘ ค่ำ ให้ตั้งการพระราชพิธีครบ ๓ วัน แล้วรุ่งขึ้น ณวัน ๕๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๔ ปี เพลาเช้า ๔ บาท อำมฤคโชคอุดมฤกษ์ พระสุริยเทพบุตร์ทรงกลดจำรัสดวง พระเจ้าอยู่หัวเสด็จทรงเรือพระที่นั่งศรีสักหลาด พร้อมด้วยเรือจำนำท้าวพระยาสามนตราชทั้งปวงแห่แหนหน้าหลังเป็นขะบวน เสด็จข้ามฟากมาณฉนวนน้ำฟากตะวันออกขึ้นเถลิงพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน พร้อมด้วยหมู่มุข มาตยามนตรีกวีชาติ ราชสุริยวงศ์ พงศ์พฤฒาโหจารย์ แซ่ซร้อง ถวายชัยมงคลแลราชสมบัติกกุธภัณฑ์สำเร็จแล้ว จึงพระสังฆราชราชาคณะ ฝ่ายคามวาสีอรัญวาสี พร้อมกันถวายพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิ _________________________________________________________ (๑) สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ (๒) เจ้าพระยานครราชสีมา


๙๖ ราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนาภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนศวรนาถนายก ดิลกนพรัตนราช ชาติอาชาวไศรย สมุท ยุตโรมล สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หรินทราธาดา ธิบดี ศรีสุวิบุล คุณอักนิฐ ฤทธิราเมศวรธรรมิกราชาธิราช เดโชชัยพรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศ โลกเชฐวิสุทธิ์ มกุฎประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมนาถบรมบพิตร์พระพุทธเจ้าอยู่หัว อันเสด็จปราบดาภิเษกผ่านพิภพกรุงเทพ ทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัฐราชธานีบุรีรมย์ อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน มีพระราชโองการ ดำรัสให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นอุปราช โดยดังบุพจารีตพระมหากษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อน ฝ่ายข้างกรุงอังวะนั้น มองหม่องฆ่าจิงกูจาเสียแล้วขึ้นปราบดาภิเษก จึงโพเชียงซึ่งเป็นน้องมังลอกนั้น คิดฆ่ามองหม่องเสียว่าราชการอยู่ ๗ วัน แล้วยกสมบัติให้แก่มังแวงมังจูผู้พี่ ในศักราช ๑๑๔๔ ปี อะแซวุ่นกี้ตะแคงมะระน้อง คิดการกบฎจะคืนเอาสมบัติให้แก่โพเชียง ฝ่าย มังแวงปาตุงรู้รหัสเหตุนั้น จึงให้จับโพเชียงอะแซวุ่นกี้ตะแคงมะระน้องประหารชีวิตเสีย ครั้นศักราช ๑๑๔๖ ปี พระเจ้าอังวะให้แองแซะราชปีโยรส ยกพยุหเสนาโยธาทัพกลับคืนไปกรุงปุระอังวะดังเก่า (ฉบับมีอยู่เพียงเท่านี้)


สำเนาท้องตราปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๑๖

ฉบับที่ ๑ ( ตอนต้นขาด )........................................................................ ราชามาตย์หาพรรคพวกสมกำลังให้พร้อมมูลกัน ยกลงไปขุดคูเลน พระนครเมืองธนบุรี ตามมีตราโปรดขึ้นมาแต่ก่อน ครั้นหนังสือนี้มา เถิงวันใด ก็ให้พระยายมราชทำตามหนังสือมานี้ หนังสือมา ณวัน ๒๓ ค่ำ มีมะเส็งเบญจศก ( จ.ศ. ๑๑๓๕ พ.ศ. ๒๓๑๖ ) วัน ๓๓ ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก เวลาย่ำฆ้องรุ่ง ได้ส่งตราสัง ขึ้นไปเถิงพระยายมราชนี้ ให้หมื่นพุฒวิเศษถือไปแล้ว

ฉบับที่ ๒ หนังสือเจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงพระยานครชัยสิน พระท่าโรง พระคาพราน พระชัยบาดาล ด้วยมีตรารับสั่งขึ้นมาแต่ก่อนว่า เจ้าพระยานครราชสีมาบอกลงมาว่า พะม่าซึ่งตั้งอยู่บ้านลาดภูเขียวนั้นยกไปทางเมืองโขง จะลงไปเกลี้ยกล่อมเขมร แล้วมีหนังสือพระปราจินบุรี เข้ามาว่า พะม่าแลลาวยกมาตั้งอยู่ทับเสม็ด จะไว้ใจแก่ราชการ มิได้ จึ่งให้พระยานครชัยสิน พระท่าโรง พระคาพราน พระ ชัยบาดาล กรมการ เกณฑ์ทัพเตรียมไว้สำหรับเมือง อย่าให้ลงไป



๙๘ ขุดคูเลนเลย แจ้งอยู่ในท้องตรานั้นแล้ว แลบัดนี้มีหนังสือนายทัพ นายกอง ซึ่งขึ้นไปทำการรบพุ่งพะม่าณเมืองพิชัยนั้นบอกลงมาว่า ได้รบพุ่งพะม่าล้มตายเป็นอันมาก พะม่าแตกหนีไปสิ้นแล้ว จึ่งทรงพระกรุณาสั่งว่า ถ้าราชการทางเมืองท่าโรง เมืองบัวชุม เมืองคาพราน เมืองชัยบาดาน สงบอยู่ ก็ให้พระยานครชัยสิน พระคาพราน พระ ชัยบาดาล พระท่าโรง คุมพรรคพวกสมกำลังลงไปจับการขุดคูเลน ทำการพระนครให้พร้อมกัน แต่ในเดือน ๓ ข้างขึ้น ปีมะเส็งเบญจศกตามมีตราโปรดขึ้นมาแต่ก่อน ครั้นหนังสือมาเถิงวันใด ก็ให้พระยา นครชัยสิน พระคาพราน พระชัยบาดาล พระท่าโรง กรมการ ทำ ตามหนังสือมานี้ หนังสือมาณวัน ๒๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๕ ปี มะเส็งเบญจศก ( พ.ศ. ๒๓๑๖ ) ณวัน ๓๓ ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก เวลาย่ำฆ้องรุ่ง ได้ส่งตรา เมืองบัวชุม เมืองคาพราน เมืองบาดาล เมืองท่าโรง ๔ เมืองนี้ให้ หมื่นพุฒวิเศษถือไป เรือยาว ๕ วา พลพาย ๗ คน

ฉบับที่ ๓ หนังสือเจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงพระยาสุนทรพิพิธ ด้วยมีตรารับสั่งให้พระยาสุนทรพิพิธขึ้นมารับครอบครัวลงไปณเมืองธนบุรีนั้น บัดนี้ มีหนังสือนายทัพนายกองเมืองพิชัยบอกมาว่า ได้รบพุ่งพะม่าล้มตายเป็นอันมาก พะม่าแตกหนีไปสิ้นแล้ว อย่าให้พระยาสุนทรพิพิธรับครอบครัว


๙๙ ลงไปณเมืองธนบุรีเลย ให้พระยาสุนทรพิพิธคุมเอาพรรคพวกสมกำลังลงไปขุดคูเลนพระนครเมืองธนบุรี ตามเกณฑ์ตามรับสั่งอย่าให้ขาดได้ หนังสือมาณวัน ๓๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๕ ปีมะเส็งเบญจศก ( พ.ศ. ๒๓๑๖ ) ณวัน ๓๓ ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก เวลาย่ำฆ้องรุ่ง ได้ส่งตรา ถึงพระยาสุนทรพิพิธนี้ ให้หมื่นพุฒวิเศษถือไป เรือยาว ๕ วา พลพาย ๗ คน

ฉบับที่ ๔ หนังสือเจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงพระยาสุพรรณบุรี พระยาอ่างทอง พระชัยนาท พระสิงห์ พระพรหม พระยาลพบุรี หลวงอินทบุรี ด้วย มีตรารับสั่งออกมาแต่ก่อนว่า เกณฑ์ ให้ผู้รักษาเมืองกรมการคุมเลกพรรคพวกสมกำลังเข้าไปขุดคูเลนพระนครให้สิ้นเชิง กำหนดให้เข้า ไปจับการให้พร้อมกัน แต่ในเดือน ๓ ขึ้นค่ำหนึ่ง แจ้งอยู่ในท้องตรา แต่ก่อนนั้นแล้ว แลผู้รักษาเมืองกรมการ ยังมิได้คุมพรรคพวก สมกำลังลงไปขุดคูเลนทำการพระนคร ตามท้องตรารับสั่งกำหนดขึ้นมาหามิได้ แลบัดนี้มีหนังสือนายทัพนายกอง กรุง ฯ แลหัวเมืองซึ่ง ขึ้นไปทำการรบพุ่งพะม่าณเมืองพิชัยบอกลงมาว่า ได้รบพุ่งพะม่าล้มตายเป็นอันมาก พะม่าแตกหนีไปแต่ณวัน ๒ ค่ำสิ้นแล้ว จึ่งทรง ฯ สั่งว่า ให้ผู้รักษาเมืองกรมการ เร่งคุมพรรคพวกสมกำลัง ลงมาจับ


๑๐๐ การขุดคูเลนพระนครให้พร้อมกัน แต่ในเดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ ๑๐ ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก ให้ครบตามเกณฑ์ตามมีตราโปรดขึ้นมาแต่ก่อน ครั้นหนังสือนี้มาเถิงวันใด ก็ให้ผู้รักษาเมืองกรมการทำตามหนังสือมานี้ หนังสือมาณวัน ๒๓ ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก ( พ.ศ. ๒๓๑๖ ) ณวัน ๓๓ ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก เวลาเช้า ๔ โมง ได้ส่งตรา เมืองสิงห์ เมืองพรหม เมืองชัยนาท เมืองอินท์ ๔ ใบ ให้หมื่น ภัยนรินทร์ถือไป เรือยาว ๕ วา ๒ ศอก พลพาย ๖ คน ได้ส่งตรา เมืองลพบุรี ให้หมื่นพุฒวิเศษถือไป เรือยาว ๕ วา พลพาย ๗ คน

ฉบับที่ ๕ หนังสือเจ้าพระยาจักรีฯ มาเถิงพระยา............( ลบ )........... พระยาอ่างทอง พระสิงห์ พระพรหม พระชัยนาท พระยาสุพรรณบุรี หลวงอินทบุรี หลวงอิณเทพ กรมช้าง กรมม้า ด้วยทรงพระ กรุณา ฯ สั่งว่า มีหนังสือพระปราจินบุรีบอกข้อราชการเข้ามาว่า พะม่าแลลาวยกเข้ามา สอดแนมเข้าไปดูเห็นคนประมาณ ๔๐๐ คน ตำบลทัพเสม็ด แล้วยกเข้ามาตั้งค่ายอยู่ตำบลท่ากระเล็ม นอกด่านพระ จารีด ทางประมาณ ๓๐๐ เส้น พบแต่ณเดือน ๓ ขึ้นค่ำหนึ่ง ให้ พระยายมราช พระยาลพบุรี พระยาอ่างทอง พระสิงห์ พระพรหม พระยาสุพรรณ พระชัยนาท หลวงอินทบุรี หลวงอิณเทพ กรมการ กรมช้าง กรมม้า ยกกองทัพก้าวสะกัดลงไปทางเฉียงเหนือตะวันออก


๑๐๑ เมืองปราจิน ก้าวสะกัดวกหลังไว้อย่าให้พะม่าหนีได้ จะเสด็จ ฯ ยกกองทัพหลวงออกไป ถ้าพะม่าเข้ามาถึงเมืองปราจิน เมืองฉะเชิงเทราแล้ว จึงจะยกกองทัพหลวงตีให้แตกฉาน ให้พระยายมราช พระยาลพบุรี พระยาอ่างทอง พระสิงห์ พระพรหม พระยาสุพรรณบุรี พระชัยนาท หลวงอินทบุรี หลวงอิณเทพ กรมการ และกรมช้าง กรมม้า ซึ่งไปก้าวสะกัดวกหลังจับกุมเอาตัวจงได้ให้สิ้นเชิง เถีงทัพเมืองฉะเชิงเทรา หัวเมืองปากใต้ ก็จะให้ยกก้าวสะกัดหลังทางคืนหนึ่งสองคืนได้แล้ว ทัพหลวงจึ่งจะตี แลให้พระยายมราช พระยาลพบุรี พระยาอ่างทอง พระสิงห์ พระพรหม พระยาสุพรรณบุรี พระชัยนาท หลวงอินทบุรี หลวงอิณเทพ กรมการ กรมช้าง กรมม้า เร่งยกตาม ได้ ไปก้าวสะกัดหลังตามรับสั่ง กองทัพหลวงจะเสด็จยกออกจากเมืองธนบุรี เดือน ๓ ขึ้น ๑๑ ค่ำ แลพระยายมราชนั้น ถ้าราชการฝ่ายทางเมืองท่าโรง เมืองบัวชุม เมืองเพ็ชรบูร สงบอยู่แล้ว ก็ให้เร่งยกไป ให้พระยาสุพรรณบุรี พระสิงห์ พระพรหม พระชัยนาท หลวงอินทบุรี หลวงอิณเทพ กรมการ กรมช้าง กรมม้า เข้ากองไปด้วยพระยาอ่างทอง ให้ยกทัพขึ้นทางกรุง ฯ อย่าให้อยู่ท่าพระยายมราชเลย ให้กรมช้างเอาช้างพระที่นั่งไปด้วย ๓-๔ ช้าง แลม้าซึ่งอยู่นอกกรุง ฯ นั้น ให้กรมการมาเอาไปให้สิ้น ครั้นหนังสือนี้มาเถิงวันใด ก็ให้พระยา ยมราช พระยาลพบุรี พระยาอ่างทอง พระสิงห์ พระพรหม พระชัยนาท หลวงอินทบุรี หลวงอิณเทพ กรมการ กรมช้าง กรมม้า ซ้ายขวา เร่งยกไปให้ทันท่วงทีราชการตามหนังสือมาน มาณวัน ๔ ๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๕ ปีมะเส็งเบญจศก ( พ.ศ . ๒๓๑๖ ) ๑๐๒ วัน ๔๓ ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก เวลาเช้า ๒ โมงมีเศษ พณฯ สมุหนายกนั่งว่าราชการอยู่ณศาลาลูกขุน ท่านต้นเชือกได้เอาร่างตรา นี้อ่านเรียนแต่พณ ฯ สมุหนายกจนสิ้นข้อเนื้อความแล้วฯ พณฯ สมุหนายกสั่งให้ตกแซกลงบ้าง วงกาเสียบ้าง แล้วสั่งว่าให้เอาตามร่างนี้เถิด เมื่อสั่งนั้น ท่านฝ่ายเหนือ หมื่นทิพ นายแกว่น นายชำนาญ นั่งอยู่ด้วย วัน ๔๓ ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก เวลาเช้า ๒ โมงมีเศษ ได้ส่งตราซึ่งไปเถิงเมืองสุพรรณ...........( ลบ )...................................... ..................................................................................พระยายมราช ๑ พระยาลพบุรี ๑ ให้หมื่นภารคบชัยถือไป เรือยาว ๓ วา ๒ ศอก พลพาย ๓ คน วัน ๔๓ ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก เวลาย่ำฆ้องค่ำแล้ว ได้ส่งตราเมืองอินท์ เมืองชัยนาท ให้หมื่นสินสังหารถือไป เรือยาว ๔ วา ๔ ศอก พลพาย ๔ คน เมืองอ่างทอง เมืองสุพรรณ ให้พระยาอ่างทองถือไปแล้ว กรุง เมืองพรหม เมืองสิงห์ ได้ส่งพระพรหมถือไปแล้ว




๑๐๓ สำเนาท้องตราปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๑๗

ฉบับที่ ๑ ( ตอนต้นลบเลือนมาก )......................................................... หลวงพล กรมการ บอกหนังสือไปว่า.......................................... ไปฟังข่าวราชการพะม่าแล.....................บ่าวพระยาศรีสุริยวงศ์ ท้าวชิตแลเลกลวงแพ้ ยังมิได้สัก ๖๐ คน แลพระยาพิชัย พระยาศรีสุริยวงศ์ ลงมาแจ้งราชการมีเนื้อความเป็นหลายประการนั้น ได้เอาหนังสือบอกกราบทูลพระกรุณา ทรง ฯ สั่งว่า เจ้าพระยาสรศรี เจ้าพระยา สวรรคโลก พระยาพิชัย พระยาสุโขทัย ลงมาเฝ้าทูลละออง ฯ แจ้ง ราชการครั้งก่อนนั้น ทรง ฯ ได้ตรัสเนื้อความด้วยจำเพาะพระที่นั่งว่าเดือน ๑๐ หาราชการไม่ ให้พร้อมกันลงมาเฝ้าทูลละออง ฯ จะพระ ราชทานความรู้วิชาการให้ต้านต่ออริข้าศึก ครั้นเถิงกำหนดแล้ว เจ้าพระยาสวรรคโลก พระยาพิชัย มิได้ลงมาทูลละออง ฯ เหมือนเจ้าพระยาสรศรี พระยาสุโขทัย จึงให้ถามพระยาพิชัย ๆ สารภาพว่า มิได้ลงมาทูลละออง ฯ ตามกำหนดนั้น โทษผิดหนักหนา พระราชอาชญาเป็นล้นเกล้า ฯ ทรง ฯ ให้ลูกขุนณศาลาปรึกษาโทษ แลลูกขุนปรึกษา ทรงฯ สั่งให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยนพระยาพิชัยยกหนึ่ง ๓๐ ที เรียกทานบนไว้ ให้ทำราชการสืบไป ให้พระยาพิชัยกลับขึ้นมาเป็นแม่กองทัพ ก็เกณฑ์ผู้คนแบ่งกึ่งยกไปตามเสด็จฯ กระทำแก่เมืองเชียงใหม่


๑๐๔ ครั้งนี้ แลให้พระราชทานพระยาพิชัย ( คือ ) เสื้อเข้มขาบผืน ๑ ปืน คาบศิลารองทรงบอก ๑ ปืนใหญ่หน้าเรือ กินดิน ( หนัก ) ๑๕ กินดิน ๑๔ กินดิน ๑๒ กินดิน ๑๐ ( รวม ) ๔ บอก ปืนต้นเฉลี่ยอย่างยาว กินดิน ๒ ๒ บอก ปืนคาบศิลา ๒๘๐ ปืนอังกฤษ ต้น กลมหน้าช้างอย่างดี ๒๐ ( รวม ) ๓๐๐ ดีบุกหนัก ๑๐ สุพรรณถัน ๕ ............... (ต่อจากนี้ต้นฉบับลบ )............................แลได้ ...............( ต้นฉบับลบหมด )..............


ฉบับที่ ๒ หนังสือเจ้าพระยาจักรีมาเถิง.........พิชัยสงคราม........ศรีสวัสดิ ด้วย ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า ทัพหลวงจะเสด็จ ฯ ขึ้นไปปราบเมืองเชียงใหม่ณเดือน ๑๒ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก....................... ..........เมืองกาญจนบุรี เมืองศรีสวัสดินั้น เป็นเมืองหน้าด่าน.............. มัตมะ ถ้าแลเมืองมัตมะแตก...........ขัดสน............ปลาอาหาร...........เมืองกาญจนบุรี เมืองศรีสวัสดิ..................อย่าให้รามัญ...................ถ้าแล.................................ทัพกรุงขึ้นไป..................................ถ้ารามัญคนใดจะไปตามเสด็จ ฯ ก็ให้บอกส่งรามัญ....................กรุง ............................( ต่อจากนี้ต้นฉบับลบเลือนหมด ).........................


๑๐๕ ฉบับที่ ๓ วัน ๑๑๒ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก ได้เอาร่างตรานี้เรียนเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช ๆ สั่งให้เอาเทอญ ในทันใดได้ปิดตราส่งให้ขุนเดชะ ไปแล้ว

ฉบับที่ ๔ หนังสือเจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงเจ้าพระยาสวรรคโลก ด้วยเจ้าพระยาสวรรคโลก กรมการ บอกหนังสือให้พระยกรบัตรถือลงไปเป็นความว่า นายฝองหนีมาแต่กองทัพพะม่าให้การว่า พระเจ้าอังวะป่วยตาย ลูกพระเจ้าองัวะขึ้นเป็นเจ้าเมืองอังวะ แลอาฆ่าลูกเจ้าอังวะเสีย โปชุกพลา, มายุงวน ปรึกษากับนายกองทัพว่าจะยกลงไปเมือง ใต้ไม่ได้แล้ว โปชุกพลาก็ถอยไปตั้งอยู่ณบ้านจอมทอง แลกองทัพ ทั้งปวงต่างคนต่างไปเมือง กองทัพโปชุกพลาเรรวนจะไม่เข้าเมืองเชียงใหม่ จะไปเมืองอังวะ เจ้าพระยาสวรรคโลก กรมการ นายกอง นายหมวดแลไพร่มีน้ำใจสามิภักดิ์จะทำการเมืองเชียงใหม่ ให้ทูล เกล้า ฯ ถวายนั้น ลูกขุนศาลาปรึกษาว่า ซึ่งเจ้าพระยาสวรรคโลกกรมการ จะอาษาไปตีเมืองเชียงใหม่ทูลเกล้า ฯ ถวายนั้น เจ้าพระยา สวรรคโลกมิได้ทูลละอองฯ รับพระราชทานความรู้วิชาการ มีแต่ความ รู้เก่านั้น จะเอาชัยชำนะแก่พะม่าข้าศึกเห็นไม่ได้แล้ว เจ้าพระยา สวรรคโลกมีความผิด ล่วงพระราชอาชญามิได้ลงไปทูลละออง ฯ ตามกำหนด ได้มีตรารับสั่งให้หลวงมหามนตรี ขึ้นไปลงพระราชอาชญาจำเจ้าพระยาสวรรคโลกลงไปณเมืองธนบุรี ให้พระปลัดเป็นแม่กองทัพ ๑๐๖ เกณฑ์กรมการ แลคนแบ่งกึ่งไปตามเสด็จ ฯ อยู่แล้ว แลจะเอาเนื้อความกราบทูลพระกรุณาให้เจ้าพระยาสวรรคโลกอาษาไปมิได้ ให้เจ้าพระยาสวรรคโลกรับพระราชอาชญาจำลงไปตามมีตราโปรดขึ้น มาแต่ก่อน ถ้าแลหลวงขุนหมื่นกรมการผู้ใดจะมีน้ำใจอาษา เสด็จ ฯ ขึ้นไปเถิงหัวเมืองแล้วจึ่งให้กราบทูลพระกรุณา หนังสือมาวัน ๑๑๒ ค่ำ ศักราช ๑๑๓๖ ปีมะเมียฉอศก ( พ.ศ. ๒๓๑๗ ) วัน ๑๑๒ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก เพลาค่ำแล้ว เสด็จ ฯ ออกณพระ ที่นั่งตำหนักแพ หมื่นศรีสหเทพ จางวาง เอาหนังสือบอกเจ้าพระยา สวรรคโลกกราบทูลพระกรุณา ฯ ทรง ฯ โปรดเกล้า ฯ ทรงแต่ง ให้ พระยาพิพัฒโกษาเขียนหน้าพระที่นั่ง แลสั่งให้มีตราไปเถิงเมือง กาญจบุรี เมืองศรีสวัสดิ ตามเรื่องราวนี้ว่า ในทันใดวันเดียวนั้น ได้ปิดตราส่งให้พระยกรบัตรผู้ถือหนังสือถือไป ฉบับที่ ๕ หนังสือเจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงพระศรีสวัสดิ ด้วยทรงพระกรุณา ตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า เจ้าพระยาสวรรคโลก กรมการ บอกหนังสือ ลงไปว่า นายฝองชาวเมืองลับแล หนีมาแต่กองทัพโปชุกพลา ให้การว่า พระเจ้าอังวะเป็นไข้ตาย ลูกเจ้าอังวะผู้ตายขึ้นครองราชสมบัติแทนบิดา และอา น้องพระเจ้าอังวะผู้ตายชิงเอาสมบัติฆ่าหลานชายเสียนั้นให้พระศรีสวัสดิกรมการสืบให้รู้ว่า ผู้ใดได้ครองราชสมบัติเป็นแน่ให้เร่งบอกเข้ามาให้แจ้งฉับพลัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว

๑๐๗ จะได้อุบัติวิบัติโดยภายในให้เถิงแก่ความตาย ราชการเมืองอังวะจะได้เร็วเข้า ครั้นหนังสือนี้มาเถิงวันใด ก็ให้พระศรีสวัสดิ กรมการ เร่ง สืบสวนบอกเข้าไปให้แจ้งจงฉับพลัน หนังสือมาณวัน ๑๑๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๖ ปีมะเมียฉอศก ( พ.ศ. ๒๓๑๗ ) วัน ๑๑๒ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก ได้เขียนขึ้นกระดาษปิดตราแล้ว ให้นายอูรวงไปส่ง ให้นายมีผู้ถือหนังสือเมืองกาญจนบุรี กรมท่า ถือ ไปเมืองศรีสวัสดิด้วย เมื่อได้ส่งให้นั้นต่อหน้าเสมียนตรากรมท่ารู้เห็นด้วย

ฉบับที่ ๖ สารตรา ท่านเจ้าพระยาจักรี ฯ ให้มาแก่ผู้อยู่รักษาเมืองกำแพง เพ็ชร์ เมืองนครสวรรค์ ด้วยทรงพระกรุณา ฯ สั่งว่า ณวัน ๓๑๒ค่ำ ปีมะเมียฉอศก จะเสด็จ ฯ ขึ้นไปปราบเมืองเชียงใหม่ แลให้กรมการผู้อยู่รักษาเมืองปลูกพระตำหนักที่ประทับร้อน ประทับแรม แลตบแต่งตระเตรียมการซึ่งจะได้รับเสด็จฯ ไว้ให้สรรพ อนึ่ง ทาง แม่น้ำซึ่งจะเสด็จ ฯ ขึ้นไปนั้น ที่ใดเป็นโขดหาดหลักตออยู่นั้นให้กรมการ .........................................................................อย่าให้เรือพระที่นั่ง ..................โขดหาดได้...........................( ฉบับลบหมด )........

ฉบับที่ ๗ .............................( ตอนต้น ฉบับขาด ).................................


๑๐๘ ..............มีตรารับสั่งขึ้นไปแต่ก่อนว่า จะเสด็จขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ครั้งนี้ ให้ผู้รักษาเมืองกรมการ เกณฑ์เลกแบ่งกึ่งคอยรับเสด็จ ฯ นั้น บัดนี้ทรงพระกรุณา ฯ สั่งว่า ฤกษ์กำหนดจะได้เสด็จ ฯ ยกจากเมืองธนบุรี ณวัน ๓๑๒ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก แลให้กองทัพหัวเมืองซึ่งเกณฑ์ให้ รับเสด็จ ฯ ทั้งนี้ เร่งยกล่วงไปคอยรับเสด็จ ฯ ให้พร้อมกันณบ้านระแหงเมืองตาก ถ้าขัดสนด้วยเรือ ก็ให้ไปทางบก ให้เร่งยกขึ้นไปให้ทันกำหนด อย่าให้แล้ช้าอยู่ได้ และจะได้ยกจากเมืองวันใด ผู้คนช้างม้าเครื่องสาตราอาวุธมากน้อยเท่าใด ก็ให้บอกเข้าไปให้แจ้ง แลให้ พระสิงห์ กรมการ รับเอาตราเมืองอ่างทองเร่งแต่งคนถือไปส่งให้ พระยาอ่างทอง กรมการ จงฉับพลัน หนังสือมาณวัน ๑๑๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๖ ปีมะเมียฉอศก ( พ.ศ. ๒๓๑๗ ) วัน ๑๑๒ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก ได้ส่งตราเมืองสิงห์ เมืองอินท์เมืองพรหม เมืองชัยนาท เมืองสรรค์........................ ๖ เมืองนี้ให้หลวงยกรบัตรเมืองพิชัยถือไป แลตราเมืองอ่างทองให้เมืองสิงห์ แต่งคนถือไปเถิงพระยาอ่างทอง ตราเมืองสรรค์ ให้เมืองชัยนาทแต่งคนถือไปเถิงพระยาสรรค์ วัน ๒๑๒ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก ได้เขียนตราพระราชสีห์น้อยให้เมืองอ่างทองใบ ๑ เมืองสรรค์ใบ ๑ ( รวม ) ๒ เมืองสิงห์ใบ ๑ เมืองพรหมใบ ๑ เมืองชัยนาทใบ ๑ เมืองอินท์ใบ ๑ ( รวม ) ๔ เมืองใบ ๑ ( รวม )๖ ให้พระอนุชิตพิทักษ์................................... .........................


๑๐๙ ฉบับที่ ๘ ..............( ตอนต้นลบหมด ).................................................. ............ข้าทูลละอองฯ ให้หลวงขุนหมื่น ผู้ได้รับพระราชทานเลกเกณฑ์แบ่งอยู่ แบ่งไปตามกำหนด คุมเอาเลกไปเข้ากองพระยายมราชณ บ้านระแหงเมืองตาก แจ้งอยู่ในท้องตราแต่ก่อนแล้วนั้น เจ้าพระยานครราชสีมา พระยานครชัยสิน พระพิชัยสงคราม พระสรบุรี พระราชานุรัต พระท่าโรง กรมการ ได้เลกพระราชทานให้ข้าหลวง ฯ ได้คุมเลกยกไปเข้ากองทัพแล้วหรือประการใด มิได้บอกลงไปให้แจ้ง นั้น บัดนี้ทัพหลวง จะได้เสด็จ ฯ ขึ้นไปปราบเมืองเชียงใหม่ณเดือน ๑๒ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมะเมียฉอศกนี้เป็นแน่แล้ว ให้หมื่นอนันตศักดิ์ หัวหมื่นตำรวจขวา ขึ้นมาเร่งรัดให้พระพิชัยสงคราม พระสรบุรี ผู้กำกับ พระราชานุรัต พระท่าโรง ให้นายราชภักดี ตำรวจในซ้าย ขึ้นไปเร่งรัดให้เจ้าพระยานครราชสีมา กรมการ จัดเลกพระราชทานขุนหมื่น ข้าทูลละออง ฯ ให้ข้าทูลละออง ฯ ผู้ได้รับพระราชทานเลก เร่งรัดคุมเอาเลกไปเข้ากองทัพณเมืองตากบ้านระแหง ให้ทันกำหนดเสด็จ ฯ ตามมีตรารับสั่งโปรดขึ้นมาแต่ก่อน อย่าให้แล้ช้าอยู่ได้ ครั้นหนังสือนี้มาเถิงวันใด ก็ให้เจ้าพระยานครราชสีมา พระยานครชัยสิน พระพิชัยสงคราม พระสรบุรี พระท่าโรง กรมการ เร่งรัดจัดแจง เลกพระราชทานให้แก่ข้าหลวง แลให้ข้าหลวงเร่งรัดคุมเลกไปเข้า กองทัพรับเสด็จ ฯ ณเมืองตากบ้านระแหงเป็นการเร็ว แลข้าหลวง


๑๑๐ ถือตรามาเถิงวันใด เจ้าพระยานครราชสีมา พระยานครชัยสิน พระพิชัยสงคราม พระสรบุรี พระราชานุรัต พระท่าโรง กรมการ ได้จัดแจงเลกพระราชทานให้แก่ข้าหลวง ฯ ได้ยกวันใด ให้บอกลง ไปให้แจ้ง หนังสือมาณวัน ๒๑๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๖ ปีมะเมีย ฉอศก ( พ.ศ.๒๓๑๗ ) วัน ๒๑๒ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก เพลาบ่ายแล้ว ๕ โมงมีเศษ ท่านต้นเชือกส่งร่างตรานี้ให้เขียนขึ้นกระดาษปิดตรา ส่งให้หัวหมื่นตำรวจในถือไป ในทันใดนั้นได้ปิดตราส่งให้หมื่นอนันตศักดิ์ ตำรวจนอกขวาถือไปเมืองเพ็ชรบูร เมืองท่าโรง เมืองบัวชุม เรือยาว ๖ วา พลพาย ๗ คน ให้นายราชภักดี ตำรวจในซ้าย ถือไปเมืองนครราชสีมา เรือยาว ๔ วา ๒ ศอก พลพาย ๖ คน ขึ้นไปทางเมืองลพบุรีแล้ว

ฉบับที่ ๙ หนังสือนายควรรู้อัฎ นายเวนมหาดไทย มาเถิงผู้รักษาเมือง กรมการพระหลวงขุนหมื่นนายบ้านนายอำเภอ ด่าน คอย ทุกตำบล ด้วย หลวงราชนิกุล รับสั่งใส่เกล้า ฯ สั่งว่า จะเสด็จขึ้นไปปราบเมืองเชียงใหม่ณเดือน ๑๒ แรม ๑๑ ค่ำปีมะเมียฉอศกนี้แล้ว ให้มีตราพระราชสีห์ รับสั่ง แต่งให้นายราชภักดี ตำรวจในซ้าย ถือขึ้นไปให้เจ้าพระยานครราชสีมา กรมการแต่งให้หมื่น อนันตศักดิ์ ตำรวจ นอกขวา ถือไปให้พระพิชัยสงคราม พระยานครชัยสิน พระท่าโรง


๑๑๑ เร่งรัดจัดเลกขึ้นพระราชทานข้าทูลละออง ฯ ให้ผู้ได้รับพระราชทาน เลกเร่งคุมเลกไปรับเสด็จ ฯ ณเมืองตากบ้านระแหง ให้ทันเสด็จ ฯ เป็นการเร็ว ถ้าแลนายราชภักดี ตำรวจในซ้าย หมื่นอนันตศักดิ์ ตำรวจนอกขวา ถือตราขึ้นมาเถีงบ้าน ตำบล แขวงหัวเมืองใด ให้ส่งต่อ ๆ ขึ้นไปกว่าจะถึงเมืองนครราชสีมา เมืองเพ็ชรบูร เมืองบัวชุม เมือง ท่าโรง จงฉับพลันเป็นการเร็ว อย่าช้าอยู่แต่ทุมโมงหนึ่งได้ แลห้าม อย่าให้นายราชภักดี หมื่นอนันตศักดิ์ ทำข่มเหงฉ้อประบัดเรียกเอาพัสดุทองเงินแก่ผู้มีชื่อ...............สิ่งใด ๆ...................................

บัญชีช้างหลวงปีวอกอัฐศก พ.ศ. ๒๓๑๙ มีหนังสือพระยาอักษรวงศ์ ผู้รั้งเมืองสวรรคโลก พระรามรณคบเมืองอุทัยธานี พระยาวิเศษ พระยาตาก พระยาสุทัศ พระยาเชียงทอง เมืองระแหง พระยาสุพรรณ กรมการ...............( ลบ )......บอกมาว่า พะม่าตีไปได้เมื่อครั้งตีเมืองระแหง เมืองสวรรคโลก เมืองพิษณุโลก แล จ่ายเข้ากองทัพ พระยายมราช ๆ ให้กองทัพ รับพระราชทาน ต่างอาหาร แลจ่ายไปราชการทัพ แลเลี้ยงปรนปรือไว้ล้ม แล พระราชทานพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม เป็น ( ดังต่อ ไปนี้ )



๑๑๒ พะม่าตีไปได้ ๑. พระยาอักษรวงศ์ เมืองสวรรคโลก ซ้าย พลาย ๗ พัง ๑๕ ( รวม ) ๒๒ ๒. มอบพระยาเชียงทอง พระยาสุทัศ ฯ พณ ฯ สมุหนายกเอาไป ทัพเชียงใหม่ เสียแก่พะม่าเมืองพิษณุโลก ซ้าย พลาย ๑ พัง ๑ ( รวม ) ๒ ขวา พลาย ๑ พัง ๑ ( รวม ) ๒ ปืน ๑ ( รวม ) ๕ ๓. พญาสรรค์เอาไปทัพ เสียแก่พะม่าณเมืองพิษณุโลก ซ้าย พัง ๖ ๔. สมิงลวาเอาไปเลี้ยง พะม่าตีไปได้ เมื่อพะม่าตีระแหง มอบ พระยาเชียงทอง ซ้าย ๒ ขวา ๒ มอบพระยาสุทัด ซ้าย พัง ๑

พระราชทานพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม เมืองเพ็ชรบุรี ซ้าย พลาย ๔ พัง ๖

ล้มปีวอกอัฐศก ( พ.ศ. ๒๓๑๙ ) พระยาเชียงทอง ๑ พระยาตาก ๑ ( รวม ) พัง ๒ พระยาสรรค์พลาย ๑ จ่ายไปทัพเชียงใหม่ ล้มเมืองสุพรรณบุรี ขวา พลาย ๑ เข้ากองทัพไปรบดอนไก่เถือน พระยายมราชให้กองทัพได้รับ พระราชทาน เมืองอุทัยธานี ๒ พระยาตาก ๑ ( รวม ) ๓


๑๑๓ จ่ายไปนครศรีธรรมราชและกรุงกัมพูชา เมืองสุพรรณ ขวา ไปเมืองนคร ( ศรีธรรมราช ) รับพระไตรปิฎก ด้วยพระพรหมมุนี ๒ ( ช้าง ) คงพลาย ๑ พัง ๑ ( รวม ) พลาย ๓ พัง ๑ เมืองนครชัยศรี ไปเมืองนคร รับพระไตรปิฎกด้วยพระพรหมมุนี ๑ คง ( เมือง ) พลาย ๑ ( รวม ) พลาย ๒ จ่ายไปราชการ รับพระไตรปิฎกเมืองนคร ด้วยพระพรหมมุนี ขวา พลาย ๓ กรุงกัมพูชาด้วยพระองค์แก้ว ซ้าย พัง ๑ ( รวม ) ๓

มฤดกเจ้าพระยาสวรรคโลก มีหนังสือบอกพระยาอักษรวงศ์ เมืองสวรรคโลก บอกลงมาว่าช้างมฤดกเจ้าพระยาสวรรคโลกซึ่งมอบพระยาอักษรวงศ์ไว้นั้น พะม่า ยกกองมาตีเมืองพิษณุโลก เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย พะม่าตีไป ได้ เป็น ( มีชื่อช้างพลายลำชาย พลายตุม เป็นต้น ) พลาย ๗ พัง ๑๕ ( รวม ) ๒๒ ช้าง

พระพรหมมุนีไปเมืองนคร มีหนังสือบอกพระยาสุพรรณ กรมการเมืองสุพรรณบอกจำหน่าย แลคง เป็น ( ๑ ) กรมช้างเกณฑ์ไปบรรทุกปืนเกณฑ์หามเมื่อ


๑๑๔ เสด็จ ฯ ขึ้นไปปราบเมืองเชียงใหม่ปีมะแมสับตศก............................... ( ๒ ) จ่ายไปรับพระไตรปิฎกเมืองนครด้วยพระพรหมมุนี......................


มฤดกเจ้าพระยาจักรี ( หมุด ) เมืองเพ็ชรบุรี ระบาทว์อ้ายบุญเมืองเพ็ชรบุรี, มฤดกเจ้าพระยา จักรี มอบพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนสงคราม ๆ ว่า ทรงพระกรุณา พระราชทานแก่พระเจ้าหลานเธอ กรมขุนสุรินทรสงคราม พระยาจักรีเป็นผู้รับสั่ง ครั้นสืบพระยาจักรีรับแล้ว ฯ พณ ฯ สั่งให้จำหน่ายไว้ ใน ...........ราชทาน เมืองปราจิน มฤดกหลวงนรา จ่ายไปด้วยพระองค์แก้วเมือง กัมพูชา ๑ ( ช้าง ) ระบาทว์พระชัยบูร ซ้าย คงอยู่เมืองพิษณุโลก พัง ( สูง ) ๔ ศอก ๑ คืบ ๑ ( ช้าง ) มีหนังสือขุนรองปลัดเมืองสรรคบุรี บอกจำหน่ายช้างมฤดกเจ้า พระยาสรรค์ซึ่งมอบพระยาสรรค์ ( รวม ) ๑๐ ช้าง


บัญชีช้างหลวงปีระกานพศก พ.ศ. ๒๓๒๐ ข้าพระพุทธเจ้า พระกำแพง หลวงคชสิทธิ หลวงคชศักดิ ขอ


๑๑๕ พระราชทานให้ทราบละออง ฯ ด้วยช้างหลวงอยู่แก่ผู้รักษาเมือง ผู้รั้งกรมการ นอกกรมช้างเลี้ยง คงมีจำนวนปีระกานพศก เป็น พลาย ๓๑ พัง ๕๑ ( คือ ) ( ๑ ) เมืองระแหง พระยาเชียงทอง พลาย ๑ พัง ๘ ( รวม ) ๙ พระยาตาก พัง ๒ พระยาสุทัศ พลาย ๑ พัง ๑ ( รวม ) ๒ ( รวม ) พลาย ๒ พัง ๑๑ ( ๒ ) พระอุทัยธานี อยู่แก่พระรามรณคบ พลาย ๒ พัง ๓ ( รวม ) ๕ ( ๓ ) พระยาสรรคบุรี พลาย ๓ พัง ๗ ( รวม ) ๑๐ ( ๔ ) พระเจ้าลูกเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม เมืองเพ็ชรบุรี พลาย ๖ พัง ๔ ( รวม ) ๑๐ ( ๕ ) อาษาใหม่ พระยาโกษา ขุนศรีเสนา พลาย ๒ พัง ๒ ขุน ราชเสนี พลาย ๓ พัง ๔ ( รวม ) พลาย ๕ พัง ๖ ( ๖ ) พระปราจีน พัง ๑ ( ๗ ) พระยาสุพรรณ กรมการ พลาย ๔ พัง ๑ ( ๘ ) พระยาอักษรวงศ์ เมืองสวรรคโลก พลาย ๕ พัง ๑๗ ( รวม ) ๒๒ ( ๙ ) พระยานครชัยศรี กรมการ พลาย ๒ ( ๑๐ ) พระยากาญจนบุรี กรมการ พลาย ๒ ( ๑๑ ) พระชัยบูร เมืองพิษณุโลก พัง ๑

นำไปเมืองไทรบุรีและเมืองถลาง คุมช้างไปเมืองไทรบุรี ขุนศรีชัยทิศ ๒ ชั่ง นายจำ ........... ๗ ตำลึง ๑๑๖ นายมุก รอง............๑๐ ตำลึงคุมช้างไปเมืองถลาง นายจำนง............. ตำลึง นาย..............๘ ตำลึง

ไปทัพด้วยพระยาจักรี, พระยาธรรมา

กองพระยาจักรี นาย หลวงพกริษ ๑ ชั่ง นายจำลอง ๑๑ ตำลึง นายสรรเพ็ชญ์ ๑๑ ตำลึง นายชำนาญ ๘ ตำลึง นายแมนคชสาร ๗ ตำลึง นายกเรนภักษา ๗ ตำลึง ไพร่.......................................................................................คงจะได้รับพระราชทานณเดือน ๕ ปีจอ(พ.ศ. ๒๓๒๑ ) เป็น...............






สารบาญค้นเรื่อง

ก. กงธานี บ้าน ๖๙, ๗๗ กบฎ ๔๖, ๘๗, ๘๙ กรรมฐาน ๘๑, ๘๕ กเรนภักษา นาย ๑๑๖ กลาง เจ้า ๓๑, วัด ๒๐ กลางเมือง พระยา ๖๘, ๗๓, ๙๔ กลาโหม พระ ๒๐ กล่ำ นาย ๖, บ้าน ๑๑ กษัตริย์ศึก สมเด็จพระเจ้า ๘๓, พระเจ้า ๘๗, ๘๘ กองกุก ๔๐ กองโจร ๕๙ กอะ บ้าน ๔๘ กะแช ศึก ๘๔ กะทุ่มแบน ตำบล ๗๘ กะพอง คลอง ๗๑ กัมพูชาธิบดี กรุง ๕, ๒๘, ๔๒, ๘๘, ๑๑๓ กาญจนบุรี พระยา ๕๔, ๑๑๕, เมือง ๑๐๔, ๑๐๖


๑๑๘ กาวิละ พระยา ๔๗, ๔๙ กำแพง พระ ๑๑๔ กำแพงเพ็ชร เมือง ๖๙, ๗๖, ๗๗, ๗๙, ๑๐๗ กำแหงวิชิต พระยา ๕๐ กี จีน ทหารปืนใหญ่ ๖๑ กุญชรหัสดิน ช้างต้น ๓๐ กุ่มเหลือง ตำบล ๓๘ กุย พระ ๘๖, เมือง ๖๙ เก๋งจีน ๑๓ เกด นาย ละคร ๕๑ เกลือ ๙๐ เกวียน ๗๕ แก่น นาย ๒๖ แกลง บ้าน ๑๑ แก้ว พระองค์ ๑๑๓, วัดในจันทบุรี ๑๕ แก้วมรกต พระพุทธปฏิมา ๘๗, วัด ๕๗ โกษา พระยา ๑๑๕ โกษาธิบดี ๔๒ โกษา ( ยัง ) หลวง ๒๔, ๓๓ ไก่เตี้ย ตำบล ๖ ไก่เถื่อน ดง ๗๘ ไกเสิ้ง อง ๑๒ ๑๑๙ ข ขลุม ปากน้ำ ๗๗ ข้าว ๙๐ ข้าวเกลือแพง ๗๐ ข้าวตอก บาง ๗๖ ข้าวเม่า บ้าน ๒ ข้าวสาร ๒๒, ๒๘, ๓๒, ๓๓ เขมร ๘๘, ๙๕, ๙๗ เขาน้อย ตำบล ๙๕ เขาพระ วัด ๕๘, ๖๑ เขียวฉะไว นาย ๖๕ แขก บ้าน ๗๑ แขม บาง ๗๖ โขง เมือง ๘๓, ๙๗ ไข้ บ้าน ๑๑

ค คชชาติ หลวง ๓๔


๑๒๐ คชศักดิ์ หลวง ๙๔, ๑๑๔ คชสิทธิ์ หลวง ๑๑๔ คเชนทร์เยียรยง ช้างต้น พลาย ๔๔ ค้นข้าศึก ขุน ๖๑ ควรรู้อัฏ นาย ๕๐, ๑๑๐ คา บ้าน ๑๑ คาง บาง ๓ คาพราน พระ ๙๗, เมือง ๙๘ คำฟั้น อุปราชา ๔๘, ๔๙ คำล่า อุปราชา ๔๙ คิรีกุญชรฉัททันต์ ช้างพัง ๑๗ คุ้งสำเภา ๗๐, ๗๘ โคกกะต่าย ๕๖, ๖๔, ๖๕ โคกพระยา ด่าน ๒๕ โคกสลุด ตำบล ๗๒, ค่าย ๗๓ โคน บ้าน ๗๗

ง งิ้ว บ้าน ๗๘


๑๒๑ จ จง หมื่น ๕๐ จอมทอง บ้าน ๑๐๕ จอมเทียน นา ๖ จอหอ บ้าน ๒๖ จักรี พระยา ๔๘, ๑๑๔, ๑๑๖, เจ้าพระยา ๒๙, ๓๐, ๓๑, ๓๘, ๔๒, ๗๐, ๗๔, ๗๘, ๘๓, ๑๑๔ จันทบุรี เมือง ๘, ๙ จันทบูร ปากน้ำ ๔๐, พระยา ๗, ๑๑, ๑๔, ๑๘, จันทร์ วัด ๖๙, ๗๓, อาจารย์ ๔๒ จ่าบ้าน พระยา ๔๔, ๔๗ จ่าเมือง ด้วง ขุน ๗, ๘ จ่าเมือง เสือร้าย ขุน ๗ จิงกู เจ้า ๗๔ จิงกูจา ๙๖ จิตร์ เจ้าฟ้า ๒๘ จีน เมือง ๘๔ จุ้ย เจ้า ๔๑ เจ้ง จีน ๒


๑๒๒ เจ้าขว้าว ด่าน ๕๘, ๖๕ เจ้าพระยา ปากน้ำ ๔๐ เจียม จีน ๑๙ แจ้ง วัด ๘๗, ๙๑ โจ้โล้ ปากน้ำ ๕

ฉ ฉะเชิงเทรา เมือง ๑๐๑ ฉัตรชัย ปืน ๖๘ ฉัททันต์ วัด ๓ ฉิม หม่อมเจ้าหญิง ๒๘

ช ชลบุรี เมือง ๑๒ , ๑๓, ๑๙ ชวัน พระยา ๒๒ ช่องพราน ๖๐ ชะนะ ขุน ๖๕, ๙๕ ชัยนาท พระ ๙๙ , ๑๐๐, เมือง ๖๙, ๗๘, ๑๐๘ ชัยบาดาล พระ ๙๗ , เมือง ๙๘


๑๒๓ ชัยบูรณ์ พระ ๑๑๔, ๑๑๕ ชั่วพราน เขา ๕๙ ช้างเผือก ประตู ๔๔ ชาติสุรินทร์ หลวง ๗๖ ชำนาญไพรสณฑ์ หลวง ๕, ๗ ชำนิครชสาร หมื่น ๗๖ ชินราช พระพุทธปฎิมา ๓๔, ๗๖ ชินศรี พระพุทธปฎิมา ๓๔ ชื่น บ้านค่าย นาย ๑๓ ชู นาย ละคร ๕๑, ๖๙ เชษฐกุมาร หม่อม ๖๙ เชิงงุ้ม เขา ๕๘ เชียงเงิน พระ ๒, ๕, ๗ เชียงทอง พระ ๕๐, พระยา ๑๑๑, ๑๑๕ เชียงใหม่ เมือง ๓๗, ๔๓, ๔, ๕๐, ๘๔, ๘๖, ๑๐๓ , ๑๐๕, ๑๐๗, ๑๐๙ ไชยา เมือง ๒๙

ซ ซับพระยา ตำบล ๗๘


๑๒๔ ญ ญวน ๙๕ ญวนกบฏ ๘๗ ญานประสิทธิ์ พระ ๔๒

ณ ณรงควิชัย พระ ๖๕ ณรงค์วิชิต พระ ๖๓, พระยา ๖๐

ด ดง บาง ๔ ดงไก่เถื่อน ๗๘ ดวง จีน ทหารปืนใหญ่ ๖๑ ดวงทิพ นาย ๔๘ ดอกเหล็ก บ้าน ๔๘ ดอยเขาแก้ว วัดกลาง ๕๓ ดา มหา ๘๗



๑๒๕ ดารา หม่อม ๒๕ ดำเกิงรณพพ หลวง ๕๙ , ๖๘, ๗๒ ดี นาย ๗๒ เดชะ ขุน ๑๐๕ เดิมบาง บ้าน ๗๘

ต ตรังกานู แขกเมือง ๓๓ ต่อมต่อ ๔๗ ตะแคงมะระน้อง ๙๖, ดูทีสะแคงมระนอง ตะพอง คลอง ๗๑ ตะพานทอง ตำบล ๖ ตะโพงโสม ๔๐ ตาก พระยา ๑๑๑, ๑๑๕, เมือง ๕๐, ๑๐๘, ๑๐๑ ตานี แขกเมือง ๓๕, เมือง ๓๐, ๓๑, ๘๔ ตำหนัก บ้าน ๔๓ ตำหนักแพ พระทีนั่ง ๑๐๖ ไตรปีฎก ๓๒, ๘๑, ๑๑๓



๑๒๖ ถ ถลกบาตร บ้าน ๖๙ ถลาง เมือง ๑๑๖ ถั่ว กำ ๓๑ เถิน เมือง ๔๘, ๕๐

ท ทอง อาจารย์ ๗๒ ท่อง หมื่น ๗ ทองคำ นาย ๒๕ ทองดี นาย ๕ ทองสุก นายกอง ๖๕ ทองหลาง บ้าน ๖ ทองอยู่ นกเล็ก นาย ๗, ๑๒ ทะลุ บาง ๒๙ ทะวาย เมือง ๖๕ ทับเสม็ด ๙๗ ท่าข้าม ๒๙ ท่าจีน ปากน้ำ ๒๘, ตำหนัก ค่าย ๕๖


๑๒๗ ท่าทราย ๓ ท้ายน้ำ พระ ๑๖, ๓๗ ท้ายเมือง ป้อม ๙๓ ท่าโรง ตำหนัก ๗๐, ๗๑, พระ ๔๗, ๑๐๙, ๑๑๐, เมือง ๙๘, ๑๐๑ ท่าหมาก ๒๙ ทิพ หมื่น ๗๓, ๑๐๒ ที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ สมเด็จพระ ๒๑ ทุกขราษฎร์ พระยา ๗๕, ๘๖ ทุ่งใหญ่ บ้าน ๑๘ ทุ่งยั้ง ๓๖ เทพ หลวง ๙๒, พระยา ๗๓, ๗๕ เทพกวี พระ ๓๗ เทพพิพิธ กรมหมื่น ๒๔, ๕, ๒๖, ๒๗, ๒๘ เทพโยธา พระ ๕๕ เทพวรชุน พระ ๕๙, ๖๑, พระยา ๗๓ เทพา เมือง ๓๐, ๓๑ เทพามาตย์ กรมพระ ๖๔, ๖๗, ๘๑ แทน นาย ๑๑ โทก ตำบล ๓๓ ไทรบุรี เมือง ๑๑๕

๑๒๘ ธ ธนบุรี เมือง ๑๙, ๒๑, ๙๙, ๑๐๕, ๑๐๘ ธรรมเจดีย์ พระ ๓๖ ธรรมไตรโลก พระยา ๗๑, ๗๖ ธรรมราชา พระ ๓๖ ธรรมอุดม พระยา ๓๗ ธรรมา พระยา ๖๙, ๗๑, ๗๘, ๘๙, ๙๔, ๑๑๖, ธาตุวงศ์ คัมภีร์ ๗๕ ธารา ม่อม ๒๕ ธิเบศร์บดี พระยา ๕๔, ๕๖, ๖๕, ๖๖, ๘๐ ธิเบศร์บริรักษ์ พระยา ๒๐

น นคร เจ้าพระยา ๘๐, เจ้า ๓๑ นครศรีธรรมราช เมือง ๒๙, ๓๐, ๘๔, ๘๖, ๑๑๓ นครชัยศรี พระยา ๕๔, ๗๓, ๕, ๑๑๕, เมือง ๕๕, ๗๘ นครชัยสิน พระยา ๙๗, ๑๐๙, ๑๑๐ นครนายก เมือง ๔


๑๒๙ นครราชสีมา เจ้าพระยา ๙๗ , ๑๐๙, เมือง ๒๕, ๙๒ นครสวรรค์ เจ้าพระยา ๖๖ , ๗๑ , ๗๗ , ๘๐, ๘๙ เมือง ๓๗ , ๖๙ , ๗๘ , ๗๙ , ๑๐๗ นนทบุรี พระยา ๕๒, ๕๓ , เมือง ๖๘, ๖๙ นรา หลวง ๑๑๔ นราภิเบศ หม่อมเจ้า ๗๘ นราสุริวงศ์ เจ้า ๓๒ นรินทร์ หลวง ๒๕ น้อยธรรม อุปราชา ๔๗, ๔๙ น้อยโพธิ ราชวงศ์ ๔๗ นา บ้าน ๔๘ นาเกลือ บ้าน ๖ นาค ทหาร นาย ๗ นางแก้ว บาง ๖๕ นางบวช ๗๘ นางรอง พระยา ๘๓ นาจอมเทียน ตำบล ๖ นาปรัง ๒๘ นายม ๗๙ นายาง ๕๐


๑๓๐ นาเรีง บ้าน ๔ น้ำต่ำ ห้วย ๕๐ น้ำมืด ตำบล ๓๕ เนมะโย ชื่อ ๖๐ เนาวโชติ หลวง ๗๖ เนิน วัด ๘ โนนศาลา บ้าน ๖๙

บ บรมธาตุ พระ ๓๗, ๔๘, ๔๙, ๗๕ บรมมหาราชวัง ๕๗ บรมสารีริกธาตุ พระ ๕๓ บรมหน่อพุทธางกูร สมเด็จพระ ๑๙, ๒๑ บ่อคก ค่าย ๔๔ บ่อพนม ๔๓ บัวชุม เมือง ๙๘, ๑๐๑ บางกอก เมือง ๗๕ บางกุ้ง ค่าย ๕๖ บางแก้ว บ้าน ๕๖ บางคาง ๓


๑๓๑ บางทราย วัด ๖๘ บางทะลุ ๒๙ บางยี่เรือ วัด ๘๑ บางละมุง เมือง ๑๐ บางว้า วัด ๙๒ บ้านปูน ๙๒ บ้านภูม ตำบล ๕๕ บาลราช หมื่น ๕๙ บำเรอภักดิ์ หลวง ๕๘, ๖๓, ๖๕ บุญมา นาย ๗, ๘, ๔๘ บุญมี นาย ๕, ๗, ๑๒ บุญมี บางเหี้ย นาย ๑๑ บุญมี มหาดเล็ก นาย ๘, ๑๕ บุญเมือง นาย ๑๐ บุญรอด แขนอ่อน นาย ๗, ๘, ๑๓

ป ปถวี ๙๕ ปทุมไพจิตร เจ้า ๖๙ ประตูสามบาน ตำบล ๕๘


๑๓๒ ประยง หม่อม ๒๕ ประแส บ้าน ๑๑ ปลาสร้อย บาง ๖ ปักกิ่ง กรุง ๘๔ ปัญยี เจ้ากรุง ๘๐ ปราจินบุรี พระ ๙๗, ๑๐๐, ๑๕, เมือง ๔, ๒๔, ๒๕, ๑๑๔ ปรานบุรี เมือง ตำบล ๖๙, ๘๖ ปราบ หลวง ๒๕ ปราบดาภิเษก ๒๗ ปราบไตรจักร์ เจ้าพระยา ๘๐ ปากแพรก ตำบล ๕๖, ค่าย ๕๙ ป่าสัก เมือง ๘๓ ปูน บ้าน ๙๒ โปชุกพลา ๔๔, ๑๐๕ โปมะยุง่วน ๔๗ โปมัง ๒๒

ผ เผือก ช้าง ๘๐, พญาช้าง ๓๔ แผ่นดินไหว ๒๗ ๑๓๓ ฝ ฝาง เมือง ๓๔, ๓๖ ฝ่ายใน กรม ๙๔

พ พกริษ หลวง ๑๑๖ พนมเพ็ง ๔๒, เกาะ ๙๕ พดด้วง ตรา ๕๒ พยับ วัด ๒๕ พร ทำมะรง ๑๖ พรหม พระ ๙๙, ๑๐๐, เมือง ๑๐๘ พรหมธิบาล ขุน ๑๖ พรหมมุนี พระราชาคณะ ๘๖, ๑๑๓ พรหมเสนา หลวง ๒, ๕, ๗ พระนายกอง ๒๐, ๒๖ พระประแดง ปากน้ำ ๒๘ พระราม วัด ๘๗ พรานนก บ้าน ๓ พริก วัด ๗๓


๑๓๔ พล หลวง ๑๙, ๒๕ พลเทพ พระยา ๗๖ พลเสน่หา หลวง ๗ พลแสนหาญ หลวง ๗ พ่อค้าเกวียน ๒, ๗๕ พะเนียด ๒๐ พัฒ เจ้า ๓๑ พัทยา ตำบล ๖ พัทลุง พระยา ๓๑ พันปีหลวง สมเด็จพระ ๖๔, ๘๒ พันศรีพันลา ๙๐ พัสดีกลาง หลวง ๙๔ พานทอง ตำบล ๖ พายุ ๘๓ พิจิตร์ เมือง ๗๘ พิชัย หลวง ๗, พระ ๑๒, พระยา ๒๐, ๗๕, ๑๐๓, มือง ๓๗ , ๓๘, ๔๓, ๙๘ , ๙๙, ๑๐๘, วัด ๒ พิชัยราชา หลวง ๒, พระ ๒๕ , เจ้าพระยา ๓๐, ๓๑, ๓๓ พิชัยสงคราม พระ ๑๐๙, ๑๑๐, พระยา ๗๕ พิชัยอาษา พระยา ๘๐ ๑๓๕ พิชัยไอศวรรย์ พระยา ๔๑, ๕๕ พิทักษ์ โกษา หมื่น ๖๙ พิพัฒโกษา พระ ๑๐๖ พิพิธ หลวง ๗, พระยา ๒๐, ๔๒ พิพิธวาที ขุน ๕ พิพิธโกษา พระยา ๕๒ พิมลสงคราม พระ ๒๕ พิมลธรรม พระ ๓๖ พิมาย พระ ๒๕, ๒๖ พิรุณ ปืนพระ ๘๓ พิษณุโลก เมือง ๒๔, ๓๓, ๓๗, ๖๘, ๗๔, ๗๖, ๑๑๑, ๑๑๔, ๑๑๕ พุฒวิเศษ หมื่น ๙๗ พุทธทำนาย ๗๕ พุทธบาท พระ ๕๗ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมเด็จพระ ๒๙ พุทธรูป พระ ๘๕, ๘๖ พุทธลักษณะ ๘๕ พุทธศาสนา ๒๓ พุทไธมาศ ปากน้ำ ๑๘, เมือง ๑, ๑๒, ๒๘, ๔๐, ๔๒

๑๓๖ พุทไธเพ็ชร์ เมือง ๘๙ เพชฎา ขุน ๖๔ เพ็ชร ช้างพลาย ๓๐ เพ็ชรบุรี พระยา ๒๙, ๕๔, เมือง ๑๑๒, ๑๑๔, ๑๑๕ เพ็ชรบูรณ์ เมือง ๗๙, ๑๐๑ เพ็ชรปาณี พระ ๕๑ เพ็ชรพิชัย พระยา ๙๔ เพลิง ๒, ๓๑, ๙๓ แพ่ง หลวง ๒๕, ๒๖ แพร่ เมือง ๔๘ โพเชียง ๙๖ โพทับช้าง ๗๓ โพธาราม วัด ๙๓ โพธิญาณ ๙๓ โพธิวงศ์ พระราชาคณะ ๓๗ โพสังหาญ บ้าน ๓ โพสามต้น ค่าย ๑๐, ๑๙ โพสามหาว บ้าน ๓ โพสาวหาร บ้าน ๓


๑๓๗ ภ ภักดีสงคราม ขุน ๖๖, หลวง ๗๒ ภัยนรินทร์ หมื่น ๑๐๐ ภูมิ บ้าน ๕๕

ม มหาเทพ หลวง ๕๐, ๕๖, ๖๑ มหาเทพเหนือ พระ ๙๔ มหาพิชัย หลวง ๒๕ มหาพิชัยสุวรรณนาวา พระที่นั่ง ๒๙ มหามนตรี พระ ๒๖, ๒๗, พระยา ๒๖ มหามนเทียร เจ้าพระยา ๖๘ มหาราชา เจ้าพระยา ๓๘ มหาเศวตรัตน์ ปืน ๕๗ มหาเสนา พญา ๗๘, ๘๐, ๘๒, ๙๒, ๙๔ มหาโสภิต ๗๕ มหาอำมาตย์ พระ ๘๖, พญา ๙๔ มองย่า ๒๐, ๒๖ มองระ พระเจ้า ๗๔


๑๓๘ มองหม่อง ๗๔, ๙๖ มะยุง่วน ๔๔ มักกะสา คลอง ๔๓ มังคุค สวน ๘๓ มังจู ๙๖ มังโป ๗๔ มังลอก ๗๔, ๙๖ มังแวง ๙๖ มังแวงปาตุง ๙๖ มัตมะ เมือง ๑๐๔ มายุงวน ๑๐๕, ดูโปมะยุง่วน ๔๗ มุเตา พระ ๗๔ มูลา นาย ๔๘ เมือง นาย ๑๑ แม่กลอง ปากน้ำ ๒๘, เมือง ๕๖ แม่ทา ๔๙ แมนคชสาร นาย ๑๑๖ แม่ละมาว ด่าน ๕๐, ๘๐ แม่สัน ๔๙ ไม้ทรุง หนอง ๔


๑๓๙ ย ยน นาย ๒๖ ยมราช เจ้าพระยา ๒๘, พระยา ๒๙, ๓๓, ๓๗, ๔๕, ๕๔, ๗๓, ๗๔, ๗๖, ๗๗, ๗๘, ๗๙, ๘๓, ๙๗, ๑๐๐, ๑๐๙, ๑๑๑ ยักกตรา แขกเมือง ๓๓ ๓๕ ยิงพร้อมกัน ๕ ยีขัน บาง ๘๑ ยีเรือ บาง ๘๑, วัด ๘๓ ยีเรือนอก บาง ๘๒ ยีเรือใน บาง วัด ๘๒ ยุบยองโป ๖๐

ร รองปลัด ขุน ๖๙, ๑๑๔ ระฆังแก้ว ๕๓ ระฆังใหญ๋ หล่อ ๕๗ ระยอง เมือง ๖, ๙, ๑๑, ๑๔



๑๔๐ ระแหง บ้าน ๕๐, ๕๓, ๙, ๘๔, ๑๐๘, ๑๐๙, ๑๑๑, ๑๑๕ รักษ์ โกษา หลวง ๕๐, ๕๑ รักษ์ โยธา หลวง ๖๘, ๗๒, ๗๕ รักษ์มนเทียร หลวง ๕๔, ๖๒, ๗๒, ๗๓ รัตน โกษา พระ ๖๓ รัตนพิกุล พระยา ๗๐, ๗๑, ๗๕ ราชนิกุล หลวง ๑๑๐ ราชบุรี พระ ๖๕, เมือง ๕๔, ๕๖, ๗๘ ราชปักษี ปืน ๖๘ ราชปุจฉา ๘๖ ราชภักดี นาย ๑๐๙, พระยา ๖๙, ๗๙ ราชโยธาเทพ หลวง ๗๑ ราชรินทร์ พระ ๒๖, ๒๗ ราชรินทร์ เหนือ ๙๔ ราชสงคราม พระ ๗๕ ราชเสน่หา หมื่น ๒ ราชเสนา หลวง ๒, ๕๘ ราชเสนี ขุน ๑๑๕ ราชสุภาวดี พระยา ๗๖, ๗๗, ๗๘


๑๔๑ ราชานุรัด พระ ๑๐๙ ราชาเศรษฐี พญา ๑๐, ๑๒, ๔๑, ๔๒, ๘, ๖๙, ราโชวาท ๖๒, ๗๑ ร้านดอกไม้ ๖๙ ราม นักองค์ ๕ ขุน ๗, ๑๑, ๑๔ รามณรงค์ ขุน ๗๒ รามภูเบศ กรมขุน ๗๘, ๘๙ รามรณคบ พระ ๑๑๑, ๑๑๕ รามราชา พระองค์ ๔๓ รามลักษณ์ เจ้า ๕๔, ๕๖ รามัญ ชาว ๑๐๔, พระ ๕๓, ๗๘, ๗๙ รามัญใหม่ พระยา ๕๘, ๖๕ รามัญวงศ์ พญา ๙๒, ๙๔ เรือน เจ้าพระฝาง ๓๔ ฤกษ์ นาย ๖๑

ล ลพบุรี พระยา ๙๙, ๑๐๐, เมือง ๒๑, ๗๕



๑๔๒ ละมาว ด่าน ๕๐, ๘๐ ละมุง บาง เมือง ๑๐ ลักษมาณา ๒๙ ลักษณะบุญ ๘๑ ลับแล เมือง ๑๐๖ ลาดภูเขียว บ้าน ๙๗ ลำชาย ช้างพลาย ๑๑๓ ลำปาง ๔๙, นคร ๔๗ ลำพูน พระยา ๔๗, เมือง ๔๔, ๔๙ ลุ่ม วัด ๗ ลูกแก ๖๑ ลูกหน่าย ญวน ๔๓

ว วรวงศาธิราช พระยา ๒๖, ๒๗ วังพระธาตุ ๗๗ วังพราว พระยา ๔๗ วังสองสลึง ๗๐ วางปืนพร้อมกัน ๘ วิจิตรนฤมล หลวง ๘๖


๑๔๓ วิจิตรนาวี พระยา ๕๖, ๙๔ วิชัยประสิทธิ์ ป้อม ๕๕, ๘๗ วิชิตณรงค์ หลวง ๗๓, พระยา ๙๔ วิเชียรปราการ พระยา ๔๗, ๔๘, ๘๖ วิเศษ พระยา ๑๑๑ วิเศษโอสถ ขุน ๖๔ วิสาลสุธรรม พระ ๗๒ วิสุทธิมรรค พระ ๘๖ วิสูตร์ โยธามาตย์ หลวง ๗๑ ไววรนาถ จมื่น ๕๐

ศ ศรี พระอาจารย์ ๓๒ ศรีชัยทิศ ขุน ๑๑๕ ศรีธรรมมาธิราช เจ้าพระยา ๒๐, ๑๐๕ ศรีพิพัฒน์ พระยา ๒๙ ศรีราชเดโช พระ ๓๗ ศรีสวัสดิ์ เมือง ๑๐๔, ๑๐๖ ศรีสหเทพ หมื่น ๖๙, ๗๐, ๑๐๖


๑๔๔ ศรีสัตนาคนหุต กรุง ๘๗ ศรีสากยมุนี พระ ๓๔ ศรีสุริยวงศ์ พระยา ๒๖, ๓๘, ๑๐๓ ศรีเสนา ขุน ๑๑๕

ส สงคราม กรมขุน ๑๑๔ สน นาย ๑๑ สนั่น หมื่น ๗๗ สพสังวาส พระสงฆ์ ๘๒ สม นาย ๔๘ สมบัติบาล หลวง ๕๔ ส้มป่อย บาง ๗๐ สมุหนายก ๑๐๒ สรบดินทร์ พระยา ๗๕, ๗๗ สรบุรี พระ ๑๐๙ สรประสิทธิ์ เจ้าพระยา ๓๘ สรรค์ เจ้าพระยา ๑๑๔, พระยา ๙๑, ๔, ๑๑๔, ๑๑๕, เมือง ๑๐๘, ๑๑๔


๑๔๕ สรรเพ็ชร์ จมื่น ๕๒, นาย ๑๑๖ สรวยป ๘๔ สรวิชิต หลวง ๗๐ สรศรี เจ้าพระยา ๑๐๓, ดูที่ สุรศรี สรสำแดง หมื่น ๗๔ สวน มหาดเล็ก นาย ๒๗ สวรรคโลก พญา ๗๖, เจ้าพระยา ๓๗, ๔๖, ๑๐๓, ๑๐๕, ๑๑๓, เมือง ๓๗, ๘, ๘๔, ๑๑๑, ๑๑๕ สวางคบุรี เมือง ๓๔, ๓๗ ส้อง หมื่น ๗, ๑๑, ๑๔ สะแคงมระนอง ๖๐, ดูที ตะแคงมะระน้อง สะพานทอง ตำบล ๖ สังขลา พระยา ๓๑, เมือง ๓๑ สังฆราช พระ ๓๒ สัตตหีบ ๖ สามเรือน บ้าน ๗๗ สารีริกบรมธาตุ ๓๒ สำแดงฤทธา หลวง ๕๔


๑๔๖ สำบัณฑิต ๒ สำเพ็ง วัด ๘๐ สำเภา คุ้ง ตำบล ๗๐, ๗๘ สิงห์ พระ ๙๙, ๑๐๐, ๑๐๘ สินสังหาร หมื่น ๑๐๒ สิหิงค์ พระพุทธปฎิมา วัด ๔๗ สุกี้ ๒๐ สุโขทัย พระยา ๖๙, ๒, ๑๐๓, เมือง ๓๗, ๑๑๓ สุทัศ พระยา ๑๑๑, ๑๑๕ สุธรรมาจารย์ พระ ๔๒, ๗๒ สุนทรพิพิธ พระยา ๕๔, ๗๒ สุนทรรัตน์ ขุน ๗๗ สุนทรสมบัติ พระ ๖๙ สุพรรณบุรี พระยา ๕๔, ๙๙, ๑๐๐, ๑๑๑, ๑๑๕, เมือง ๕๕ สุรศรี ( บุญมา ) เจ้าพระยา ๓๗, ๔, ๖๘, ๖๙, ๗๐, ๗๔, ๗๘, ๘๓, ๘๘, ดูที่ สรศรี สุรินทรสงคราม กรมขุน ๑๑๔ สุริยอภัย พระยา ๙๒


๑๔๗ สุวรรณมหาพิชัยนาวา เรือพระที่นั่ง ๒๒ เสนาภักดี หลวง ๗๒ เสนาภิมุข พระ ๓๐ เสม หม่อมห้าม ๒๖ เสมอใจ จมื่น ๗๖ เสสัง เจ้า ๔๑ เสียมราบ เมือง ๒๗ เสือ ๘๒ แสง นาย ๕ แสงทหาร นาย ๗ โสภิต มหา ๗๕

ห หงษาวดี กรุง ๗๔ หนองบัว ๗๘ หนองมน บ้าน ๑๓ หนองไม้ทรุง ตำบล ๔ หน่อพุทธางกูร ๑ หริภุญชัย นคร ๔๗


๑๔๘ หล่มสัก เมือง ๒๘ ห้วยน้ำต่ำ ๕๐ หางฉัตร ๔๙ หาญ ขุน ๗๒ หาดสูง ค่าย ๓๔ หินโด่ง ๖ หู้ จีน ๖๑ โหราธิบดี พระ ๖๘, ๗๒, ๗๓

อ อนันตศักดิ์ หมื่น ๑๐๙ อนุชิตพิทักษ์ พระ ๑๐๘ อนุชิตราชา พญา ๒๗, ๒๘ อนุรักษ์ภูธร เจ้าพระยา ๓๗ อนุรักษ์สงคราม กรมขุน ๖๙, ๗๘, ๘๐, ๘๖, ๙๒, ๑๑๑, ๑๑๕, ขุน ๕๔ อนุราชบุรี ศรีมหาสมุท พระยา ๑๓, ๑๙ อนุรุธเทวา หม่อม ๗๐



๑๔๙ อภัยภักดี ขุน ๒ อภัยรณฤทธิ์ พระยา ๒๗, ๒๙, ๓๗, ๕๔, ๖๕ อภัยสรเพลิง หลวง ๖๔, ๖๗ อยู่ ศรีสงคราม นาย ๗ อรัญญิก วัด ๕๘ อองวาจา หมื่น ๖๐ อะแซวุ่นกี้ ๖๘, ๗๔, ๙๖ อักษรวงศ์ พระยา ๑๑๑, ๑๑๕ อัคเนศร หมื่น ๗๕ อังวะ กรุง ๗๔, ๙๖, พระเจ้า ๘๔, ๑๐๕ อัตบือ เมือง ๘๓ อัยวงศ์ พระยา ๔๗ อัศจรรย์ ๒๗, ๓๐, ๓๑, ๓๔, ๓๙, ๔๕, ๔๗, ๕๑, ๕๓, ๖๗

อา อากาศสรเพลิง ขุน ๖๑, ๗๒ อ่างทอง พระยา ๙๙, ๑๐๑, ๑๐๘



๑๕๐ อาจารย์ กรม ๔๑

อิ อิณเทพ หลวง ๑๐๐ อินเชียง ขุน ๑๙ อินท์ เมือง ๑๐๘ อินทบุรี หลวง ๙๙, ๑๐๐ อินทรไกรลาศ ขุน ๕๒ อินทรเดชะ ขุน ๖๙ อินทรเทพ หลวง ๕๒ อินทรพิทักษ์ กรม ๗๗, ๘๘, ๙๕ อินทรวิชิต พระยา ๓๕ อินทวงศา เจ้าพระยา ๕๕ อินทอภัย เจ้าพระยา ๖๕, ๗๙, พระยา ๕๙ อินท์อรรคฮาด เจ้า ๘๓ อิ่ม ทหาร ทำมะรง ๗

อ อุทัย พระองค์ ๔๓


๑๕๑ อุทัยธานี บ้าน ๖๙, พระ ๑๑๕, เมือง ๗๗, ๗๘, ๑๑๑ อุบล หม่อมเจ้า ๒๖, ๒๘ อุบัติวิบัติ ๑๐๗

โอ โอ้ เจ้า ๘๓


งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก