พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑

จาก วิกิซอร์ซ

พระราชบัญญัติ

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

พ.ศ. ๒๕๕๑


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป �

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

“รายการ” หมายความว่า เนื้อหาที่ผลิตขึ้นเพื่อเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ที่มิใช่โฆษณา

“ผังรายการ” หมายความว่า ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับรายการทั้งหมดที่จะเผยแพร่ ช่วงเวลา เผยแพร่ของแต่ละรายการ และประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของแต่ละรายการ

“ผู้ผลิตรายการ” หมายความว่า ผู้ผลิตรายการเพื่อการเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์

“ผู้ผลิตรายการอิสระ” หมายความว่า ผู้ผลิตรายการที่มิได้สังกัดหรือเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง ของสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์หรือบริษัทในเครือของสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์แห่งใดหรือ องค์การสื่อสาธารณะใด และให้หมายความรวมถึงผู้ผลิตรายการอิสระที่ดําเนินกิจการในลักษณะธุรกิจ ขนาดย่อมและผู้ผลิตรายการระดับชุมชนด้วย

“ผู้สนับสนุนองค์การ” หมายความว่า ผู้ให้การสนับสนุนทางการเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นใด แก่องค์การเพื่อประโยชน์ขององค์การ

“เงินบํารุงองค์การ” หมายความว่า เงินที่เรียกเก็บจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วย สุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

“องค์การ” หมายความว่า องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

“คณะกรรมการนโยบาย” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและ แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

“กรรมการนโยบาย” หมายความว่า กรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย

“คณะกรรมการบริหาร” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารองค์การกระจายเสียงและแพร่ ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

“กรรมการบริหาร” หมายความว่า กรรมการบริหารองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย

“ผู้อํานวยการ” หมายความว่า ผู้อํานวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย �

มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้

หมวด ๑

การจัดตั้งและเงินทุน


มาตรา ๕ ให้จัดตั้งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยเป็น นิติบุคคล เรียกโดยย่อว่า “ส.ส.ท.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Thai Public Broadcasting Service” เรียกโดยย่อว่า “TPBS” ทําหน้าที่เป็นองค์การสื่อสาธารณะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณ แต่ดําเนินการภายใต้ทุน ทรัพย์สิน และรายได้ขององค์การ

มาตรา ๖ ให้องค์การมีสํานักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใกล้เคียง และ จะจัดตั้งสํานักงานสาขาขึ้น ณ ที่อื่นใดก็ได้

มาตรา ๗ ให้องค์การมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(๑) ดําเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่มี คุณภาพและคุณธรรม บนพื้นฐานของความเป็นไทย โดยผ่านทางบริการข่าวสารที่เที่ยงตรง รอบด้าน สมดุล และซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ

(๒) ผลิตรายการทางด้านข่าวสาร สารประโยชน์ทางด้านการศึกษา และสาระบันเทิง ที่มี สัดส่วนอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพสูง เน้นความหลากหลายในมิติต่าง ๆ โดยมุ่งดําเนินการอย่าง ปราศจากอคติทางการเมืองและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ และยึดถือผลประโยชน์สาธารณะเป็นสําคัญ

(๓) ส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชนให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อประโยชน์ ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นผ่านทางการให้บริการข่าวสารและสารประโยชน์อื่น

(๔) ส่งเสริมเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารเพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยที่ประชาชนได้รับ ข่าวสารอย่างเท่าเทียมกัน

(๕) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อมในการกําหนดทิศทาง การให้บริการขององค์การเพื่อประโยชน์สาธารณะ �

(๖) สนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์อื่น

การดําเนินการตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ให้คํานึงถึงการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ได้ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมของประชาชน

มาตรา ๘ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๗ ให้องค์การมีอํานาจ หน้าที่หลัก ดังต่อไปนี้

(๑) จัดให้มีสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือเผยแพร่รายการในระบบอื่น หรือเทคโนโลยีทันสมัยอื่น โดยมีเครือข่ายให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศหรือให้มีสถานี วิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์เพิ่มเติมเป็นเครือข่าย ไม่เก็บค่าสมาชิกและไม่หารายได้จาก การโฆษณา เว้นแต่เป็นการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนองค์การ

(๒) ให้บริการผลิตสื่อโสตทัศน์ หรือบริการระบบเครือข่ายสารสนเทศอื่น หรือบริการอื่นใด ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่รายการ

(๓) ให้การสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพและการสร้างสรรค์การผลิตรายการของผู้ผลิต รายการอิสระ

(๔) ร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรภาคเอกชน ชุมชน หรือหน่วยงานต่างประเทศหรือ องค์การระหว่างประเทศ หรือสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ขององค์การสื่อสารสาธารณะของ ต่างประเทศ ในการผลิตรายการอันเป็นการส่งเสริมความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือสร้างความ ร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างกัน

(๕) กระทําการอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สําเร็จตามวัตถุประสงค์ของ องค์การ

มาตรา ๙ นอกจากอํานาจหน้าที่ตามมาตรา ๘ ให้องค์การมีอํานาจทํากิจการ ดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ

(๒) ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทํานิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักรเพื่อประโยชน์ในการ ดําเนินกิจการขององค์การ

(๓) เข้าร่วมทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ขององค์การ

(๔) เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบํารุง ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอื่นใดในการให้บริการ �

(๕) ดําเนินการอื่นใดที่จําเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

มาตรา ๑๐ กิจการขององค์การไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ ผู้อํานวยการ พนักงาน และลูกจ้างขององค์การต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

มาตรา ๑๑ ทุน ทรัพย์สิน และรายได้ขององค์การ ประกอบด้วย

(๑) เงินบํารุงองค์การที่จัดเก็บตามมาตรา ๑๒

(๒) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา ๕๗ หรือตามกฎหมายอื่น

(๓) ทุนประเดิมที่รัฐจ่ายให้เป็นการอุดหนุนตามมาตรา ๖๐

(๔) ค่าธรรมเนียม ค่าบํารุง ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอื่นใดในการให้บริการ

(๕) เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้รับจากผู้สนับสนุนองค์การ

(๖) รายได้หรือการหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การ

(๗) ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินขององค์การ

การรับเงินตาม (๕) ต้องไม่เป็นการกระทําที่ทําให้องค์การขาดความเป็นอิสระในการ ดําเนินงาน หรือให้กระทําการอันขัดหรือแย้งต่อวัตถุประสงค์ขององค์การ

รายได้ในการดําเนินกิจการขององค์การนอกจาก (๒) และ (๓) ต้องนําไปใช้ในการ สนับสนุนพัฒนาศักยภาพและให้โอกาสสร้างสรรค์แก่ผู้ผลิตรายการอิสระในอัตราที่คณะกรรมการ นโยบายกําหนด แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของรายได้ดังกล่าว

รายได้ขององค์การตามวรรคหนึ่งไม่ต้องนําส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วย เงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ

มาตรา ๑๒ ให้องค์การมีอํานาจจัดเก็บเงินบํารุงองค์การจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย ว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละหนึ่งจุดห้าของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตาม กฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ และจัดสรรให้เป็นรายได้ขององค์การ โดยให้มีรายได้ สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกินสองพันล้านบาท และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอํานาจในการ ปรับเพิ่มรายได้สูงสุดตามมาตรานี้ทุกสามปี เพื่อให้องค์การมีรายได้เพียงพอต่อการดําเนินการตาม � วัตถุประสงค์ โดยให้พิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อของปีที่ผ่านมาประกอบกับขอบเขตการดําเนินงานของ องค์การที่เปลี่ยนแปลงไปและผลการประเมินการดําเนินงานขององค์การตามมาตรา ๕๐

รายได้ขององค์การตามวรรคหนึ่งส่วนที่เกินจากรายได้สูงสุดที่กําหนดไว้ ให้องค์การนําส่งเป็น รายได้แผ่นดิน

การคํานวณเงินบํารุงองค์การตามอัตราที่กําหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของสตางค์ ให้ปัดทิ้ง

มาตรา ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและส่งเงินบํารุงองค์การ

(๑) ให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้เรียกเก็บเงินบํารุงองค์การเพื่อนําส่งเป็นรายได้ ขององค์การ โดยส่วนที่ไม่เกินจากรายได้สูงสุดที่กําหนดในมาตรา ๑๒ ไม่ต้องนําส่งเป็นรายได้ แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนด

(๒) เงินบํารุงองค์การ ให้ถือเป็นภาษี แต่ไม่ให้นําไปรวมคํานวณเป็นมูลค่าของภาษี

ในการนําส่งเงินบํารุงองค์การ ให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรหักค่าใช้จ่ายไว้ในอัตรา ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกําหนด แต่ไม่เกินร้อยละหนึ่งจุดห้าของเงินบํารุง องค์การที่เก็บได้

มาตรา ๑๔ ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ มีหน้าที่ ส่งเงินบํารุงองค์การตามอัตราที่กําหนดตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง พร้อมกับการชําระภาษีตามระเบียบที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนด

มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ได้รับการงดเว้น ยกเว้น ลดหย่อน หรือคืนภาษี ให้ได้รับการงดเว้น ยกเว้น ลดหย่อน หรือคืนเงิน บํารุงองค์การด้วย ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนด

มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบํารุงองค์การไม่ส่งเงินบํารุงองค์การ หรือส่งภายหลัง ระยะเวลาที่กําหนดหรือส่งเงินบํารุงองค์การไม่ครบตามจํานวนที่ต้องส่ง นอกจากจะมีความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งจุดห้าต่อเดือนของจํานวนเงินที่ไม่ส่งหรือส่ง ภายหลังระยะเวลาที่กําหนดหรือจํานวนที่ส่งขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกําหนดส่งจนถึงวันที่ส่ง เงินบํารุงองค์การ แต่เงินเพิ่มที่คํานวณได้มิให้เกินจํานวนเงินบํารุงองค์การ และให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็น เงินบํารุงองค์การด้วย

ในการคํานวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน �

หมวด ๒

การบริหารและการดําเนินกิจการ


ส่วนที่ ๑

คณะกรรมการนโยบาย


มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย ประกอบด้วยประธานกรรมการนโยบายคนหนึ่ง และกรรมการนโยบายอื่นอีกแปดคน ซึ่งสรรหาและแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลผู้มีความรู้ ประสบการณ์ และเป็นผู้ที่มีผลงานหรือ เคยปฏิบัติงานที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญ ดังต่อไปนี้

(๑) ด้านกิจการสื่อสารมวลชน จํานวนสองคน

(๒) ด้านการบริหารจัดการองค์กร จํานวนสามคน

(๓) ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย การพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น การเรียนรู้และศึกษา การคุ้มครองและพัฒนาเด็ก เยาวชนหรือครอบครัว หรือการส่งเสริมสิทธิของผู้ด้อยโอกาสทางสังคม จํานวนสี่คน

ให้ผู้อํานวยการเป็นเลขานุการของคณะกรรมการนโยบาย

มาตรา ๑๘ ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งจํานวนสิบห้าคน ทําหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่ สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการนโยบาย ประกอบด้วย

(๑) ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

(๒) นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

(๓) นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

(๔) ประธานสภาสถาบันนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

(๕) ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน

(๖) ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค

(๗) ประธานสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระบรมราชูปถัมภ์

(๘) ประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย �

(๙) นายกสภาทนายความ

(๑๐) ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

(๑๑) ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

(๑๒) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี

(๑๓) ปลัดกระทรวงการคลัง

(๑๔) ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

(๑๕) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ในกรณีที่ผู้ดํารงตําแหน่งตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) หรือ (๑๐) ไม่สามารถเข้าประชุมได้ ผู้ที่เข้าประชุมแทนต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมของสภา คณะกรรมการหรือสถาบันขององค์การนั้นให้เข้าประชุมแทน

ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาครบตามที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ภายในเวลาสามสิบวันนับแต่เมื่อมีเหตุให้ทําการสรรหา ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย กรรมการสรรหาที่เหลืออยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบคน

กรรมการสรรหาไม่มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการนโยบาย

ให้คณะกรรมการสรรหาเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสรรหา และ เลือกกรรมการสรรหาอีกคนหนึ่งเป็นเลขานุการกรรมการสรรหา

หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหากําหนด ทั้งนี้ ต้องคํานึงถึง ความโปร่งใสและความเป็นธรรมในการสรรหา

ให้องค์การทําหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการในการดําเนินการสรรหา

มาตรา ๑๙ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการนโยบายต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) มีสัญชาติไทย

(๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์

(๓) สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเป็นอิสระ เป็นกลาง และสุจริต

(๔) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ �

(๕) ไม่เป็นบุคคลที่เคยต้องคําพิพากษาให้จําคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไปโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง ห้าปีในวันที่ได้รับการเสนอชื่อ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาท

(๖) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงหรือถือว่ากระทําการทุจริตและประพฤติมิชอบในวง ราชการ

(๗) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทํา การทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติงาน

(๘) ไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ํารวย ผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ

มาตรา ๒๐ ในการสรรหากรรมการนโยบาย ให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณาคัดเลือก บุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๗ รวมทั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙ และ ยินยอมให้เสนอชื่อเข้ารับเลือก จํานวนเท่ากับจํานวนกรรมการนโยบายที่จะได้รับแต่งตั้ง

เมื่อได้คัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการนโยบายครบจํานวนแล้ว ให้ผู้ที่ได้รับเลือกทั้งหมดประชุม ร่วมกันเพื่อเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการนโยบาย

ให้คณะกรรมการสรรหาแจ้งรายชื่อประธานกรรมการนโยบายและกรรมการนโยบายพร้อม หลักฐานแสดงคุณสมบัติและการไม่มีลักษณะต้องห้ามตลอดจนความยินยอมของบุคคลดังกล่าว ต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการนโยบาย

ให้นายกรัฐมนตรีประกาศรายชื่อคณะกรรมการนโยบายในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๑ ในขณะดํารงตําแหน่ง กรรมการนโยบายต้อง

(๑) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เว้นแต่อาจารย์ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

(๒) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง

(๓) ไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ �

(๔) ไม่เป็นหุ้นส่วน กรรมการ พนักงานในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม หรือในห้างหุ้นส่วนบริษัทที่ประกอบกิจการ เป็นผู้ผลิตรายการให้องค์การ

ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการนโยบายผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตาม วรรคหนึ่งต้องลาออกจากการที่เป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตั้งแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้ ลาออกภายในเวลาที่กําหนด ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการนโยบาย และให้ ดําเนินการสรรหากรรมการนโยบายใหม่แทน

มาตรา ๒๒ ประธานกรรมการนโยบายและกรรมการนโยบายจะต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในกิจการที่กระทํากับองค์การ หรือในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการขององค์การ ทั้งนี้ ไม่ว่าโดย ทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่การเข้าบริหารหรือเข้าร่วมดําเนินกิจการร่วมทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ตามที่คณะกรรมการนโยบายมอบหมาย

มาตรา ๒๓ กรรมการนโยบายมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี

ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกําหนดสองปี ให้กรรมการนโยบายออกจากตําแหน่งจํานวนสี่คนโดย วิธีการจับสลาก และให้ถือว่าการออกจากตําแหน่งโดยการจับสลากดังกล่าวเป็นการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ

เมื่อครบกําหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้แต่งตั้งกรรมการนโยบายขึ้นใหม่ ให้กรรมการนโยบายซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้น อยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่า กรรมการนโยบายซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่

กรรมการนโยบายซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

มาตรา ๒๔ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการนโยบายพ้นจากตําแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙

(๔) กระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๒

(๕) ต้องคําพิพากษาให้จําคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็น กรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทําโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท �

เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งแทน เว้นแต่ผู้นั้นมีวาระ เหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน และให้นํามาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทนอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่ เหลืออยู่ของกรรมการนโยบายผู้ซึ่งตนแทน

ในระหว่างดําเนินการสรรหากรรมการนโยบายตามวรรคสอง ให้กรรมการนโยบายเท่าที่ เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยให้ถือว่าคณะกรรมการนโยบายประกอบด้วยกรรมการนโยบายเท่าที่ เหลืออยู่ เว้นแต่มีกรรมการนโยบายเหลืออยู่ไม่ถึงห้าคน

มาตรา ๒๕ ในกรณีที่ประธานกรรมการนโยบายพ้นจากตําแหน่งด้วยเหตุตามมาตรา ๒๓ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๔ ให้ที่ประชุมกรรมการนโยบายเลือกกรรมการนโยบายคนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ ประธานกรรมการนโยบายไปพลางก่อน จนกว่าจะมีกรรมการนโยบายครบจํานวน จึงให้กรรมการ นโยบายทั้งคณะเลือกผู้ที่ทําหน้าที่ประธานกรรมการนโยบายต่อไป

มาตรา ๒๖ การประชุมคณะกรรมการนโยบายต้องมีกรรมการนโยบายมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ถ้าประธานกรรมการนโยบายไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ นโยบายเลือกกรรมการนโยบายคนหนึ่งทําหน้าที่ประธานในที่ประชุม

มาตรา ๒๗ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการนโยบายคนหนึ่ง ให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีก เสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา ๒๘ คณะกรรมการนโยบายมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) กําหนดนโยบายโดยทั่วไปขององค์การ

(๒) คุ้มครองรักษาความเป็นอิสระของคณะกรรมการบริหาร ผู้อํานวยการ และพนักงานให้ ปลอดจากการแทรกแซงใด ๆ

(๓) ให้ความเห็นชอบแผนการบริหารกิจการและแผนการจัดทํารายการขององค์การ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗

(๔) ให้ความเห็นชอบงบประมาณขององค์การ �

(๕) ควบคุมการดําเนินงานของคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามนโยบายของ คณะกรรมการนโยบาย

(๖) กําหนดให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพของรายการ

(๗) กําหนดข้อบังคับด้านจริยธรรมของกรรมการบริหาร ผู้อํานวยการ ผู้บริหารของ องค์การ พนักงานและลูกจ้างขององค์การ และบทลงโทษ

(๘) กํากับดูแลเพื่อให้ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและคําติชม ตลอดจนข้อร้องเรียนของ ประชาชนต่อองค์การ ได้รับการพิจารณาอย่างเหมาะสมและรวดเร็ว

(๙) กําหนดระเบียบกลางเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การเงิน การงบประมาณและ ทรัพย์สิน การมอบอํานาจให้คณะกรรมการบริหารดําเนินการต่าง ๆ และการดําเนินกิจการโดยทั่วไป

(๑๐) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารตามมาตรา ๒๙

(๑๑) แต่งตั้งและถอดถอนผู้อํานวยการตามมาตรา ๓๑

(๑๒) กําหนดค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อํานวยการ และรองผู้อํานวยการ ตามมาตรา ๓๗

(๑๓) กําหนดข้อบังคับด้านจริยธรรมของวิชาชีพเกี่ยวกับการผลิต และการเผยแพร่รายการ ขององค์การตามมาตรา ๔๒

(๑๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากประชาชนตามมาตรา ๔๖

(๑๕) จัดทํารายงานผลการปฏิบัติงานประจําปีเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามมาตรา ๕๒

(๑๖) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

ส่วนที่ ๒

คณะกรรมการบริหาร


มาตรา ๒๙ ให้คณะกรรมการนโยบายแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่งประกอบด้วย ผู้อํานวยการเป็นประธานกรรมการโดยตําแหน่ง ผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารขององค์การจํานวนไม่ เกินหกคนเป็นกรรมการ และกรรมการบริหารอื่นอีกไม่เกินสี่คน �

กรรมการบริหารอื่นตามวรรคหนึ่งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๑ และเป็นผู้มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญและมีผลงานปรากฏแก่สาธารณะทางด้าน สื่อสารมวลชน การบริหารจัดการ สังคม วัฒนธรรม หรือนิติศาสตร์

กรรมการบริหารต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทํากับองค์การหรือในกิจการที่เป็น การแข่งขันกับกิจการขององค์การ ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่การเข้าบริหารหรือเข้า ร่วมดําเนินกิจการร่วมทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายหรือคณะ กรรมการบริหาร แล้วแต่กรณี มอบหมาย

ในกรณีที่ผู้อํานวยการพ้นจากตําแหน่งให้กรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งพ้นจากตําแหน่งด้วย

ให้นําความในมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการบริหาร ด้วยโดยอนุโลม

ให้คณะกรรมการบริหารปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกรอบนโยบายที่คณะกรรมการนโยบาย กําหนด และมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) ควบคุมดูแลการผลิตรายการหรือการสร้างสรรค์รายการขององค์การให้เป็นไปตาม นโยบายของคณะกรรมการนโยบาย

(๒) กํากับดูแลการปฏิบัติงานขององค์การให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบ ข้อบังคับ ขององค์การในกรณีที่มีการร้องเรียนของประชาชน

(๓) จัดทําแผนการบริหารกิจการและแผนการจัดทํารายการขององค์การเสนอต่อ คณะกรรมการนโยบายเพื่อให้ความเห็นชอบ

(๔) จัดทําแผนพัฒนาองค์การ แผนพัฒนาบุคลากร และแผนการเงินเสนอต่อ คณะกรรมการนโยบาย

(๕) จัดทําแผนแม่บทพัฒนาเครือข่าย

(๖) ประเมินคุณภาพของรายการที่มีการเผยแพร่

(๗) ดําเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการนโยบายมอบหมาย

มาตรา ๓๐ ให้ประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย และกรรมการบริหารอื่นตาม มาตรา ๒๙ ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา �

ส่วนที่ ๓

ผู้อํานวยการ


มาตรา ๓๑ ให้องค์การมีผู้อํานวยการคนหนึ่ง และรองผู้อํานวยการตามจํานวนที่ คณะกรรมการนโยบายกําหนด

คณะกรรมการนโยบายเป็นผู้มีอํานาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้อํานวยการ

หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้อํานวยการให้เป็นไปตามข้อบังคับของคณะกรรมการนโยบาย

ในกรณีที่ไม่มีผู้อํานวยการหรือผู้อํานวยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองผู้อํานวยการที่มี อาวุโสตามลําดับปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้าไม่มีรองผู้อํานวยการ ให้คณะกรรมการนโยบายแต่งตั้ง กรรมการบริหารคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน

มาตรา ๓๒ ผู้อํานวยการต้องเป็นผู้สามารถทํางานให้แก่องค์การได้เต็มเวลาและเป็นผู้นํา และรับผิดชอบในการบริหารกิจการขององค์การและการผลิตรายการตามนโยบายของคณะกรรมการ นโยบาย และต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) มีสัญชาติไทย

(๒) มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันที่ได้รับการแต่งตั้ง

(๓) มีความรู้ความเข้าใจและมีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ หรือการสื่อสารมวลชน

(๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๙ (๔) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘)

(๕) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ พรรคการเมือง

(๖) ไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของ องค์การ หรือที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีสัญญาจ้างกับองค์การ

(๗) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทํากับองค์การ หรือในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับ กิจการขององค์การ ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่การเข้าบริหารหรือเข้าร่วมดําเนิน กิจการร่วมทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบาย หรือคณะกรรมการบริหารมอบหมาย �

ในการบริหารกิจการขององค์การ ผู้อํานวยการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการนโยบาย

มาตรา ๓๓ การแต่งตั้งผู้อํานวยการต้องทําเป็นสัญญาจ้างตามแบบที่คณะกรรมการนโยบาย กําหนด โดยประธานกรรมการนโยบายเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง

สัญญาจ้างตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการดํารงตําแหน่ง เงื่อนไขการทํางาน การประเมินผลงาน การพ้นจากตําแหน่ง การเลิกจ้าง ค่าจ้าง และผลประโยชน์อื่นของผู้อํานวยการ

มาตรา ๓๔ ผู้อํานวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายจะแต่งตั้งรอง ผู้อํานวยการจากผู้ซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๒ (๑) (๒) (๔) (๕) (๖) และ (๗) ไม่เกินจํานวนที่ คณะกรรมการนโยบายกําหนด เพื่อช่วยเหลือผู้อํานวยการในการปฏิบัติหน้าที่ก็ได้

การแต่งตั้งรองผู้อํานวยการให้ทําเป็นสัญญาจ้างกับองค์การตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบาย โดยให้ผู้อํานวยการเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง

ให้นําความในมาตรา ๓๓ วรรคสอง มาใช้บังคับกับสัญญาจ้างรองผู้อํานวยการโดยอนุโลม

มาตรา ๓๕ ผู้อํานวยการและรองผู้อํานวยการอยู่ในตําแหน่งตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ใน สัญญาจ้าง ซึ่งต้องไม่เกินคราวละสี่ปี แต่อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

มาตรา ๓๖ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาจ้าง ผู้อํานวยการและรองผู้อํานวยการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ แล้วแต่กรณี

(๔) ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน

(๕) คณะกรรมการนโยบายมีมติให้ถอดถอนด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของ จํานวนคณะกรรมการนโยบายทั้งหมดในขณะนั้น มติให้ถอดถอนนี้ต้องแสดงเหตุผลซึ่งอย่างน้อยต้อง ประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนการใช้ดุลพินิจ ทั้งนี้ เว้นแต่ กรณีของรองผู้อํานวยการ ให้ผู้อํานวยการเป็นผู้ถอดถอน โดยแสดงข้อเท็จจริงและให้เหตุผลของการ ถอดถอนด้วย

(๖) ถูกเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาจ้าง �

มาตรา ๓๗ ค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อํานวยการ และรองผู้อํานวยการ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายกําหนด โดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และ ภาระของงาน และเทียบเคียงกับอัตราค่าตอบแทนของผู้บริหารในตําแหน่งลักษณะเดียวกันหรือ ใกล้เคียงกันของภาคเอกชน

มาตรา ๓๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้อํานวยการมีอํานาจ

(๑) ออกระเบียบในการบริหารกิจการขององค์การ รวมทั้งระเบียบและวิธีปฏิบัติงานของ พนักงานหรือลูกจ้างขององค์การ ทั้งนี้ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบกลางที่คณะกรรมการนโยบายกําหนด

(๒) ทําสัญญาจ้าง เลิกจ้าง เลื่อน ลด หรือตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ตลอดจนลงโทษทาง วินัยแก่พนักงานและลูกจ้างขององค์การตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนด

(๓) แต่งตั้งนายสถานีและคณะกรรมการบริหารสถานี

มาตรา ๓๙ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้อํานวยการเป็นผู้แทนองค์การ เพื่อการนี้ ผู้อํานวยการจะมอบอํานาจให้บุคคลใดกระทํากิจการแทนก็ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการ นโยบายกําหนด

นิติกรรมที่ผู้อํานวยการกระทําโดยฝ่าฝืนระเบียบที่ออกตามมาตรา ๒๘ (๙) หรือมาตรา ๓๘ (๑) และ (๒) ย่อมไม่ผูกพันองค์การ เว้นแต่คณะกรรมการนโยบายหรือคณะกรรมการบริหาร แล้วแต่กรณี จะได้ให้สัตยาบัน

มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ไม่มีผู้อํานวยการและรองผู้อํานวยการพร้อมกัน ให้คณะกรรมการนโยบาย แต่งตั้งกรรมการบริหารหรือพนักงานขององค์การคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการในตําแหน่งผู้อํานวยการ

ให้ผู้รักษาการในตําแหน่งผู้อํานวยการมีอํานาจและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้อํานวยการ

มาตรา ๔๑ ให้ประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย กรรมการบริหาร ผู้อํานวยการ รองผู้อํานวยการ และพนักงานขององค์การ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ให้ประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย กรรมการบริหาร ผู้อํานวยการและ รองผู้อํานวยการ เป็นผู้ดํารงตําแหน่งระดับสูงตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต �

หมวด ๓

ข้อบังคับด้านจริยธรรมของวิชาชีพ


มาตรา ๔๒ ให้คณะกรรมการนโยบายจัดทําข้อบังคับด้านจริยธรรมของวิชาชีพเกี่ยวกับการ ผลิตและการเผยแพร่รายการ โดยคํานึงถึงความเห็นของตัวแทนพนักงานและลูกจ้างขององค์การ ผู้ผลิต รายการ ผู้รับชมและรับฟังรายการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และ สื่อสารมวลชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การผลิต การจัดหาและการเผยแพร่รายการของ องค์การ

ข้อบังคับด้านจริยธรรมของวิชาชีพตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องครอบคลุมเนื้อหาสาระใน เรื่องดังต่อไปนี้

(๑) ความเที่ยงตรง ความเป็นกลาง และความเป็นธรรม

(๒) ความเป็นอิสระของวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสาธารณชน

(๓) การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเป็นส่วนตัว และการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล

(๔) การคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากรายการที่แสดงออกถึงความรุนแรง การกระทํา อันผิดกฎหมายหรือศีลธรรม อบายมุข และภาษาอันหยาบคาย

(๕) การปฏิบัติต่อเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายและผู้ที่อยู่ในภาวะเศร้าโศก

(๖) การจ่ายเงินแก่แหล่งข่าว การรับรางวัลหรือผลประโยชน์ตอบแทนเพื่อให้เสนอข่าว หรือ มีส่วนร่วมในการกระทําใดอันกระทําให้ขาดความเป็นธรรมและความเป็นอิสระของวิชาชีพ

(๗) การปกป้องและปฏิบัติต่อแหล่งข่าวอย่างเป็นธรรม

ให้คณะกรรมการนโยบายเผยแพร่ข้อบังคับด้านจริยธรรมที่จัดทําขึ้นตามวรรคหนึ่งต่อสาธารณชน

หมวด ๔

การเผยแพร่รายการ


มาตรา ๔๓ รายการที่ให้บริการผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ องค์การต้องมีเนื้อหาและคุณค่า ดังนี้ �

(๑) ข่าวสารที่มีผลกระทบต่อสาธารณะที่เสนออย่างเที่ยงตรง รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ รอบด้าน และเป็นธรรม ในสัดส่วนที่พอเพียงในช่วงที่มีผู้รับชมและรับฟังมาก

(๒) รายการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็น ต่อประเด็นที่สําคัญต่อสาธารณะซึ่งมีความคิดเห็นแตกต่างกันในสังคม บนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง มีสมดุลของความคิดเห็นฝ่ายต่าง ๆ และมีการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล

(๓) รายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและรายการที่ ส่งเสริมการศึกษาในวิทยาการสาขาต่าง ๆ และการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนอย่างเพียงพอ โดยคํานึง ถึงเวลาที่สะดวกต่อการรับชมและรับฟัง

(๔) รายการกีฬา นันทนาการ และรายการที่ส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน

(๕) รายการที่ส่งเสริมเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและ ความสมานฉันท์ในสังคม ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคมมีโอกาสแสดงความคิดเห็นหรือ นําเสนอข้อมูลของตน

(๖) รายการบันเทิงที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณค่าที่ดีงามของสังคม หรือยกระดับสุนทรียภาพ ของประชาชน

(๗) รายการที่เป็นการสนับสนุนผู้ผลิตรายการอิสระ ซึ่งต้องจัดสรรเวลาให้อย่างเพียงพอ

การจัดทําผังรายการเป็นดุลยพินิจขององค์การ และต้องไม่มีลักษณะที่เอื้อประโยชน์หรือตอบแทน ในเชิงพาณิชย์

ผู้อํานวยการต้องจัดทําผังรายการเสนอต่อคณะกรรมการบริหารเพื่ออนุมัติทุกสามเดือน

ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผังรายการอย่างมีนัยสําคัญ ให้ผู้อํานวยการจัดทําผังรายการที่มีการ เปลี่ยนแปลงเสนอต่อคณะกรรมการบริหารเพื่ออนุมัติ

ในการจัดทํารายการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการนโยบายกําหนดมาตรการโดยรับฟัง ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีบริการที่เหมาะสมในการส่งเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึงหรือ ใช้ประโยชน์รายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ขององค์การได้

มาตรา ๔๔ ให้องค์การจัดเก็บวัสดุที่บันทึกรายการที่มีการเผยแพร่อันเป็นที่สนใจของ ประชาชนเพื่อประโยชน์ในทางประวัติศาสตร์ �

ให้องค์การให้บริการแก่ประชาชนในการรับฟังและรับชมรายการที่บันทึกในวัสดุตามวรรคหนึ่ง โดยเก็บค่าบริการได้

หมวด ๕

สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ และการรับเรื่องร้องเรียน


มาตรา ๔๕ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการให้บริการและการผลิตรายการขององค์การให้มี คุณภาพสอดคล้องกับประโยชน์สาธารณะและสังคม และสะท้อนความต้องการของผู้ใช้บริการ รวมทั้ง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกําหนดนโยบาย ให้มีสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายแต่งตั้งจํานวนไม่เกินห้าสิบคน ประกอบไปด้วยตัวแทนของประชาชนในภูมิภาค และกลุ่มต่าง ๆ ที่หลากหลาย และมีความสมดุล เพื่อรับฟังความคิดเห็นและคําแนะนําจากประชาชนใน วงกว้างต่อการผลิตรายการขององค์การ โดยให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายกําหนด

คณะกรรมการนโยบายอาจกําหนดให้มีสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการแยกย่อยตามภูมิภาคก็ได้ โดยคํานึงถึงความต้องการของภูมิภาคและความหลากหลายของสังคม

ให้คณะกรรมการบริหารดําเนินการรวบรวมความเห็นและคําแนะนําที่ได้รับจากสภาผู้ชมและ ผู้ฟังรายการตามวรรคหนึ่ง เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพร้อมทั้งเสนอแนวทางในการพัฒนาบริการ และการผลิตรายการขององค์การ หรือการปรับปรุงแผนแม่บทการบริหารกิจการและรายการของ องค์การให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่มีการเปลี่ยนแปลงไป

มาตรา ๔๖ ให้คณะกรรมการนโยบายจัดให้มีคณะอนุกรรมการรับและพิจารณาเรื่อง ร้องเรียนจากประชาชนในกรณีที่องค์การ ผู้ผลิตรายการ หรือพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การกระทํา การหรือผลิตรายการที่ขัดต่อข้อบังคับด้านจริยธรรมของวิชาชีพตามมาตรา ๔๒ ทั้งนี้ โดยคณะอนุกรรมการ รับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากประชาชนต้องพิจารณา และตรวจสอบเรื่องร้องเรียนดังกล่าว อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม �

กระบวนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งจะต้องครอบคลุมถึงวิธีการแก้ไข หรือเยียวยาในกรณีที่มีการผลิตรายการที่ขัดต่อข้อบังคับด้านจริยธรรมของวิชาชีพ รวมทั้งมีวิธีการแก้ไข ข้อความที่เป็นเท็จ สิทธิการโต้แย้ง และการขออภัยในกรณีที่เกิดความผิดพลาด

การร้องเรียนตามกระบวนการตามมาตรานี้ไม่เป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชนในการที่จะ ใช้ช่องทางอื่นตามกฎหมายเพื่อแก้ไขหรือเยียวยาต่อกรณีที่มีการร้องเรียนนั้น

มาตรา ๔๗ องค์การต้องจัดเก็บบันทึกต้นฉบับของทุกรายการเป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน นับแต่วันที่เผยแพร่รายการนั้น

เมื่อรายการใดที่เป็นเหตุให้เกิดกรณีพิพาทหรือร้องเรียน ให้องค์การเก็บบันทึกต้นฉบับของ รายการนั้นไว้จนกว่ากรณีนั้นจะได้รับการพิจารณาจนเสร็จสิ้น

หมวด ๖

การบัญชี การตรวจสอบ และการประเมินผล


มาตรา ๔๘ ให้องค์การจัดทําบัญชีตามหลักการบัญชีสากลและตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการบริหารกําหนด และต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชีและ การพัสดุขององค์การ และให้รายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

ในการตรวจสอบภายใน ให้องค์การแต่งตั้งพนักงานเพื่อทําหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายใน โดยเฉพาะ และให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการนโยบายตามระเบียบที่คณะกรรมการนโยบาย กําหนด

มาตรา ๔๙ ให้องค์การจัดทํางบการเงิน ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยงบแสดงฐานะทาง การเงิน งบรายได้และค่าใช้จ่าย และงบกระแสเงินสด ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วัน สิ้นปีบัญชีทุกปี

ให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่คณะกรรมการนโยบายแต่งตั้ง ด้วยความเห็นชอบของสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและ ทรัพย์สินขององค์การ ในรายงานผลการสอบบัญชีให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่าย � ดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด คุ้มค่าและได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด แล้วทําบันทึก รายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการนโยบาย

ให้คณะกรรมการนโยบายประสานงานกับสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินอย่างสม่ําเสมอ เกี่ยวกับแผนการตรวจสอบการเงินและการปรับปรุงทบทวนเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน

มาตรา ๕๐ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการดําเนินการขององค์การให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์ สร้างความรับผิดชอบและความเชื่อถือแก่สาธารณชนในกิจการขององค์การ ตลอดจนมี การติดตามความก้าวหน้าและการตรวจสอบการดําเนินงานขององค์การให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โครงการ และแผนงานที่ได้จัดทําไว้ ให้คณะกรรมการนโยบายจัดให้มีการประเมินผลการดําเนินงาน ประจําปี โดยคณะกรรมการประเมินผลซึ่งเป็นบุคคลภายนอกองค์การ

การประเมินผลการดําเนินงานจะต้องแสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏทั้งในด้านประสิทธิผล ในด้านประสิทธิภาพ ในด้านการพัฒนาองค์การ ในด้านการสนับสนุนจากประชาชน จํานวนและ ความพึงพอใจของผู้รับชมหรือรับฟังรายการ และในรายละเอียดอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายจะได้ กําหนดเพิ่มเติมขึ้น

มาตรา ๕๑ อย่างน้อยทุก ๆ สิบปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้องค์การเสนอ ให้มีการทบทวนที่มาของรายได้และสัดส่วนของเงินบํารุงองค์การให้มีความเหมาะสมกับความจําเป็นใน การดําเนินภารกิจขององค์การ ทบทวนถึงความเหมาะสมในการให้องค์การนําส่งเงินสะสมส่วนที่เกิน จากความจําเป็นกลับคืนเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินหรือจัดสรรคืนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม และทบทวน การสร้างและส่งเสริมการสื่อสารสาธารณะของประชาชนผ่านการดําเนินภารกิจขององค์การ รวมทั้ง เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

หมวด ๗

การตรวจสอบและควบคุม


มาตรา ๕๒ เพื่อเป็นการตรวจสอบและควบคุมให้ผู้ชมและผู้ฟังรายการได้รับบริการที่มี คุณภาพและประสิทธิภาพ และแสดงถึงความเป็นกลางขององค์การ ให้องค์การทํารายงานผลการ � ปฏิบัติงานประจําปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้น ปีบัญชี และให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย

รายงานตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องกล่าวถึง

(๑) ผลงานขององค์การในปีที่ผ่านมาเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้

(๒) โครงการ แผนงาน และแผนงบประมาณสําหรับปีถัดไป

(๓) ผังรายการในปีที่ผ่านมา และแผนการที่จะเปลี่ยนแปลงผังรายการสําหรับปีถัดไป

(๔) งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี รายงานการตรวจสอบภายในและรายงานของ คณะกรรมการประเมินผล

(๕) ข้อมูลนิติบุคคลที่องค์การเป็นเจ้าของหรือถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมและข้อมูลของ บุคคลที่องค์การเข้าร่วมกิจการหรือร่วมลงทุน

(๖) รายการที่องค์การให้การสนับสนุนการผลิตแก่ผู้ผลิตรายการอิสระ วิธีว่าจ้างการผลิต รายการ พร้อมชื่อของผู้ผลิตรายการเหล่านั้น และรายละเอียดในการเผยแพร่รายการที่สนับสนุน

(๗) ความคิดเห็นที่ได้รับจากสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการตามมาตรา ๔๕ และจากประชาชน ทั่วไปและการปรับปรุงที่ดําเนินการตามความคิดเห็นที่ได้รับ

(๘) ข้อมูลร้องเรียนจากผู้ชมและผู้ฟังรายการ และผลและวิธีการการแก้ไข

หมวด ๘

บทกําหนดโทษ


มาตรา ๕๓ ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบํารุงองค์การผู้ใดไม่ส่งเงินบํารุงองค์การ หรือส่งเงินบํารุง องค์การไม่ครบถ้วนตามจํานวนที่ต้องส่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าถึงยี่สิบ เท่าของเงินบํารุงองค์การที่จะต้องนําส่ง หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๕๔ ในกรณีผู้กระทําความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทํานั้นได้กระทํา โดยตนมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย �

มาตรา ๕๕ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ได้รับ มอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตมีอํานาจเปรียบเทียบได้

มาตรา ๕๖ การกระทําใด ๆ ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่า ทางตรงหรือทางอ้อมอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงองค์การให้เผยแพร่รายการที่ขัดหรือ แย้งต่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ หรือดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ หรือ ข้อบังคับด้านจริยธรรมของวิชาชีพที่ได้จัดทําขึ้นตามมาตรา ๔๒ ให้ถือเป็นการจงใจใช้อํานาจหน้าที่ โดยมิชอบและไม่มีผลบังคับใช้ เว้นแต่เป็นการกระทําเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย

บทเฉพาะกาล


มาตรา ๕๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ คลื่นความถี่ และภาระผูกพัน ของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ที่เกี่ยวกับการดําเนินงานสถานี วิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอชเอฟ และของสํานักงานบริหารกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ เฉพาะกิจ (หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ) ที่อยู่ในความดูแลของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ กรมประชาสัมพันธ์ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไปเป็นขององค์การ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงข้อโต้แย้ง หรือข้อพิพาทบรรดาที่มีอยู่หรือที่อาจจะมีขึ้นระหว่างสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีกับบริษัท ไอทีวี จํากัด (มหาชน) หรือบุคคลอื่นใดอันเนื่องจากหรือเพราะเหตุแห่งสัญญาเข้าร่วมงานและดําเนินการ สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ และระหว่างสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีกับบริษัทสยาม อินโฟเทนเมนท์ จํากัด ฉบับลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ไม่ว่าจะเป็นการดําเนินการในชั้น อนุญาโตตุลาการหรือชั้นศาล แต่ให้องค์การสนับสนุนค่าใช้จ่ายอันเนื่องจากการดําเนินการเกี่ยวกับ ข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทดังกล่าวให้แก่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรี กําหนด

มาตรา ๕๘ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการจํานวนไม่เกินห้าคน เพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายเป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมี คณะกรรมการนโยบายตามพระราชบัญญัตินี้ และมิให้นํามาตรา ๑๗ มาใช้บังคับ �

ให้คณะกรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งผู้ทําหน้าที่ ผู้อํานวยการไปพลางก่อนจนกว่าจะมีผู้อํานวยการตามพระราชบัญญัตินี้ และมิให้นํามาตรา ๓๒ มาใช้ บังคับ

ให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีทําหน้าที่หน่วยงานธุรการของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ประธานกรรมการมอบหมายไปจนกว่าคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งเห็นว่า องค์การสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

มาตรา ๕๙ ในวาระเริ่มแรก ให้ดําเนินการสรรหาคณะกรรมการนโยบายภายในหนึ่งร้อย แปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีทําหน้าที่ เป็นหน่วยงานธุรการในการสรรหา และให้คณะกรรมการนโยบายสรรหาผู้อํานวยการโดยเปิดกว้างจาก ผู้ที่มีความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายกําหนด

การสรรหาผู้อํานวยการตามวรรคหนึ่งต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่ วันที่คณะกรรมการนโยบายได้รับการแต่งตั้ง

มาตรา ๖๐ ให้รัฐบาลจัดสรรทุนประเดิมให้แก่องค์การตามจํานวนไม่เกินที่กําหนดไว้ใน มาตรา ๑๒

มาตรา ๖๑ ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้องค์การใช้คลื่นความถี่ตามที่ได้รับโอนมาตามมาตรา ๕๗ และได้รับยกเว้น ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ตามกฎหมายว่าด้วย วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

รองนายกรัฐมนตรี �

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรให้มีองค์การสื่อสาธารณะ ซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้นําในการผลิตและสร้างสรรค์รายการข่าวสารคุณภาพสูงที่จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และส่วนรวม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อส่งเสริมให้มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแท้จริงและสมดุล และมุ่งยกระดับการเรียนรู้ของประชาชนทุกภาคส่วนให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้ง พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและประเทศ และสร้างความยั่งยืนให้แก่ความเป็นพลเมืองและสังคมส่วนรวม ผ่านทางบริการข่าวสารและสาระความรู้ นอกจากนี้เพื่อให้องค์การเป็นผู้นําความรู้ในทางวิทยาการต่าง ๆ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของชาติที่ส่งเสริมให้คนในชาติมีความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน และเกิดความรักชาติ ภูมิใจในภาษา วัฒนธรรม และท้องถิ่นของตนเอง และกระตุ้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การผลิตรายการของผู้ผลิตรายการอิสระ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ �


ต้นฉบับ: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/008/1.PDF


งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"