พุทธประวัติ เล่ม๓ ตอน ปัจฉิมโพธิกาล

จาก วิกิซอร์ซ
Warning: หน้านี้ขาด {{หัวเรื่อง}}
ถ้าคุณอยากช่วย คุณสามารถเพิ่มข้อมูลตาม {{หัวเรื่อง}} เข้ามาในหน้านี้ หรือแสดงความเห็นไว้ที่ หน้าพูดคุย
                                         คำชี้แจง 

หนังสือพุทธประวัติเล่ม ๓ ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม- พระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดัดแปลงจากเทศนาปฐมสมโพธิ ตอน ปรินิพพาน ของสมเด็จพระสังฆราช (สา) มาใช้เป็นหลักสูตรการ ศึกษานักธรรมชั่วคราวนั้น เป็นอันยังต้องใช้ตลอดมาจนถึงบัดนี้ เพราะพระองค์ท่านไม่มีโอกาสจะทรงรจนาพุทธประวัติเล่ม ๓ ขึ้นตาม พระประสงค์ได้จนตลอดพระชนม์ชีพ. บัดนี้ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒๑๒๔๗๕ จวนหมดแล้ว จึงได้พิมพ์ ขึ้นใหม่ แต่ในการพิมพ์ครั้งนี้ พระกรรมการกองตำราได้จัดระเบียบ วรรคตอนและคำบันทึกเชิงหน้าเป็นต้น เพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจ ง่ายตามที่เห็นว่าควรทำขึ้น. คณะกรรมการกองตำรา ขออุทิศน้ำพักน้ำแรงบูชาสมเด็จพระ มหาสมณเจ้า ฯ พระองค์นั้น และมอบลิขสิทธิ์พึงบังเกิดมีแก่มหา- มกุฏราชวิทยาลัยสืบต่อไป. พระศรีวิสุทธิวงศ์ หัวหน้ากองตำรา


มหามกุฏราชวิทยาลัย ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๘๐

มีบริบูรณ์ ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ พระองค์ ผู้ทรงรจนาขึ้นไว้. ในการพิมพ์ครั้งนี้ คณะกรรมการแผนกตำราได้ตรวจชำระอักษร จัดวรรคตอน และบอกที่มา กับชี้แจงความบางประการไว้ที่เชิงหน้า นั้น ๆ. ขออุทิศกุศลจริยาทุกประการ บูชาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ พระองค์นั้น ผู้ประทานแสงสว่างคือวิทยาแก่ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม ทางพระพุทธศาสนาทั่วไป. แผนกตำรา


                                      คำนำ
                          (พิมพ์ครั้งที่ ๒๒๔๕๗)   

หนังสือพุทธประวัติของข้าพเจ้า รจนาแล้วเพียงเล่ม ๑ ตอน ปฐมโพธิกาล ไม่ทันความต้องการใช้ในการเรียนพุทธประวัติ จึง ถือเอาหนังสือปฐมสมโพธิตอนนิพพาน ที่สมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ทรงรจนาไว้ มาดัดแปลงเป็น พุทธประวัติวิภาคที่ ๓ ตอนปัจฉิมโพธิกาล เปลี่ยนรูปเป็นหนังสือ อ่า และแก้ไขตัดทอนให้เป็นสำนวนฟังง่าย แต่คงใจความเดิม เพื่อ จักได้ใช้เป็นหนังสือเรียนไปพลางกว่าฉบับใหม่จะแต่งเสร็จ เพราะ ตอนมัชฌิมโพธิกาลเป็นเรื่องไม่มีอนุสนธิ เพียงวิภาคที่ ๒ กับที่ ๓ ก็พอเข้าเรื่องกันได้ เช่นได้เคยใช้พุทธานุพุทธประวัติที่แต่งค้าง กับ นิพพานสูตรควบกันเป็นหลักสูตรแห่งการเรียนพุทธประวัติมานั้น ได้ พิมพ์ขึ้นคราวแรก เป็นการกุศลและของแจกของเจ้าภาพ ในงาน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ ณ พระเมรุท้อง สนามหลวง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๕ ต่อมาหนังสือนี้ไม่พอใช้ จึง มอบการพิมพ์หนังสือนี้ ให้เป็นธุระของมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อจะ ได้มีพอแก่ผู้ต้องการ กว่าพุทธประวัติวิภาคนี้ของข้าพเจ้าจะรจนา แล้ว หนังสือฉบับนี้พิมพ์เป็นครั้งที่ ๒ คงตามฉบับที่ ๑. กรม - วชิรญาณวโรรส วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๕๗

มหามกุฏราวิทยาลัย

                                           พุทธประวัติ     
                                         ปัจฉิมโพธิกาล*
                                             [อนุสนธิ] 

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ- ญาณแล้ว ได้ให้พระธรรมจักรอันประเสริฐ ซึ่งผู้อื่นจะให้เป็นไปเทียม ไม่ได้เป็นไปแล้ว ทรงประกอบอุปการกิจสั่งสอนเวไนยสัตว์มีพระ เบญจวัคคีย์เป็นต้นให้ตรัสรู้จตุราริยสัจจ์ ทรงประดิษฐานบริษัท ทั้ง ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ให้ดำรงอยู่ในพระสัทธรรม โลกุตตราริยมรรคผลตามอุปนิสัยสามารถ พระองค์ทรงประกาศ พรหมจรรย์ให้สมบูรณ์แพร่หลาย เป็นประโยชน์แก่ประชุมชน คือ เทพดามนุษย์เป็นอันมาก เสด็จพระพุทธดำเนินสัญจรสั่งสอนเวไนย- สัตว์ในคามนิคมชนบทราชธานีนั้น ๆ มีเมืองราชคฤห์ ในมคธรัฐ เป็นต้น ประดิษฐานพุทธสาวกมณฑลให้เป็นไป นับกาลกำหนดแต่ อภิสัมโพธิสมัยล่วงได้ ๔๔ พรรษา ครั้น ณ พรรษกาลที่ ๔๕ เสด็จ จำพรรษาธิษฐาน ณ บ้านเวฬุวคาม โดยพระพุทธอัธยาศัย.

                                   ทรงปลงอายุสังขาร
                                  [เสด็จบ้านเวฬุวคาม]

ครั้งนั้น พระองค์เสด็จจากอัมพปาลีซึ่งนางอัมพปาลีคณิกา ถวายเป็นสังฆารามแล้ว จาริกไปกับด้วยภิกษุสงฆ์พุทธบริวารเป็น

สูตร ที. มหา. ๑๐๘๕.


อันมาก ถึงบ้านเวฬุวคามเป็นสถานในเขตเมืองไพศาลีนคร ครั้น จวนใกล้วัสสูปนายิกาสมัย ตามวินยานุญาตนิยมแล้ว สมเด็จ พระบรมโลกนาถ ตรัสเรียกพระภิกษุสงฆ์ทรงอนุญาตให้จำพรรษา ตามอัธยาศัยว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงจำพรรษา ณ จังหวัดเมืองไพศาลีตามมิตรตามสหายแห่งตน ๆ เถิด ก็แต่เราจะ จำพรรษา ณ บ้านเวฬุวคามตำบลน้อยนี้แล้ว." ทรงพระอนุญาตให้ ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาตามผาสุกแห่งตน ๆ ฉะนั้นแล้ว ส่วนพระองค์ ทรงจำพรรษาอยู่ ณ บ้านเวฬุวคามนั้น. ครั้นภายในพรรษกาล สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ ประชวรขราพาธกล้า เกิดทุกขเวทนาใกล้มรณชนม์พินาศ ก็แต่พระ องค์ดำรงพระสติสัมปชัญญะ อันทุกขเวทนากล้านั้น ไม่เบียดเบียน ให้อาดูรเดือดร้อนระส่ำระสายได้ ทรงอดกลั้นซึ่งทุกขเวทนาด้วย อธิวาสนขันติคุณ ทรงเห็นว่ายังมิควรที่จะปรินิพพานก่อน จึง ประณามขันไล่บำบัดอาพาธพยาธิทุกข์นั้นเสียให้ระงับสงบไป ด้วย ความเพียรอิทธิบาทภาวนา. ครั้งดำรงพระกายเป็นปกติระงับขราพาธ๑ นั้นแล้ว วันหนึ่งเสด็จทรงนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ ซึ่งปูลาด ณ ร่มเงา แห่งพระวิหาร พระอานนทเถระเข้าไปเฝ้าถวายอภิวาทนมัสการ แล้ว กราบทูลว่า "ข้าพระองค์ได้เห็นความผาสุกแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว ความที่ทนทานอดกลั้นแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์


ได้เห็นแล้ว แต่ก็อาศัยที่พระผู้มีพระภาคทรงพระประชวรนั้น กาย ข้าพระองค์ประหนึ่งจะงอมระงมไป แม้ทิศานุทิศก็มือมนไม่ปรากฏ แก่ข้าพระองค์ แม้ธรรมทั้งหลายไม่สว่างแจ่มแจ้งแก่จิต เพราะ มาวิตกรำพึงถึงความไข้ที่ทรงพระประชวรนั้น แต่มายินดีอยู่น้อย หนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรารภภิกษุสงฆ์แล้ว ตรัสพุทธพจน์ อันใดอันหนึ่งเพียงใดแล้ว ก็ยังจักไม่ปรินิพพานก่อน ข้าพระองค์ มีความยินดีเป็นข้อไว้ในอยู่น้อยหนึ่งฉะนี้." "ดูก่อนอานนท์ ภิกษุสงฆ์ยังมาหวังเฉพาะชื่ออะไรในเราเล่า ธรรมเราได้แสดงแล้ว ทำไม่ให้มีภายใน ไม่ให้มีภายนอก กำมือ อาจารย์คือจะซ่อนความในธรรมทั้งหลาย ไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า ๆ ซึ่งเป็นศาสดาของเทพดามนุษย์ มีจิตบริสุทธ์ พ้นจากตัณหานิสสัย ทิฏฐินิสสัยด้วยประการทั้งปวงแล้ว ซึ่งข้อลี้ลับจะต้องปกปิดซ่อนบัง ไว้ แสดงไว้แก่สาวกบางเหล่า มิได้ทั่วไปเป็นสรรพสาธารณ์ หรือ จะพึงแสดงให้สาวกทราบได้ต่ออวสานกาลที่สุด ไม่มีเลย." ดูก่อนอานนท์ ผู้ใดยังมีฉันทะอาลัยอยู่ว่า จักรักษาภิกษุสงฆ์ หรือว่าภิกษุสงฆ์ มีตัวเราเป็นที่พำนัก ผู้นั้นแลจะพึงปรารภภิกษุสงฆ์ และกล่าวคำอันใดอันหนึ่ง ซึ่งแสดงห่วงสิเนหาอาลัย อันจะรำพึง เช่นนั้นไม่มีแก่พระตถาคตเลย พระตถาคตจะปรารภภิกษุสงฆ์แล้ว กล่าวคำอันหนึ่งนั้นแลคราวหนึ่ง. ดูก่อนอานนท์ บัดนี้เราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยเสียแล้ว

ชนมายุกาลแห่งเราถึง ๘๐ ปีเข้านี่แล้ว กายแห่งพระตถาคตย่อม เป็นประหนึ่งเกวียนชำรุดที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ มิใช่สัมภาระเกวียน ฉะนั้น. ดูก่อนอานนท์ สมัยใด พระตถาคตเจ้าเข้าไปถึงซึ่งเจโตสมาธิ ความตั้งเสมอแห่งจิตไม่มีนิมิต เพราะไม่ทำในใจซึ่งนิมิตทั้งหลาย ทั้งปวง เพราะดับแห่งเวทนาบางเหล่าแล้วแลอยู่เมื่อใด พระตถาคต เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิ หยุดยั้งอยู่ด้วยอนิมิตตสมาธิแล้ว กายแห่ง พระตถาคต ย่อมมีผาสุกสบายในสมัยนั้น. "ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุอนิมิตตสมาธิวิหาร เป็นเหตุให้กาย มีความผาสุกนั้น ท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นเกะเป็นที่พึ่ง ใช่บุคคลมีสิ่ง อื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่งอยู่ทุกอิริยาบถเถิด." ตรัส ดังนี้แล้ว ทรงแสดงซึ่งข้อว่ามีตนมีธรรมเป็นที่พึ่งนั้น ด้วยสามารถ ประกอบในสติปัฏฐานทั้ง ๔ สั่งสอนภิกษุสงฆ์ในเอกายนมรรค คือ สติปัฏฐานภาวนาและปกิรณกเทศนา ตามสมควรแก่อุปปัตตินั้น ๆ เสด็จสำราญพระอิริยาบถ บำเพ็ญพุทธกิจ ณ บ้านเวฬุวคาม จนกาล ล่วงไปถึงเดือนที่ ๓ แห่งฤดูเหมันต์ ซึ่งพระอรรถกถาจารย์กำหนดว่า มาฆบุรณมีสมัยเป็นวันปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจติยสถาน ดังนี้นั้น. ในพระบาลีก็มิได้มีนิยมกาลว่า เป็นฤดู เดือน ปักษ์ ดิถี อันใด กล่าวได้แต่โดยเป็นสมัยติดต่อกันฉะนี้ว่า ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาบาตรและจีวรแล้ว เสด็จโจร บิณฑบาต ณ เมืองเวสาลีแล้ว ครั้นปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาต ดำรัสสั่งให้พระอานนท์ถือเอาผ้านิสีทนะสำหรับรองนั่ง เสด็จไปยัง ปาวาลเจดีย์ เพื่อสำราญอยู่ ณ กลางวัน พระอานนทเถรเจ้าลาดผ้า นิสีทนะถวาย ณ ร่มพฤกษาแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จนั่งลงแล้ว พระ อานนทเถรเจ้าเข้าไปถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. สมเด็จพระ ผู้มีพระภาคเจ้า ประสงค์จะให้พระอานนท์กราบทูลอาราธนา เพื่อจะ ดำรงอยู่ชั่วอายุกัปหนึ่ง หรือเกินกว่าอายุกัปนั้น พระองค์จึงทำ นิมิตอันชัด แสดงอานุภาพแห่งอิทธิบาทภาวนาว่า สามารถจะให้ท่าน ผู้ได้เจริญดำรงอยู่อายุกัปหนึ่ง หรือเกินกว่าอายุกัป ได้ตรัสโอภาส ปริยายนิมิตอันชัดดังนั้นถึง ๓ หน มารเข้าดลใจพระอานนท์เสีย จึง ไม่สามารถจะรู้ความแล้วได้สติอาราธนาฉะนั้น. พระสุคตเจ้าจึงทรง ขับพระอานนท์เสียจากที่นั้น พระอานนท์ถวายบังคมทำประทักษิณ แล้วไป นั่ง ณ ร่มไม้แห่งหนึ่ง ไม่ไกลนักแต่พระโลกนาถ. ครั้นพระอานนท์หลีกไปแล้วไม่ช้า มารเข้าไปเฝ้าแล้ว ยกเนื้อ ความแต่ปางหลัง ครั้งแรกได้ตรัสรูปอภิสัมโพธิญาณ ประทับควงไม้ อชปาลนิโครธนั้น ได้ตรัสว่า "บริษัททั้ง ๔ เหล่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ยังไม่ฉลาดอาจแสดงธรรมย่ำยีปรับปวาทโดย สหธรรม และพรหมจรรย์ยังไม่ประกาศแพร่หลายบริบูรณ์ด้วยดี สำเร็จประโยชน์แก่ประชุมชนเป็นอันมาก ทั้งเทพดามนุษย์เพียงใด ยังจักไม่ปรินิพพานก่อนเพียงนั้น ดังนี้. บัดนี้ ปริสสมบัติ และ พรหมจรรย์ก็สมบูรณ์ดังพุทธประสงค์ทุกประการแล้ว ขอพระผู้มี พระภาคจงปรินิพพานเถิด บัดนี้ เป็นกาลที่จะปรินิพพานแห่งพระผู้มี พระภาคแล้ว." เมื่อมารกล่าวดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนมาผู้มีบาป ท่านจงมีขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพาน แห่งพระตถาคตจักมีไม่ช้า โดยกาลที่ล่วงไปแล้วแห่ง ๓ เดือนแต่นี้ พระตถาคตจักปรินิพพาน." ครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคมีพระสติสัมปชัญญะ ปลงอายุ- สังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ ก็เกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหวใหญ่และขนชันสยด สยองพิลึกน่าพึงกลัว ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ ครั้งนั้น พระอานนท์เกิดพิศวงเพราะอัศจรรย์เกิดมีนั้น จึงออกจากร่มพฤกษา เข้าไปสู่ที่เฝ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรแล้ว ทูลถามถึงเหตุซึ่งให้เกิด อัศจรรย์ มีแผ่นดินไหวใหญ่เป็นต้นนั้น. สมเด็จพระผู้มีพระภาค ตรัสเหตุ ๘ ประการ ที่จะให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ คือลมกำเริบ ๑ ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล ๑ พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิตลงสู่พระครรภ์ ๑ พระโพธิสัตว์ประสูติ ๑ พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมา- สัมโพธิญาณ ๑ พระตถาคตเจ้าให้พระอนุตตรธรรมจักรเป็นไป ๑ พระตถาคตเจ้าปลงอายุสังขาร ๑ พระตถาคตเจ้าปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ เหตุทั้ง ๘ นี้เป็นปัจจัยจะให้แผ่นดินไหว ใหญ่ละอย่าง ๆ แล้ว ทรงนำเนื้อความแต่ปางหลัง ครั้งแรกได้ตรัส อภิสัมโพธิ เสด็จอยู่ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ได้ตรัสไว้แก่มารฉันใด

นั้น มาตรัสแก่พระอานนท์แล้ว แสดงว่าพระองค์ได้ปลงอายุสังขาร แล้ว แผ่นดินไหวใหญ่เพราเหตุนั้น. พระอานนท์จึงกราบทูลว่า "ขอพระผู้มีพระภาค จงตั้งอยู่กัป หนึ่งเถิด เพื่อเกื้อกุลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอัน มาก เพื่อจะอนุเคราะห์ซึ่งสัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดามนุษย์ทั้งหลาย" พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า "ดูก่อนอานนท์ อย่าเลย ท่านอย่าได้วิงวอนพระตถาคต บัดนี้ มิใช่กาลเพื่อจะวิงวอนพระตถาคตเสียแล้ว." พระอานนท์ก็กราบทูล วิงวอนถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง, พระองค์จึงตรัสถามว่า "ดูก่อนอานนท์ ท่านเชื่อซึ่งปัญญาตรัสรู้แห่งพระตถาคตหรือ ?" "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เชื่อ." "ดูก่อนอานนท์ ถ้าท่านเชื่อฉะนั้นแล้ว ไฉนมาบีบคั้นแค่นได้ พระตถาคตถึง ๓ ครั้งเล่า ?" "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ได้ฟัง ได้รับมาเฉพาะ พระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า 'อิทธิบาททั้ง ๔ ประการ ท่าน ผู้ใดผู้หนึ่ง ได้เจริญทำให้มาก ชำนาญแคล่วคล่องแล้ว ถ้าท่าน ผู้นั้นจำนงใจจะดำรงอยู่นานด้วยรูปกายแล้ว ก็จะพึงตั้งอยู่ได้กัป ๑ บ้าง เหลือกว่ากัป ๑ บ้าง. อิทธิบาททั้ง ๔ นั้น พระตถาคตจ้า ได้เจริญแคล่วคล่องชำนาญแล้ว ถ้าพระตถาคตเจ้ามาปรารถนา จะตั้งอยู่ด้วยสรีรประพันธ์นั้นไซร้ ก็จะดำรงอยู่สิ้นอายุกัป ๑ หรือ เกินกว่าอายุกัป ๑ นั้นได้' ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงได้ กราบทูลวิงวอนอาราธนาถึง ๓ ครั้งเป็นกำหนดฉะนี้." พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระอานนท์อีกเล่าว่า "ดูก่อนอานนท์ ท่านเชื่ออยู่หรือ ซึ่งอานุภาพแห่งอิทธิบาทภาวนานั้น." "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เชื่อ." "ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น เมื่อพระตถาคตทำนิมิตโอภาส อันชัด และอานนท์ไม่สามารถจะรู้ ไม่ได้วิงวอนพระตถาคตในครั้ง ก่อน ๆ อันยังเป็นกาลอยู่นั้น ก็เป็นความผิดของอานนท์ผู้เดียว ถ้า ในคราวนั้น ๆ หากอานนท์จักพึงวิงวอนพระตถาคตไซร้ พระตถาคต จะพึงห้ามเสีย ๒ คำ ครั้นวาระที่ ๓ พระตถาคตก็จะพึงรับคำวิงวอน อาราธนานั้น เพราะเหตุนั้น อานนท์ไม่วิงสอนเสียแต่ยังเป็นกาลอยู่ นั้น เป็นความผิดของอานนท์ผู้เดียว ครั้นพระองค์ตรัสดังนี้แล้ว และนิมิตโดภาสอันชัดเห็นปาน นั้น พระองค์ได้ทำแล้วแก่พระอานนท์ในกาลก่อนในสถานเท่าใด สิ้น วาระเท่าใด พระองค์ก็ทรงประมวลสถานทั้งปวงนั้นนับได้ ๑๖ ตำบล มาแสดงแก่พระอานนท์โดยพิสดาร. และสถานทั้ง ๑๖ ตำบลนั้น เมือง ราชคฤห์ ๑๐ ตำบล เมืองเวสาลี ๖ ตำบล. ๑๐ ตำบลเมืองราชคฤห์ นั้น ภูเขาคิชฌกูฏเป็นที่ ๑ โคตมนิโครธเป็นที่ ๒ เหวที่ทิ้งโจรเป็นที่ ๓ ถ้ำสัตตบัณณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพตเป็นที่ ๔ กาฬศิลา ข้าง ภูเขาอิสิคิลิบรรพตเป็นคำรบ ๕ เงื้อมชื่อว่าสัปปิโสณฑิกา ณ สีตวัน เป็นคำรบ ๖ ตโปทารามเป็นที่ ๗ เวฬุวันเป็นที่ ๘ ชีวกัมพวันเป็น ที่ ๙ มัททกุจฉิมิคทายวันเป็นที่ ๑๐. สถาน ๑๐ ตำบลนี้อยู่เมือง ราชคฤห์ และสถาน ๖ ตำบลเมืองเวสาลีนั้น อุเทนเจดีย์เป็นที่ ๑ โคตมกเจดีย์เป็นที่ ๒ สัตตัมพเจดีย์เป็นที่ ๓ พหุปุตตเจดีย์เป็นที่ ๔ สารันท๑เจดีย์เป็นคำรบ ๕ ปาวาลเจดีย์นี้เป็นคำรบ ๖ รวมเป็น ๑๖ สถาน ด้วยประการฉะนั้น. ในวาระทั้ง ๑๖ ครั้งนั้น เป็นกาลอยู่ที่จะวิงวอน พระตถาคต อานนท์ก็มิได้รู้ มิได้วิงวอนเล่า ถ้าใน ๑๖ วาระนั้น อานนท์ได้วิงวอนแต่ในสถานใดสถานหนึ่งแล้วไซร้ พระตถาคตจะ พึงห้ามเสีย ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๓ ก็จะรับอาราธนา เหตุใดใน ๑๖ ตำบลนั้น อานนท์ไม่สามารถจะรู้ ไม่ได้วิงวอน เหตุนั้น ข้อนั้นก็เป็นความผิด ของอานนท์ผู้เดียว. "ดูก่อนอานนท์ เราได้บอกแล้วดั่งนี้แต่เดิมหาไม่หรือว่า บรรดา สัตว์สังขารเป็นที่รักเจริญใจทั้งปวงเทียว ย่อมเป็นต่าง ๆ พลัดพราก เป็นอย่างอื่นไป ไม่คงคนถาวรอยู่ได้ตามใจประสงค์ อันสิ่งที่เที่ยงซึ่ง สัตว์ประสงค์อยู่นักนั้น สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้ในสังขารนี้แต่ไหนเล่า สิ่งใดเกิดมาเป็นมาอันปัจจัยแต่งขึ้น มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา อันจะร่ำร้องปรารถนาทะยานไปว่า ขอสิ่งนั้นอย่าฉิบหายเลย ดังนี้ นี่ไม่ เป็นฐานะที่จะให้ได้ดังใจประสงค์ "ดูก่อนอานนท์ ก็สิ่งใดแล พระตถาคตให้สละแล้ว คายแล้ว

็น สารันททเจดีย์. ปล่อยเสียแล้ว ละเสียแล้ว วางเสียแล้ว อันพระตถาคตจะคืนกลับ มายังสิ่งนั้นเพราะเหตุแห่งชีวิต ดังนี้ ไม่เป็นฐานะที่ตั้งจะมีได้."

                        ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
                                [เสด็จป่ามหาวัน]

เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสแก่พระอานนท์ฉะนั้นแล้ว จึงเสด็จ พุทธดำเนินยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ดำรัสสั่งให้พระอานนท์ให้หา ภิกษุทั้งหลาย บรรดาที่อาศัยเมืองเวสาลีอยู่มาประชุม ณ อุปัฏฐาน- ศาลาโรงฉันพร้อมแล้ว พระองค์ก็เสด็จพุทธดำเนินไปประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์แล้ว ตรัสประทานโอวาทสอนภิกษุสงฆ์ด้วยอภิญญา- เทสิตธรรมว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุใด ท่านทั้งหลาย มีความ ปรารถนานักจะให้เราตั้งอยู่นาน เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชน เป็นอันมาก เหตุดังนั้น ธรรมทั้งหลายเหล่าใด เราได้เทศนาแสดงไว้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง แสดงไว้เพื่อจะตรัสรู้เฉพาะหน้า ล่วงโลกิยญาณ บรรลุโลกุตตรปัญญา ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ท่านทั้งหลายพึงเรียน ให้ดีให้สำเร็จประโยชน์ โดยเอื้อเฟื้อเคารพตามจริง และพึงส้องเสพ เจริญทำให้มากในสันดาน อันนั้นก็จะพึงให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ได้นาน ไม่เสื่อมสุญ อันนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชน เป็นอันมาก เพื่อจะอนุเคราะห์ซึ่งสัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อ กูล เพื่อความสุกแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เรา แสดงด้วยปัญญายิ่งนั้นเหล่าใดเล่า คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์อวัยวะ ๘ ประการเหล่านี้ ชื่ออภิญญาเทสิตธรรม ท่านทั้งหลายพึงเรียนให้ดี และส้องเสพเจริญทำให้มากในสันดานเถิด. พระตถาคตพุทธเจ้าจะพึง ทรงอยู่เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น จักสำเร็จได้แก่ประชุมชน เป็นอันมาก ทั้งเทพดามนุษย์ทั้งหลาย." ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงสั่งสอนในสังเวคกถา และอัปปมาทธรรม ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราเตือนท่านทั้งหลายให้รู้ สังขารคือธรรมที่ปัจจัยแต่งขึ้น ทั้งหลาย มีความเสื่อมเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมบริบูรณ์ด้วยไม่ประมาทเถิด. ความที่แห่ง พระตถาคตจะปรินิพพานจักมีไม่ช้า โดยกาลที่ล่วง ๓ เดือนแต่นี้ไป พระตถาคตจักปรินิพพาน ชนทั้งหลายเหล่าใด ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม ทั้ง ที่เป็นคนแก่ ทั้งที่เป็นพาล ทั้งที่เป็นบัณฑิต ทั้งคนมั่งคั่งและคนจน ยากไร้ ชนทั้งปวงนั้น ล้วนมีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ภาชนะ ดินที่นายช่างหม้อกระทำแล้ว ทั้งเล็กทั้งใหญ่ทั้งสุกและดิบก็ดี บรรดา ภาชนะกินทั้งปวงไม่ว่าขนาดไหน ล้วนมีความแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็มีความแตกทำลายประลัยพินาศเป็น ที่สุดฉันนั้น. วัยแห่งเราแก่รอบแล้ว ชีวิตแห่งเราน้อยแล้ว เราจัก ละเสียซึ่งท่านทั้งหลายไป ที่พึ่งอันเราได้ทำแล้วแก่ตน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลเป็นอันดีเถิด จงมีความดำริมั่นดี จงตามรักษาซึ่งจิตตน บุคคลผู้ใด จักเป็นผู้ไม่ประมาท อยู่ ณ ธรรมวินัยนี้ บุคคลผู้นั้นจักละ เสียซึ่งชาติสงสาร คือความท่องเที่ยวไปด้วยความเกิด จักทำที่สุด แห่งทุกข์ได้. สมเด็จพระสุคตบรมโลกนาถ ประกอบสาวกในความ สังเวชและความไม่ประมาท ด้วยประการฉะนี้. ครั้งนั้น เวลาเช้าเป็นภิกษาจารกาล สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงนุ่งห่มแล้ว ถือเอาบาตรและจีวรแล้ว เสด็จเข้าไปยังเมืองเวสาลี เพื่อบิณฑาหาร. ครั้นปัจฉาภัตร พระองค์กลับจากบิณฑบาตแล้ว ทอดพระเนตรเมืองเวสาลีเป็นนาคาวโลก๑ เสด็จกลับเยื้องพระกายมา ทั้งพระองค์ เป็นมหาปุริสอาการ ตรัสเรียกพระอานนท์ว่า "ดูก่อน อานนท์ พระตถาคตเห็นเมืองไพสาลี ครั้งนี้ จักเป็นปัจฉิมทัสสนะ เห็นเป็นที่สุดเป็นคราวภายหลังแล้ว, ดูก่อนอานนท์ เรามาไปพร้อมกัน จะไปบ้านภัณฑุคาม."

                                 [เสด็จบ้านภัณฑุคาม]

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พุทธบริวารเป็น อันมาก เสด็จพุทธดำเนินบรรลุถึงบ้านภัณฑุคามแล้ว เสด็จประทับ อยู่ ณ บ้านภัณฑุคามนั้น ตรัสเทศนาแสดงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ เป็นอริยธรรม ๔ ประการว่า

างเหลียวหลัง.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยความไม่ตามตรัสรู้ ไม่แทง ตลอดซึ่งธรรม ๔ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ที่เป็นอริย- ธรรมนี้แลเป็นเหตุ เราผู้พระศาสดาและท่านทั้งหลายผู้สาวก จึงได้ ท่องเที่ยวด้วยภพกำเนิดคติ สิ้นกาลนานนักอย่างนี้. โมหะ ความ หลง ความมืด ที่ปกปิดไม่ให้เกิดปัญญาตรัสรู้ธรรมทั้ง ๔ นี้ เป็น เหตุนำให้เสวยสังสารทุกข์อันวิจิตรเป็นอเนกประการ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ซึ่ง เป็นอริยธรรมนั้น เราและท่านทั้งหลายได้ตามตรัสรู้แล้ว ได้แทง ตลอดแล้ว ตัณหาอันเป็นเหตุจะให้เกิดในภพ เราและท่านทั้งหลาย ได้ตัดขึ้นเสียแล้ว ตัณหาเป็นเครื่องนำไปในภพดั่งเชือกผูกอยู่ในเท้า แห่งกาสิ้นแล้ว ไม่สามารถจะทำภพอันใดอันหนึ่งได้ บัดนี้ความเกิดอีก แห่งเราก็ดี แห่งท่านทั้งหลายก็ดี บ่มิได้มี." ก็แลเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาค เสด็จอยู่ ณ บ้านภัณฑุคาม นั้น พระองค์ตรัสธรรมีกถาแสดงไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สั่งสอนภิกษุทั้งหลายมากกว่าธรรมีกถาอื่น แล้วแสดงอานิสงส์ว่า "ศีลเป็นที่ตั้งอันใหญ่แห่งคุณพิเศษเบื้องบน ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่ อาศัยทำกิจการ ที่จะพึงทำด้วยเรี่ยวแรงฉะนั้น ศีลเมื่อบริบูรณ์ด้วยดี อบรมสมาธิแล้ว สมาธิก็มีผลมีอานิสงส์ใหญ่ยิ่ง เมื่อสมาธิได้อบรม ปัญญาเล่า ปัญญาก็มีผลใหญ่หลวง เมื่อปัญญาอบรมจิตแล้ว จิตก็มีวิมุตติหลุดถอนพ้นพิเศษจากอาสวะทั้งหลายที่ดองสันดาน คือ

กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ให้สรรพอาสวะทั้งปวงปราศไป เป็นนิรินธนพินาศ. สิกขาทั้ง ๓ เป็นปฏิปทาทางแห่งวิมุตติ ๆ เป็น แก่นแห่งพระธรรมวินัย สาวกจะบรรลุวิมุตตินั้นได้ ก็ด้วยทำให้ บริบูรณ์ในไตรสิกขานั้น."

                                  [เสด็จโภคนคร]

ครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาค เสด็จทำสัตตุปการกิจ ประทับ ณ บ้านภัณฑุคาม ตามพุทธอัธยาศัยแล้ว ก็เสด็จพุทธดำเนินไปยังบ้าน หัตถีคาม และบ้านอัมพคามและชัมพุคาม ล่วงไปตามลำดับ เสด็จ จากบ้านชัมพุคามไปยังโภคนคร เสด็จประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์ใน เขตโภคนครนั้น ตรัสเทศนามหาปเทส ๔ ฝ่ายพระสูตร สอนภิกษุ บริษัท เพื่อจะเป็นเครื่องกำหนดรู้ซึ่งภาษานั้น ๆ ว่า เป็นธรรม เป็น วินัย เป็นสัตถุศาสนา และมิใช่ธรรม มิใช่วินัย มิใช่สัตถุศาสนา. ความในสุตตันติกมหาปเทสทั้ง ๔ นั้นว่า "ถ้าจะมีภิกษุมาอ้าง พระศาสดาก็ดี อ้างสงฆ์ อ้างคณะ อ้างบุคคลก็ดี แล้วแสดงว่า 'นี้ เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นสัตถุศาสนา' ดั่งนี้ แก่ผู้ใด เธอผู้ได้ฟัง อย่า พึงรีบยินดีรับภาษิตของผู้มาอ้างนั้น และอย่าพึงห้ามภาษิตนั้นก่อน ให้พึงเรียนบทพยัญชนะให้แน่นอนแล้ว พึงสอบในสูตร พึงเทียบได้ กันในวินัย. ถ้าภาษิตนั้นไม่สอบในสูตร ไม่เทียบได้กันในวินัยแล้วไซร้พึง เข้าใจว่ามิใช่คำของพระผู้มีพระภาค เธอผู้นี้รับมาผิด จำมาเคลื่อน คลาดแน่แล้ว. ต่อเมื่อใดมาสอบในสูตรและเทียบในวินัยก็ได้กัน ไม่ ผิดไม่เคลื่อนคลาด เมื่อนั้น พึงลงความสันนิษฐานว่า นี้คำของพระผู้ มีพระภาคแน่แล้ว เธอผู้นี้รับมาด้วยดีไม่วิปริต อันนี้ความย่อใน มหาปเทส ที่อ้างใหญ่ ๔ อย่างฝ่ายพระสูตร. และเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเสด็จอยู่ ณ อานันทเจดีย์นั้น ก็ได้ตรัสธรรมีกถาแสดงไตรสิกขา โดยนัยหนหลังเป็นพาหุลลกถามากกว่าธรรมมีกถาอื่น ตามสมควรแก่ เวไนยสัตว์และกาลสมัย.

                        นายจุนทะ   ถวายปัจฉิมบิณฑบาต
                                       เสด็จปาวานคร

เมื่อพระองค์เสด็จอยู่ ณ โภคนคร สำราญพุทธอัธยาศัย กาล เดือน วัน ก็ล่วงไป ๆ ใกล้ถึงกำหนดซึ่งนิยมไว้เมื่อปลงอายุสังขารว่า ล่วงแต่นี้ไป ๓ เดือนนั้น สมเด็จพระโลกนาถ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พุทธบริวารเป็นอันมาก เสด็จพระพุทธดำเนินถึงเมืองปาวานคร เสด็จ ประทับอยู่ ณ อันพวันป่าไม้มะม่วงแห่งนายจุนทะ ผู้บุตรแห่งนายช่าง ทอง. ฝ่ายนายจุนทกัมมารบุตร ได้ยินข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ มาถึงเมืองปาวาแล้ว บัดนี้เสด็จอยู่ ณ ป่าไม้มะม่วงแห่งเรา จึงไปยัง ที่เฝ้า ถวายอภิวาทบังคมพระโลกนาถแล้วนั่ง ณ ที่ควร สมเด็จพระผู้มี- พระภาคเจ้า ตรัสธรรมมีกถาให้นายจุนทกัมมารบุตรเห็นในทางกรรม และวิบาก ให้ถือเอามั่นซึ่งกุศลจริยา ให้กล้าหาญรื่นเริง ในธรรม- จริยาสัมมาปฏิบัติแล้ว นายจุนทกัมมารบุตรกราบทูลเชิญเสด็จ เพื่อ จะรับภัตตาหาร ณ วันพรุ่งนี้ว่า "ขอพระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์เพื่อเสวย ณ วันพรุ่งนี้" สมเด็จ พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ ด้วยทรงนิ่งอยู่ตามธรรมเนียมบรรพชิต นายจุนทกัมมารบุตร ทราบว่าทรงรับแล้ว ลุกจากอาสน์ถวายอภิวาท บังคมทำประทักษิณแล้วหลีกไป. แลวันที่นายจุนทกัมมารบุตร เชิญเสด็จพระโลกนาถนั้น เป็น วันหน้าแห่งวันที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน วันรุ่งขึ้นที่นายจุนทะได้ ถวายภัตตาหาร ปัจฉิมบิณฑบาตทานนั้น เป็นวันพระองค์ดับขันธ- ปรินิพพาน ซึ่งพระอรรถกถาจริยเจ้านิยมไว้ว่า เป็นมหามงคลสมัย วิสาขปุรณมีดิถีเพ็ญพระจันทร์เสวยวิศาขนักษัตร ให้บัณฑิตพึง สันนิษฐานในอภิลักขิตสมัย ด้วยประการฉะนั้น. ครั้งนั้น นายจุนทกัมมารบุตร โดยล่วงราตรีนั้นแล้ว ให้ตก แต่งขาทนียะของควรเคี้ยว และโภชนียะของควรบริโภคอันประณีต และมังสะสุกอ่อน๑เป็นอันมาก ณ เคหสถานของตนเสร็จแล้ว จึงให้ บุรุษไปกราบทูลภัตตกาล แต่สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคว่า "บัดนี้เป็น กาลควรที่เสด็จพุทธดำเนิน ภัตตาหารเสร็จแล้ว." ลำดับนั้น เวลาเช้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบาตรจีวรตามสมณวัตร พร้อมด้วย

"สูกรมทฺทว"  อรรถกถาแก้ว่า  มังสะสุกรอ่อนหรือวิธีปรุงอาหารหรือ

แน่ แต่ชาวลังกาเรียกเห็ดว่า "สุกรมตัว" เพราะฉะนั้น น่าจะเป็น

เช่น  เห็ดหมูอ่อนในเมืองไทยกระมัง ?

ภิกษุสงฆ์พุทธบริษัทเป็นอันมาก เสด็จจากอัมพวันถึงเคหสถานแห่ง นายจุนทกัมมารบุตร เสด็จนั่ง ณ พุทธอาสน์แล้ว พระองค์ผู้ทรง พระอนาวรณญาณ ตรัสเรียกนายจุนทกัมมารบุตรว่า "ดูก่อนจุนทะ มังสะสุกรอ่อนอันใด ท่านได้ตกแต่งไว้เป็นไทยธรรมบิณฑบาตทาน ท่านจงอังคาสซึ่งเราด้วยมังสะสุกรอ่อนนั้น เบื้องว่าขาทนียะโภชนียะ สิ่งอื่นอันใด อันได้ตกแต่งไว้เป็นวัตถุแห่งบิณฑบาตทาน ท่านจง อังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยขัชชะโภชชาหารสิ่งนั้นเถิด." นายจุนทะรับพุทธ- พจน์บัญชาแล้ว ก็ถวายมังสะสุกรอ่อนในพระผู้มีพระภาคพระองค์ เดียว อังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยขัชชะโภชชาหารอื่น ๆ โดยนัยนั้น. ครั้น เสร็จภัตกิจแล้ว พระโลกนาถตรัสเรียกนายจุนทะให้นำเอามังสะ สุกรอ่อนที่เหลืออยู่นั้นไปฝังเสียในบ่อ เพราะเหตุผู้อื่นนอกจากพระ ตถาคตเจ้าแล้วไม่ควรที่จะบริโภคแล้วให้ย่อยไปได้ แล้วพระองค์ทรง แสดงธรรมีกถาให้นายจุนทกัมมารบุตรชื่นชมในกุศลบุญจริยา แล้ว เสด็จพุทธดำเนินไปกับภิกษุสงฆ์พุทธบริวาร.

                                    ทรงพระประชวร
                                  [เสด็จเมืองกุสินารา]

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบริโภคภัตตาหารของนายจุนทะ แล้ว ก็เกิดอาพาธกล้า ทรงพระประชวรลงพระโลหิต เกิดเวทนากล้า นักใกล้แต่มรณทุกข์ พระองค์มีพระสติสัมปชัญญะไม่ทรงทุรนทุราย ทรงอดกลั้นซึ่งทุกขเวทนานั้นด้วยอธิวาสนขันตี. ครั้งนั้น ดำรัสเรียก พระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ เรามาไปพร้อมกัน จักไปเมือง กุสินารา." พระอานนท์รับพุทธาณัตติพจน์แล้ว บอกแก่ภิกษุสงฆ์ให้ ทราบทั่วกันเสร็จแล้ว สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จโดยมรรควิถี ที่สัญจรไปยังกุสินรานคร. มากลางมรรคาทรงลำบากพระกายนัก เสด็จแวะลงจากหนทาง เข้าประทับร่มพฤกษาตำบลหนึ่ง ดำรัสสั่ง พระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ เร็วเถิด ท่านจงปูลาดผ้าสังฆาฏิพับ ให้เป็น ๔ ชั้นแก่เรา เราเหน็ดเหนื่อยนัก จักนั่งพักระงับความลำบาก กาย." พระอานนท์ปูผ้าสังฆาฏิถวาย พระองค์เสด็จนั่งแล้วตรัสเรียก พระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ ท่านจงนำน้ำฉันมาให้เรา เราจักดื่ม ระงับความระหายให้สงบ." พระอานนท์กราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มี- พระภาค เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม เพิ่งข้ามแม่น้ำผ่านไป น้ำ ณ แม่น้ำนี้มีน้อย ถูกล้อเกวียนบดแล้วขุ่นนัก ไม่ควรเป็นน้ำฉัน แม่น้ำกกุธานที มีน้ำใสน้ำจืดน้ำเย็น มีท่าอันงามควรรื่นรมย์ อยู่ไม่ ไกลนัก เชิญเสด็จพระผู้มีพระภาคดำเนินไป ณ แม่น้ำกกุธานทีนั้นเถิด จักได้เสวยและสรงชำระพระกายให้เย็นเป็นสุขสำราญ." พระโลกนาถ ก็ตรัสสั่งฉะนั้นถึง ๓ ครั้ง พระอานนท์กราบทูลทัดทาน ๒ ครั้ง ครั้น วาระที่ ๓ พระเถรเจ้ามิได้กราบทูลทัดทานประการใด ด้วยพระเถรเจ้า มีสติระลึกรู้ว่า "อันพระตถาคตพุทธเจ้าทั้งหลาย จะดำรงคงพระ วาจาด้วยใช่เหตุเป็นไม่มี" รับสุคตาณัตติพจน์แล้ว ถือเอาบาตร เข้าไปยังแม่น้ำนั้น. ครั้งนั้น อำนาจพุทธฤทธานุภาพมาบันดาลให้ ปรากฏน่าพิศวงนัก เมื่อพระอานนทเถรเจ้าถือบาตรเข้าไปใกล้ หวัง จะตักอุทกวารีมาถวาย แม่น้ำนั้นที่ขุ่นด้วยล้อเกวียนอยู่แต่เดิม ก็ใส สะอาดไม่ขุ่นมัวเป็นมหัศจรรย์. พระอานนทเถรเจ้าได้เห็นฉะนั้นแล้ว ดำริว่า "ความที่พระตถาคตเจ้ามีฤทธิ์และอานุภาพใหญ่หลวงเป็น อัศจรรย์ ไม่เคยมีมาขึ้นได้ แม่น้ำนี้ขุ่นนัก เมื่อเราเข้าไปใกล้ เพื่อจะตัก น้ำก็ใสไม่ขุ่นมัว" พระเถรเจ้าตักน้ำฉันด้วยบาตรแล้ว บันเทิงจิตเข้าไปเฝ้าพระโลกนาถกราบทูลของอัศจรรย์นั้นแล้ว นำน้ำ ฉันเข้าไปถวาย พระองค์เสวยตามพุทธประสงค์แล้ว เสด็จประทับ ณ ร่มพฤกษานั้น. ณ สมัยนั้น บุตรแห่งมัลลกษัตริยราชหนึ่งชื่อปุกกุสะ เป็น สาวกของอาฬารดาบส กาลามโคตร ออกจากเมืองกุสินาราจะไปยัง ปาวานคร เดินมาถึงประเทศนั้น ได้เห็นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จนั่ง ณ ร่มพฤกษา จึงเข้าไปเฝ้าถวายอภิวาทบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ ควร ได้ฟังสันติวิหารธรรมของพระองค์ เกิดเลื่อมใส น้อมคู่ผ้า สิงคิวรรณเข้าไปถวายสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า "ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค ผ้าเนื้อเกลี้ยงสีดั่งทองสิงคีของข้าพระองค์คู่นี้เป็นคู่ ผ้าพิเศษ อันข้าพระองค์จะพึงนุ่งห่มเป็นครั้งเป็นคราวเป็นของประณีต สงวนไว้ ขอสมเด็จพระผู้มีพระภาค จงอาศัยความอนุเคราะห์ ทรงรับคู่ผ้าสิงคิวรรณนี้ของข้าพระองค์เถิด." พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ว่า "ถ้าอย่างนั้น ท่านจงให้เราปกกายด้วยผ้าสิงคิวรรณผืนหนึ่ง จง ให้อานนท์ปกกายด้วยผ้าสิงคิวรรณผืนหนึ่งเถิด." ปุกกุสมัลลบุตรก็ ถวายเป็นพุทธบริโภคแต่ผืนหนึ่ง ผืนหนึ่งถวายพระองค์ตามพุทธ- ประสงค์ฉะนั้นแล้ว. สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงแสงธรรมมีกถาให้ ปุกกุสมัลลบุตรรื่นเริงในกุศลธรรมจริยาตามสมควร ปุกกุสมัลลบุตร ถวายอภิวาทบังคมทำประทักษิณ แล้วหลีกไป.

                  [ผิวกายพระตถาคตผ่องใสยิ่งใน  ๒  กาล]
	เมื่อปุกกุสมัลลบุตรหลีกไปไม่ช้า  พระเถรเจ้าอานนท์น้อมคู่ผ้า

สิงคิวรรณนั้นเข้าไปถึงพระกายแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ องค์ทรงนุ่งผืนหนึ่งทรงห่มผืนหนึ่ง. คู่ผ้าสิงควรรณนั้นปรากฏประหนึ่ง ถ่านปราศจากเปลว พอพระอานนท์น้อมเข้าไปถึงพระกายแล้ว พรรณ แห่งผิวพระกายแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็บริสุทธ์ผุดผ่อง พระอานนท- เถรเจ้ากราบทูลสรรเสริญว่า "พรรณแห่งพระฉวีแห่งพระตถาคตเจ้า บริสุทธิ์นัก เป็นอัศจรรย์." พระองค์ตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ พรรณ แห่งผิวแห่งพระตถาคตบริสุทธ์ผ่องใส จริงดังอานนท์สรรเสริญ กาย แห่งพระตถาคตย่อมบริสุทธ์ พรรณผิวผุดผ่องยิ่งนักใน ๒ กาล คือ ในเวลาราตรีที่จะตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และในเวลา ราตรีที่จะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ใน ๒ กาลนี้ กาย แห่งพระตถาคตบริสุทธ์ยิ่งนัก พรรณแห่งผิวผ่องใสโดยพิเศษ ดูก่อน อานนท์ ในยามที่สุดแห่งราตรี ณ วันนี้แล ความปรินิพพานแห่งพระ ตถาคต จักมี ณ ระหว่างแห่งไม้รัง๑ทั้งคู่ ณ สาลวันแห่งมัลลกษัตริย์ ทั้งหลาย เป็นที่แวะเวียนไป ณ เมืองกุสินารา, ดูก่อนอานนท์ เรามา พร้อมกันไปยังแม่น้ำกกุธานที." พระอานนท์รับพุทธาณัติแล้วบอก ภิกษุสงฆ์ให้ทราบ. ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พุทธ- บริวารเป็นอันมาก เสด็จพุทธดำเนินไปถึงแม่น้ำกกุธานที เสด็จ ลงสรงเสวยสำราญพระพุทธอัธยาศัย เสด็จขึ้นจากแม่น้ำกกุธานทีแล้ว เสด็จไปประทับอันพวัน ตรัสเรียกพระจุนทกเถระให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ให้เป็น ๔ ชั้นถวาย พระองค์สำเร็จสีหไสยา โดยข้างเบื้องขวา ตั้ง พระบาทให้เหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ทำในพระหฤทัยซึ่งอุกฐาน- สัญญา ความสำคัญในที่จะลุกขึ้น. พระจุนทกเถรเจ้านั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ เฉพาะพระพักตร์ ณ ที่เสด็จสำเร็จสีหไสยานั้น.

                     [บิณฑบาตทาน  ๒  คราวมีผลเสมอกัน]

ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ถึงแล้วซึ่งพิเศษใน ฐานาฐานญาณ ตรัสเรียกพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ ข้อนี้ จะพึงมีบ้าง ใคร ๆ ผู้หนึ่งจะทำวิปฏิสาร ความเดือดร้อน ให้เกิดขึ้น แก่นายจุนทกัมมารบุตรว่า 'ดูก่อนนายจุนทะ ไม่เป็นลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว พระตถาคตเจ้าได้บริโภคซึ่งบิณฑบาตของท่านเป็น

ีใบใหญ่หนา ดอกเป็นช่อคล้ายดอกสารภี แต่โตกว่านั้น. เดิมท่านแปล แต่ความจริงไม้สาละไม่ใช่ไม้รังและไม่มีในเมืองไทย จึงเรียกทับศัพท์. ครั้งที่สุดแล้ว เสด็จปรินิพพาน' ดังนี้ ดูก่อนอานนท์ ความวิปฏิสาร เดือดร้อนของนายจุนทกัมมารบุตรนั้น ท่านทั้งหลายพึงระงับเสียให้ สงบด้วยปลอบให้เบาใจดังนี้ว่า 'ดูก่อนนายจุนทะ เป็นลาภมากของ ท่าน ท่านได้ดีแล้ว พระตถาคตเจ้าได้บริโภคซึ่งบิณฑบาตของท่าน เป็นครั้งที่สุด แล้วปรินิพพาน, ดูก่อนนายจุนทะ ข้อนี้เราได้ฟังมา ได้รับมาแล้ว ณ ที่เฉพาะพระพักตร์แห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคว่า 'บิณฑบาต ๒ อย่างนี้ มีผลเสมอ ๆ กัน มีวิบากเสมอ ๆ กัน มีผล ใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตทั้งหลายอื่น พระตถาคตเจ้า บริโภคบิณฑบาตอันใดแล้ว ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันนี้ บิณฑบาต ๑ พระตถาคตเจ้าบริโภคซึ่งบิณฑบาตอันใดแล้ว ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อันนี้บิณฑบาต ๑ บิณฑบาตทั้ง ๒ นี้ มีผลมีวิบากเท่ากัน มีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตทั้งหลาย อื่น. กรรมที่ให้อายุและวรรณะ สุข ยศ สวรรค์และความเป็นอธิบดี เป็นไป อันนายจุนทะได้สั่งสมก่อสร้างแล้ว, ดูก่อนอานนท์ ความ วิปฏิสารเดือดร้อนของนายจุนทกัมมารบุตร ท่านทั้งหลายพึงระงับเสีย ให้สงบด้วยตถาคตภาษิต" ดังนี้เถิด.

                                 ประทมอนุฏฐานไสยา

ครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็น อันมาก เสด็จพุทธดำเนินไป ข้ามแม่น้ำหิรัญญวดี ถึงเมืองกุสินารา แล้ว บรรลุถึงสาลวันอันเป็นที่แวะพักแล้ว ตรัสสั่งพระอานนท์ว่า "ดู ก่อนอานนท์ ท่านจงแต่งตั้งปูลาดซึ่งเตียงให้มีเบื้องศีรษะ ณ ทิศอุดร ณ ระหว่างแห่งไม้รังทั้งคู่ เราเป็นผู้เหน็ดเหนื่อยนัก จักนอนระงับความ ลำบาก." พระอานนทเถรเจ้ารับพุทธาณัติโดยเคารพแล้ว ก็แต่ง ตั้งปุลาดซึ่งเตียงพระแท่นปรินิพพานไสยา ณ ระหว่างแห่งสาลพฤกษ์ ทั้งคู่ ผันที่สูงเบื้องพระเศียร ณ ทิศอุดร. สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสำเร็จซึ่งสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ตั้งพระบาทเลื่อมด้วยพระ บาท มีสติสัมปชัญญะ แต่มิได้มีอุฏฐานสัญญามนสิการ เพราะเหตุ เป็นไสยาอวสาน เรียกว่าอนุฏฐานไสยา.

                                 ทรงปรารภสักการบูชา
                     [ทรงประกอบพุทธบริษัทในสัมมาปฏิบัติ]

สมัยนี้ ต้นรังทั้งคู่ก็เผล็ดดอกในอันมิใช่ฤดูกาล เบิกบานโดยรอบ พฤกษมณฑล ตั้งแต่มูลรากเบื้องต้นตลอดยอด ก็ดาดาษด้วย ดอกเป็นอันเดียว ล้วนเบิกบาน ควรเป็นอัศจรรย์ และดอกสาลพฤกษ์ ทั้งหลายนั้น หล่นลงยังพระสรีระ เพื่อจะบูชาพระตถาคตเจ้า. ทั้งดอก มณฑารพเป็นของทิพย์มีในเมืองสวรรค์ และจุรณ์แห่งจันทน์ สุคนธชาติของทิพย์ ก็ตกลงจากอากาศ ยังสรีระแห่งพระตถาคตเจ้า ทั้งดนตรีทิพย์เทพเจ้าก็บันลือประโคมในอากาศ ทั้งสังคีตเสียงขับ ของทิพย์ก็เป็นไปในอากาศ เป็นมหานฤนาทโกลาหล เพื่อจะบูชา สมเด็จพระตถาคตทศพลในอวสานกาล. ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระ ภาคผู้วิเศษในทิพยจักษุ ทิพยโสตญาณ ตรัสเรียกพระอานนท์ ทรง แสดงทิพยบูชาสักการะพิเศษแก่พระอานนท์แล้ว จะทรงแสดงซึ่งความ ที่รพระตถาคตเจ้าไม่เป็นอันบริษัทสักการบูชา ด้วยอามิสแม้มากเพียง เท่านั้น ตรัสแก่พระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตเจ้าไม่เป็น ผันบริษัทสักการะนบนอบนับถือบูชาคำนับ ด้วยสักการะพิเศษเพียง เท่านี้, ดูก่อนอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาก็ดี ผู้ใดแล มาเป็นผู้ปฏิบัติซึ่งธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติธรรม สมควรไซร้ ผู้นั้นมาสักการะเคารพนอบนบนับถือซึ่งพระตถาคตเจ้า ด้วยบูชาอย่างยิ่ง. ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้น ในการที่สักการบูชา พระตถาคตเจ้านี้ ท่านทั้งหลายผู้สาวกพึงสำเหนียกตนว่า 'เราทั้ง หลายจักเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติสมควร ดังนี้ ดูก่อนอานนท์ ท่านทั้งหลาย พึงศึกษาสำเหนียกอย่างนี้เถิด สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นธรรมิศราธิบดี ทรงประกอบสาวก พุทธบริษัทในธรรมานุธรรมปฏิบัติ ซึ่งพระองค์ประสงค์และสามารถ จะให้ศาสนาสถาพรดำรงอยู่ได้ ด้วยประการฉะนี้.

                        ทรงแสดงความเป็นไปแห่งเทวดา

สมัยนั้น พระผู้เป็นเจ้า อุปวาณะ ผู้มีอายุ ยืนถวายอยู่งานพัด อยู่ ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค พระองค์มาขับพระผู้เป็นเจ้า อุปวาณะ ผู้มีอายุนั้นเสียว่า "ดูก่อนภิกษุ ท่านจงหลีกไป ท่าน อย่าได้ยืน ณ เบื้องหน้าแห่งเรา." ครั้งนั้น พระอานนท์เกิดปริวิตกว่า "พระอุปวาณะผู้มีอายุองค์นี้ เป็นผู้อุปัฏฐากอยู่ใกล้เคียงสมเด็จพระ ผู้ทรงพระภาคเจ้ามานานแล้ว ครั้น ณ กาลที่สุด พระผู้มีพระภาคเจ้า มาทรงอปสาทะรุกรานให้หลีกไป ไม่ให้ยืน ณ ที่เฉพาะพระพักตร์เล่า เหตุปัจจัยไฉนหนอ ? พระอานนท์คิดแล้วจึงกราบทูลถาม. สมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเหตุว่า ดูก่อนอานนท์ เทพดาทั้งหลาย ในหมื่นโลกธาตุมาประชุมแล้วโดยมาก เพื่อจะเห็นพระตถาคตเจ้า, ดูก่อนอานนท์ เมืองกุสินารา สาลวันแห่งมัลลกษัตริย์ทั้งหลายเพียง เท่าใด โดยรอบ ๑๒ โยชน์เป็นกำหนด ในที่เพียงเท่านั้น ประเทศนั้น สักเท่าที่จดลงแห่งปลายขนทราย อันเทพดาทั้งหลายผู้มีศักดาใหญ่ ไม่ถูกต้องมิได้มี ย่อมยัดเยียดเบียดเสียดกันแน่นด้วยเทพดาทั้งหลาย ผู้มีศักดาใหญ่ทั่วมณฑลสถาน รอบสาลวโนทยาน ๑๒ โยชน์, ดูก่อน อานนท์ เทพดาทั้งหลายยกโทษอยู่ว่า 'เราทั้งหลายได้มาแล้วแต่ที่ ไกล หวังจะเห็นพระตถาคตเจ้า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลาย ย่อมบังเกิดขึ้นในโลก ณ กาลบางครั้งบางคาบ ความ ปรินิพพานแห่งพระตถาคตเจ้า จักมี ณ ยามที่สุดแห่งราตรีวันนี้แน่ ก็แต่ภิกษุศักดาใหญ่องค์นี้มายืนกั้นอยู่ ณ เบื้องหน้า แห่งพระผู้มีพระ ภาค เราทั้งหลายไม่ได้เพื่อจะเห็นพระตถาคตเจ้า ในกาลเป็นที่สุด ภายหลัง ณ บัดนี้ เทพดาทั้งหลายมายกโทษอยู่อย่างนี้ เราจึงขับ อุปวาณภิกษุเสียจากที่เบื้องหน้า" ด้วยประการฉะนี้. พระอานนทเถรเจ้ากราบทูลถามประวัติแห่งเทพดาว่า "ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค ก็เทพดาทั้งหลายเป็นอย่างไร ทำในจิตไฉนเล่า ?" มีอยู่ เหล่าเทพดาทั้งหลายมีความสำคัญวิปลาสในอากาศว่าเป็นปฐพี บางเหล่าชาวภูมิสถานสำคัญในแผ่นดินว่าแผ่นดิน๑ ดังนี้ ต่างองค์ก็ สยายผมยกแขนทั้ง ๒ กลิ้งเกลือกไปมา ประหนึ่งมีเท้าอันขาด คร่ำ ครวญถึงพระตถาคตฉะนี้ว่า "พระผู้มีพระภาคจักปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตจักปรินิพพานเสียเร็วนัก ดวงจักษุอันตรธานหายเสียในโลก เร็วนัก" ฝ่ายเทพดาทั้งหลายเหล่าใด มีราคะอันปราศแล้ว คือ เป็นอนาคามีและอรหันต์ เทพดาเหล่านั้นมีสติสัมปชัญญะอดกลั้นโดย ธรรมสังเวชว่า 'สังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งที่เที่ยงซึ่งสัตว์ ประสงค์นักนั้น สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้ในสังขารนี้แต่ไหนเล่า ? ' สมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงประวัติแห่งเทพเจ้าซึ่งมาประชุม ณ ครั้งนั้น แก่พระอานนท์ ด้วยประการฉะนี้.

                        ทรงแสดงสังเวชนียสถาน  ๔  ตำบล

ครั้งนั้น พระอานนทเถรเจ้ากราบทูลว่า "ในกาลก่อน ภิกษุ ทั้งหลายที่จำพรรษาอยู่ในทิศต่าง ๆ สิ่งไตยมาสตามวินัยนิยมแล้ว

เป็นเช่นนี้ น่าจะเห็นว่าคำพลาด ควรจะเป็น "วาอากาศ" จะได้กลับกัน

 ว. ว.

ย่อมมาเฝ้าพระตถาคตเจ้าโดยอาจิณณวัตร ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ เพื่อจะเห็นและเข้าไปใกล้ซึ่งภิกษุทั้งหลายอันให้เจริญจิต. ก็ด้วย ล่วงไปแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายจักไม่ได้เห็น จักไม่ได้เข้านั่งใกล้สากัจฉากับภิกษุทั้งหลายที่ให้เจริญจิต เหมือน เมื่อพระองค์ยังดำรงพระชนม์อยู่นั้นแล้ว." เมื่อพระอานนท์กราบทูล ดังนี้แล้ว พระโลกนาถทรงแสดงสถาน ๔ ตำบล ว่าเป็นที่ควรจะดู ควรจะเห็น ควรให้เกิดสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา คือสถานที่พระ ตถาคตเจ้าบังเกิดแล้ว คือประสูติจากพระครรภ์ตำบล ๑ สถานที่ พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตำบล ๑ สถานที่ พระตถาคตเจ้าให้พระอนุตตรธรรมจักรเป็นไปตำบล ๑ สถานที่พระ ตถาคตเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุตำบล ๑ สถานทั้ง ๔ ตำบลนี้ เป็นที่ควรจะเห็น ควรจะดู และควรให้เกิดความ สังเวชของกุลบุตรผู้มีศรัทธา, ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มี ศรัทธาจักมายังสถาน ๔ ตำบลนั้น ด้วยมีความเชื่อว่า 'พระตถาคตเจ้า บังเกิดแล้ว ณ ที่นี้ พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ณ ที่นี้ พระองค์ได้ให้พระอนุตตรธรรมจักรเป็นไปแล้ว ณ ที่นี้ พระ องค์เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว ณ ที่นี้' ดูก่อน อานนท์ ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งเที่ยวไปยังเจติยจาริกอยู่ จัก เป็นคนเลื่อมใสทำกาลกิริยาลง ชนเหล่านั้นจะเข้าถึงซึ่งสุคติโลก สวรรค์. สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงสถาน ๔ ตำบลว่า เป็นที่ควรเห็นควรดูควรให้เกิดสังเวชของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ด้วย ประการฉะนี้.

             อาการอันภิกษุทั้งหลายจะพึงปฏิบัติในสตรีภาพ

ลำดับนั้น พระอานนทเถรเจ้า ทูลถามด้วยอันจะพึงปฏิบัติใน สตรีภาพทั้งหลายว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะปฏิบัติในมาตุคามเป็นไฉน ?" "ดูก่อนอานนท์ ความไม่เห็นไม่ดู เป็นความปฏิบัติในมาตุคาม คือว่าอย่าเห็นอย่าดูเสียเลย เป็นความ ดี." "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อความเห็นความดูความประสพมีขึ้น ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติไฉนเล่า  ?" "ดูก่อนอานนท์ ถ้าเห็นแล้ว ความ ไม่เจรจา เป็นปฏิบัติสมควร." "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อเจรจาเล่า ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติไฉน ?" "ดูก่อนอานนท์ ถ้าประโยชน์ที่จะ ต้องเจรจา ด้วยสามารถธรรมีกถาเป็นต้นมีแล้ว สติความระลึกอัน ท่านทั้งหลายพึงตั้งไว้ใกล้ ท่านทั้งหลายพึงตั้งสติไว้ อย่าให้แปรปรวน ด้วยราคะดำฤษณา๑ และอาการกายวาจาที่ละเมิดจากของสมณะได้." ทรงสั่งสอนในการที่ภิกษุจะพึงปฏิบัติในสตรีภาพ ด้วยประการฉะนี้.

                           วิธีปฏิบัติในพระพุทธสรีระ

ลำดับนั้น พระอานนทเถรเจ้า ทูลถามถึงการที่จะพึงปฏิบัติ ในพระสรีระแห่งพระโลกุตตมาจารย์เจ้าว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค

ท์ไทย แผลงจากคฤษณาในภาษาสันสกฤต ได้แก่ตัณหา. ว. ว. ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงปฏิบัติในพระสรีระแห่งพระตถาคตเจ้าเป็น ไฉน ?" "ดูก่อนอานนท์ ท่านทั้งหลายเหล่าภิกษุสหธรรมมิกบริษัท จง อย่าขวนขวายเพื่อจะบูชาสรีระแห่งพระตถาคตเจ้าเลย ดูก่อนอานนท์ เราตักเตือนท่านทั้งหลาย ๆ จงสืบต่ออนุโยคพยายามในประโยชน์ของ ตนเถิด จงเป็นผู้ไม่ประมาทในประโยชน์ของตน เป็นบุคคลมีความ เพียรเผากิเลสและบาปธรรม เป็นบุคคลมุ่งต่อที่สุดแห่งพรหมจรรย์อยู่ ทุกอิริยาบถเถิด. ดูก่อนอานนท์ กษัตริย์พราหมณ์คฤหบดีทั้งหลาย ผู้บัณฑิตซึ่งได้เลื่อมใสในพระตถาคตเจ้ามีอยู่มาก บัณฑิตคฤหัสถชน มีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น จักทำซึ่งสักกาบูชาพระสรีระแห่งพระ ตถาคตเจ้า." เมื่อพระองค์ตรัสว่า "การบูชาพระสรีระแห่งพระตถาคตเจ้าเป็น กิจของคฤหัสถ์มีกษัตริย์เป็นตัน" ดังนี้แล้ว ครั้นถึงกาลสมัยเมื่อ พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี ผู้ บัณฑิต จะทำสักกาบูชาพระสรีระให้ต้องตามพุทธาธิบาย ก็จะพึง ไต่ถามพระอานนท์อัครพหุสุตพุทธอุปัฏฐาก เมื่อเป็นดังนั้นแล้วจะอ้าง เสียว่า "พระองค์ห้ามว่า 'ไม่ใช่ธุระของสหธรรมิกบรรพชิต' เราจึง ไม่ทูลถาม" ดังนี้หาสมควรแก่บัณฑิตผู้อยู่ในอำนาจแห่งเหตุไม่ ควร จะทูลถามไว้เป็นแบบอย่าง เมื่อกราบทูลถามแล้ว หากไม่ทรงแสดง ไซร้ ก็จะได้อ้างตามเหตุเดิมว่าได้ทูลถามแล้ว พระองค์ไม่ทรงปริยาย ดังนี้ จึงจะชอบ จะไม่เกิดครหาแต่ผู้ใดได้, เมื่อทูลถามแล้ว จะทรง แสดงฉันใด ก็ควรจำไว้ฉันนั้น เมื่อบัณฑิตมีกษัตริย์เป็นต้นมา ไต่ถาม จะได้แสดงตามพุทธาธิบาย. เหตุการณ์ดังนั้น พระอานนท- เถระผู้มีคติธิติอันเลิศจึงกราบทูลถามว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็บัณฑิตมีกษัตริย์เป็นต้นเมื่อจะบูชานั้น จะพึงปฏิบัติในพระสรีระแห่ง พระตถาคตเจ้าอย่างไรเล่า ?" "ดูก่อนอานนท์ ชนทั้งหลายย่อมปฏิบัติ ในสรีระแห่งจักรพรรดิราชเจ้าฉันใด ผู้จะบูชาพึงปฏิบัติในสรีระแห่ง พระตถาคตเจ้าฉันนั้นเถิด." "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ชนทั้งหลาย ปฏิบัติในสรีระของจักรพรรดิราชอย่างไรเล่า ?" "ดูก่อนอานนท์ ชน ทั้งหลาย พันซึ่งสรีระของจักรพรรดิราชด้วยผ้าใหม่ แล้วซับด้วยสำลี แล้วห่อด้วยผ้าใหม่ โดยอุบายนี้ ห่อด้วยผ้า ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญพระสรีระ ลงประดิษฐาน ณ รางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมัน แล้วปิดครอบด้วยราง เหล็กอื่นเป็นฝา แล้วทำจิตกาธารล้วนแต่ด้วยไม้หอม แล้วทำฌาปนกิจ ถวายพระเพลิงพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิราชแล้ว เชิญพระอัฐิธาตุ บรรจุทำสตูปไว้ ณ ที่ประชุมแห่งถนนใหญ่ทั้ง ๔. ชนทั้งหลายย่อม ปฏิบัติในสรีระแห่งพระตถาคตเจ้า พึงปฏิบัติในพระตถาคตเจ้า ฉันนั้น เถิด พึงทำสตูปแห่งพระตถาคตเจ้าลงไว้ ณ ที่เป็นที่ปรุชุมแห่งถนน ใหญ่ทั้ง ๔ เพื่อเป็นที่ไหว้และสักการบูชาแห่งมนุษยนิกร อันสัญจร มาแต่ ๔ ทิศ ให้ได้เกิดความเลื่อมใสแห่งจิตสั่งสมอนุสสตานุตตริย- กุศลและบูชามัยบุญราศี ชนทั้งหลายเหล่าใด จักยกขึ้นซึ่งระเบียบ ดอกไม้หรือของหอมสุคนธชาติหรือจุรณ์ก็ดี ณ สตูปนั้น หรือจักอภิวาท กราบไหว้พระสตูปนั้น เป็นนิปัจจการ หรือจักให้จิตเลื่อมใสในพระ พุทธคุณ เพราะเห็นพระสตูปนั้นเป็นที่ตั้งก็ดี อันนั้นจักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ชนเหล่านั้น สิ้นกาลนาน.

                                   ถูปารหบุคคล  ๔ 

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวิธีปฏิบัติในพระสรีระแห่งพระ ตถาคตพุทธเจ้าและจักรพรรดิราช แสดงว่า ๒ อัจฉริยมนุษย์บุรุษรัตน์ เป็นถูปารหบุคคล ควรแก่ประดิษฐานสตูป ดังนี้แล้ว จึงทรงแสดง ถูปารหบุคคลทั้ง ๔ โดยพิสดาร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ- เจ้า ๑ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑ พระสาวกอรหันต์ ๑ พระเจ้าจักร- พรรดิราช ๑ สี่บุคคลพิเศษนี้ เป็นถูปารหะ ควรซึ่งสตูปบรรจุ อัฐิธาตุไว้ให้เป็นที่ไหว้ที่สักการบูชาด้วยเลื่อมใส ก็สามารถจะเป็น ชนกปัจจัยนำให้สัตว์เกิดในสุคติโลกสวรรค์ ตามกำลังความเลื่อมใส แห่งจิต ซึ่งเป็นไปในสตูปแห่งถูปารหบุคคลทั้ง ๔ นั้น สมเด็จพระ ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถูปารหบุคคลทั้ง ๔ แก่พระอานนทเถรเจ้า ด้วยประการฉะนี้.

                         ประทานโอวาทแก่พระอานนท์

ครั้งนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ เข้าไปยังวิหาร เหนี่ยวซึ่งกปิสีสะ๑

ม้ทำเป็นรูปศีรษะลิง บางมติว่า กปิลสีสะ ไม้ทำเป็นศีรษะโค ซึ่ง ระตูหน้าต่าง ถือกันว่าเป็นมงคลแก่สถานที่. คือทัพสัมภาระ มีสัณฐานคล้ายกับศีรษะพานร คำบุราณปลงความ ว่า 'สลักเพ็ชร' ยืนร้องไห้อยู่ว่า เราก็ยังเป็นเสขบุคคล มีกิจจำจะ ต้องทำยังไม่สำเร็จ พระศาสดาพระองค์ใดเป็นผู้อนุเคราะห์ซึ่งเรา พระ ศาสดาพระองค์นั้นแห่งเราก็จักปรินิพพานเสียแล้ว." ครั้งนั้น สมเด็จ พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลาย ถามถึงพระอานนท์. ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า "เข้าไปยังวิหารเหนี่ยวสลักเพ็ชรยืนร้องให้อยู่" จึงดำรัสสั่งให้หาพระอานนท์มายังที่เฝ้า แล้วจึงตรัสว่า "ดูก่อน อานนท์ อย่าเลย ท่านอย่างเศร้าโศก อย่าร่ำไร เราได้บอกแล้วอย่าง นี้แต่เดิมหาไม่หรือว่า 'ความเป็นต่าง ๆ ความมีเว้น ความเป็นอย่าง อื่นจากสัตว์สังขารที่รักที่เจริญใจทั้งปวงนั้นแล มิได้ว่างเว้น' ดูก่อน อานนท์ สิ่งที่เที่ยงแท้ถาวรซึ่งสัตว์ประสงค์นักนั้น สัตว์ทั้งหลายจะพึง ได้ในสังขารนี้แต่ไหน สิ่งใดเป็นของเกิดของมีขึ้น อันปัจจัยแต่งขึ้น มีความฉิบหายเป็นธรรมดา อันบุคคลผู้ใดจะปรารถนาว่า 'ขอสิ่งนั้น อย่าฉิบหายเลย' ดั่งนี้ ฐานะที่ตั้งนั้นไม่มี. ดูก่อนอานนท์ ท่านได้ อุปัฏฐากพระตถาคต ด้วยกามกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีเมตตา ไม่เป็น ๒ ไม่มีประมาณ มาสิ่งกาลนานแล้ว ท่านเป็นบุคคลมีบุญ ได้ทำแล้ว ท่านจงประกอบตามซึ่งความเพียรเถิด ท่านจักเป็นผู้ไม่มี อาสวะฉับพลัน คือจักได้เป็นพระอรหันต์โดยเร็ว." สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้า ผู้ถึงซึ่งวิเศษในพระอตีตานาคตังสญาณได้ตรัสพยากรณ์ พระอานนท์ ด้วยประการฉะนี้.

                            ตรัสสรรเสริญพระอานนท์   

ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลาย ทรงแสดงซึ่งความที่แห่งพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากอย่างยิ่งว่า "ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้องค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใด ที่มีแล้วในอดีต ภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายนั้นเป็นอย่างยิ่ง ประหนึ่งอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐากแห่งเรา ณ กาลบัดนี้ แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใด จักมีใน อนาคตเบื้องหน้า ภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นก็เป็น อย่างยิ่ง ประหนึ่งอานนท์เป็นอุปัฏฐากแห่งเรา ณ กาลบักนี้, ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต ดำเนินด้วยปัญญา ย่อมรู้ว่า 'นี้ เป็นกาลเพื่อบริษัทจะเฝ้าพระตถาคต นี้เป็นกาลแห่งภิกษุ นี้เป็นกาล แห่งภิกษุณี นี้เป็นกาลแห่งอุบาสก นี้เป็นกาลแห่งอุบาสิกา นี้เป็น กาลของพระราชมหากษัตริย์ นี้เป็นกาลของราชมหาอำมาตย์ นี้เป็น กาลของเดียรถีย์ นี้เป็นกาลของสาวกเดียรถีย์' อานนท์ย่อมรู้ซึ่งกาล ที่บริษัททั้ง ๔ และพระราชาและชมหาอำมาตย์แลเดียรถีย์และสาวก เดียรถีย์ จะเฝ้าพระตถาคตที่ถ้วนทุกประการฉะนี้." แต่นั้น พระองค์ ทรงแสดงข้ออัศจรรย์ ๔ ประการในพระอานนท์โดยพิสดาร "เมื่อใด ภิกษุบริษัท ภิกษุณีบริษัท อุบาสกบริษัท อุบาสิกาบริษัท เข้าไป ใกล้เพื่อจะเห็นพระอานนท์ บริษัทนั้นแม้แต่ได้เห็นเธอแล้ว ก็มีจิต ยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมเล่า บริษัทนั้นก็มีจิตชื่นชมด้วยภาษิต ของอานนท์ ไม่อิ่มไม่เบื่อด้วยธรรมกถาที่อานนท์แสดงนั้นเลย ครั้น อานนท์นิ่งหยุดธรรมกถา บริษัททั้ง ๔ ซึ่งได้สดับนั้น ก็มีจิตยินดี และไม่อิ่มไม่เบื่อ ประหนึ่งพระเจ้าจักรพรรดิราช อันให้เกิดความ ชื่นชมและไม่อิ่มด้วยภาษิตแก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณ- บริษัท ฉะนั้น.

                             ตรัสเรื่องเมืองกุสินารา

เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า อานนท์ด้วยประการฉะนี้แล้ว พระอานนท์ผู้มีอายุ จึงกราบทูล อาราธนาจะเชิญเสด็จไปปรินิพพาน ณ พระมหานครอื่นว่า "ข้าแต่ พระผู้มีพระภาคเจ้า อย่าเสด็จปรินิพพาน ณ เมืองเล็ก เมืองดอน กิ่ง เมื่อที่นี้เลย พระนครใหญ่ ๆ ทั้งหลายอื่นมีอยู่หลายตำบล คือ เมืองจำปา เมืองราชคฤห์ เมืองสาวัตถี เมืองสาเกต เมืองโกสัมพี เมืองพาราณสี ล้วนเป็นพระนครใหญ่ ขอสมเด็จพระผู้มีพระภาค จง เสด็จปรินิพพาน ณ มหานครเหล่านั้นเถิด กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี ซึ่งเป็นมหาศาล ที่เลื่อมใสในพระตถาคตเจ้ามีอยู่มาก ณ มหานคร เหล่านั้น จักได้ทำซึ่งสักการบูชาพระสรีระแห่งพระตถาคตเจ้า เป็น มโหฬารสักการใหญ่ควรแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นอนาคาริก- ปุริสรัตน์อัจฉริยมนุษย์ในโลก" สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้าม พระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า 'เมือง กุสินารานี้เป็นเมืองเล็กเมืองดอนเป็นกิ่งนคร' ดังนี้เลย แต่ปางก่อน มีพระเจ้ามหาสุทัศน์จักรพรรดิราช ผู้เป็นอิสสราธิบดีในปฐพีมณฑล มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นที่สุดรอบขอบขัณฑรัชชสีมา พระองค์ชำนะ พิเศษซึ่งปัจจามิตรโดยธรรม ไม่ต้องใช้ทัณฑ์และศัสตรา พระองค์ ถึงแล้ว ซึ่งความที่แห่งชนบทตั้งมั่น อันไพรีมิได้รันทำประทุษร้าย ให้กำเริบได้ พระองค์พร้อมแล้วด้วยรัตนะของให้เกิดยินดี คือแก้ว ๗ ประการ เมืองกุสินารานี้เป็นราชธานีชื่อกุสาวดี เป็นที่เสด็จอยู่แห่ง พระเจ้ามหาสุทัศน์จักรพรรดิราช เป็นพระนครอันไพศาล โดยยาว ด้านบูรพาและปัจฉิมทิศ ๑๒ โยชน์ โดยกว้างด้านอุดรและทักษิณ- ทิศ ๗ โยชน์ มีกำหนดยาวกว้างโดยประมาณฉะนี้ เมืองกุสาวดี เป็นราชธานีสมบูรณ์มั่งคั่ง มีชนมาก มีมนุษย์นิกรเกลื่อนกล่นคั่ง มีภิกษุหารแสวงได้ง่ายโดยสะดวกดี เป็นรมณียสถานที่บันเทิงจิต ดังอาลกมันทาราชธานีทิพยนคร ของเทพเจ้า เหล่าจาตุมหาราชิกนิกาย ฉะนั้น กุสาวดีราชธานีนั้น กึกก้องนฤนาททั้งกลางวันและกลางคืน ไม่สงบด้วยสำเนียงทั้ง ๑๐ คือ เสียงคชสาร เสียงอัสสพาชี เสียงรถ เสียเภรี เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียง สังข์ ทั้งสำเนียงประชุมชนเรียกกันบริโภคอาหารเป็นเสียงคำรบ ๑๐ กุสาวดีราชธานีย่อมกึงก้องสนั่นด้วยเสียงทั้ง ๑๐ นี้ มิได้สงบเงียบ ทั้งกลางวันและกลางคืน."

           ตรัสสั่งให้แจ้งข่าวปรินิพพานแก่พวกมัลลกษัตริย์   

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงซึ่งความที่แห่งเมือง กุสินารา เป็นราชธานีใหญ่ที่เสด็จอยู่แห่งพระเจ้ามหาสุทัศน์จักร- พรรดิราช แต่ในกาลปางก่อนให้พระอานนท์ทราบฉะนี้แล้ว ดำรัสสั่ง พระอานนท์ให้เข้าไปบอกมัลลกษัตริย์ให้ทราบว่า พระตถาคตเจ้าจัก ปรินิพพาน ณ ยามที่สุดแห่งราตรี ณ วันนี้ อย่าให้มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย มีความเดือดร้อน ณ ภายหลังว่า "พระตถาคตเจ้าได้ปรินิพพานแล้ว ณ คามเขตของเรา เราทั้งหลายไม่ได้เห็นพระตถาคตเจ้าในกาลที่สุด" ดังนี้. พระอานนทเถรเจ้ารับสุคตาณัติแล้ว ก็ถือบาตรจีวรเข้าไปยัง เมืองกุสินารา พอมัลลกษัตริย์ทั้งหลายมาประชุมอยู่ ณ สัณฐาคาร- ศาลาด้วยกิจอันหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้าจึงเข้าไปยังโรงที่ประชุมนั้นแล้ว แจ้งความว่า "ดูก่อนวาสิฏฐะ อุดมโคตรทั้งหลาย ความปรินิพพาน แห่งพระตถาคตเจ้า จักมี ณ ยามที่สุดแห่งราตรีในวันนี้ ดูก่อนวาสิฏฐะ ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงรีบออกไปเถิด ๆ อย่างได้มีความเสียใจ เมื่อภายหลังว่า 'ไม่ได้เฝ้าในกาลที่สุด' ดังนี้เลย." เมื่อมัลลกษัตริย์ กับโอรสและสุณิสาและปชาบดี ได้ฟังคำนี้แห่งพระอานนท์ผู้มีอายุ แล้ว ก็ทรงพระกำสรดโสกาดูรเสวยทุกขโทมนัส สยายผมยกแขน ทั้ง ๒ ขึ้นแล้ว คร่ำครวญล้มกลิ้งเกลือกประหนึ่งมีเท้าอันขาด ร่ำไร รำพันถึงสมเด็จนพระโลกนาถว่า "สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคจักปริ- นิพพานเสียพลันนัก พระสุคตเจ้าจักปรินิพพานเสียเร็วนัก ดวงจักษุ จักอันตรธานในโลกเสียฉับพลันนัก." มัลลกษัตริย์ทั้งหลายก็รำพัน ร่ำรักสมเด็จพระทศพลเจ้า ด้วยประการต่าง ๆ พร้อมทั้งโอรสและ สุณิสาและปชาบดี เสวยทุกขโทมนัสโสกาดูรอยู่ฉะนั้น เสด็จไปถึง สาลวันยังสำนักแห่งพระอานนท์. พระผู้เป็นเจ้าคิดเห็นว่า "ถ้าจะให้ มัลลกษัตริย์เรียงองค์เข้าไปถวายบังคมพระผู้มีพระภาคไซร้ ก็จักไม่ ได้ถวายบังคมครบทุกองค์ ราตรีก็จัดสว่างเสียก่อน อย่ากระนั้นเลย เราจะจักโดยปริวัฏฏ์แห่งสกุล ๆ ให้ถวายอภิวาทบังคมพระผู้มีพระภาค กราบทูลให้ทราบว่า 'มัลลกษัตริย์ชื่อนี้ ๆ ทั้งบุตรทั้งภริยาทั้งบริษัท ทั้งอำมาตย์ ถวายบังคมพระบาทแห่งพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แห่งตน ๆ" ดังนี้เถิด พระผู้เป็นเจ้าคิดแล้ว ก็จัดโดยวงศ์สกุลให้ถวาย บังคม กราบทูลโดยนัยนั้น ให้มัลลกษัตริย์ได้ถวายอภิวาทเสร็จใน ปฐมยาม ส่วนเบื้องต้นแห่งราตรี.

                                  โปรดสุภัททปริพาชก

จะกล่าวอื่นด้วยปัจฉิมสักขิสาวกพุทธเวไนย. สมัยนั้นปริพาชก หนึ่งชื่อสุภัททะอาศัยอยู่ ณ เมืองกุสินารา. สุภัททปริพาชกนั้นได้ยิน ว่า "พระสมณโคดมจักปรินิพพาน ณ ยามที่สุดแห่งราตรีวันนี้แล้ว." สุภัททปริพาชกคิดเนื้อความตามที่ได้ยินมาแต่ปริพาชกที่เป็นอาจารย์ เก่า ๆ กล่าวสืบ ๆ มาว่า "องค์พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลาย ย่อมบังเกิดขึ้นในโลก ณ กาลบางคาบบางครั้ง" ความ ปรินิพพานแห่งพระสมณโคดม จักมี ณ ยามที่สุดแห่งราตรีวันนี้แน่ ความสงสัยข้อนี้บังเกิดแล้วแก่เราก็มีอยู่ เราก็เป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้ว่า "พระสมณโดคมสามารถอยู่ เพื่อจะแสดงธรรมให้เราละความสงสัย นั้นเสียได้ ควรที่จะรีบออกไปเฝ้าพระโคดมเจ้าผู้สมณะเสียโดยพลัน ณ ราตรีวันนี้" ลำดับนั้น สุภัททปริพาชกจึงไปยังสาลวัน ถึงสำนัก พระอานนท์แล้ว เล่าความตามที่ตนดำรินั้นให้พระอานนท์ฟังแล้ว วิงวอนจะขอเฝ้าพระผู้มีพระภาค. พระอานนทเถรเจ้าจึงทัดทานว่า "ดูก่อนสุภัททะผู้มีอายุ อย่าเลย ท่านอย่าได้เบียดเบียนพระตถาคตเจ้า ให้ลำบาก พระผู้มีพระภาคทรงลำบากพระกายอยู่แล้ว สุภัทท- ปริพาชกวิงวินพระอานนท์ถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง พระอานนท์ก็ ทัดท่านไว้ฉะนั้น. สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้ยินพระอานนท์ เจรจากับสุภัททปริพาชกแล้ว ดำรัสเรียกพระอานนท์ว่า "ดูก่อน อานนท์ อย่าเลย อานนท์ จงอย่าห้ามสุภัททะ ๆ จงได้เห็นพระ ตถาคตเถิด สุภัททะจักถามปัญหาอันใดอันหนึ่งกะเรา ก็จักเป็นคน มุ่งความตรัสรู้ทั่วถึงแล้วและถามซึ่งปัญหาทั้งปวงนั้น จัดไม่เพ่งความ เบียดเบียนให้พระตถาคตลำบาก, อนึ่ง เราอันสุภัททะได้ถามแล้วจัก พยากรณ์เนื้อความอันใดแก่สุภัททะนั้น สุภัททะจะรู้ทั่วถึงซึ่งเนื้อความ นั้นฉับพลัน." ลำดับนั้น พระอานนทเถรเจ้าจึงเตือนสุภัททะว่า "ดูก่อนสุภัททะ ท่านจงไปยังที่เฝ้าเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทำโอกาส ประทานช่องแก่ท่านให้เข้าเฝ้าแล้ว." จึงสุภัททปริพาชกเข้าไปเฝ้า ทำสัมโมทนียกถาปฏิสันถาร นั่ง ณ ที่ควรแล้ว ทูลถามถึงติตถกร- คณาจารย์ครูทั้ง ๖ คน คือ ปูรณกัสสปะ มักขลิโคศาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะ สัญชยเวลัฏฐบุตร นิครนถนาฏบุตร ซึ่งครอบครอง หมู่คณะ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดีคนประเสริฐนั้น ว่า "ได้ตรัสรู้ด้วยปัญญายิ่งตามปฏิญญาของตน ๆ ครบทั้ง ๖ ครูหรือ หรือ ไม่ได้ตรัสรู้ยิ่งทั้ง ๖ หรือตรัสรู้ยิ่งแต่บางจำพวก ๆ ไม่ตรัสรู้ยิ่งเป็น ประการไร ?" สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนสุภัททะ อย่า เลย ข้อนั้นจงยกไว้ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น ทำ ในใจให้สำเร็จประโยชน์เถิด เราจักภาษิต ณ บัดนี้." สุภัททะรับ พุทธพจน์โดยเคารพแล้ว สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้าตรัสเทศนาว่า "ดูก่อนสุภัททะ มรรคาคือข้อปฏิบัติมีองคือวัยวะ ๘ อย่างเป็นอริยะไป จากข้าศึก เป็นมรรคาประเสริฐ ไม่มีอยู่ในธรรมวินัยคำสั่งสอนอันใด แล้วสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ย่อมไม่มีในธรรมวินัยนั้น. ดูก่อนสุภัททะ ก็แลมรรคามีองค์อวัยวะ ๘ อย่าง เป็นอริยะไปจากข้าศึก เป็นมรรคา ประเสริฐ มีอยู่ในธรรมวินัยคำสั่งสอนอันใดแล้ว สมณะคือท่านผู้ ให้กิเลสบาปธรรมระงับได้จริง ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ย่อมเกิดขึ้นใน ธรรมวินัยนั้น, ดูก่อนสุภัททะ มรรคมีองค์ ๘ ประการ เป็นอริยะ ไปจากข้าศึก เป็นมรรคาอันประเสริฐ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ สมณะ ที่ ๑ ก็มีในธรรมวินัยนี้แห่งเดียว สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ สมณะ ที่ ๔ ก็มีในธรรมวินัยนี้แห่งเดียว (อธิบายว่าสมณะท่านผู้ให้กิเลสบาป ธรรมสงบระงับได้จริง ที่ ๑ คือโสดาบันนบุคคล ที่ ๒ คือสกิทาคามิ- บุคคล ที่ ๓ คืออนาคามิบุคคล ที่ ๔ คือขีณาสวอรหันต์ ย่อมมี จริงในธรรมวินัยนี้สมัยเดียวเท่านั้น) ลัทธิแห่งผู้อื่นนอกจากพระสัมมา สัมพุทธเจ้าแล้ว เปล่าไปจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง คือจะสั่งสอนไปด้วย ประการไร ๆ สมณะพิเศษ ๔ เหล่าคงไม่มีขึ้นเลย ในลักทธิอื่นจาก สุคตธรรมวินัย, ดูก่อนสุภัททะ ก็ถ้าหากภิกษุทั้งหลายเหล่านี้จะพึง อยู่ดีอยู่ชอบแล้วไซร้ โลกก็จะไม่พึงศูนย์เปล่าจากพระอรหันต์ทั้ง หลาย." สมเด็จพระผู้มีพระภาค ตรัสเทศนาแสดงธรรมวินัยนี้ว่า เป็นนิยยานิกะ เป็นที่เกิดแห่งสมณะพิเศษอริยบุคคล ๔ จำพวกฉะนี้ แล้ว จึงตรัสพุทธนิพันธคาถาว่า "ดูก่อนสุภัททะ เราได้ ๓๐ หย่อน ๑ โดยวัย ได้บรรพชาแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล ๆ ดังนี้อันใด เราได้ บรรพชาแล้วแต่กาลใดมาจนบัดนี้ นับปีได้ ๕๐ ยิ่งด้วยปี ๑ แม้สมณะ ผู้เป็นไปในประเทศแห่งธรรมที่เป็นเครื่องนำออกไป ไม่มี ณ ภายนอก แต่ธรรมวินัยนี้ สมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ไม่มี ณ ภายนอกแต่ ธรรมวินัยนี้ ลัทธิสมัยเป็นเครื่องสั่งสอนแห่งผู้อื่น ว่างเปล่าไปจาก สมณะผู้รู้ทั่วถึง, ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้จะพึงอยู่ดี อยู่ชอบแล้วไซร้ โลกก็จัดไม่พึงว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย๑." เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาค ตรัสธรรมเทศนาดังนี้แล้ว สุภัททปริพาชก

พระธรรมวินัยนี้ น่าจะเป็นของพระธรรมสังคาหกาจารย์ จุเข้าในพระ- ดา. ว. ว. สรรเสริญความเลื่อมใสและพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสก แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักแห่งพระผู้มีพระภาค." พระโลกนาถจึงตรัสแสดงวิธีติตถิยปริวาสตามวินัยนิยมว่า "ดูก่อน สุภัททะ ผู้ใดเป็นอัญญเดียรถีย์อยู่ในก่อนมาปรารถนาบรรพชาอุปสมบท ณ ธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นย่อมอยู่ปริวาส ๔ เดือน ต่อล่วง ๔ เดือนแล้ว ภิกษุทั้งหลายมีจิตอันเดียรถีย์เก่านั้นให้ยินดีได้แล้ว เธอจึงให้ผู้นั้น บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่าในกาลอยู่ติตถิยปริวาส นั้น เรารู้จักประมาณต่างแห่งบุคคลคือยกเว้นให้เป็นพิเศษเฉพาะ บุคคล." สุภัททปริพาชกกราบทูลตามความเลื่อมใสแห่งตนที่เป็นไป กล้าหาญว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าติตถิยปริวาสมีกำหนด ๔ เดือน ฉะนั้นแล้ว ข้าพระองค์จะอยู่ให้นานถึง ๔ ปี ต่อล่วง ๔ ปี ภิกษุ ทั้งหลายจงให้ข้าพระองค์บรรพชาอุปสมบทเพื่อเป็นภิกษุเถิด." ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ ถ้ากระนั้นท่านทั้งหลายจงให้สุภัททะบรรพชาอุปสมบท เถิด." พระอานนทเถรเจ้ารับพุทธาณัตติพจน์ เพื่อจะให้สุภัททะ บรรพชาอุปสมบทโดยพุทธประสงค์. จึงสุภัททปริพาชกสรรเสริญ พระอานนท์ว่า "ข้อซึ่งพระอานนท์ อันพระศาสดาได้ทรงอภิเษกด้วย อันเตวาสิกาภิเษก ในกจให้รับบรรพชาอุปสมบทข้าพเจ้านั้น เป็น ลาภมากขอพระอานนท์ พระอานนท์ได้ดีแล้ว." สุภัททปริพาชก ได้แล้วซึ่งบรรพชาอุปสมบทในสำนักแห่งพระผู้มีพระภาค.

                               สุภัททะเป็นสักขิสาวก

พระผู้เป็นเจ้าสุภัททะผู้มีอายุอุปสมบทแล้วไม่นาน ท่านได้หลีก ออกจากหมู่ สงัดอยู่แต่ผู้เดียว เมื่อเป็นภิกษุไม่ประมาท มีความ เพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีตนส่งไปมุ่งต่ออภิสมัยเป็นเบื้องหน้าอยู่ ไม่ นานเลยก็ทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง. พระผู้ เป็นเจ้าสุภัททะนั้น ได้เป็นสักขิสาวก คือสาวกทันเห็นองค์สุดแห่ง พระผู้มีพระภาค. และข้อซึ่งสุภัททะได้อุปสมบทแล้วสำเร็จพระอรหัต เมื่อใดนั้น ในพระบาลีแสดงแต่เพียงว่า ท่านอุปสมบทแล้วไม่นาน ไม่ได้แสดงตรงเฉพาะว่า สำเร็จพระอรหัตในราตรีนั้น แต่คำว่า ต่อสมัยอื่น กาลอื่น ครั้งอื่น ก็มิได้แสดงไว้ในพระบาลี กล่าวแต่ ว่าท่านอุปสมบทแล้วไม่นานเท่านั้น คำเบื้องหลักซ้ำว่า ท่านได้เป็น สักขิสาวกองค์สุดแห่งพระผู้มีพระภาค ดั่งนี้ ควรที่จะสันนิษฐานว่า สำเร็จพระอรหัตในราตรีนั้น. ในคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถา ทีฆนิกาย พรรณนาเนื้อความในมหาปรินิพพานสูตรที่นั้นว่า "ดังได้ สดับมา พระอานนทเถระ นำซึ่งสุภัททปริพาชกนั้นไปที่ควรส่วน หนึ่งแล้ว เอาน้ำฉันแต่กระบอกน้ำชุบศีรษะให้ผมชุ่มแล้ว กล่าวซึ่ง กัมมัฏฐานมีประชุมแห่งอาการ ๕ ที่ท่านกำหนดด้วยหนังเป็นอารมณ์ แล้ว ปลงลงซึ่งผลและหนวดแล้ว ให้นุ่งผ้าย้อมด้วยน้ำฝาดทั้งหลาย แล้ว ให้ซึ่งสรณะทั้งหลายให้สำเร็จสามเณรบรรพชาแล้ว นำมา ยังสำนักแห่งพระผู้มีพระภาค. สมเด็จพระผู้มีพระภาคให้สุภัททะนั้น อุปสมบทแล้ว ทรงบอกซึ่งกัมมัฏฐาน. พระสุภัททภิกษุนั้น ถือเอา ซึ่งกัมมัฏฐานนั้นแล้ว อธิษฐานซึ่งจงกรม ณ ส่วนข้างหนึ่งแห่งสวน สาลวัน ท่านสืบต่อพยายามมิได้หยุด ชำระวิปัสสนาปัญญาให้บริสุทธ์ จากอุปกิเลสบรรลุถึงซึ่งพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว มาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่." พระธรรมสังคาหกเถรเจ้า อาศัยเนื้อความดังกล่าวนั้น จึงได้กล่าวว่า "ท่านอุปสมบทแล้ว ไม่นาน ฯลฯ ดังนี้ ในพระบาลีมหาปรินิพพานสูตรนั้น. พระ อรรถกถาจริยเจ้าพรรณนาด้วยบรรพชาอุปสมบท และความสำเร็จ พระอรหัตแห่งพระผู้เป็นเจ้าสุภัททะนั้น ด้วยประการฉะนี้.

                          ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์

ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกพระอานนท์ให้เป็น ผู้รับเทศนา ประทานพุทธโอวาทแก่ภิกษุบริษัท เพื่อจะให้มีความเคารพ ต่อธรรมและวินัย ตั้งไว้ในที่แห่งพระศาสดาว่า "ดูก่อนอานนท์ ความดำริดังนี้ จะพึงมีบ้างแก่ท่านทั้งหลายว่า 'ปาพจน์คือศาสนธรรม มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาแห่งเราทั้งหลายไม่มี" ดังนี้ ดูก่อนอานนท์ ท่านทั้งหลายไม่พึงเห็นอย่างนี้ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใด อันเราได้แสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่ท่านทั้งหลาย ธรรม และวินัยนั้น จักเป็นศาสดาแห่งท่านทั้งหลาย โดยกาลที่ล่วงไปแล้ว แห่งเรา."

                    [ตรัสให้ภิกษุเรียกกันด้วยคารวโวหาร]

สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงสั่งสอนให้ภิกษุบริษัทเกิดความ สำคัญ ซึ่งธรรมและวินัยโดยเป็นศาสดาด้วยประการดังนี้แล้ว เมื่อ จะทรงแสดงซึ่งจารีตในอนาคต ให้ภิกษุร้องเรียกซึ่งกันและกันโดย โวหารอันสมควรแก่ภิกษุมีพรรษายุกาลมากและน้อย จึงตรัสแก่ พระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ บัดนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมร้องเรียก ซึ่งกันและกัน ด้วยวาทะถ้อยคำว่า 'อาวุโส ๆ' ทั้งแก่ทั้งอ่อนเสมอ กัน ฉันใด ด้วยล่วงไปแห่งเราแล้ว ท่านทั้งหลายอย่าพึงเรียกกัน และกัน ฉันนั้นเลย, ภิกษุผู้เถระแก่พรรษา พึงเรียกภิกษุที่อ่อนกว่า ตน โดยชื่อโดยโคตร หรือโดยคำว่าอาวุโสก็ตาม ฝ่ายภิกษุใหม่ ที่อ่อนโดยพรรษา จึงเรียกภิกษุเถระที่มีพรรษาแก่กว่าตนว่า 'ภนฺเต' หรือว่า 'อายสฺมา' ผ่อนผันตามควรที่เป็นคารวโวหาร.

                                [วิธีลงพรหมทัณฑ์]

ดูก่อนอานนท์ ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสีย บ้าง เมื่อเราล่วงไปแล้ว ก็จงถอนเถิด. ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราล่วง ไปแล้ว สงฆ์พึงทำพรหมทัณฑ์แก่ฉันนภิกษุเถิด." พระอานนท์ ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พรหมทัณฑ์เป็นไฉนเล่า ? พระ- องค์ตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ ฉันนภิกษุจะพึงปรารถนาเจรจาคำใด ก็พึงเจรจาคำนั้น ฉันนภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงว่า ไม่พึง โอวาท ไม่พึงสั่งสอนเลย อันนี้ชื่อว่า พรหมทัณฑ์." ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากความสงสัยหรือความเคลือบแคลงใน พุทธ ในธรรม ในสงฆ์ ในมรรค หรือในปฏิปทา จะพึงมีบ้างแก่ ภิกษุรูปหนึ่งไซร้ ท่านทั้งหลายจงถามเถิด ท่านทั้งหลายจงอย่าได้ เป็นคนมีความเดือดร้อน ณ ภายหลังว่า พระศาสดาอยู่เฉพาะหน้า แล้ว เราทั้งหลายไม่สามารถเพื่อจะถาม ณ ที่เฉพาะพระพักตร์." เมื่อ พระองค์ตรัสปวารณาให้ทูลถามดังนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายก็นิ่งอยู่ เมื่อทรงปวารณาฉะนั้นถึง ๓ ครั้ง ภิกษุทั้งหลายก็นิ่งอยู่ทุกองค์ใน พุทธบริวารมณฑลนั้น. จึงพระอานนทเถรเจ้ากราบทูลว่า "ข้าแต่ พระผู้มีพรภาค ข้อนี้เป็นอัศจรรย์ ข้าพระองค์มาเลื่อมใสแล้วว่า ภิกษุซึ่งจะมีความสงสัยเคลือบแคลงในพระรัตนตรัย ในมรรค และ ในปฏิปทา แม้แต่องค์หนึ่งไม่มีในภิกษุสงฆ์หมู่นี้แล้ว." พระองค์ ตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ ท่านมากล่าวบัดนี้ เพราะความเลื่อมใส จริงแล้ว ญาณแห่งพระตถาคตก็หยั่งรู้ในข้อนั้น ตามเป็นจริงว่า 'ความสงสัยเคลือบแคลงในพุทธ ในธรรม ในสงฆ์ ในมรรค หรือในปฏิปทา ไม่มีแม้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุสงฆ์หมู่นี้, เพราะว่า ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ นี้ ภิกษุใดต่ำโดยคุณพิเศษ เธอเป็นโสดาบัน มีอันไม่ฉิบหายเป็นธรรมดา นิยมได้แน่ว่า มีอันจะตรัสรู้ซึ่งมรรคผล เบื้องบนเป็นที่ไป ณ เบื้องหน้า เธอทั้ง ๕๐๐ นี้ล้วนแต่อริยบุคคล ไม่ เจือปนด้วยปุถุชนเลย."

                                      [ปัจฉิมโอวาท]  

ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราผู้พระตถาคต เตือนท่านทั้งหลายให้รู้ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมความฉิบหายไป เป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและ ประโยชน์ผู้อื่น ให้บริบูรณ์ด้วยไม่ประมาทเถิด" อันนี้เป็นพระวาจาที่ สุดแห่งพระตถาคตเจ้า สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค เสด็จประทม ณ พระ- แท่นที่ปรินิพพาน พระองค์ได้รวบรวมซึ่งโอวาททั้งปวงที่ได้ประทาน แล้วสิ้น ๔๕ พรรษานั้นลงในความไม่ประมาทอันเดียวนั้นแล ประทาน แก่ภิกษุสงฆ์พุทธบริษัทในอวสานกาล ด้วยประการฉะนี้.

                                           นิพพาน

แต่นั้นพระองค์มิได้ตรัสอีกเลย ทรงทำปรินิพพานบริกรรมด้วย อนุบุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ พระธรรมสังคาหกเถรเจ้าทั้งหลายแสดงไว้ ดังนี้ :-

                                  [อนุบุพพวิหารสมาบัติ]

ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค ทรงเข้าปฐมฌาน ออก จากปฐมฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ครบ รูปาพจรสมบัติทั้ง ๔ ตามลำดับนี้ ออกจากฌานที่ ๔ แล้ว เข้า อรูปสมาบัติทั้ง ๔ คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ตามลำดับ ออก จากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ- สมาบัติ ดับจิตตสังขาร คือสัญญาและเวทนา พระองค์ทรงเข้า อนุบุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ ด้วยประการฉะนี้. ครั้งนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ ถามพระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธเถระว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธะ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน แล้วหรือ ?" "ดูก่อนอานนท์ผู้มีอายุ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ยัง ไม่ปรินิพพานก่อน พระองค์ทรงเข้าซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ." ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาค เสด็จอยู่ในนิโรธสมาบัติ ตามกาลที่พระองค์ทรงกำหนดแล้ว เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว เข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนะ อากิญจัญญายตนะ วิญญาณัญจา- ยตนะ อากสนัญจายตนะ เป็นปฏิโลมถอยหลังฉะนี้แล้ว เข้าสู่ รูปาพจรฌานทั้ง ๔ เป็นปฏิโลมตามลำดับ คือ จตุตถฌาน ตติย- ฌาน ทุติยฌาน ปฐมฌาน ครั้งเสด็จออกจากปฐมฌานแล้ว ก็ ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติฌานแล้ว เข้าสู่ตติยฌาน ออก จากตติยฌานแล้ว เข้าสู่จตุตถฌาน เสด็จออกจากจตุตถฌาน แล้ว พระองค์ปรินิพพานแล้ว ในลำดับแห่งความพิจารณาองค์แห่ง จตุตถฌานนั้น ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาปุรณมี มหามงคลสมัย

ด้วยประการฉะนี้. ครั้นเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ก็บังเกิด มหัศจรรย์ แผ่นดินไหวใหญ่สะเทื้อนสะท้าน เกิดการโลมชาติชัน สยดสยอง กลองทิพย์ก็บันลือลั่นสนั่นสำเนียงในอากาศ พร้อมกับ ปรินิพพานแห่งสมเด็จพระบรมโลกนาถสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็น มหาโกลาหลในปัจฉิมกาล สำเร็จโดยธรรมดานิยมบันดาลให้เป็นไปใน ปรินิพพานสมัย ด้วยประการฉะนี้. แลเมื่อสมัยพร้อมกับปรินิพพานแห่งพระผู้มีพระภาคนั้น ท้าว สหัมบดีพรหม ได้กล่าวคาถาแสดงความสังเวชและเลื่อมใสแห่งตน มีความว่า "บรรดาสัตว์ทั้งปวงถ้วนหน้า ไม่มีเหลือในโลก ล้วนจะ ทอดทิ้งซึ่งร่างกายไว้ถมปฐพี, ในโลกไรเล่า แต่องค์พระตถาคตซึ่ง เป็นพระศาสดา ทรงพระคุณอันใหญ่หลวงเช่นนี้ ไม่มีผู้ใดจะเปรียบ ปาน ทรงพระสยัมภูญาณตรัสรู้โดยลำพัง พระองค์ถึงซึ่งกำลัง คือ ทศพลญาณแล้ว ยังมิถาวรมั่นคงดำรงอยู่ได้ ยังมาดับขันธปรินิพพาน เสียแล้ว ควรจะสังเวชสลดนัก." ฝ่ายท้าวโกสิยเทวราช ได้กล่าวพระคาถาความว่า "สังขาร ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีเกิดขึ้นและเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ย่อม เกิดขึ้นและดับไป ไม่ยั่งยืนถาวรมั่นคงอยู่ได้ ความที่สังขาร นามรูปเบญจขันธ์เหล่านั้นระงับเสียมิได้เป็นไป นำมาซึ่งความสุข เหตุสังขารทุกข์ คือชาติชรามรณะมิได้มีมาครอบงำ." ฝ่ายพระอนุรุทธเถรเจ้าผู้มีอายุได้กล่าว ๒ พระคาถา มีความว่า "พระพุทธเจ้า มีจิตอันยั่งยืนคงที่ในโลกธรรมทั้ง ๘ ท่านไม่หวั่นไหว ลมอัสสาสะหายใจก่อน และปัสสาสะหายใจกลับดับสิ้นไม่มีแล้ว พระมุนี โลกนาถมิได้หวั่นไหวสะทกสะท้านด้วยมรณธรรมอันใดอันหนึ่ง ทรง ปรารภทำซึ่งสันติความระงับ คือนิพพานเป็นอารมณ์ ทำแล้วซึ่งกาละ อันใด อันพ้นวิสัยสามัญญสัตว์ พระองค์มีจิตมิได้สะทกสะท้านหดหู่ พรั่นพรึงต่อมรณธรรมเลย ได้อดกลั้นซึ่งทุกขเวทนาด้วยสติสัมปชัญญะ อันสุดดี ความพ้นแห่งจิตด้วยอนุปาทิเสสนิพพานได้มีแล้ว ประหนึ่ง ประทีปอันไพโรจน์ชัชวาลดับไปฉะนั้น." ฝ่ายพระอานนท์ได้กล่าวพระคาถามีความว่า "เมื่อพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยอาการอันประเสริฐทั้งปวง ดับขันธ- ปรินิพพานแล้ว มหัศจรรย์อันให้สยดสยองสะดุ้งหวาดและให้โลมชาติ ชูชัน ได้เกิดมีแล้ว ณ ครั้งนั้น ปรากฏแก่เทพดามนุษย์ทั้งหลาย." ท่านทั้ง ๔ องค์ได้กล่าวคาถาแสดงความสังเวชแห่งตน ๆ ด้วยประการ ฉะนี้แล. ก็แลคาถาแสดงเรื่องปรินิพพาน แห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น ควรเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวชและไม่ประมาทของสาธุชนบัณฑิต- ชาติผู้สดับโดยอ่อนน้อม จะให้หยั่งรู้สภาพปกติแห่งสังขาร โดยเป็น อนิจจตาทิธรรม มิได้มีความถาวรมั่งคงดำรงอยู่ได้ ล้วนเป็นของมี ความพิโยคแปรผันเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา เพราะว่าอันอุปาทินนก- สังขาร ร่างกายที่มีเวทนาสัญญาและเจตนาครองนี้ ย่อมตกอยู่ใน วิสัยแห่งชรามรณะถ่ายเดียว มิได้มีผู้ใดล่วงพ้น แม้แต่องค์พระ ตถาคตทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระศาสดาผู้ประเสริฐในโลก มิได้มีผู้ใดจะเปรียบปาน ยังมาเสด็จดับขันธปรินิพพาน มิถาวร ดำรงอยู่ได้ ควรแล้วที่สาธุชนจะพึงมีความสังเวชและไม่ประมาท แสวงหาอุบายที่พึ่งแก่ตนในทางกุศลสัมมาปฏิบัติ อันจะสำเร็จเป็น มรรคาแห่งสุคติสวรรค์และนิพพาน ด้วยอำนาจแห่งอัปปมาทธรรม โดยกาลเป็นนิรันดร.

                                           อปกาล
                         [ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ]

ครั้นเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาค องค์อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ส่วนราตรียังเหลืออยู่ยังไม่สว่าง พระ อนุรุทธะกับพระอานนท์ก็แสดงธรรมมีกถาไปพลาง ให้บริษัทชื่นจิต ด้วยสังเวชและเลื่อมใส ตามควรแก่กาล ตามควรแก่บริษัท ครั้น สว่างแล้วพระอนุรุทธเถรเจ้าบัญชาพระอานนท์ให้ไปบอกมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินาราให้ทราบข่าวปรินิพพาน. ครั้งนั้น มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย มาประชุมพ้อมกันอยู่ ณ สัณฐาคารสถาน ด้วยกรณียะเนื่องด้วยเรื่อง ปรินิพพานนั้นอย่างเดียว ทรงรำพึงการคอยปฏิบัติตามพระพุทธ- ประสงค์และเถราธิบาย เกลือกจะมา ณ ราตรีสมัย จึงมาพร้อมอยู่ ณ ที่ประชุมนั้น. พระอานนทเถรเจ้าไปถึงสัณฐาคารศาลา แสดงให้ มัลลกษัตริย์ทราบว่า "สมเด็จพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว." พอ มัลลกษัตริย์และโอรสและสุณิสาและปชาบดี ได้สดับคำพระอานนท์ แสดงว่า "สมเด็จพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว" ดังนี้ เสวย ทุกขโทมนัสกำสรดโสกาดูร โดยกำลังความเลื่อมใสในพระองค์ และ ประสงค์จะให้ทรงสถิตอยู่สิ้นกาลนาน พระองค์เป็นดวงจักษุมาอันตร- ธานเสียในโลกฉับพลันนัก. ครั้งนั้น มัลลกษัตริย์ทั้งหลายดำรัสให้บุรุษ ทั้งหลายไปประกาศทั่วพระนครกุสินารา บรรดาสุคนธชาติของหอม และมาลาระเบียบบุปผวิกัติและดนตรีมีเท่าไร ให้มาประชุมพร้อมแล้ว มัลลกษัตริย์ก็นำเอาสุคนธชาติและมาลัย และสรรพดนตรีกับผ้า ๕๐๐ พับ เสด็จไปยังสาลวันที่เสด็จปรินิพพาน ทำสักการบูชาพระสรีระ แห่งพระผู้มีพระภาค ด้วยฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี และมาลัย สุคนธชาติเป็นอเนกประการโกลาหล ดาดเพดานประดับด้วยพวง ดอกไม้ ตกแต่งโรงงานอยู่ ก็ล่วงไปวันหนึ่ง มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ดำริว่า "วันนี้พลบค่ำเสียแล้ว ต่อพรุ่งนี้เถิด เราทั้งหลายจึงจักถวาย พรเพลิงพระสรีระแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า" แต่มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ทำพุทธบูชาในพระสรีระด้วยมโหฬารสักการโดยนัยนั้น ล่วงไป ๖ วัน แล้ว ครั้นถึงวันที่ครบ ๗ มัลลกษัตริย์ทั้งหลายปรึกษากันว่า "เราจะ เชิญพระสรีระแห่งพระผู้มีพระภาคไปโดยทักษิณทิศแห่งพระนคร ถวาย พระเพลิง ณ ภายนอกพระนครเถิด. ครั้งนั้น มัลลปาโมกข์ ๘ องค์ ทรงกำลังมาก สระสรงพระกาย ให้บริสุทธ์ทรงผ้าใหม่ พร้อมกันเข้าเชิญพระสรีระ ก็มิสามารถจะให้ สะเทือนจากสถานได้ มัลลกษัตริย์ แปลกใจไต่ถามพระอนุรุทธเถรเจ้า ท่านแสดงเหตุว่า "เทพดาทั้งหลายคิดจะเชิญพระสรีระไปโดยอุดรทิศ แห่งนคร เข้ายังพระนครโดยอุดรทวาร เชิญไปท่ามกลางพระนคร ออกโดยทวารทิศบูรพา เชิญพระสรีระไปประดิษฐานถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ณ ด้านตะวันออกแห่งพระนครกุสินารา เทพดา ประสงค์อย่างนี้ ฝ่ายท่านผู้มัลลกษัตริย์ดำริอย่างดื่นมิต้องกัน เหตุ ดังนั้น จึงมิอาจเชิญพระสรีระให้เคลื่อนจากสถานได้" มัลลกษัตริย์ ทั้งหลายผ่อนผันตามประสงค์เทพดาฉะนั้น ตระเตรียมการจะเชิญ พระสรีระไปอุตตราวัฏฏ์มิให้ขัดกับเทวาธิบาย. สมัยกาลครั้งนั้น พวงดอกมณฑารพของทิพย์มี ณ เมืองสวรรค์ อันเทพดาหากบันดาลให้ตกลงทำพุทธบูชา ดาดาษในกุสินารานคร ทุกสถาน โดยประมาณสูงท่วมชานุมณฑล. ลำดับนั้น เทพดากับมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย พร้อมกันทำสักการ- บูชาพระสรีระ ด้วยฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรีและมาลาสุคนธชาติ ทั้งของทิพย์และของมนุษย์เอิกเกริกเป็นมหาโกลาหลเชิญไปโดยอุดรทิศ แห่งพระนคร เข้า ณ ภายในโดยทวารด้านอุดรทิศ เชิญไป ณ ท่าม กลางพระนคร ออกโดยทวารด้านบูรพา ไปประดิษฐาน ณ มกุฏพันธน- เจดีย์ ซึ่งเป็นมงคลสถานที่มัลลกษัตริย์ทรงเครื่องประดับ ประดิษฐาน พระสรีระพร้อมด้วยสักการบูชา ตามที่สมมติว่าเป็นอย่างสูง ณ พระ นครนั้น ในกาลนั้นเสร็จแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายประสงค์จะทราบ การปฏิบัติ ในพระสรีระให้ต้องตามพุทธาธิบาย จึงตรัสถามพระอานนท์ ท่านก็แสดงพุทธานุมัติซึ่งให้ปฏิบัติดังในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิราช ตามนัยดังที่ได้สดับมา ณ ที่เฉพาะพระพักตร์นั้น ถวายให้มัลลกษัตริย์ ทราบทุกประการ มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ก็ทรงประพฤติตามพุทธาธิบาย นั้น ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลีแล้ว ห่อด้วยผ้าใหม่แล้ว ซับด้วยสำลี โดยนัยนี้ตามกำหนดว่าถึง ๕๐๐ ชั้น เสร็จแล้วเชิญลง ประดิษฐาน ณ รางเหล็กเต็มด้วยน้ำมัน ปิดด้วยรางอื่นเป็นฝา ทำ จิตกาธารเชิงตะกอนด้วยสรรพไม้หอม แล้วเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ เชิงตะกอนไม่หอมนั้น เตรียมจะถวายพระเพลิง. ครั้งนั้น มัลลปาโมกข์ ๔ องค์ สรงน้ำดำเกล้าให้พระกาย บริสุทธ์ทรงผ้าใหม่ นำเพลิงปกติเข้าไปยังเชิงตะกอนใน ๔ ทิศ ก็ ไม่สามารถจะจุดให้เพลิงติด ณ เชิงตะกอนได้ มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เฉลียวพระหฤทัยสงสัยว่า จะเป็นอิทธานุภาพเทพดา จึงตรัสถาม พระอนุรุทธเถรเจ้า ท่านแสดงว่า "เทพดาทั้งหลาย ประสงค์จะให้ รอพอพระมหากัสสปเถระ ถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย เศียรเกล้าก่อน จึงจะถวายพระเพลิงได้" มัลลกษัตริย์ทั้งหลายทรง ประพฤติตามเทวาธิบาย. ก็แลสมัยนั้น พระมหากัสสปเถรเจ้า ยังมาหาถึงมกุฏพันธน- เจดีย์ไม่ ยังดำเนินทางไกลมาแต่ปาวานครโน้น พร้อมด้วยภิกษุ บริวารประมาณ ๕๐๐ องค์ แวะลงจากหนทางเข้านั่งพัก ณ ร่มพฤกษา ตำบล ๑ ได้เห็นอาชีวกผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาดอกมณฑารพเดินมาแต่ไกล หวังจะไปเมืองปาวา พรเถรเจ้าถามถึงพระผู้มีพระภาคว่า "ท่านยัง ทราบพระศาสดาแห่งเราทั้งหลายบ้างแลหรือ ?" อาชีวกบอกว่า "เรา ทราบอยู่ พระสมณโคดมปรินิพพานได้ ๗ วัน ณ วันนี้แล้ว ดอก มณฑารพนี้เราเก็บมาแต่ที่ปรินิพพานแห่งพระสมณโคดมนั้น." ลำดับนั้น พระภิกษุทั้งหลายใด ที่มีราคะยังมิปราศจากสันดาน บางจำพวกก็ยกหัตถ์ทั้ง ๒ ขึ้นปริเทวนาการ เกลือกกลิ้งไปมารำพัน ถึงพระผู้มีพระภาค ส่วนท่านที่มีราคะอันปราศแล้ว ก็มีสติสัมปชัญญะ อดกลั้นโดยธรรมสังเวช. สมัยครั้งนั้น มีวุฑฒบรรพชิตผู้บวชเมื่อปัจฉิมวัย นามชื่อ สุภัททะ ได้ตามพระเถรเจ้ามา นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย จึงร้องห้าม ภิกษุทั้งหลายว่า "หยุดเท่านั้นเถิด ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกร่ำไร ถึงพระสมณะนั้นเลย เราทั้งหลายได้พ้นเสียแล้วด้วยดีจากพระสมณะ นั้น ด้วยท่านสั่งสอนว่า 'สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร' เราเกรงก็ต้องทำ ตาม เป็นความลำบากนัก ก็บัดนี้เราจะทำสิ่งใด หรือมิพอใจทำสิ่งใด ก็ได้ตามความปรารถนา จะต้องเกรงแต่บัญชาของผู้ใดเล่า ?" นี่แล แต่สมเด็จพระธรรมสามิสรดับขันธปรินิพพานไม่ทันช้า เพียร ๗ วัน เท่านั้น ยังมีอลัชชีบาปชนอาจหาญมาล่วงครหาต่อพระธรรมวินัยได้ ไม่เกรงขาม. ฝ่ายพระมหากัสสปเถรเจ้า ได้สดับแล้วจะยกเป็น อธิกรณ์ขึ้นทำนิคคหกรรมเล่า ก็เห็นว่ายังมิควรก่อน จึงมีเถรวาท ห้ามภิกษุสงฆ์แต่โดยทางธรรม แล้วพาพระภิกษุสงฆ์สัญจรหวังจะไป ถวายบังคมพระบาทยุคลแห่งสมเด็จพระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้า พอ มาถึงมาคลสถานมกุฏพันธนเจดีย์แล้ว ดำเนินเข้าไปใกล้จิตกาธาร ทำผ้าอุตตราสงค์บังสุกุลจีวรเฉียงบ่าข้างหนึ่ง ยกอัญชลีกระพุ่มหัตถ์ ประณมนมัสการ ทำประทักษิณเวียนขวาซึ่งจิตกาธาร ๓ รอบแล้ว เปิดเพียงเบื้องล่าง ถวายบังคมพระบาทยุคลแห่งพระผู้มีพระภาคด้วย เศียรเกล้าแห่งตน แม้พระภิกษุ ๕๐๐ องค์นั้น ก็ทำอุตตราสงค์เฉียง บ่าข้างหนึ่ง ประณมกรทำประทักษิณจิตกาธาร ๓ รอบแล้ว ถวาย บังคมพระบาทแห่งพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าแห่งตน ๆ. พอพระมหากัสสปเถรเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ ได้ถวายบังคม แล้ว จิตกาธารแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็รุ่งเรืองชัชวาลโพลงขึ้นโดย ลำพังตน แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ พระอรรถกถาจารย์เจ้าแสดง ว่า "เพลิงทิพย์เกิดขึ้นด้วยเทวฤทธานุภาพ" เมื่อพระสรีระแห่งพระผู้ ทรงพระภาคอันเพลิงไหม้อยู่นั้น ส่วนในคือพระฉวีหนังผิวกายนอกและ พระจัมมะหนังภายใน และพระนหารูเอ็นเส้นน้อยใหญ่ทั้งปวง และ พระลสิกาไขข้อก็ดี หมดไปด้วยกำลังเพลิง จะมีเถ้าหรือเข่าปรากฏ หามิได้ ประหนึ่งสัปปิและน้ำมันอันเพลิงผลาญ ไม่มีเถ้าเขม่าปรากฏ ฉะนั้น แต่ส่วนเป็นพระสรีระ คือพระอัฐิและพระเกสา พระโลมา


พระนขา พระทันตา ทั้งปวงเหลืออยู่สิ้น เพลิงมิได้เผาผลาญ กับ ผ้าคู่หนึ่งเหลือเป็นปกติอยู่ เป็นเครื่องห่อพระสารีริกธาตุ นอกนั้น เพลิงเผาให้พินาศสิ้น. ครั้นเมื่อพระสรีระแห่งพระผู้มีพระภาคเสร็จฌาปนกิจแล้ว ท่อ น้ำก็ไหลหลั่งจากนภากาศลงมาดับจิตกาธาร ชโลทกวารีพุขึ้นจาก พระยารับสาลพฤกษ์นั้น ดับจิตกาธารแห่งพระผู้มีพระภาค แม้มัลล- กษัตริย์เจ้ากรุงกุสินารา ก็นำมาซึ่งสรรพสุคนธวารีดับจิตกาธารแห่ง พระผู้มีพระภาคนั้นเสร็จแล้ว จึงเชิญพระสารีริกธาตุไปประดิษฐาน ในสัญฐาคารศาลา ณ ภายในกุสินารานคร กระทำสัตติบัญชรเรือน ระเบียบหอก รอบสัณฐาคารสถาน ทหารถือธนูศรพิทักษ์เป็น กำแพง ณ ภายใน หวังพระหฤทัยจะเกียดกันมิให้กษัตริย์สามันตราช ต่างพระนคร ยกพยุหะแสนยากรมาชิงพระสารีริกธาตุได้ ทรงทำ สักการบูชาด้วยฟ้อนรำดุริยสังคีตประโคมขับ และบุปผามาลัยสุคนธ- ชาติเป็นอเนกประการวิจิตร เล่นสาธุกีฬนนักขัตตฤกษ์เอิกเกริกก้อง โกลาหล สิ้นกาล ๗ วันเป็นกำหนด.

                                แจกพระสารีริกธาตุ

ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าอชาตศัตรุราช ผู้ผ่านสมบัติเอกราช ในราชคฤห์มหานคร และกษัตริย์ลิจฉวีซึ่งดำรงอิสรภาพ ณ ไพศาลี นคร และกษัตริย์สากยะพระประยูรญาติกรุงกบิลพัสดุราชธานี และ ถูลีกษัตริย์ผู้อธิบดีในอัลลกัปปนคร และโกลิยกษัตริย์ในรามคาม และมหาพราหมณ์เจ้าเมืองเวฏฐทีปกนคร และมัลลกษัตริย์ผู้ครอง พระนครปาวา กษัตริย์ทั้ง ๖ พระนคร กับมหาพราหมณ์ ๑ เป็น ๗ ตำบลนี้ ได้ทราบกิตติศัพท์ว่า สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเสด็จดับ ขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยากรุงกุสินาราราชธานี กษัตริย์ทั้ง ๖ พระนคร ก็ส่งทูตเชิญราชสาสน์มายังมัลลกษัตริย์ ณ พระนครกุสินารา ในราชสาสน์ว่า "สมเด็จพระโลกุตตมาจารย์ผู้ทรงพระภาค พระองค์ ก็เป็นกษัตริย์สมมติวงศ์ เราทั้งหลายก็เป็นขัตติยราชอันอุดม เรา ทั้งหลาย สมควรอยู่ที่จะได้ส่วยพระสารีริกธาตุแห่งพระผู้ทรงพระภาค เจ้า เราทั้งหลายจักได้ประดิษฐานพระสตูปกระทำมหกรรมการบูชาให้ มโหฬารไพศาล." ฝ่ายมหาพราหมณ์เจ้าเมืองเวฏฐทีปกนคร ก็ส่ง พราหมณทูตเชิญพราหมณสาสน์มาเฝ้ามัลลกษัตริย์ ในพราหมณ- สาสน์ว่า "สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคก็เป็นกษัตริย์วิสุทธิวงศ์ ข้าพระ- องค์ก็เป็นพราหมณ์ชาติสูงเป็นมหาศาล ควรจะได้รับพระราชทาน ส่วนพระสารีริกธาตุแห่พระโคดมศากโยรสบ้าง จัดได้ประดิษฐาน พระสตูป และกระทำมหกรรมการบูชาตามกำลังทรัพย์และศรัทธา ปสาทะเลื่อมใส" ส่วนราชทูตพราหมณทูตมาแต่ ๗ พระนคร ก็ พากันเข้ามาสู่ที่เฝ้ามัลลกษัตริย์ แสดงสาสน์ตามดำรัสและบัญชา ถวายทุกประการแล้ว ก็ตั้งอยู่แน่นหนาเป็นคณานิกรคับคั่งพร้อมด้วย ลำดับนั้น มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย จึงดำรัสแก่หมู่ทูตานุทูตทั้ง ๗ พระนครว่า "สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพาน ในคามเขตสถานอาณาปวัติแห่งเรา เราทั้งหลายจักไม่ยอมให้ ซึ่งส่วนพระสารีริกธาตุแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า." ปางเมื่อทูตานุทูต นิกรมาทูลขอส่วนพระสารีริกธาตุอยู่ฉะนั้น มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ผู้ครองพระนครกุสินารา ก็ตรัสขัดขึ้งไม่โอนอ่อนว่า "สมเด็จพระผู้ทรง พระภาคเจ้า เสด็จปรินิพพานในคามเขตแห่งเรา เราทั้งหลายจักไม่ แบ่งส่วนพระสารีริกธาตุให้" ดังนี้ เป็นสูรนาทโวหารคงอยู่อย่างเดียว ฉะนั้น. ในที่นี้ให้ปราชญ์ผู้มีปรีชา พึงสันนิษฐานโดยสารุปปยุตตินัย ฉะนี้ พระนครกุสินารานั้น ก็เป็นแต่อาณาเขตน้อย มัลลกษัตริย์ ทรงทำนุบำรุงโดยสังฆคณานุสาสน์ตามสามัคคีธรรม ไม่เป็นราชธานี พิศาลที่เสด็จอยู่ของบรมกษัตริย์มูรธาภิษิตเอกราช ดั่งพระนครราช- คฤห์และพระนครสาวัตถีเป็นต้น ถึงแม้พระเถระอานนท์พุทธอุปฏฐาก ก็ได้กราบทูลทัดทาน เชิญเสด็จพระผู้ทรงพระภาค ให้เสด็จไป ปรินิพพาน ณ พระนครใหญ่ ๆ คือ เมืองจัมปาและเมืองราชคฤห์ เมืองสาวัตถี เมืองสาเกต เมืองโกสัมพี เมืองพาราณสี ซึ่ง เป็นรัชชจังหวัดอาณาเขต แห่งสมเด็จบรมกษัตริย์มูรธาภิษิตเอกราช นั้น ๆ กษัตริย์พราหมณ์คฤหบดี ซึ่งเป็นมหาศาลที่เลื่อมใสแล้วใน พระตถาคตเจ้า มีอยู่มาก ณ มหานครเหล่านั้น จักได้ทำการบูชาพระสรีระ

แห่งพระตถาคตเจ้าให้เป็นมโหฬารสักการใหญ่ สมเด็จพระผู้มี พระภาคผู้ทรงพระอนาวรณญาณ ไม่เสด็จพุทธดำเนินย้ายสถานตามคำ พระอานนท์ ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยานเมือง กุสินารานั้นจงได้ อาศัยเมืองกุสินาราเป็นสาขนคร มัลลกษัตริย์ ทรงครองครองด้วยสังฆคณานุสาสน์ฉะนี้นั้น เมื่อทูตานุทูตเชิญราช- สาสน์พราหมณสาสน์ขอส่วนพระสารีริกธาตุครั้งนั้น ควรที่มัลลกษัตริย์ จะทรงประพฤติโดยพระราชอุบาย ผ่อนผันแห่งส่วนพระสรีรธาตุ ส่งไป ๆ ถนอมพระอัธยาศัยของสามันตราช รักษาพระราชไมตรี ไว้โดยราชธรรม ป้องกันภัยพิบัติอันตรายให้เนินห่าง อย่าให้มีแก่ รัชชสีมามณฑลสาขนครนั้นได้ จึงจะชอบตามรัฏฐานุบาลโนบายราช- ธรรม ก็แต่มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ซึ่งครองพระนครกุสินารานั้น ตรัสแก่ทูตานุทูตนั้นทั้ง ๗ พระนคร คงพระวาจาอยู่ว่า "สมเด็จ พระผู้ทรงพระภาคเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานในคามเขตสถานอาณา- ปวัติแห่งเรา เราจักไม่แบ่งส่วนพระสารีริกธาตุให้" ดังนี้เป็นสูรนาท โวหารฉะนั้น จะพึงเป็นด้วยไม่ทรงสันนิษฐานสะดวกพระหฤทัย ในที่ จะแบ่งสรรให้เสร็จสงบลงได้บ้าง และความมั่นพระหฤทัยเชื่อต่อ พระพุทธอิทธานุภาพบ้าง. แท้จริง มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ทรงเห็นว่า เมื่อทูตานุทูตเชิญ ราชสาสน์พราหมณสาสน์เนือง ๆ มาขอส่วนพระสารีริกธาตุหลาย พระนครฉะนี้ เราจะแบ่งส่วนให้ไป ๆ โดยเร็วทุกหมู่เหล่าแล้ว การ ขอส่วนพระสารีริกธาตุนั้น ก็ยากที่จะหยั่งรู้ว่าจะเสร็จสงบแล้วลงแต่ เท่านี้ หรือจะมีทูตานุทูตมาแต่นครไรอีกเล่า. อนึ่ง เราจะรีบแบ่งส่วน พระสารีริกธาตุถวายส่งไป โดยราชสาสน์พราหมณสาสน์ทุกทูตานุทูต เล่า ก็ยากอยู่ที่จะผ่อนผันให้ต้องอัธยาศัยความประสงค์ของเจ้าพระนคร ทั่วทุกองค์ได้ อันนี้เป็นความไม่สะดวกพระหฤทัยจะพึงเป็นเหตุภายใน มีกำลังอยู่สถานหนึ่ง. อนึ่ง มัลลกษัตริย์ ผู้ครองกุสินารานครทรงเห็นว่า ทูตานุทูต- นิกรซึ่งได้รับราชาณัติและบัญชา เชิญราชสาสน์พราหมณสาสน์มา ขอส่วนพระสรีรธาตุทั้งปวงนี้ ครั้นไม่เสร็จดั่งประสงค์ฉะนั้นแล้ว ก็จะพึงรอรั้งดูกาลสมัยและช่องอันควรก่อน จะรีบร้อนกลับไปโดย เร็ว หรือจะฮึกห้ามเหี้ยมหาญเข้าทำสงคราม ก็จะยังไม่สามารถโดย ลำพังตนถ่ายเดียวได้ทั้ง ๒ สถาน เมื่อเรารวมพระสารีริกธาตุรักษา ไว้ ยังไม่เฉพาะแบ่งสรรให้เป็นส่วนส่งไปแก่เจ้าพระนครองค์ใด ปฏิบัติอนุโลมตามพระพุทธานุมัติดยู่ฉะนี้นี่ ภัยพิบัติอันตรายอันใด อันหนึ่ง ก็จะยังไม่พึงมีมาแก่พระนคร อันองค์พระตถาคตอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระอนาวรณญาณเห็นกาลนานส่วนอดีต อนาคตปัจจุบัน ทั้งพระมหากรุณาในพระสันดานก็ไพศาลพิเศษเป็น ไปในหมู่สัตว์ไม่มีประมาณ ลบล้นล่วงอัญญสัตววิสัย พระองค์ทรง ประพฤติด้วยไตรทวาร ล้วนแต่ในกิจการที่ประกอบด้วยประโยชน์ ทรงอนุเคราะห์ซึ่งสัตวโลกเป็นอาจิณณจริยา ชะรอยพระองค์จะ ทรงเห็นอำนาจแห่งประโยชน์เกษมสุขสมบัติ ประจักษ์ชัดด้วยพระ ญาณแล้วเป็นแม่นมั่น จึงสู้ทรงพระอุตสาหระเสด็จพระพุทธดำเนิน จากปาวานครโน้นมา เสด็จดับขันธปรินิพพานในคามเขตของเรา ประทานพระสารีริกธาตุไว้แก่เรา อันจะทรงประกอบในอันใช่ที่ให้ เราได้ความทุกข์ภยันตราย เพราะส่วนพระสารีริกธาตุทั้งหลายนั้น ไม่มีเป็นมั่นคง เรามาปฏิบัติอนุโมตามพระพุทธานุมัติอยู่ฉะนี้ เป็น การดีกว่า สามารถจะป้องกันศัตรูให้สงบไม่กล้ากำเริบทำสงคราม สัมประหารได้. มัลลกษัตริย์ทั้งหลายนั้น ไม่ได้สันนิษฐานในที่ จะแบ่งปัน และมาเชื่อมั่นในพระตถาคตเจ้า เป็นความอุ่นพระ หฤทัยมีกำลังอยู่ฉะนี้ จึงตรัสแก่ทูตานุทูตทั้ง ๗ พระนคร คงพระวาจา ว่า "สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้า เสด็จปรินิพพานในคามเขต แห่งเรา เราทั้งหลายจักไม่แบ่งส่วนพระสารีริกธาตุให้" ดังนี้ เป็น สูรนาทขันขึงไม่โอนอ่อนหย่อนยอมที่จะแบ่งส่วนพระสารีริกธาตุ ถวาย แก่เจ้าพระนครพระองค์ใดเลย. ฝ่ายทูตานุทูตนิกรหมู่ใหญ่ทั้ง ๗ พระนครนั้น ก็มิท้อถอย จวนจะเกิดวิวาทเป็นสงครามสัมประหาร ใหญ่. ครั้งนั้น โทณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ มีปัญญาสมารถฉลาด ในที่จะผ่อนผัน ให้ต้องตามคดีโลกคดีธรรม มีถ้อยคำเป็นสุภาษิต เป็นที่เชื่อฟังของประชุมชน สามารถจะแสดงเหตุห้ามวิวาทโกลาหล ให้สงบโดยสามัคคีธรรม ครั้นได้ฟังสูรนาทฮึกห้ามแห่งมัลลกษัตริย์ ฉะนั้น จึงดำริการณ์เห็นว่า "ซึ่งมัลลกษัตริย์มาขัดขวางไว้ ไม่ยอม แบ่งส่วนพระสารีริกธาตุถวายแต่เจ้าพระนคร ซึ่งส่งทูตมาขอนั้นไม่ ชอบ เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิใช่ญาติสาโลหิตเผ่าพันธุ์แห่งเรา ทั้งหลาย เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิใช่ญาติสาโลหิตเผ่าพันธุ์แห่งเรา ทั้งหลาย เราทั้งหลายได้นับถือพระองค์ ก็ด้วยเป็นผู้สั่งสอนข้อปฏิบัติ เป็นเหตุ ถึงสามันตราชทั้งหลายที่มาขอส่วนพระสารีริกธาตุครั้งนี้เล่า ก็อาศัยต่อข้อปฏิบัติ จึงนับถือพระองค์เหมือนเราฉะนั้น เมื่อมัลล- กษัตริย์ไม่ยอมถวายส่วนพระสารีริกธาตุฉะนี้ ตัดทางไมตรีให้ขาด ไม่ควรเลย. อนึ่ง พระผู้ทรงพระภาคไม่ได้ทรงแสดงธรรมสั่งสอนไว้ เพื่อให้เราพยายามสู้สงครามกันเลย โอวาทานุศาสนีของพระองค์ เป็นไปโดยทางขันติอดกลั้นและสามัคคีธรรม ไกลจากวิหิงสาและ อาฆาต. อนึ่ง เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคยังดำรงพระชนม์อยู่ ชน ทั้งหลายเป็นอันมาก ก็ได้เห็นได้บูชาสักการะพระองค์ในที่ต่าง ๆ ครั้งนี้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระสารีริกธาตุนี้แล จะได้เป็นที่ไหว้ที่สักการบูชาฉลองพระองค์อยู่สิ้นกาลนาน สำเร็จ ประโยชน์สุกแก่ชนทั้งหลายเป็นอันมาก และกาลครั้งนี้ ก็พร้อมด้วย หมู่กษัตริย์และพราหมณ์ล้วนมหาศาลสุขุมาลชาติอันประเสริฐ เมื่อ เราจัดสรรแบ่งส่วนพระสารีริกธาตุให้เป็นส่วนเท่ากัน ทั้งเจ้าพระนคร และต่างพระนครไปในบัดนี้เสร็จแล้ว แม้จะมีทูตานุทูตมาอีกใน ภายหลัง ก็จะได้อ้างว่า "ส่วนพระสารีริกธาตุที่จะพึงแบ่งนั้น ไม่มี แล้ว ได้พร้อมเพรียงกันแบ่งสรรเสียเสร็จแล้ว" ก็จะไม่เสียทาง พระราชไม่ตรีและมีภัยอันตรายแก่เรา เพราะเหตุนั้น สงครามใหญ่จะ เกิดขึ้นครั้งนี้ เพราะเหตุส่วนพระสารีริกธาตุแห่งพระมหามุนีอุดมสุคต- เจ้า ซึ่งจงได้เชิญไปประดิษฐานพระสตูปบรรจุไว้เป็นที่ไหว้สักการ- บูชาเท่านั้น และซึ่งจะประดิษฐานพระสตูปบรรจุพระสารีริกธาตุไว้ ก็เพื่อเป็นที่นมัสการกราบไว้ ให้เกิดความเลื่อมใสระลึกพุทธคุณ เป็นอารมณ์ ทำตามพุทธโอวาทเป็นศาสนาปฏิบัติ ประกอบบาปวิรัติ เว้นจากบาปกรรมการอกุศลทุจริต บำเพ็ญบุญกิริยาสร้างกุศลให้ พิเศษไพศาล เมื่อประสงค์คุณานิสงผลสุขประโยชน์ ดังนี้ และ จะก่อให้เกิดอกุศลราศีด้วยอำนาจมานะอหังการ เพราะเหตุปูชนีย- วัตถุนั้นไม่ควรเลย เราจะแสดงพระคุณคือขันติวาทและความพร้อม เพรียงแห่งมหิสสรราชให้หมู่ใหญ่น้อยเห็น โดยเหตุอันมั่นคงพ้นที่ ผู้ใดจะคัดค้าน แล้วแบ่งสรรส่วนพระสารีริกธาตุให้ได้เท่ากันทั้ง ๘ พระนครเถิด ก็จะได้เป็นคุณอันล้ำเลศควรสรรเสริญโดยคดีโลกคดี- ธรรมทั้ง ๒ สถาน."

                        [สุนทรพจน์ของโทณพราหมณ์]

ท่านโทณมหาพราหมณ์คิดแล้วจึงได้กล่าวว่า "ขอคณานิกรเจ้า ผู้เจริญ จงฟังวาจาอันจำจะต้องทำตามโดยส่วนเดียวของข้าพระองค์ ครั้งนี้ สมเด็จพระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้วด้วนสรรพคุณเป็นสรณะที่ พึ่งแห่งเราทั้งหลาย พระองค์เป็นขันติวาท กล่าวสรรเสริญขันติ ความอดกลั้นทนทานต่อพาหิรทุกข์และกำลังกิเลส อันจะมาปรารภ

ส่วนพระสรีระแห่งพระองค์เป็นต้นเหตุแล้ว จำทำสัมประหารต่อสู้ กันด้วยศัสตราวุธเป็นสงครามขึ้นไม่ดีไม่งามเลย. ข้าแต่พระองค์ ผู้กษัตริย์เจ้าผู้เจริญ บรรดาเราทั้งปวงทั้งเจ้าพระนครเดิมและต่าง ราชธานี จงพรักพร้อมสามัคคีชมชื่นเกษมสานต์แบ่งพระสารีริกธาตุ ออกเป็น ๘ ส่วน ให้เสมอกันทุกพระนครเถิด ขอพระสตูปบรรจุ พระสารีริกธาตุจงแพร่หลายทั่วทุกทิศ จักให้สำเร็จประโยชน์และสุข แก่นิกรสัตว์สิ้นกาลนาน ชนทั้งหลายผู้เลื่อมใส แด่พระองค์ผู้มีพระ ญาณจักษุนั้น มีอยู่มากพ้นที่จะคณนา." โทณพราหมณ์กล่าวแสดง ขันติวาทและสามัคคีธรรม ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น กษัตริย์และพราหมณ์๑ทั้ง ๘ พระนคร ได้สดับ มธุรภาษิต ก็ทรงพระอนุมัติเห็นชอบในสามัคคีธรรม พร้อมกัน มอบธุระให้โทณพราหมณ์เป็นอธิบดีแบ่งส่วนพระบรมธาตุ. ฝ่าย โทณพราหมณ์รับราชบัญชาแล้ว ถือเอาตุมพะทะนานทองตวงพระ บรมธาตุได้ ๘ ส่วนเท่า ๆ กัน ถวายแก่กษัตริย์และพราหมณ์ ๗ พระนครเสร็จแล้ว จึงทูลขอตุมพะอันได้ตวงพระบรมธาตุควรแก่ เจดียสถาน กษัตริย์และพราหมณ์ทั้งหลาย ก็อนุญาตพระราชทานให้. ครั้งนั้น โมริยกษัตริย์เมืองปิปผลิวัน ได้ทราบว่า "พระผู้มี พระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ กรุงกุสินารา" จึงส่งราชทูตมาถึง มัลลกษัตริย์ ขอส่วนพระบรมธาตุ. ฝ่ายมัลลกษัตริย์ตรัสแก่ราชทูต

ต่เพียงว่า สงฺฆานํ คณานํ หมู่เหล่า เท่านั้น. ว. ว. เมืองปิปผลิวันว่า "ส่วนพระสรีระบัดนี้ไม่มี เราได้แบ่งสรรเป็นส่วน เสียเสร็จแล้ว ท่านทั้งหลายจงเชิญพระอังคาร๑ไปบรรจุในสตูปสถาน ทำ สักการบูชาเถิด."

                           ประเภทแห่งสัมมาสัมพุทธเจดีย์

ลำดับนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระนครกับมหาพราหมณ์ ๑ เป็น ๗ ตำบล เมื่อได้ส่วนพระบรมธาตุแล้ว ต่างองค์ต่างก็เชิญไปด้วย มโหฬารสักการะ ยังอาณาเขตนครสถาน สร้างพระสตูปบรรจุไว้ ทำมหกรรมการบูชาเอิกเกริกโกลาหล. ฝ่ายมัลลกษัตริย์กรุงกุสินารา ก็ทรงสร้างพระสตูปบรรจุพระบรมธาตุ ทำมหกรรมด้วยมโหฬาร สักการะสำราญพระหฤทัย. รวมพระธาตุสตูปเป็น ๘ สถาน ด้วย ประการฉะนี้. ฝ่ายโทณพราหมณ์ก็เชิญตุมพะนั้นไปก่อนพระสตูปบรรจุไว้ มีนาม ว่าตุมพสตูปเสร็จแล้ว ทำมหกรรมการฉลองด้วยสักการพิเศษไพศาล. ฝ่ายกษัตริย์เมืองปิปผลิวัน ก็เชิญพระอังคารไปสู่พระนครสร้างพระ สตูปบรรจุไว้ ปรากฏนามว่าพระอังคารสตูปเสร็จแล้ว ทำมหกรรม การสมโภชด้วยอเนกสักการะ. เมื่อต้นปฐมกาลมีพระสตูปเจดียสถาน เป็น ๑๐ ตำบลด้วยกัน ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง เมื่อปรินพพานสมัยนั้น พระอานนทเถรเจ้าได้ทูลว่า

ต้นที่ว่าไม่มีพระอังคาร. ว. ว. "ในกาลก่อน ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาอยู่ในทิศต่าง ๆ สิ้นไตรมาส ตามวินัยนิยมแล้ว ย่อมมาเฝ้าพระตถาคตเจ้าโดยอาจิณณวัตร ข้า พระองค์ทั้งหลาย ได้เพื่อจะเห็นและเข้าไปใกล้ภิกษุทั้งหลายอันให้ เจริญจิต ก็ด้วยล่วงไปแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ข้าพระองค์ ทั้งหลาย จักไม่ได้เห็น จักไม่ได้เข้าใกล้สากัจฉากับภิกษุทั้งหลายที่ให้ เจริญจิต เหมือนเมื่อพระองค์ยังดำรงพระชนม์นั้นแล้ว."

                                 [สังเวชนียสถาน  ๔]

เมื่อพระอานนท์กราบทูลฉะนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง แสดงสังเวชนียสถาน ๔ ตำบลว่า เป็นที่ควรจะดูจะเห็น ควรจะให้ เกิดสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา คือ สถานที่พระตถาคตเจ้าประสูติ แล้วตำบล ๑ สถานที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ- ญาณตำบล ๑ สถานที่พระตถาคตเจ้าให้พระอนุตตรธรรมจักรเป็นไป ตำบล ๑ สถานที่พระตถาคตเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วตำบล ๑ สถาน ทั้ง ๔ ตำบลนี้ เป็นที่ควรจะเห็นจะดู และควรจะให้เกิดสังเวชของ กุลบุตรผู้มีศรัทธา แล้วทรงแสดงอำนาจแห่งประโยชน์ว่า "ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธา จักมายังสถาน ๔ ตำบลนั้น ด้วยความเชื่อว่า 'พระตถาคตเจ้าเกิดแล้ว ณ ที่นี้ ได้ตรัสรู้พระ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ณ ที่นี้ ได้ให้พระอนุตตรธรรมจักร เป็นไปแล้ว ณ ที่นี้ เสด็จปรินิพพานแล้ว ณ ที่นี้' ชนทั้งหลายเหล่าใด เหล่าหนึ่งเที่ยวไปยังเจดีย์จาริกอยู่ จักเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสทำกาล- กิริยาลง ชนเหล่านั้นจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์" สมเด็จพระผู้มี พระภาคทรงแสดงสถาน ๔ ตำบลนั้น ว่าเป็นที่ควรเห็นควรให้เกิด สังเวชของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ด้วยประการฉะนี้. โดยปริยายนี้ได้เจดีย์เป็น ๒ คือ ธาตุเจดีย์ ๑ บริโภคเจดีย์ ๑ พระสารีริกธาตุทั้ง ๘ ส่วน ซึ่งโทณพราหมณ์ได้แบ่งปันแล้ว เชิญ ไปประดิษฐานพระสตูปบรรจุไว้เป็นที่นมัสการกราบไหว้ทำสักการบูชา นั้น เป็นธาตุเจดีย์. ฝ่ายตุมพสตูป อังคารสตูป และสังเวชนียสถาน ทั้ง ๔ นั้น เป็นบริโภคเจดีย์. เมื่อจะอ้างปูชนียสถานตามพุทธานุมัติและ ตุมพสตูป อังคารสตูป ซึ่งพุทธศาสนิกบริษัทได้ลงอย่างประดิษฐาน แต่เบื้องต้นนั้น ก็ได้สัมมาสัมพุทธเจดีย์เป็น ๒ ด้วยประการฉะนี้. ก็แลด้วยพุทธภาษิต ทรงแสดงสังเวชนียสถานทั้ง ๔ และ อ้างตุมพสตูป อังคารสตูป โดยเป็นบริโภคเจดีย์นี้ ให้เกิดความ สันนิษฐานแก่วิญญูชนว่า "บาตรและจีวรและบริขารพิเศษมีธมกรก เป็นต้น ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพุทธบริโภคและเสนาสนะเตียง ตั่งกุฎีวิหาร ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงพุทธบริโภคด้วยสำเร็จอิริยาบถมีนั่ง นอนเป็นต้น ก็เป็นบริโภคเจดีย์สิ้น." ใน ๒ เจดีย์ประเภทนี้ ยังมิได้กล่าวพระพุทธรูปปฏิมาสงเคราะห์ ในประเภทใด เพราะมิได้มีมาในพุทธานุมัติ เป็นแต่พุทธศาสนิกบริษัท ซึ่งมีความเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ได้ทำในจิตคิดเห็น อำนาจแห่งพระโยชน์ว่า "เป็นเครื่องระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ แห่งสาธุชนบางเหล่า โดยปริยายบ้างเป็นต้น ฉะนี้ จึงได้สร้าง ประดิษฐานไว้เป็นปูชนียวัตถุ เพื่อเป็นเครื่องเตือนจิตให้ระลึกถึง สร้างเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงนิยมนามว่า 'อุทเทสิกเจดีย์.' เมื่อจะแสวงหาอาคตสถานสาธกในคัมภีร์ ก็มีที่พรรณนาอยู่ บ้างบางสถาน ที่วัตถุนิทานในคัมภีร์อรรถกถาว่า "พระปุสสเทวเถระ อยู่กาลันทวาลวิหาร กวาดลานพระเจดีย์เป็นอาจิณณวัตร วันหนึ่ง ได้เห็นรูปพระพุทธเจ้าซึ่งมารนฤมิต ได้พุทธามณปีติแล้ว เจริญ วิปัสสนา บรรลุพระอรหัตตผล. พระพุทธรูปปฏิมาเป็นเครื่องระลึก ถึงสมเด็จพระทศพลแห่งสาธุชนบางจำพวก ด้วยประการฉะนี้. พุทธศาสนิกบัณฑิต ได้อาศัยอำนาจแห่งประโยชน์ โดยเป็น เครื่องระลึกให้เกิดพุทธารมณปีติฉะนี้เป็นต้นกระมัง จึงได้สร้าง พระพุทธรูปปฏิมาด้วยมหัคฆภัณฑ์อันถาวร คือเงินทองและแก้วมณี เป็นต้นบ้าง ด้วยศิลาและโลหะและอิฐปูนและไม้แก่นเป็นต้นบ้าง วิจิตรมากหลากหลายประการ ตั้งไว้เป็นปูชนียวัตถุเพื่อเป็นเครื่อง เตือนจิต. อนึ่ง วิญญูชนบางจำพวกไม่สามารถจะสร้างพระพุทธรูปปฏิมา ได้ หรือไม่มีฉันทรุจิอัธยาศัยในพระพุทธรูปปฏิมา ประสงค์แต่จะ สร้างพระสตูป แสวงหาพระสารีริกธาตุไม่ได้ จึงบรรจุใบลานที่ได้ จารึกพุทธจนะปริยัตติธรรม มีปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น เข้าไว้ ภายในต่างพระธาตุ ประดิษฐานเป็นพระสตูปตั้งไว้เป็นปูชนียวัตถุบ้าง เกิดเจดียสถานต่าง ๆ ขึ้นในพุทธศาสนิกมณฑล ฉะนี้. เมื่อจะรวมเจดีย์ซึ่งแสดงไว้ในพระบาลีและคัมภีร์อรรถกถาและ ฎีกาเข้ากล่าวโดยสงเคราะห์อันเดียวแล้ว ก็ได้เจดีย์ประเภทเป็น ๔ อย่าง คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ ด้วยประการฉะนี้. และปูชนียวัตถุเจดียสถานนั้น ซึ่งพุทธศาสนิกบัณฑิตจะพึง ประดิษฐานสร้างขึ้นใหม่ และเจดียสถานเก่าอันชำรุดไป จะ ปฏิสังขรณ์ให้เป็นปกติและไพโรจน์รุ่งเรืองขึ้นก็ดี ก็เพียงเพื่อจะให้ สำเร็จประโยชน์แก่เทพดาและมนุษย์ที่ได้เห็น ก็จะได้เกิดความสังเวช และเลื่อมใสระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเป็นอารมณ์ แล้วสั่งสมกุสลทาน ศีลภาวนาให้บริบูรณ์ในสันดาน เพื่อสุขพิเศษอันไพศาลในมนุษย์สุคติ และโลกสวรรค์ ณ เบื้องหน้า และจะได้เพิ่มพูนบำเพ็ญบุญจริยา ส่วน วิวฏฏคามีกุศลทางนิพพานเป็นประโยชน์เท่านั้น. ก็แลปูชนียวัตถุเจดียสถาน ซึ่งเนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้ เป็นไปโดยประการต่าง ๆ ยักเยื้องตามความประพฤติของผู้ เลื่อมใสในสถานนั้น ๆ โดยลำดับฉะนี้. แต่เดิมพระพุทธเจ้าก็ทรง พระอนุญาตให้บรรจุพระสารีริกธาตุ ทำสตูปประดิษฐาน ณ ที่ประชุม แห่งถนนใหญ่ทั้ง ๔ เป็นสถานกลาง ซึ่งจะให้ชนเป็นอันมากได้เห็น ได้บูชา พระสตูปนั้นมีพระสารีริกธาตุบรรจุไว้ ณ ภายใน ประชุมชน ผู้เห็นก็เชื่อให้จิตเลื่อมใสระลึกถึงพุทธคุณเป็นอารมณ์ กราบไหว้ และทำสักการบูชา พระสตูปเป็นเครื่องเตือนให้ประชุมชนผู้เห็นระลึก ถึงพุทธคุณฉะนี้. แม้ถึงสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ก็เป็นเครื่องเตือนจิต แห่งผู้เห็นเหมือนฉะนั้น. ครั้นกาลล่วงไปนาน พระสารีริกธาตุก็หายาก ผู้สร้างพระสตูป ก็สร้างมาก มีพระธาตุบรรจุบ้าง ไม่มีพระธาตุบรรจุบ้าง จารึกแต่ พระปริยัตติธรรม ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ โพธิปักขิยธรรม และ อื่น ๆ ซึ่งเห็นว่าเป็นพระพุทธภาษิตแท้ ลงในแผ่นเงินแผ่นทองแผ่น ศิลาและใบลานเป็นต้น เข้าบรรจุไว้ภายในบ้าง พระสตูปที่มิได้บรรจุ พระธาตุจริง เป็นแต่ผู้ประสงค์บุญกุศลโดยฉันทอาการบริกัปต่าง ๆ สร้างขึ้นไว้บ้าง. ผู้เห็นถ้าคิดว่ามีพระธาตุจริงแล้วกราบไว้ทำสักการ- บูชาด้วยเลื่อมใส ก็จะให้เกิดบุญได้ เพราะความเลื่อมใสแห่งจิต ซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปนั้น. เมื่อผู้เห็นรู้แน่ว่า ภายในสตูปมิได้บรรจุ พระธาตุ หรือมีบรรจุไว้อยู่ แต่จะเป็นพระธาตุจริงหรือมิใช่พระธาตุ จริง แคลงใจฉะนี้แล้ว ก็ไม่เลื่อมใส. อนึ่ง ผู้ที่นำสิ่งของนั้น ๆ มีกรวดบ้าง ศิลาบ้าง มาแสดงว่าพระธาตุ ดั่งนี้ ก็มีมากในสถาน บ้านเมืองนั้น ๆ จนประชุมชนไม่ทราบว่าพระธาตุแท้นั้นอย่างไร พระสตูปที่สร้าง ๆ ขึ้นไว้ ก็มีขึ้นมากหนาไป ผู้เห็นก็จืดจิต ไม่ เลื่อมใส. พระสารีริกธาตุเป็นสังหาริมะ นำไปได้ ณ ที่นั้น ๆ ตามปรารถนา สังเวชนียสถานเป็นอสังหาริมะ ตั้งอยู่กับที่นำไปจากที่นั้นไม่ได้ บาตร จีวรบริขารภัณฑ์ซึ่งเป็นพุทธบริโภคว่า ก็มีน้อยไม่แพร่หลาย ผู้ เลื่อมใสจึงยังย้ายสร้างพระพุทธรูปปฏิมาขึ้นเป็นอุทเทสิกเจดีย์ เครื่อง เตือนจิตให้เลื่อมใสระลึกพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ กราบไหว้และทำ การสักการบูชา ประชุมชนซึ่งเห็นอย่างแล้วสร้างพระพุทธรูปเล่า ก็เพ่ง แต่จะก่อสร้างสั่งสมบุญกุศลสร้างขึ้นเล็กบ้างใหญ่บ้าง มีอาการและ สัณฐานผันย้ายไปตามฝีมือนายช่างผู้ทำ แพร่หลายเกลื่อนกล่นไปเป็น อเนกนัก ก็เป็นของจืดจิต หาให้สำเร็จประโยชน์เป็นเครื่องเตือน จิตผู้เห็นให้ระลึกพระพุทธเจ้าโดยเลื่อมใสสนิทไม่ นักปราชญ์ซึ่ง ดำเนินโดยญาณโคจรวิสัย จึงคิดสร้างพระพุทธรูปปฏิมาให้เท่าส่วน พระสุคตบ้าง คิดลดส่วนตามสุคตประมาณนั้นบ้าง ให้งามดี ด้วย ประสงค์จะให้เป็นเครื่องเตือนจิตผู้เห็นให้เกิดความเลื่อมใส กราบ ไหว้ทำสักการบูชาโดยอาการอันสนิทฉะนี้บ้าง. สัมมาสัมพุทธเจดีย์ เป็นไปโดยอาการต่าง ๆ ตามกาลและสถานถิ่นที่อานิสงสบริกัปของ ผู้เลื่อมใสนั้น ๆ ด้วยประการฉะนี้. วิสัชนาในเรื่องธาตุเจดียวงศกถา แต่เพียงนี้.

                          ความเป็นมาแห่งพระธรรมวินัย

บัดนี้ จิวิสัชนาในเรื่องธรรมวงศ์ ดำเนินความว่า ครั้งนั้น เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานไม่ช้า มีนิยมตามโบราณา- จริยเจ้ากำหนดไวว่า วันโทณพราหมณ์แจกพระสารีริกธาตุ มีภิกษุ สันนิบาตใหญ่ พระมหากัสสปะซึ่งเป็นเถระในสงฆ์ หวังจะให้เกิด สังเวช แล้วอุตสาหะสังคายนะพระธรรมวินัย จึงนำความติเตียน พระธรรมวินัย อันสุภัททวุฑฒบรรพชิตเจรจาแก่ภิกษุทั้งหลาย นับแต่ พุทธปรินิพพานเพียง ๗ วันนั้น มาเล่า แล้วชักชวนว่า "กระนั้น เราทั้งหลาย จงสังคายนาธรรมและวินัยเถิด มิฉะนั้น วาทะที่มิใช่ ธรรมมิใช่วินัยจักรุ่งเรือง พระธรรมวินัยจักลบเลือน บาปชนจะลบ ล้างพระธรรมวินัย บุคคลผู้กล่าววาทะมิใช่ธรรมมิใช่วินัยจะมีกำลัง กล้า บุคคลผู้กล่าวธรรมและวินัยจะเสื่อมถอยน้อยกำลังฉะนี้." ก็และเมื่อวันปรินิพพาน พระองค์ตรัสเรียกพระอานนท์ให้เป็น ผู้รับเทศนา ประทานพุทธโอวาทแก่ภิกษุบริษัท เพื่อจะให้มีความ เคารพต่อธรรมและวินัยตั้งไว้ในที่แห่งพระศาสดาว่า "เมื่อเราผู้พระ ตถาคตปรินิพพานล่วงไปแล้ว ธรรมและวินัยเป็นศาสดาแห่งท่าน ทั้งหลาย." อนึ่ง เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่ ครั้ง หนึ่ง พระองค์เสด็จจาริก ณ มัลลชนบทถึงเมืองปาวา มัลลกษัตริย์ เมืองปาวาเชิญเสด็จไปประทับ ณ อุพภตกสัณฐาคารสถาน ซึ่งสร้างขึ้น ใหม่ พระองค์เสด็จไปพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ทรงแสดงธรรมีกถา แก่มัลลกษัตริย์เมืองปาวา ล่วงราตรีเป็นอันมาก แล้วส่งมัลลกษัตริย์ ให้กลับไป พระองค์ทอดพระเนตรเห็นภิกษุปราศจากถีนมิทธะควร สดับธรรมมีกถา ตรัสเรียกพระสารีบุตรให้สอนภิกษุบริษัท พระองค์ สำเร็จสีหไสยา. พระสารีบุตรนำเรื่องนิคัณฐนาฏบุตรทำกาละแล้ว สาวกแตกทำลายวิวาทแก่กันและกัน มาเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว แสดงธรรมวินัยให้ภิกษุบริษัททราบ โดยเป็นธรรมอันดี ธรรมนี้อัน พระผู้มีพระภาคแห่งเราทั้งหลายกล่าวดีแล้ว ให้รู้แจ้งประจักษ์ดีแล้ว เป็นนิยยานิกะนำผู้ประพฤติตามออกไปได้จริง เป็นไปเพื่อความระงับ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศให้รู้แจ้งประจักษ์ เหล่าพุทธสาวก ทั้งสิ้นด้วยกันพึงสังคายนา คือกล่าวเป็นแบบเดียวไม่พึงวิวาทกันใน สวากขาตนิยยานิกธรรมนั้น พรหมจรรย์นี้พึงตั้งอยู่นาน ข้อนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ความสุขแก่ชนมาก เพื่อจะอนุเคราะห์ สัตวโลก เพื่ออัตถหิตะและความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระสารีบุตรเถรเจ้าเริ่มกถาฉะนี้แล้ว แสดงธรรมที่พระผู้มีพระภาค ตรัสเทศนานั้นโดยหมวด จำเดิมแต่ธรรมหนึ่ง ๆ จนถึงธรรม ๑๐ ประการ ว่าให้ภิกษุเป็นต้นเหล่าพุทธบริษัทพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาท กันในพุทธภาษิตธรรมเหล่านั้น ๆ เพื่อประโยชน์คุณให้พรหมจรรย์ตั้ง อยู่นาน เป็นสุขประโยชน์แก่ประชุมชนเทพดามนุษย์ทั้งหลาย. ครั้น จบสังคีติปริยาย สมเด็จพระผู้มีพระภาคประทานสาธุการสรรเสริญว่า "สารีบุตรได้ภาษิตสังคีติปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย ดีแล้ว ชอบแล้ว" ความที่พระพุทธสาวกมาสังคายนากล่าวเป็นแบบเดียว ไม่วิวาทใน พุทธภาษิตธรรม เป็นคุณดีงาม พระศาสดาสรรเสริญทรงอนุมัติ มี นิทัสนะดังในสังคีติปริยายเป็นต้นฉะนี้. พุทธภาษิตซึ่งแสดงว่า เมื่อพระพุทธเจ้าผู้พระศาสดาล่วงแล้ว ธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทรงบัญญัติแก่สาวกทั้งหลายนั้นแล เป็นพระศาสดาแห่งสาวกทั้งหลาย ในกาลเมื่อพระศาสดาล่วงแล้ว นี้ก็ดี พระพุทธานุมัติอนุโมทนาว่า สังคีติเป็นกิจชอบ ซึ่งจะนำให้ พรหมจรรย์ตั้งอยู่นานนี้ก็ดี ก็จักได้แจ้งชัดแก่พระเถรเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท่านหวังจะให้พระธรรมวินัยสถิตที่พระศาสดา และจะให้ ดำรงอยู่ได้นาน ด้วยการสังคายนา จึงได้พรักพร้อมกัน ณ กรุงราช- คฤห์ ยกขึ้นยังสังคีติวาระแรก กำหนดกาลแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ล่วงไปได้ ๓ เดือน พระโบราณาจริยเจ้ากำหนดว่านานถึง ๗ เดือนจึง เสร็จ จบปฐมสังคายนา. แต่นั้นมา พุทธสาวกภิกษุบริษัทเป็นต้น ผู้บริสุทธ์อัชฌาสัย ธรรมทายาทจำทรงนำมาโดยกำลังมุขปาฐะ ก็ให้ประโยชน์ความสุข สำเร็จแก่ประชุมชนเป็นอันมาก ปราศจากข้าศึกเสี้ยนหนามประดิษ- ฐานในมัธยมชนบทตลอดกาลชั่วปริสยุคหนึ่ง. ครั้นถึงสมัยนับแต่ปรินิพพานมา ๑๐๐ ปี เหล่าภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี มีโลลโทษฝ่ายอามิสทายาทกล้าในสันดาน มา แสดงวัตถุ ๑๐ ประการ ละเมิดจากพระธรรมวินัยขึ้น ณ เมืองเวสาลี มีฝักฝ่ายสหธรรมิกและคฤหัสถ์เห็นว่าควรชอบตามไปด้วยมากยากที่จะ คัดค้าน องค์พระอรหันต์ ๗๐๐ มีพระยสเถระกากัณฑกบุตร๑เป็น

ชักนำ ไม่ใช่หัวหน้าในสงฆ์สันนิบาต พระสัพพกามีเป็นใหญ่โดยพรรษา ญ่โดยพาหุสัจจะ. ว. ว. ประธาน ได้พรักพร้อมกัน ณ วาลิการามเมืองเวสาลี ชำระวัตถุ ๑๐ เสี้ยนหนามพระธรรมวินัยนั้นเสียให้สูญโดยอาณาสงฆ์ ประดิษฐาน ธรรมวงศ์ให้บริสุทธ์สืบมาในมัธยมชนบทสิ้นกาลนาน. ครั้งเมื่อรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ผ่านสมบัติเอกราช ณ ปาฏลีบุตรนคร นับแต่พุทธปรินิพพานมา ๒๑๘ ปี๑ เกิดเสี้ยนหนาม ขึ้นแก่พระธรรมวินัย แต่เหล่าเดียรถีย์ซึ่งมาปลอมบรรพชาอุปสมบท อยู่ ณ ภิกษุบริษัทมณฑล พระโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า ได้พึ่ง ราโชปถัมภ์ในพระเจ้าอโศกมหาราช กำจัดเดียรถีย์เหล่านั้นออกเสีย จากภิกษุมณฑลได้แล้ว พรักพร้อมกับภิกษุพหุสูตทรงธรรมวินัยเป็น อันมาก ชำระวาทะซึ่งเป็นมลทินแห่งพระธรรมวินัยออกเสียได้แล้ว ประดิษฐานธรรมวงศ์ให้ดำรงสืบมา๒. ครั้น ณ ปีที่ครบ ๒๓๖ นับกาลตั้งแต่พระผู้มีพระภาคปรินิพพานมา พระมหินทเถรเจ้า ได้ทำพระธรรมวินัยสุคตศาสนาไปประดิษฐานใน สีหลทวีป๓ พุทธบริษัทชาวสีหลได้จำทรงนำพระธรรมวินัยมาโดย

ชย์กว่าจะได้ทำสังคายนาราวอีก ๑๖ ปี. ว. ว. ๒. ความตอนนี้ไม่ได้หมาย ยนาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗ (นับอดีตอย่างไทย) หรือ พ.ศ. ๒๑๘ (นับ ังกา) การทำสังคายนาครั้งที่ ๓ นี้ ยังสันนิษฐานไม่ได้ว่าตรงกับ พ.ศ. ราะแบบแผนกแตกต่างกันมาก. ๓. ในคราวเดียวกันนี้ พระโมคคัลลีบุตร ื่น ๆ ไปประกาศพระศาสนา ณ ประเทศอื่น ๆ ด้วย ทั่วดินแดนอันใกล้ ระเทศ แต่ฝ่ายพระคัมภีร์ของเราได้สืบกันมาแต่แบบลังกา ที่อ้างว่า เจ้า อันกล่าวความเฉพาะเรื่องที่เนื่องต่อกันมาทางสายนี้ จึงรู้กัน ของฝ่ายน. ว. ว. มุขปาฐะ คงอยู่เหมือนอย่างเดิมได้นาน ท่านกำหนดพุทธศาสนายุ- กาลว่า ๔๕๐ ปี พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายเห็นความเสื่อมถอยปัญญา ของกุลบุตร ซึ่งจะทรงโดยลำพังปากอย่างเดิมนั้นไม่ได้ จึงได้ประชุม ในอาโลกเลณสถาน อันสถิตในมลัยชนบท ณ ลังกาทวีปแล้ว ให้เขียน พระปริยัติธรรมเป็นอักษร จารึกลงไว้ในใบลาน คล้ายกับการ สังคายนาครั้งที่ครบ ๔๑. ภายหลังนักปราชญ์ได้แต่คัมภีร์อรรถกถาฎีกากับทั้งศัพทศาสตร์ เป็นอุปการะแก่ผู้ศึกษาพระปริยัติธรรมนั้นเจริญขึ้น ๆ ตามลำดับ จน ประชุมชนในนานาสถาน ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาได้นำมาประดิษฐาน ไว้ เป็นเจดีย์ที่เคารพเล่าเรียกศึกษา และสร้างขึ้นให้แพร่หลาย ณ พุทธศาสนิกมณฑล ด้วยประการฉะนี้.

ั้งที่ ๔-๕ นี้ ควรรับรองเพียงเป็นสังคายนาเฉพาะประเทศ ไม่ควร าทั่วไป.