รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540/หมวด 10

จาก วิกิซอร์ซ

หน้า:รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐.pdf/76หน้า:รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐.pdf/77หน้า:รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐.pdf/78หน้า:รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐.pdf/79หน้า:รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐.pdf/80หน้า:รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐.pdf/81หน้า:รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐.pdf/82มาตรา ๓๐๙ ผู้เสียหายจากการกระทำตามมาตรา ๓๐๘ มีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อให้ดำเนินการตามมาตรา ๓๐๑ (๒) ได้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องและปราบปรามการทุจริต

ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๐๕ วรรคหนึ่ง วรรคสี่ และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๓๑๐ ในการพิจารณาคดี ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยึดสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นหลักในการพิจารณา และอาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร

ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๖๕ มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยโดยอนุโลม

บทบัญญัติว่าด้วยการคุ้มกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๖๖ และมาตรา ๑๖๗ มิให้นำมาใช้บังคับกับการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

มาตรา ๓๑๑ การพิจารณาคดีให้ถือเสียงข้างมาก โดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนต้องทำความเห็นในการพิจารณาคดีเป็นหนังสือพร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมการลงมติ

ความเห็นในการวินิจฉัยคดีอย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(๑) ชื่อผู้ถูกกล่าวหา

(๒) เรื่องที่ถูกกล่าวหา

(๓) ข้อกล่าวหาและสรุปข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา

(๔) เหตุผลในการวิจัยทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

(๕) บทบัญญัติของกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง

(๖) คำวินิจฉัยคดี รวมทั้งการดำเนินเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง ถ้ามีคำสั่งและคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เปิดเผยและเป็นที่สุด