พระอาการวัตตาสูตร

จาก วิกิซอร์ซ
(เปลี่ยนทางจาก อาการะวัตตาสูตร)
พระอาการวัตตาสูตร
พิมพ์เปนที่ระลึก
ในการปลงศพนายเฮง ดุลยศีตะ
ณะปรำวัดสังเวชชวิศยาราม
วันที่ พ.ศ. ๒๔๗๓
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ธรรมพิทยาคาร

คำนำ
พระอาการวัตตาสูตร

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าที่ในปัจจุบันนี้ก็ดี ได้ทรงตามกันมาทุก ๆ พระองค์ พระสูตร์นี้เปนสูตร์อันใหญ่ยิ่ง หาสูตร์อื่นจะเปรียบมิได้ ด้วยมีทั้งพระสูตร์ พระวินัย พระปรมัตถ์ พระปิฎก ขอท่านทั้งหลายอย่าได้ทิ้งได้วางในที่อันใม่ควรเลย จงทำสักการบูชาสวดมนต์ภาวนาฟังตามสติกำลังด้วยเทอญ

คำปรารภ

หนังสือพระอาการวัตตาสูตรนี้เปนหนังสือเก่า แสดงพุทธคุณด้วยธรรมหลายหมวด เช่น บารมี ๑๐ ทัศ เปนต้น คล้ายกับหนังสือพุทธาภิเศก จัดว่า เปนแบบเจริญพระพุทธคุณดีเรื่องหนึ่ง มารดาของข้าพเจ้า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านเลื่อมใสมาก ได้สาธยายอยู่เนืองนิตย์ และเคยพิมพ์แจกเปนธรรมทาน ผู้ได้รับไปก็ชอบกันโดยมาก แม้ภายหลังก็ยังมีผู้มาขออีก แต่หมดเสียแล้ว มาคราวนี้ ข้าพเจ้าจะทำการปลงศพนายเฮง ดุลยศีตะ พี่ชายของข้าพเจ้า คิดเห็นว่า สมควรจะพิมพ์หนังสือนี้เปนที่รลึก อุทิศกุศลส่งไปส่วนหนึ่งเปนการสร้างพระธรรม เพราะนายเฮงก็เปนผู้หนึ่ง เมื่อยังมีชีวิตอยู่ มีความเลื่อมใสมาก ได้ท่องจนขึ้นใจ เวลาเจ็บ ก็สาธยายอยู่เสมอ มีผลดีแก่เธอ คือ เปนอันได้เจริญพระพุทธคุณอยู่เปนนิตย์ ผูกจิตต์อยู่กับธรรม และเวลาดับสิ้นไป ก็ไปอย่างสบาย ดับไปเหมือนตะเกียงหมดน้ำมันน่าตายฯ ข้าพเจ้าขออุทิศผลกุศลส่วนนี้แก่นายเฮง ดุลยสีตะ ผู้พี่ชาย ขอจงได้ทราบแล้วอนุโมทนา แล้วสถิตอยู่ในสุคติภพตลอดกาลนานเทอญ ฯ

แพ วิเศษชัยชาญ ณ ป้อมเพ็ชร
วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๗๓

น่าต้น
พระอาการวัตตาสูตร์ที่ ๑

อิติปิ โส ภควา อรหํ ฯ อิติปิ โส ภควา สมฺมาสมฺพุทฺโธ ฯ อิติปิ โส ภควา วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สุคโต ฯ อิติปิ โส ภควา โลกวิทู ฯ อิติปิ โส ภควา อนุตฺตโรปุริสทมฺมสารถิ ฯ อิติปิ โส ภควา สตฺถาเทวมนุสฺสานํ ฯ อิติปิ โส ภควา พุทฺโธ ฯ อิติปิ โส ภควา ภควาติ ฯ

อรหาทิคุณวคฺโค ปฐโม ๚

ติปิ โส ภควา อภินิหารปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อุฬารชฺฌาสยปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปนิธานปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา มหากรุณาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปโยคปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ยุตฺติปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ชุติปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา คพฺพโอกฺกนฺติปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา คพฺพฐิติปารมิสมฺปนฺโน ฯ

อภินิหารวคฺโค ทุติโย ๚

อิติปิ โส ภควา คพฺพวุฏฺฐานปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา คพฺพมลวิรหิตปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อุตมชาติปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา คติปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อภิรุปปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สุวณฺณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สิริปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อาโรหปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สุนิฐ ปารมิสมฺปนฺโน ฯ

คพฺภวุตฺถาน วคฺโค ตติโย ๚

อิติปิ โส ภควา อภิสมฺโพธิปารมิสมฺปนฺโน สีลขนฺธปารมิสมฺปนฺโน สมาธิขนฺธปารมิสมฺปนฺโน ปญฺญาขนฺธปารมิสมฺปนฺโน ทฺวตฺตึสมหาปุริสลกฺขณปารมิสมฺปนฺโน ฯ

อภิสมฺโพธิวคฺโค จตุฏฺโฐ ๚

อิติปิ โส ภควา มหาปญฺญาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปุถุปญฺญาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา หาสปญฺญาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ชวนปญฺญาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ติกฺขปญฺญา ปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปญฺจจกฺขุปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อฏฺฐารสพุทฺธกรปารมิสมฺปนฺโน ฯ

มหาปญฺญาวคฺโค ปญฺจโม ๚

อิติปิ โส ภควา ทานปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สีลขนฺธ ปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา เนกขมฺมปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปญฺญาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา วิริยปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ขนฺติ ปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สจฺจปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อธิฏฺฐานปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา เมตฺตาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อุเปกฺขาปารมิสมฺปนฺโน ฯ

ปารมิวคฺโค ฉฏฺโฐ ๚

อิติปิ โส ภควา ทสปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ทสอุปปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ทสปรมตฺถปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สมตึสปารมิสมฺปนฺโน ฯ ตํ ตํ ชานหนํ ปรมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อภิญฺญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สติปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สมาธิปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา วิมุตฺติปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา วิมุตฺติญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ

ทสปารมิวคฺโค สตฺตโม ๚

อิติปิ โส ภควา วิชฺชาจรณวิปสฺสนาวิชฺชาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา มโนมยิทฺธิวิชฺชาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อิทฺธิวิชฺชาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ทิพฺพโสตวิชฺชาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปรจิตฺตวิชฺชาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติวิชฺชาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ทิพฺพจกฺขุวิชฺชาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา จรณวิชฺชาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา จรณธมฺมวิชฺชาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อนุปุพฺพวิหารปารมิสมฺปนฺโน ฯ

วิชฺชาวคฺโค อฏฺฐโม ๚

อิติปิ โส ภควา ปริญฺญาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปหานปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สจฺฉิกิริยาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ภาวนาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปริญฺญาปหานสจฺฉิกิริยาภาวนาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา จตุธมฺมสจฺจปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปฏิสมฺภิทาญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ

ปริญฺญาณวคฺโค นวโม ๚

อิติปิ โส ภควา โพธิปกฺขิยธมฺมปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สติปฏฺฐานปญฺญาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สมฺมปฺปธานปญฺญาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อิทฺธิปาทปญฺญาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อินฺทฺริย ปญฺญาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา พลปญฺญาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา โพชฺฌงฺคปญฺญาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อฏฺฐงฺคิกมคฺคธมฺมปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา มหาปุริสกิริยาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อนาวรณวิโมกฺขปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อรหตฺตพลวิมุตฺติ ปารมิสมฺปนฺโน ฯ

โพธิปกฺขิยวคฺโค ทสโม ๚

อิติปิ โส ภควา ทสพลญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ฐานาฐานญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา วิปากญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สพฺพตฺถคามินีปฏิปทาญาณ ปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา นานาธาตุญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา นานาอธิมุติกญาณ ปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปโรปริยตฺติปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา นิโรธอุตฺถานญาณ ปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา จุตูปปาติญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อาสวกฺขฺยญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ

ทสพลญาณวคฺโค เอกาทสโม ๚

อิติปิ โส ภควา โกฏิสหสฺสานํ ปกติสหสฺสานํ หตฺถีนํ พลทรปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปุริสโกฏิทสสหสฺสานํ พลทรปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ยมกญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สีลคุณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา คุณปารมิสมาปตฺติสมฺปนฺโน

กายพลวคฺโค ทฺวาทสโม ๚

อิติปิ โส ภควา ถามพลปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ถามพลญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา พลปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา พลญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปุริสปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อตุลยปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อุสฺสาหปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา คเวสิญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ

ถามพลวคฺโค เตรสโม ๚

อิติปิ โส ภควา จริยาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา จริยาญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา โลกตฺถจริยาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา โลกตฺถจริยาญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ญาตตฺถ จริยาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ญาตตฺถจริยาญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา พุทฺธจริยาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา พุทฺธจริยาญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ติวิธจริยาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปารมิอุปปารมิปรมตฺถปารมิสมฺปนฺโน ฯ

จริยาวคฺโค จตุรสโม ๚

อิติปิ โส ภควา ปญฺจุปาทานกฺขนฺเธสุ อนิจฺจลกฺขณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปญฺจุปาทานกฺขนฺเธสุ ทุกฺขลกฺขณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปญฺจุปาทานกฺขนฺเธสุ อนตฺตลกฺขณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อายตเนสุติลกฺขณญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อฏฺฐารสธาตุสุติลกฺขณญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา วิปรินามลกฺขณปารมิสมฺปนฺโน ฯ

ลกฺขณวคฺโค ปณฺณรสโม ๚

อิติปิ โส ภควา คตตฺถานปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา คตตฺถานญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา วสีตปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา วสีตญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สิกฺขาปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สิกฺขาญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สงฺวรปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สงฺวรญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ

คตตฺถานวคฺโค โสฬสโม ๚

อิติปิ โส ภควา พุทฺธปเวณีสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา พุทฺธปเวณี ญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ยมกปาฏิหาริยปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ยมกปาฏิหาริยญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯอิติปิ โส ภควา จตุพฺรหฺมวิหารปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา อนาวรน ปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา ปริยนฺตญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา สพฺพญฺญุตญาณปารมิสมฺปนฺโน ฯ อิติปิ โส ภควา จตุวีสติโกฏิสตวชฺชิร ปารมิสมฺปนฺโน ฯ

ปเวณีวคฺโค สตฺตรสโม ๚

จบพระคาถาอาการวัตตาสูตรแต่เท่านี้

ทีนี้ จะแสดงอานิสงส์ในพระอาการวัตตาสูตรสืบไป

เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา ราชคเห วิหรติ คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเร อถโข อายสฺมา สาริปุตฺโต เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิ

ณะบัดนี้ จะสะแดงความตามสมควรแก่ไวยยากรณบาลีที่มีมาในอาการวัตตาสูตรโดยสรุปยุติในเรื่อง ความว่า ณะสมัยหนึ่ง องค์สมเดจพระผู้มีพระภาคเสดจประทับระงับพระอิริยาบถณะคิชกูฏบรรพตคีรีวรรณใกล้กันกับมหานครราชคฤห์ธานีเปนที่อาศัยโคจรบิณฑบาต พุทธาจิณณวัตต์ อถโข อายสฺมา สาริปุตฺตโต ครั้งนั้น พระสาริบุตรพุทธสาวกผู้มีอายุจึ่งเข้าไปสู่ที่เฝ้าสมเดจพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทโดยอาการเคารพเปนอันดีแล้ว ก็นั่งอยู่ที่ควรส่วนสุดข้างหนึ่งอันปราศจากนิสัชชะโทษ ๖ ประการ เอกมนฺตํ นิสีทิ นิสชฺช โข อายสฺมโต สาริปุตฺตสฺส เมื่อพระสาริบุตร์ผู้มีอายุนั่งอยู่ที่อันสมควรแล้ว จึ่งแลดูซึ่งสหธรรมิกสัตว์ เกิดความปริวิตกในใจ คิดถึงกาลต่อไปในส่วนอนาคตภายน่า อิเม โข สตฺตา ฉินฺนมูลา อตีตสิกฺขา อันว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ที่หนาไปด้วยกิเลสาสวะและอวิชชาสวะ ยังใม่ล่วงซึ่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กามโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ อันเปนโอฆะแอ่งแก่งกันดาน มีสันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล คือ โลภะ โทษะ โมหะ ก็กระทำซึ่งการอันเปนอกุศล เปนอาจิณณกรรม ก็ชื่อว่า มีกุศลมูลขาดเสียแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว จตูสุ อปาเยสุ วิปจฺจนฺติ ก็เที่ยงที่ว่าจะไปไหม้อยู่ในอบายทั้ง ๔ เปนที่ปราศจากความสุข คือ นรกแลเปตวิสัย อสุรกายกำเนิด ติรัจฉานกำเนิด ก็เมื่อสัตว์ทั้งหลายหนาไปด้วยอกุศล จะยังตนให้ตกไปไหม้อยู่ในอบายนี้ พุทฺธกรธมฺเมหิตพฺพํ ธรรม เครื่องกระทำซึ่งความเปนพระพุทธเจ้า คือ บารมี ๓๐ ทัศ จะพึงมิสามารถเพื่อจะห้ามกันเสียได้ซึ่งจตุราบายยิกทุกข์ทั้งหลายนั้นจะพึงมีอยู่ เพราะด้วยว่าบารมีธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่เปนอันมาก จะมีอยู่แต่เท่านี้หามิได้ ธรรมทั้งหลายใดเปนไปเพื่อจะให้สำเรจพระโพธิญาณอันสมเดจพระพุทธเจ้าตรัสสะแดงไว้ในพระสูตร แลพระวินัย แลพระปรมัตถ์ อันเปนธรรมคัมภีรภาพละเอียดนัก เปนองค์ธรรมอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายเสพแล้วโดยยิ่ง ล้วนเปนนิยยานิกธรรมจะนำสัตว์ให้พ้นจากวัฏฏสังสารทุกข์ได้ ดังนี้ เมื่อพระธรรมเสนาบดี พระสาริบุตร พุทธสาวก เมื่อมีความปริวิตกในจิตต์ ด้วยความกรุณาประชุมชนเกิดมาณะภายหลัง จัดให้ปฏิบัติในธรรมนั้น ๆ ให้เปนที่ป้องกันรักษาตนในพ้นจากทุกข์ภัยในอบายอย่างนี้ จึงยกกรประพุ่มหัตถ์อัญชลีกรประนมแทบบงกชบาทสมเดจพระบรมโลกนาถเจ้า แล้วจึงกราบทูลพระกรุณาว่า เยเกจิ ทุปฺปญฺญา ปุคฺคลา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เปนผู้มีปัญญา ยังหนาอยู่ด้วยโมหะ อวิชชา พุทฺธการกธมฺเม อชานิตฺวา หารู้จักพุทธการกธรรม คือ บารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้นใม่ เพราะความที่แห่งตนเปนคนอันธพาล จะพึงกระทำซึ่งกรรมอันเปนบาปทั้งปวงนับได้พันแห่งโกฏิ์เปนอันมาก บางจำพวกก็พึงกระทำซึ่งมนุสส์ฆาฏกรรม คือ ฆ่ามนุสส์เสีย เปนต้น ฆ่าซึ่งกษัตริย์ชิงเอาราชสมบัติ แลฆ่าซึ่งมหาอำมาตย์แลปโรหิตาจารย์ ฆ่าซึ่งชนอันเปนพาลแลบัณฑิตย์ ฆ่าบรรพชิต คือ สมณะ อันเปนมหาวัชชกรรมครุกรรม โกจิ โคนํ วา มหึสานํ วา บางจำพวกฆ่าซึ่งโคแลกระบือ ฆ่าสัตว์ติรัจฉาน มีฆ่าซิงแพะแกะ ฆ่าซึ่งคชสารอัศดรกุญชรชาติ์ ด้วยสามารถความประสงค์ซึ่งมังสะแลงาอังคาพยพน้อยใหญ่ หรือกระทำซึ่งปาณาดังกล่าวมาฉนี้ด้วยสามารถโทษะความโกรธแลโมหะความหลง ชนผู้เปนคฤหัสถ์บางจำพวกผู้เปนพาลจงใจจะพึงกระทำครุกรรมอันสาหัส คือ อนันตริยกรรมทั้ง ๕ เปนต้นว่า ฆ่าซึ่งบิดาแลมารดา สาสนโต ปาราชิกํ อาปชฺเชยฺย ก็จะพึงถึงซึ่งความที่แห่งตนเปนผู้พ่ายแพ้จากพระศาสนา แท้จริงคฤหัสถ์ผู้ทำครุกรรมฆ่าบิดามารดาดังกล่าวมานี้ชื่อว่า ปาราชิกฝ่ายฆราวาสา เบื้องว่าบรรพชิตทั้งหลายผู้ดำรงซึ่งสิกขาบทสังวรวินัยไม่ตั้งอยู่ในอธิสิกขา ล่วงพุทธอาชญาอันเปนอนาติกมโทษ ต้องครุกาบัติแลลหุกาบัติโดยลำดับมา ฉินฺนมูลา จนถึงซึ่งปาราชิกาบัติ เปนผู้ขาดจากมูลในพระพุทธวจนะอันจัดซึ่งปิฎกทั้ง ๓ คือ พระวินัยปิฎก พระสูตรปิฎก พระปรมัตถปิฎก อันเปนสาสโนวาท เต ปาปกมฺมํ กตฺวา ชนที่ได้สมมติว่าบรรพชิตทั้งหลายนั้นจะพึงกระทำกรรมเปนบาปก็เปนเหตุจะยังตนให้ถึงซึ่งนิรยทุกข์ กายฺสส เภทา เบื้องน่าแต่จุติจิตต์เพราะแตกจากชีวิตินทรีย์แล้วจะพึงไปบังเกิดในอเวจีนิรยาบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมอันใดอันหนึ่งเล่าจะเปนธรรมอันลึกสุขุมที่สามารถอาจเพื่อจะห้ามเสียได้ซึ่งสัตว์ทั้งหลายนั้นอันจะตกไปในนรกใหญ่ คือ อเวจีนั้น จะมีอยู่บ้างหรือพระพุทธเจ้าข้า เมื่อกราบทูลดังนี้แล้ว พระผู้เปนเจ้า ธรรมเสนาบดี จึ่งกล่าวซึ่งคาถาทั้งหลายตามบรรยายพระพุทธภาสิตที่ได้สะแดงซึ่งทุกข์อันเปนผลวิบากแห่งครุกาบัติแลลหุกาบัติ ยกปาราชิกสิกขาจัดเปนมูลเฉทขึ้นสะแดงเบื้องต้นโดยกระแสอนุสนธิว่า ทสวสฺสสหสฺสานิ ตึสสหสฺสโกฏิโย ปาราชิกํ สมาปนฺโน บรรพชิตผู้ล่วงเสียซึ่งสิกขา ถึงพร้อมแล้วซึ่งปาราชิก เปนผู้มีมูลขาดจากพระสาสนานิยามคติที่จะให้ไปอุบัติในภพเบื้องน่า คือ จะไปบังเกิดในนรกใหญ่ คือ อเวจี ไหม้อยู่ในไฟใม่รู้ดับ กำหนดนับได้ถึง ๓๐๐๐ โกฏิ์กับหมื่นปีเปนที่สุด อาการวัตตาสูตรนี้มีเนื้อความอันพิศดาร ถ้าแม้จะพรรณนาไป ก็จะเปนการอันเนิ่นช้า จำจะได้ชักซึ่งส่วนแห่งอานิสงส์ที่บุคคลที่ได้สักการะบูชาแลนับถือแลได้บ่นท่องสาธยายจำทรงไว้ได้ดังนี้เปนต้น ก็จะพึงมีอานิสงส์อันใหญ่ยิ่ง ในลำดับนั้น สมเดจพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสะแดงซึ่งอาการวัตตาสูตรกำหนดด้วยวรรค ๑๗ วรรค มีอรหาทิคุณวรรคเปนต้น จนถึงปเวณียวรรคเปนคำรพ ๑๗ ด้วยประการดังนี้แล้ว พระองค์ทรงบรรยายซึ่งอานิสังสคุณานุภาพแห่งอาการวัตตาสูตร์แก่พระสาริบุตร์ต่อไปว่า ยญฺจ สาริปุตฺต รตฺตึ ดูกร สาริบุตร ก็ราตรีอันใดพระตถาคตได้ตรัสรู้ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเปนวิมุติเสวตฉัตร์ณควงไม้อัสสัตถะพฤกษ์โพธิมณฑล ก็ในราตรีนั้นแลพระตถาคตก็ระลึกซึ่งอาการวัตตาสูตร์นี้อันมีคุณานุภาพเพื่อเปนที่รักษาต่อต้านซึ่งภัยอันตราย แลเปนที่เร้นซ่อน เปนคติที่จะให้ไปในเบื้องน่าแห่งสัตวโลก กับทั้งเทวโลก ทั้งมารโลก พรหมโลก แลหมู่สัตว์เปนไปกับด้วยสมณะ แลพราหมณ แลสมมุติเทวดา แลมนุสส์ แลสามารถเพื่อจะห้ามเสียซึ่งบาปธรรมทั้งปวง เพราะพระตถาคตมาระลึกตามอยู่ซึ่งธรรมทั้งหลายอันเปนมรรคาแห่งสัตว์ทั้งหลายให้ถึงซึ่งอันสิ้นไปแห่งทุกข์แลภัยทั้งปวงในสงสารอย่างนี้ กำหนดเพียงไรแต่นิพพานธาตุซึ่งอนุปาทิเสสมีกัมมัชชรูปแลวิปากขันธ์อันกรรมแลกิเลสเข้าถือเอาเหลืออยู่ใม่มีสิ้นเชื้อสิ้นเชิง เอตฺถนฺตเร ในระวางแห่งกาลนั้น กายกรรมแห่งพระตถาคตพุทธเจ้าทั้งปวง ญาณปุพฺพงฺคมํ มีญาณเครื่องรู้เปนประธานถึงก่อน คือว่า เปนกับด้วยญาณอันปราศจากโทษ คือ โมหะ แม้ถึงวจีกรรมแลมโนกรรมแห่งพระตถาคตพุทธเจ้า ก็เปนไปแล้วด้วยญาณเหมือนอย่างนั้น คตีตํรอปฺปฏิหตํ แลกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม แห่งพระตถาคตพุทธเจ้าที่เปนส่วนอดีตกาลล่วงแล้ว แลเปนส่วนปัจจุบัน แลอนาคตกาลภายน่าอันยังใม่มาถึง ก็เปนญาณทัสนะเครื่องที่เห็นด้วยญาณ อปฺปฏิหตํ อันโทษทั้งหลาย เปนต้นว่า อภิชฌา ใม่กำจัดได้ ใม่ใคร่ละแล้ว เปนกรรมผ่องแผ้วในไตรทวารด้วยประการฉะนี้ เยเกจิ สาริปุตฺต ดูกร สาริบุตร์ ครั้นเมื่ออาการวัตตาสูตร์นี้ ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้กล่าวอยู่เปนอัตราแล้ว บาปกรรมทั้งปวงก็จะใม่ได้ช่องที่จะหยั่งลงไปในสันดาน แม้ถึงผู้นั้นจะกล่าวอยู่สักครั้งหนึ่งก็ดี จะคุ้มครองรักษาผู้นั้น จตฺตาโร มาเส สิ้นกาลประมาณไปได้ ๔ เดือนเปนกำหนด เปนที่คุ้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง ยกไว้แต่ภัยอันตรายที่บังเกิดแล้วแลตามผลวิบากแห่งอกุศลกรรมเท่านั้น อนึ่ง บุคคลผู้ใดอุตส่าห์ตั้งจิตต์ใม่คิดท้อถอย ได้สดับฟังซึ่งอาการวัตตาสูตร์นี้ก็ดี หรือได้เล่าเรียนแลได้บอกกล่าวก็ดี หรือได้เขียนเองแลได้ให้ผู้อื่นเขียนก็ดี หรือได้จำทรงไว้ได้ก็ดี หรือได้กระทำสักการะบูชานับถือก็ดี หรือได้ระลึกเนือง ๆ โดยเคารพพร้อมด้วยไตรประนามก็ดี จะปราถนาสิ่งใด ๆ ก็จะสำเร็จแก่บุคคลผู้นั้นตามประสงค์พร้อมทุกสิ่งสรรพ์ ตํ ตสฺมา ทีปงฺกโร หิ เพราะเหตุกาลนั้น ท่านผู้มีปรีชาประกอบด้วยศรัทธาแลความเลื่อมใสจงกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตร์อันจะเปนที่ผ่อนพักพึ่งอาศัยในวัฏฏะกันดาร ประหนึ่งว่าเกาะแลฝั่งได้เปนที่ตั้งอาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่ฉะนั้น อฏฺฐวีสติยา จ อวิชฺชหิตํ ก็อาการวัตตาสูตร์นี้ อันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ องค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี อันพระตถาคตเจ้าบัดนี้ก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักองค์เดียว ได้ทรงตามกันมาทุกพระองค์ อนนฺตรํ พระสูตรนี้มีคุณานุภาพยิ่ง ไม่มีสูตรอื่น ๆ จะยิ่งกว่าหามิได้ ยถาสตฺติ ยถาพลํ สิกฺขาตพฺพํ เพราะฉนั้น ท่านผู้สัตบุรุษพุทธศาสนิกชนพึงศึกษาเปนทางเล่าเรียนเขียนไว้โดยควรแก่กำลังอย่างไร อย่าให้เสียคราวเสียสมัยที่ได้ประสพ สิกฺขิตุํ อสกฺโกนฺเตน ก็เมื่อใม่อาจพึงศึกษาได้ด้วยความที่ตนเปนคนมันทปัญญา ก็พึงจานจารึกลงไว้ในสมุดและใบลานให้เปนที่ดูที่นมัสการบูชาโดยเคารพ กาตุํ อสกฺโกนฺเตน ก็เมื่อใม่อาจเพื่อจะกระทำได้ดังกล่าวแล้วนี้ ก็ให้พึงฟังตั้งใจโดยเคารพดำรงสติให้ระลึกตามทุกบททุกบาท อย่าให้เปนสติวิปลาศปราศจากสติ เปนแต่สักว่านั่งฟังอยู่อย่างนั้น สวนิตุํ อสกฺโกนฺเตน ก็เมื่อใม่อาจเพื่อจะฟังดังกล่าวมาแล้วนี้ พึงไปสู่สถานที่อยู่แห่งบุคคลผู้ได้เล่าบ่นสาธยาย พึงประคองซึ่งประพุ่มหัตถ์ ทสนขสโมธาน ฟังท่านสาธยาย สุนิตุํ อสกฺโกนฺเตน ก็เมื่อใม่อาจฟังได้ดังนี้ พึงไปสู่สถานที่ท่านแสดงซึ่งอาการวัตตาสูตรนี้ ก็พึงยังจิตต์ที่ประกอบแล้วด้วยศรัทธาให้เกิดขึ้น แล้วพึงพิจารณาลูบคลำด้วยปัญญาว่า เอวํ คุณยุตฺโต โส ภควา สมเดจพระผู้มีพระภาคพระพุทธองค์ประกอบด้วยพระคุณอย่างนี้ ๆ ให้พินิจนึกระลึกตามพระคุณที่ท่านสะแดงแล้วนั้น โสมนสฺสชาโต ให้เกิดความโสมนัสยินดีด้วยปีติในพระพุทธเจ้าเปนอารมณ์ดังนี้ ก็จักห้ามกันเสียได้ซึ่งอกุสลบาปธรรมอันจะชักนำให้ปฏิสนธิในอบายภูมิทั้ง ๔ คือ นรก และเปตวิสัย อสุรกายดิรัจฉานกำเนิด ดังนี้ ยํ ยํ ปตฺเถติ บุคคลผู้นั้นจะประสงค์ซึ่งพัสดุสิ่งใด ๆ ความปราถนาสิ่งนั้น ๆ ก็จะสำเรจพร้อมแก่บุคคลผู้นั้นด้วยคุณานุภาพที่ได้ดำรงจิตต์คำนึงตามในพระพุทธคุณที่ได้สะแดงแล้วนั้น สเจ ปุนปฺปุนํ สมนุสฺสเรยฺย ก็ถ้าหากว่าบุคคลผู้ใดมีศรัทธาจะระลึกตามอาการวัตตาสูตรนี้เนือง ๆ ยตฺถ กตฺถจิ ภเว ชาโต บุคคลผู้นั้น เมื่อละเสียซึ่งอัตตภาพร่างกายในปัจจุบันชาตินี้แล้ว จะปฏิสนธิในภพเบื้องหน้าในภพใดภพหนึ่ง ก็จักใม่เกิดในดิรัจฉานในเปตวิสัย จักใม่ไปเกิดในสัญชีพนรก ในอุสุทะนรก จักใม่ไปเกิดในสังฆาฏะนรก ในโรรุวะนรก ในมหาโรรุวะนรก จักใม่ไปเกิดในตาปนรก จักใม่ไปเกิดในอเวจีนรก เช่นนี้ ด้วยผลานิสงส์ที่ตนได้เจริญซึ่งอาการวัตตาสูตรอยู่เนือง ๆ ดังกล่าวมาฉะนี้ อนึ่ง ในปัจจุบันภพก็จะเปนที่พึ่งหลีกหลบภัยอันตรายมิให้มาแผ้วพาน ตึส ภยานิ และภัย คือ อารมณ์ที่บุคคลจะพึงสดุ้งกลัวนั้น ๓๐ ประการ อหิภยํ วา อนึ่ง คือ ภัยอันบังเกิดแต่ทีฆชาติงูอันมีพิศม์ กุกฺกุรภยํ วา ภัยอันบังเกิดแก่สุนักข์บ้านและสุนักข์จิ้งจอกที่ดุร้ายจะขบกัด ๑ โคณภยํ วา ภัยอันบังเกิดแต่โคถึกและโคเถื่อน ๑ มหิสภยํ วา หรือภัยบังเกิดแต่กระบือเถื่อนและกระบือบ้านที่ดุร้ายจะขวิดชนให้ถึงเปนอันตรายแก่ชีวิต ๑ สีหภยํ วา หรือภัย คือ ราชสีห์ และเสือโคร่ง และเสือเหลือง และเสือดาว และเสือแพ่วก็ดี หตฺถิอสฺสราชโจรภยํ วา หรือภัยเกิดแต่คชสาร และภัยเกิดแต่อัสดรภาชีจตุรงคชาติ และภัยอันบังเกิดแต่โจร และเกิดแต่เพลิงและน้ำ และภัยอันเกิดแต่มนุสส์ที่ผูกเวร หรือภัยเกิดแต่อมนุสส์ ภูตผีปิศาจเข้าสิงสู่บีบคั้นให้จลาจลวิกลจริตผิดจากมนุสส์ ทณฺฑภยํ วา หรือภัยทัณฑกรรมต้องอาญาหมาย พยคฺฆกุมฺภณฺฑอารกฺขเทวตาภยํ วา คือ ภัยเกิดแต่ยักษ์และกุมภัณฑ์จะมาบีบคั้นให้เปนบ้าเสียจริตกิริยาแห่งมนุสส์ และภัยเกิดแต่คนธรรพ คนธรรพ์ และอารักขเทวดา คือ โกรธปองกระทำร้ายวิหิงสาเบียดเบียฬ มารภยํ วา หรือภัยเกิดแต่มารทั้ง ๕ จะมาผจญให้เกิดการวิกลเปนไปต่าง ๆ วิชฺชาธรภยํ วา หรือภัยเกิดแต่วิชชาธรชนผู้ทรงไว้ซึ่งวิชชาจะกระทำให้เปนอันตรายด้วยอำนาจวิทยาคุณ สพฺพเทวโลกาธิปติภยํ วา หรือว่าภัยเกิดแต่มเหศรเทวราชผู้เปนใหญ่ในเทวโลกทั้งปวง รวมเปนภัยที่บุคคลจะพึงสดุ้งหวาดเสียวกลัว ๓๐ ประการ ภัยทั้ง ๓๐ ก็จะอันตรธานวินาสใม่อาจเบียดเบียฬให้เปนอันตรายได้ จกฺขุโรคาทโย ทั้งโรคที่จะบังเกิดขึ้นเบียดเบียฬกายเสียดแทงอวยวน้อยใหญ่ทั้งภายในและภายนอก เปนต้นว่า โรคในจักษุ ก็จะรงับเสื่อมสร่างบางเบาลง ชิฆจฺฉาปิปาสาภยํ วา หรือว่าภัยอันบังเกิดแต่ความอยากเพื่อจะบริโภคอาหาร และความหวังดื่มกินซึ่งน้ำเพราะความกระหายหอบด้วยโรคภายใน ก็จะวินาสเสื่อมหายด้วยคุณานุภาพที่ได้สาธยายท่องบ่นจำทรงซึ่งอาการวัตตาสูตรนี้เนือง ๆ โดยนัยดังกล่าวมาด้วยประการฉะนี้ สเจ โยโกจิ สาริปุตฺต ถ้าหากว่าบุคคลผู้ใดใครผู้หนึ่งจะพึงกระทำซึ่งปาณาติบาต คือ ปลงเสียซึ่งชีวิตแห่งสัตว์ให้ตกล่วงไปเปนวัชชะกรรมชักนำผลให้ไปปฏิสนธิในจตุราบายนั้นไซร้ อิมํ สุตฺตํ สุตกาลโต ปฏิฐาย จำเดิมแต่ได้สดับฟังซึ่งอากรวัตตาสูตรนี้ด้วยศรัทธาจิตตประสาทเลื่อมใส ก็อาจปิดบังห้ามกันไว้ซึ่งกรรมนั้น ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ บุคคลผู้นั้นจะยังใม่ไปสู่ทุคติกำหนดโดยกาลประมาณ ๙๐ แสนกัลป์ฉะนี้ นี้เปนอานิสงสผลที่ได้ท่องได้บ่นได้ทรงจำซึ่งกระแสแห่งอาการวัตตาสูตรให้เปน วาจุคตา สกฺกลเคหํ สพฺเพรกฺขาหิ รกฺขิตุํ อนึ่ง เคหะสถานทั้งสิ้นแสนแห่ง ผู้นั้นจะมีผู้รักษาแล้ว ด้วยเครื่องรักษาทั้งปวง เทพยดาทั้งหลายในฉะกามาพจรสถานนั้นทั้ง ๖ ชั้นฟ้าย่อมจะพิทักษ์รักษาให้นิราศภัยอันตราย เอวํ สาริปุตฺต อิทํ สุตฺตํ มหิทฺธิกํ ดูกร สาริบุตร์ อาการวัตตาสูตรนี้มีอิทธิฤทธิ์ใหญ่หลวง มหาเดชํ มหานุภาวํ มีเดชานุภาพยิ่งนัก มีพลกำลังมาก มีอานิสงสคุณอันไพศาล ด้วยประการฉะนี้ สมเดจบรมสากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอธิบายซึ่งอิทธิเดชานุภาพแห่งอาการวัตตาสูตรนี้แล้ว เทสนากูฏํ คณฺเหนฺโต เมื่อพระองค์ถือเอายอดแห่งเทศนา จึงตรัสซึ่งพระคาถาทั้งหลายดังนี้ว่า สพฺพเมกมิทํ สุตฺตํ อภิธมฺมปิฏกญฺเจว เปนต้น อธิบายความในพระคาถาว่า อากรวัตตาสูตรนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เปนพระสัพพัญญูรู้ซึ่งสังขตธรรมทั้งปวงได้พิจารณาลูบคลำซึ่งพระอภิธรรมปิฎกด้วย ซึ่งพระสุตันตปิฎก ซึ่งพระวินัยปิฎกด้วย ประกาศไว้แล้ว มหาเตชํ อิทฺธิพลํ มีพระเดชมาก มีฤทธิ์และกำลังใหญ่หลวง ประดับแล้วด้วยวรรค ๑๗ วรรคดังกล่าวแล้วในหนหลัง แต่ล้วนสะแดงซึ่งพุทธคุณ คือ พระบารมีของสมเดจพระพุทธเจ้า พุทฺธคุณคณา คนฺธา กลิ่นหอมทั้งหลาย คือ ประชุมแห่งหมู่พระพุทธคุณ เปนกลิ่นอันอุดมประเสริฐสูงสุดกว่ากลิ่นคันธชาติทั้งปวงที่มนุสส์และเทวดากำหนดว่า เปนกลิ่นอันดี อาการวตฺตาสุตฺตํ สุตฺตมฺหิ จ ปกาสิตา คันธชาติแห่งหมู่พระพุทธเจ้าทั้งปวงเหล่านั้น เราผู้ตถาคตได้สะแดงแล้วในอาการวัตตาสูตรนี้ สทฺธาหตฺเถน วิญฺญุนา อันวิญญชนผู้มีปรีชาพึงลูบคลำเถิดด้วยมือ คือ ศรัทธาความที่ตั้งจิตต์ไว้ชอบในกาลทุกเมื่อ พุทฺธคุณาปุปฺผา คือ หมู่แห่งพระพุทธคุณ เปนบุปผาชาติอันอุดมกว่าบุปผาชาติที่เทวดาและมนุสส์ทั้งหลายมานิยมว่า ประเสริฐนั้น บุปผาชาติ คือ หมู่พระพุทธเจ้าทั้งนั้น เราผู้ตถาคตได้ประกาศแล้วในอาการวัตตาสูตรนี้ ชเนน หิตกาเมน ชนผู้ใคร่ซึ่งประโยชน์เกื้อกูลอุดหนุนแก่ตนในโลกเบื้องหน้าพึงประดับประดาทัดทรงไว้ด้วยใจศรัทธาทุกเมื่อเถิด ดังนี้ ราโค จิตฺตํ น ธํเสติ ราค คือ ความกำหนด จะได้กำจัดซึ่งจิตต์แห่งบุคคลนั้นหามิได้ ตถา โทโส จ โมโห จ ถึงโทสแลโมหก็จะใม่กำจัดซึ่งจิตต์แห่งบุคคลผู้นั้นให้ขุ่นข้องหมองมัวไปได้ ตถาคเตน ปสาโท จ บุคคลนั้นก็จะมีความประสาทเลื่อมใสในพระตถาคตผู้เปนอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และจะมีคารวะเคารพในพระตถาคต และเคารพในพระสัทธรรม และพระสงฆ์ชินบุตร สทฺธาทิเวปุลฺลคโต จะถึงซึ่งความไพบูลย์ด้วยคุณ มีศรัทธาเปนต้น จะมากไปด้วยปรีดาปราโมทย์ในพระพุทธคุณ ดังนี้ สพฺพทุกฺขพยสฺสาโย ร่างกายอันบุคคลอบรมอยู่แล้วด้วยพระพุทธคุณอันเปนเครื่องหมดสิ้นแห่งทุกข์ภัยไกลจากราคาทิกิเลส ดังนี้ อคฺโค เชฏฺโฐ อนุตฺตโร ก็เปนกายเลิศประเสริฐยิ่ง ควรจะพึงบูชา ประหนึ่งว่าเรือนพระเจดีย์อันเปนที่บูชาฉะนั้น ตถาคเตน สทฺธึ บุคคลที่มีจิตตสันดานอบรมอยู่ด้วยพุทธคุณนั้นเหมือนได้อยู่ณที่เดียวกันกับด้วยพระตถาคตพุทธเจ้า วิติกฺกเม อุปฏฺฐิเต ครั้นเมื่อวัตถุอันจะพึงล่วงในสิกขาบทบัญญัติจักเปนอาณาวิติกกมโทษจะมีปรากฎเฉพาะหน้าก็ดี บุคคลผู้นั้นก็จะตั้งไว้ซึ่งหิริความละอายแลโอตตัปปะความสดุ้งต่อบาปแลโทษ ประหนึ่งว่าตั้งอยู่ในที่มีหน้าพร้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฉะนั้น ก็ใม่อาจล่วงเกินซึ่งสิกขาบทบัญญัติในครุกาบัติและลหุกาบัตินั้น ๆ ได้ ข้อนี้ก็เปนคุณาสเนยิฏฐธรรมที่ได้หมั่นคำนึงซึ่งอตุลบารมีที่กล่าวไว่ในอาการวัตตาสูตรนี้ โย อุปารัมภาทิเหตุ ว่า บุคคลผู้ใดมีศรัทธาปสาทคุณความเลื่อมใส ย่อมสดับฟังคำสั่งสอนแห่งสมเดจพระชินวรวิสุทธิศาสดาจารย์ เพราะเหตุแห่งโทษเขาปรารภ คือ ประสพความสรรเสริญและลาภยศเปนต้น อารกา ฐาติ สทฺธมฺมา บุคคลผู้นั้นก็จะตั้งอยู่ในที่ไกลจากพระสัทธรรม ประหนึ่งว่าพื้นปถพีเปนของไกลกันกับอากาศฉะนั้น บุคคลผู้นั้นก็จักเสื่อมจากพระสัทธรรม ประหนึ่งว่าปริมณฑลแห่งพระจันทร์อันหมดศรีรัศมีในดิถีกาฬนักขัตตฉะนั้น โย จ ตุฏฺเฐย จิตฺเตน บุคคลใดมีจิตต์แล้วด้วยศรัทธาปสาทคุณย่อมสดับฟังซึ่งคำสั่งสอนแห่งสมเดจพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ผจญเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลสแลหมู่มาร ด้วยจิตต์ชื่นบานภิรมย์ปราศจากโทษอันมีปรารภ คือ แลเห็นแก่ลาภ แลยศ แลความสรรเสริญ เปนต้น ดังกล่าวมาแล้วนี้ กิเลเส เขเปตฺวา บุคคลผู้นั้นก็จะยังกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นด้วยตทังคปหานแลวิกขัมภนปหานโดยลำดับ ๆ กันไปจนถึงละกิเลสด้วยสมุจเฉทปหานหมดสิ้นเชื้ออุปาทาน อนาสโว เปนผู้วิสุทธิในสันดาน ใม่มีอาสวะเครื่องดองเนืองนองแต่อนันตชาติ ปรินิพฺพายิ ก็จะดับขันธปรินิพพานหมดภพสิ้นกันดาร คือ ชาติและชราพยาธิมรณะ อันเปนบรมสุข ดังนี้ ด้วยอานิสงสคุณที่ได้สดับรับปฏิบัติตามทางพระสัทธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสั่งสอนไว้ ธมฺมจารี ดุจประหนึ่งนรชนทั้งหลายเหล่าใดประกอบด้วยคุณ คือ ศรัทธาและปัญญา เปนต้น เคารพในสัทธรรมและได้ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อในพระสัทธรรม อสโถ เปนผู้ไม่กล่าวดี คือ ใม่อวดแสดงซึ่งคุณที่ใม่มีในตน เปนเหตุจะให้คนอื่นมีความพิศวง ชนทั้งหลายนั้นได้ชื่อว่า ปฏิบัติซื่อตรงตามมรรคาแห่งอมตธรรม คือ พระนิพพาน ความสุขสำราญกายสบายจิตต์ก็จะบังเกิดมีในภพนี้และโลกหน้า อิทิสา ด้วยตนเคารพนับถือพระสัทธรรมและปฏิบัติตามดังกล่าวแล้วนั้น ด้วยประการดังนี้ อาการวตฺตานุภาเวน สตฺตา โหนฺติ สุขปฺปตฺตา สัตว์ทั้งหลายจะถึงซึ่งความสุขนิรทุกข์นิรภัยปราศจากอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งอาการวัตตาสูตรนี้ เทวา มานุสฺสกา อุโภ เทวดาแลมนุสส์ทั้งหลายก็จะแลดูซึ่งกันแลกันด้วยจิตต์เมตตา มิได้มีวิหิงสาอาธรรม์ที่จะเบียดเบียฬในความลำบากกายระทมใจ ดังนี้ ด้วยอานุภาพแห่งอาการวัตตาสูตรนี้ อนฺตรายา อเนกธา อันตรายทั้งหลายที่เปนไปในภายในแลภายนอกมีมากใช่อย่างหนึ่งแลอย่างเดียว วินสฺสนฺติ อเสสโต ก็ย่อมวินาสเสื่อมสูญพินาศฉิบหายด้วยอานุภาพแห่งอาการวัตตาสูตรนี้ ราชโจรคฺคินาปิ จ ภัยอันตรายทั้งหลายอันจะเกิดขึ้นแต่ราชาผู้ปกครองรักษาบังคับปฐพีมณฑล แลจะเกิดแต่โจรจะทำร้าย แลเพลิงไหม้ แลน้ำท่วมมากเกินประมาณ อันตรายเหล่านั้นก็จะวินาสฉิบหายมิได้เหลือ ใม่อาจทำอันตรายให้แก่ชนทั้งหลายนั้นได้ แม้ถึงว่าสัตว์ดุร้าย เปนต้นว่า สีหะ แลพยัคฆะ ก็ใม่อาจเบียดเบียฬทำร้ายได้ สํสาเร สํสรนฺโต เมื่อผู้นั้นยังท่องเที่ยวเวียนวนอยู่ในวัฏฏสงสาร นิปุราปติยายุโต จะเปนผู้มีปัญญาอันเลอียดสุขุมภาพแลจะมีชนมายุยืนยงคงทนจนเท่าถึง อายุปริเฉทกาล อายุขัยเปนกำหนดจึงตาย จะได้ตายด้วยอกาลมรณะนั้นหามิได้ อโรคา จ บุคคลผู้นั้นจะเปนผู้ใม่มีโรคาพยาธิที่จะเสียดแทงให้ฟกช้ำระกำกาย อนาสวํ จ นิพฺภยํ ก็สถานถิ่นประเทศใดอันสมเดจพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สะแดงไว้แล้วว่า เปนที่ใม่มีอาสวกิเลสแลเปนที่เกษมสุขสิ้นทุกข์ภัย ใม่มีข้าศึกสิ่งใดจะมาผจญให้ถึงซึ่งพ่ายแพ้ได้ นิพฺพานมตุลํ สนฺตํ สเภยฺย อนาคเต บุคคลผู้นั้นก็จะพึงได้สถานประเทศนั้น กล่าวคือ พระนิพพาน อตุลํ สนฺตํ ใม่มีธรรมอื่น ๆ ที่จะเปนคู่เปรียบให้เท่าถึงได้ เปนธรรมอันระงับได้แท้ ในอนาคตกาลเบื้องหน้ายังใม่มีถึง ดังนี้ เพราะอานิสังสผลที่ได้ระลึกตามเนือง ๆ ซึ่งพระพุทธคุณวิบูลบารมี ทิพฺพจกฺขุํ วิโสธยิ ผู้นั้นก็จะสำเรจซึ่งไตรวิชชาแลอภิญญา ๖ ประการ ก็จะยังทิพพจักขุญาณให้บริสุทธผ่องใส อาจเห็นในรูปารมณ์โดยประสงค์ ประหนึ่งว่าทิพพจักษุแห่งองค์มเหศรสักกเทวราชฉะนั้น คมฺภีรํ นิปุณํ ธมฺมํ โย จ สนฺตํ ปวตฺตยิ ก็บุคคลผู้ใดมีความเลื่อมใสโสมนัสปรีดาปสาทศรัทธาเปนเค้ามูล ได้กระทำอาการวัตตาสูตรอันเปนธรรมลึกซึ้งเลอียดอันเจือไปด้วยพระวินัยแลพระปรมัตถปิฎกให้ประพฤติเปนไป คือว่า ได้จดจารึกลงไว้ในสมุดแลใบลานก็ดี เพื่อจะให้เปนหิตานุหิตประโยชน์แก่บุคคลผู้โสมนัสต่อไปณเบื้องหน้า วฑฺฒิสฺสติ ตสฺส ยโส ยศ กล่าวคือ จะมีผู้บูชาแลนับถือ จักเจริญแก่บุคคลผู้นั้นเปนนิรันดรมิได้ขาด พหุตพฺภกฺโข ภวติ วิปฺปวุตฺโถ สก ฆราโย จ สกฺกจฺจํ สุณาติ บุคคลผู้ใดได้มีถึง ดังนี้ เพราะอานิสังสผลที่ได้ระลึกตามเนือง ๆ ซึ่งพระพุทธคุณวิบูลบารมี ทิพฺพจกฺขุํ วิโสธยิ ผู้นั้นก็จะสำเรจซึ่งไตรวิชชาแลอภิญญา ๖ ประการ ก็จะยังทิพพจักขุญาณให้บริสุทธผ่องใส อาจเห็นในรูปารมณ์โดยประสงค์ ประหนึ่งว่าทิพพจักษุแห่งองค์มเหศรสักกเทวราชฉะนั้น คมฺภีรํ นิปุณํ ธมฺมํ โย จ สนฺตํ ปวตฺตยิ ก็บุคคลผู้ใดมีความเลื่อมใสโสมนัสปรีดาปสาทศรัทธาเปนเค้ามูล ได้กระทำอาการวัตตาสูตรอันเปนธรรมลึกซึ้งเลอียดอันเจือไปด้วยพระวินัยแลพระปรมัตถปิฎกให้ประพฤติเปนไป คือว่า ได้จดจารึกลงไว้ในสมุดแลใบลานก็ดี เพื่อจะให้เปนหิตานุหิตประโยชน์แก่บุคคลผู้โสมนัสต่อไปณเบื้องหน้า วฑฺฒิสฺสติ ตสฺส ยโส ยศ กล่าวคือ จะมีผู้บูชาแลนับถือ จักเจริญแก่บุคคลผู้นั้นเปนนิรันดรมิได้ขาด พหุตพฺภกฺโข ภวติ วิปฺปวุตฺโถ สก ฆราโย จ สกฺกจฺจํ สุณาติ บุคคลผู้ใดได้มากแขงขยัน กล้าต่อยุทธนาต่อข้าศึกสัตรูหมู่ไพรีใม่ย่อท้อ กาโย สุวณฺณวณฺโณ ทั้งฉวีวรรณ์ก็ผ่องใสดุจทองธรรมชาติ ทั้งจักษุประสาทก็รุ่งเรืองงามบมิได้วิปริต อาจแลดูทั่วทิศานุทิศซึ่งสรรพรูปทั้งปวง ฉตฺตึส กปฺเป เทวินฺโท จะได้เปนพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส์กำหนดถึง ๓๖ กัลป์โดยประมาณ ฉตฺตึส จกฺกวตฺติโย จักได้สมบัติจักรพัตราธิราชผู้เปนอิสรในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒๐๐๐ เปนบริวาร กำหนดนานถึง ๓๖ กัลป์ สุวณฺณปาสาทสมฺปนฺโน จะถึงพร้อมด้วยปราสาทอันเปนวิการแห่งทอง ควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการเปนของเกิดสำหรับบุญแห่งบรมจักรพัตราธิราช จะตั้งอยู่ในสมบัติสุขโดยกำหนดกาล ติวิธสุขํ อิจฺฉนฺโต อนึ่ง เมื่อผู้นั้นจะปราถนาซึ่งสุข ๓ ประการ คือ สุขในมนุสส์ แลสุขสวรรค์ แลสุขพระนิพพานนั้น ก็จะได้สำเรจโดยปราถนา มติมา อตฺถิ ทสฺสิมา เมื่อยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร อานิสงส์คงจะอภิบาลตามประคองไปให้มีปัญญาเฉียบแหลมว่องไว้ จะเปนผู้รู้อัตถธรรมอันสุขุมเลอียดลึกซึ้งอาจรู้ทั่วถึงด้วยกำลังปรีชา ตโต นิพฺพานสุขํ จ เมื่อกาลอันเปนอวสานที่สุดชาติ ก็จะได้บรรลุแก่พระอมตมหานิพพานเปนบรมสุขตามอริยโวหาร นิริเย จาปิ เต จ อนึ่ง เมื่อบุคคลนั้นยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร จะใม่ไปอุบัติบังเกิดในนรก ใม่ไปเกิดในเปตวิสัย ใม่ไปบังเกิดในอสุรกาย จะใม่ไปเกิดในดิรัจฉานกำเนิด จะใม่ไปเกิดในโลหกุมภี แลเวตรณี แลอเวจีมหานรกใหญ่ทั้งหลาย นวุติ กปฺปสตสหสฺสานิ กำหนดนับถึง ๙๐ แสนกัลป์เปนประมาณ จณฺฑาลทาสี กุจฺฉิมหิ โลกนฺตนิรเยสุ จ อนึ่ง ผู้นั้นจะใม่ไปเกิดในตระกูลแห่งหญิงจัณฑาลเข็ญใจแลแห่งทาษีหีนชาติตระกูล แลจะใม่ไปเกิดในโลกันตนรกอันมีในโลก กุทิฏฺฐิมหิ จะใม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ ด้วยอานิสงส์ที่ได้ฟังพระสูตรนี้ แลยังใม่สุดสิ้นตามสนองไป คือ จะใม่ได้ไปเกิดเปนหญิง แลเปนอุภโตเพียญชนกมีเพศทั้งสองฝ่าย แลมิได้เกิดเปนบัณเฑาะเปนกะเทยที่เปนอภัพพบุคคล องฺคปจฺจงฺคสมฺปนฺโน ผู้นั้นเกิดในภพใด ๆ จะเปนผู้ถึงพร้อมด้วยอังคาพยพน้อยใหญ่บริบูรณ์ใม่วิกลวิการ สุรูปาทีฆายุโก จะเปนผู้มีรูปทรงสัณฐานงามดีเปนที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาใม่เบื่อหน่าย จะเปนผู้มีสีลมีศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ที่การจะบริจาคทานใม่เบื่อหน่าย สพฺพีติ โย วิวชฺชนฺตุ ทั้งสรรพอันตรายแลความจัญไรภัยพิบัติก็จะขจัดบำบัดไป ทั้งสรรพอาพาธที่บังเกิดเบียฬกายก็จะสงบระงับดับคลายลง ด้วยคุณานิสังสผลที่ตนได้สดับฟังซึ่งพระสูตรพุทธวัยยากรณภาสิตอันเปนธรรมโอสถเศษ มรณกาเล อสมฺมุฬฺโห ในมรณาสันนกาลใกล้แก่มรณะ ก็จะเปนผู้ใม่หลง จะดำรงสตินั้นไว้ได้ ให้เปนทางสุคติที่จะดำเนิรปฏิสนธิในภพหน้า อุชุํ คจฺฉติ สุคตึ เมื่อแตกแห่งกายทำลายเบ็ญจขันธ์แล้ว ก็จะตรงไปสู่สุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ โย จ สมฺมานุสฺสติ สตฺตวินยาภิธมฺมํ นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งสูตรอันเจือปนด้วยพระวินัยพระปรมัตถ์ มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการวัตตาสูตร มีข้อความกล่าวแล้วนั้น ๆ สำเรจดังกมลที่ได้มุ่งมาทปราถนา โย จ ปสฺสติ สทฺธมฺมํ ก็บุคคลผู้ใดได้เห็นสัทธรรม บุคคลผู้นั้นก็จะได้ชื่อว่า ได้เห็นเราผู้ตถาคตพุทธเจ้า อปสฺสมาโน สทฺธมฺมํ ปสฺสนฺตาปิ ผู้ใดเมื่อใม่เห็นซึ่งพระสัทธรรม ถึงจะได้เห็นได้ประสพพบเราผู้ตถาคต ก็ชื่อว่า ใม่ได้ประสพพบเราผู้ตถาคต เปนผู้ไกลจากเราผู้ตถาคต ดังนี้ องค์พระจอมมุนีผู้ทรงพระภาคตรัสประกาศซึ่งคุณเดชานุภาพแลอานิสงผลแห่งอาการวัตตาสูตรโดยเวยยากรณบาลีดังนี้จบลงแล้ว ธัมมาภิสมัย คือ ตรัสรู้มรรคแลผล ก็บังเกิดมีแก่หมู่ชนทั้งหลายที่ได้สดับฟังประมาร ๘๐ พันโกฏิ์ ด้วยประการดังนี้ อิทมโว จ ภควา สมเด็จพระมหากรุณาผู้ทรงพระภาคตรัสสะแดงซึ่งอาการวัตตาสูตรนี้จบลงแล้ว พระสาริบุตรพุทธสาวกก็ชื่นชมยินดีต่อพุทธภาสิตแห่งองค์สมเด็จพระภควันตบพิตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อาการวตฺตาสุตฺตวณฺณนา นิฏฺฐิตา เอวํ

จบพระอาการวัตตาสูตร
บริบูรณ์แต่เท่านี้ ๚

พุทธํ อนนฺตํ ธมฺมํ อนนฺตํ จกฺกวาฬํ สงฺฆํ นิพฺพานํ สิ่งใดพระสรรเสริญ ขอให้มาบังเกิดในสันดานของข้าพเจ้ายิ่ง ๆ ขึ้นทุกชาติกว่าจะสำเร็จแก่พระนิพพาน สิ่งใดพระใม่สรรเสริญ ขออย่าให้มาบังเกิดในสันดานของข้าพเจ้าทุก ๆ ชาติกว่าจะสำเร็จแก่พระนิพพาน ขอให้น้ำใจเลื่อมใสศรัทธายิ่งกว่าฝูงชนยิ่ง ๆ ขึ้นไปทุกชาติกว่าจะสำเร็จแก่พระนิพพาน ขอให้ได้มรรคสี่ ผลสี่ นิพพานหนึ่ง ยิ่ง ๆ ขึ้นไปทุกชาติกว่าจะสำเร็จพระนิพพาน ขอให้รู้แจ้งเห็นแจ้งในทางพระนิพพานยิ่ง ๆ ขึ้นไปทุก ๆ ชาติกว่าสำเร็จแก่พระนิพพาน ขอให้ได้มรรคญาณผลญาณยิ่ง ๆ ขึ้นไปทุก ๆ ชาติกว่าจะสำเร็จแก่พระนิพพาน จะมีบุตรแลธิดาเพื่อนศาลาที่ดี ๆ ที่มีสีลาจารวัตร์ ปราศจากพยาธิโรคา ทั้งอายุก็ให้ยืนสิ้นกาลนาน ขอให้มีสติแลปัญญาลึกซึ้งว่องไว้ อาจเล็งเห็นภัยในอดีตอนาคตปัจจุบันฉลาดเฉลียว ถ้าได้เห็นได้เรียนได้ฟังแต่ครั้งเดียว ขอให้จำทรงไว้ได้จบพระไตรปิฎกไตรเภทไตรวิชชาสารพัดศิลปศาสตร์แพทย์ไสยเหมือนหนึ่งจารึกไว้ในแผ่นทองอันหนา เมื่อขณะจะซักถามกล่าวแก้ปฤษณา ขอให้เนื่องไปเหมือนกระแสน้ำไหลในพระมหาสมุทร์ อย่ารู้สิ้นสุดขัดข้อง ขอให้ตั้งในอัปปมาทธรรม ทั้งศรัทธาแลความเพียรกตัญญูกตเวทีไตรลักษณมรรคญาณทั้งแปดเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาโลกุตตรสัมปันโน อิติปิ โส ภควา

 มี บุญมีทรัพย์ทั้ง ศฤงฆาร
มี ยศศักดิ์บริวาร แน่นหล้า
มี ฤทธิเดชปาน บรมจักร พรรดิ์แฮ
มี เท่ามีล้นฟ้า ห่อนพ้นความตาย ๚

  • โรงพิมพ์ธรรมพิทยาคาร
  • ถนนเข้าสาร พระนคร
  • รับพิมพ์หนังสือ ใบเสร็จ ฎีกา
  • ฉลากยา แบบฟอร์ม
  • ๗/๑๐/๗๓

บรรณานุกรม[แก้ไข]

  • พระอาการวัตตาสูตร. (2473). พระนคร: โรงพิมพ์ธรรมพิทยาคาร. (พิมพ์เปนที่ระลึกในการปลงศพนายเฮง ดุลยศีตะ ณะปรำวัดสังเวชชวิทยาราม พ.ศ. 2473).

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก