กฎหมายลักษณอาญา/ภาค 1
- ภาค 1 ว่าด้วยข้อบังคับต่าง ๆ (มาตรา 5–96)
- หมวดที่
- คำอธิบาย (มาตรา 5–6)
- ว่าด้วยการใช้กฎหมายลักษณอาญา (มาตรา 7–11)
- ว่าด้วยอาญาแลการลงอาญา (มาตรา 12–42)
- ว่าด้วยเหตุอันควรยกเว้นอาญาหรือลดหย่อนผ่อนอาญาให้แก่บุคคลผู้กระทำความผิด (มาตรา 43–59)
- ว่าด้วยพยายามกระทำความผิด (มาตรา 60–62)
- ว่าด้วยบุคคลหลายคนทำความผิดอย่างเดียวกัน (มาตรา 63–69)
- ว่าด้วยคน ๆ เดียวกระทำความผิดหลายอย่าง (มาตรา 70–71)
- ว่าด้วยผู้กระทำผิดหลายครั้งไม่เข็ดหลาบ (มาตรา 72–76)
- ว่าด้วยกำหนดเวลาที่จะฟ้องความแลที่จะลงโทษในคดีทางอาญา (มาตรา 77–86)
- ว่าด้วยการร้องขอทรัพย์คืนแลขอค่าเสียหาย (มาตรา 87–96)
เพื่อจะมิให้เกิดมีความสงไสยในบทกฎหมายนี้ ท่านจึงให้อธิบายคำสำคัญต่าง ๆ ไว้เปนหลักถานในมาตรา ๖ ต่อไปนี้ แลให้ถือตามความอธิบายนั้นเสมอไป เว้นไว้แต่เมื่อคำสำคัญเหล่านี้ คำใดไปปรากฎในที่ใดซึ่งมีเนื้อความขัดกันกับความอธิบายในมาตรา ๖ นี้ไซ้ จึงให้ถือเอาเนื้อความในที่นั้นเปนใหญ่
(๑) คำว่า กระทำ นั้น ท่านให้ถือว่า ไม่หมายความแต่เฉภาะการที่บุคคลกระทำ ให้หมายความได้ตลอดถึงการละเว้นการซึ่งกฎหมายกำชับให้กระทำ แลผลแห่งการที่ละเว้นนั้นด้วย
(๒) ผู้ใดกระทำการอันใดที่ตนมิได้มีอำนาจจะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ท่านว่า ผู้นั้นกระทำมิชอบ
(๓) ผู้ใดกระทำการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองก็ดี เพื่อผู้อื่นก็ดี อันเปนประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แลเกิดเสียหายแก่ผู้อื่นด้วยไซ้ ท่านว่า ผู้นั้นกระทำการทุจริต
(๔) ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเจตนาจะให้ผู้อื่นขาดเสียความชอบธรรมที่เขาควรมีควรได้ ท่านว่า ผู้นั้นกระทำการฉ้อโกง
(๕) ผู้ใดทำสิ่งของเทียมโดยเจตนาจะให้ผู้อื่นหลงว่า เปนของแท้ ท่านว่า ผู้นั้นทำของปลอม
(๖) ผู้ใดกระทำการอันใดซึ่งกฎหมายที่คงใช้อยู่ในเวลานั้นบัญญัติว่า จะต้องถูกทำโทษ ท่านว่า ผู้นั้นกระทำความผิด
(๗) คำว่า ความผิดต่อส่วนตัว นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาความผิดที่จะฟ้องขอให้ศาลพิจารณาทางอาญาได้แต่เมื่อผู้ที่ต้องประทุษฐร้ายหรือเสียหายนั้นได้มาร้องทุกข์ขอให้ว่ากล่าว
(๘) ถ้าบุคคลตั้งแต่สองขึ้นไปสมรู้ด้วยกันเพื่อจะกระทำความผิด ท่านว่า คนเหล่านั้นสมคบกัน
(๙) บุคคลเอาทรัพย์หรือประโยชน์อย่างใด ๆ อันมิใช่เปนของที่ต้องให้ตามกฎหมายไปให้แก่เจ้าพนักงาน เพื่อให้เจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในหน้าที่ เช่นนี้ ท่านให้ถือว่า เปนการให้สินบน
(๑๐) ทรัพย์ นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาสิ่งของอันบุคคลสามารถมีกรรมสิทธิ์หรือถืออำนาจเปนเจ้าของได้ เปนต้นว่า เงินตรา แลบรรดาสิ่งของอันพึงเคลื่อนจากที่ได้ก็ดี แลเคลื่อนจากที่มิได้ก็ดี ท่านก็นับว่า เปนทรัพย์อันกล่าวมาในข้อนี้
(๑๑) ทางหลวง นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาทางบกแลทางน้ำทั่วไปซึ่งใช้เปนทางสัญจรสำหรับสาธารณชน แลนับรวมตลอดถึงถนนหลวงด้วย
(๑๒) ถนนหลวง นั้น ท่านหมายความว่า ที่หรือถนนแลทางบกต่าง ๆ ซึ่งสาธารณชนมีความชอบธรรมที่จะใช้เปนทางสัญจร แลนับรวมตลอดถึง ทางรถไฟแลทางรถรางที่มีรถเดิรสำหรับให้คนโดยสานนั้นด้วย
(๑๓) ที่สาธารณสถาน นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาที่ต่าง ๆ จะเปนที่มีเคหสถานก็ดี หรือเปนที่ว่างเปล่าก็ดี ซึ่งสาธารณชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
(๑๔)
(๑๕)
(๑๖) หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/8หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/9หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/10หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/11หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/12หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/13หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/14หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/15หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/16หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/17หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/18หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/19หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/20หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/21หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/22หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/23หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/24