ธรรมบท - ๒๔. ตัณหาวรรค
ธรรมบท - ๒๔. ตัณหาวรรค
- คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
- [๓๔] ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้ประพฤติประมาท ดุจเคลือเถาย่านทราย
- ฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้
- เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น ตัณหานี้ลามกซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก
- ย่อมครอบงำบุคคลใดความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจ
- หญ้าคมบางอันฝนตกเชยแล้วงอกงามอยู่ในป่า ฉะนั้น บุคคลใดแล
- ย่อมครอบงำตัณหาอันลามก ล่วงไปได้โดยยากในโลกความโศก
- ทั้งหลายย่อมตกไปจากบุคคลนั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัว
- ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวกะท่านทั้งหลายผู้มาประชุมกันในที่นี้
- ท่านทั้งหลายจงขุดรากแห่งตัณหาเสีย ดุจบุรุษต้องการแฝกขุดแฝก
- ฉะนั้นมารอย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อยๆ ดุจกระแสน้ำระรานไม้อ้อ
- ฉะนั้น ต้นไม้ เมื่อรากหาอันตรายมิได้ มั่นคงอยู่ แม้ถูกตัดแล้วก็
- กลับงอกขึ้นได้ ฉันใด ทุกข์นี้ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาขึ้นไม่ได้
- แล้ว ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ แม้ฉันนั้นความดำริทั้งหลายที่อาศัยราคะ
- เป็นของใหญ่ ย่อมนำบุคคลผู้มีตัณหาดังกระแส ๓๖ อันไหลไปในอารมณ์
- ซึ่งทำให้ใจเอิบอาบ เป็นของกล้า ไปสู่ทิฐิชั่ว กระแสตัณหาย่อม
- ไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ตัณหาดังเครือเถาเกิดขึ้นแล้วย่อมตั้งอยู่ ก็
- ท่านทั้งหลายเห็นตัณหาดังเครือเถานั้นอันเกิดแล้ว จงตัดรากเสียด้วย
- ปัญญา โสมนัสที่ซ่านไปแล้วและที่เป็นไปกับด้วยความเยื่อใย ย่อมมี
- แก่สัตว์ สัตว์เหล่านั้นอาศัยความสำราญ แสวงหาสุข นรชนเหล่านั้น
- แลเป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา หมู่สัตว์ถูกตัณหาอันทำความสะดุ้งห้อม
- ล้อมแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย ดุจกระต่ายติดแร้วกระสับกระส่ายอยู่
- ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ข้องแล้วด้วยสังโยชน์และธรรมเป็นเครื่อง
- ข้อง ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆสิ้นกาลนาน หมู่สัตว์ถูกตัณหาอันทำความ
- สะดุ้งห้อมล้อมแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย ดุจกระต่ายติดแร้วกระสับ
- กระส่ายอยู่ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อหวังวิราคะธรรมแก่ตน
- พึงบรรเทาตัณหาที่ทำความสะดุ้งเสีย ท่านทั้งหลายจงเห็นบุคคลผู้ไม่มี
- กิเลสเพียงดังหมู่ไม้ในป่า มีใจน้อมไปแล้วในความเพียรดุจป่า พ้นแล้ว
- จากตัณหาเพียงดังป่า ยังแล่นเข้าหาป่านั่นแล บุคคลนี้พ้นแล้วจาก
- เครื่องผูกยังแล่นเข้าหาเครื่องผูก นักปราชญ์ทั้งหลายหากล่าวเครื่องผูก
- ซึ่งเกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และเกิดแต่หญ้าปล้องว่ามั่นไม่ สัตว์ผู้
- กำหนัดแล้ว กำหนัดนักแล้ว ในแก้วมณีและแก้วกุณฑลทั้งหลาย
- และความห่วงใยในบุตรและภริยา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวเครื่องผูกอัน
- หน่วงลง อันหย่อน อันบุคคลเปลื้องได้โดยยาก นั้นว่ามั่น นักปราชญ์
- ทั้งหลายตัดเครื่องผูกแม้นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความห่วงใยละกามสุขแล้ว
- ย่อมเว้นรอบ สัตว์เหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว สัตว์เหล่านั้นย่อมแล่น
- ไปตามกระแสตัณหา ดุจแมลงมุมแล่นไปตามใยที่ตนทำเอง ฉะนั้น
- นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องผูกแม้นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ย่อม
- ละทุกข์ทั้งปวงไป ท่านจงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอดีตเสีย จง
- ปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอนาคตเสีย จงปล่อยความอาลัยในขันธ์
- ที่เป็นปัจจุบันเสีย จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษแล้วในสังขต
- ธรรมทั้งปวง จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่ผู้ที่ถูก
- วิตกย่ำยี ผู้มีราคะกล้า มีปกติเห็นอารมณ์ว่างาม ผู้นั้นแลย่อมทำเครื่อง
- ผูกให้มั่น ส่วนผู้ใดยินดีแล้วในฌานเป็นที่สงบวิตก มีสติทุกเมื่อ เจริญ
- อสุภะอยู่ ผู้นั้นแลจักทำตัณหาให้สิ้นไป ผู้นั้นจะตัดเครื่องผูกแห่งมาร
- ได้ ภิกษุผู้ถึงความสำเร็จแล้ว ไม่มีความสะดุ้ง ปราศจากตัณหาไม่มี
- กิเลสเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันยังสัตว์ให้ไปสู่ภพได้แล้ว อัตภาพ
- ของภิกษุนี้มีในที่สุด ภิกษุปราศจากตัณหาไม่ยึดมั่น ฉลาดในนิรุติ
- และบท รู้จักความประชุมเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งอักษรทั้งหลาย
- ภิกษุนั้นแลมีสรีระในที่สุด เรากล่าวว่า มีปัญญามาก เป็นมหาบุรุษ
- เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้แจ้งธรรมทั้งปวง อันตัณหาและทิฐิไม่
- ฉาบทาแล้วในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้ทุกอย่างพ้นวิเศษแล้วเพราะความ
- สิ้นตัณหา รู้ยิ่งเอง พึงแสดงใครเล่า (ว่าเป็นอุปัชฌาย์หรืออาจารย์) การ
- ให้ธรรมเป็นทานย่อมชำนะการให้ทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชำนะรสทั้ง
- ปวงความยินดีในธรรมย่อมชำนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นตัณหา
- ย่อมชำนะทุกข์ทั้งปวง โภคทรัพย์ทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม แต่
- หาฆ่าผู้ที่แสวงหาฝั่งไม่ คนมีปัญญาทรามย่อมฆ่าตนได้ เหมือนบุคคลฆ่า
- ผู้อื่นเพราะความอยากได้โภคทรัพย์ ฉะนั้น นาทั้งหลาย มีหญ้าเป็นโทษ
- หมู่สัตว์มีราคะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่าน
- ผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้
- มีโทสะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจาก
- โทสะ ย่อมมีผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโมหะ
- เป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโมหะ
- ย่อมมีผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีความอิจฉาเป็น
- โทษ เพราะเหตุนั้นแลทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากความอิจฉา
- ย่อมมีผลมาก ฯ
- จบตัณหาวรรคที่ ๒๔