ประกาศแก้พระราชบัญญัติลักษณพยาน รัตนโกสินทรศก 113 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 118

จาก วิกิซอร์ซ
ตราพระบรมราชโองการ
ตราพระบรมราชโองการ
ประกาศแก้พระราชบัญญัติลักษณพยาน
รัตนโกสินทรศก ๑๑๓

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติลักษณพยาน รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ นั้นมีว่า ในความอาญาซึ่งมีโทษหลวง คือ โทษประหารชีวิตร ริบราชบาทว์ จำคุก เช่นนี้ ตัวผู้ร้ายฤๅจำเลยจะอ้างตัวของตัวเองเปนพยาน ฤๅจะอ้างบิดามารดาสามีภรรยาแลบุตรของตนเปนพยาน ไม่ได้เปนอันขาดนั้น ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า ไม่เปนยุติธรรม ควรแก้ไขให้เปนยุติธรรมยิ่งขึ้น จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ว่า ตั้งแต่นี้ต่อไป ให้ยกมาตรา ๖ ในพระราชบัญญัติลักษณพยาน รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ เสีย แลให้ใช้ถ้อยคำดังนี้แทน คือ

มาตรา  ในสรรพความแพ่งทั้งปวง โจทย์จะอ้างจำเลยเปนพยาน ฤๅจำเลยจะอ้างโจทย์จะเปนพยานก็ดี ฤๅตัวความจะอ้างตัวของตัวเองเปนพยานฝ่ายตัวก็ดี ฤๅโจทย์จำเลยจะอ้างบิดามารดาญาติบุตรสามีภรรยาข้าทาษของตนเองก็ดี ฤๅคนใดคนหนึ่งนอกจากที่กล่าวมานี้ก็ดี ก็ให้อ้างเปนพยานได้ ไม่ห้ามปราม ยกเสียแต่คนซึ่งไม่สามารถจะให้การเปนพยานได้ตามพระราชบัญญัตินี้ แลในความอาญาก็ให้ดุจเดียวกัน ห้ามแต่ไม่ให้โจทย์อ้างจำเลยเปนพยานเท่านั้น

ประกาศมาณวันจันทร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๑๘ เปนวันที่ ๑๑๔๒๓ ในรัชกาลปัตยุบันนี้

บรรณานุกรม[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"