ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมกฎหมายประจำศก/เล่ม 61/เรื่อง 2

จาก วิกิซอร์ซ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉะบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉะบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๑

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
คณะอภิรัฐมนตรี ในหน้าที่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร
อลงกฏ
มานวราชเสวี
อดุลเดชจรัส
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๑
เป็นปีที่ ๓ ในรัชชกาลปัจจุบัน

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ เพื่อให้เอกสิทธิคุ้มครองตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ แก่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

พระมหากษัตริย์ โดยความเห็นชอบของรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตรารัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ขึ้นไว้ดังต่อไปนี้

มาตรารัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉะบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๑”

มาตรารัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้เพิ่มความต่อไปนี้ต่อจากมาตรา ๙๕ อัฏฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ เป็นมาตรา ๙๕ นว

“มาตรา ๙๕ นว ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ มาใช้บังคับแก่สภาร่างรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม

เอกสิทธิตามที่ระบุไว้ในมาตรานี้ ให้มีผลตั้งแต่วันเริ่มต้นดำเนินกิจการของสภาร่างรัฐธรรมนูญ”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
(๖๕ ร.จ. ๔๘ ตอนที่ ๔๗๗ ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๙๑)