ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1/เล่ม 1/เรื่อง 2

จาก วิกิซอร์ซ
พระธรรมสาตร[1]
1
 นตฺวา พุทฺธํ โลกาทิจฺจํ ธมฺมญฺจาทิจฺจมณฺฑลํ
 จกฺขุมาปุริสํ สํฆนฺตรายํ เตน ฆาฏยึ
 วิฆาติตนฺตรายสฺส โสตฺถิ เม โหตุ สพฺพทา
 ยญฺ จ โลกหิตํ สตฺถํ ธมฺมสตฺถนฺ ติ ปากฏํ
 ภาสิตํ มนุสาเรน มูลภาสาย อาทิโต
 ปรมฺปราภตํ ทานิ รามญฺเญสุ ปติฏฺฐิตํ
 รามญฺญสฺส จ ภาสาย ทุคฺคาฬฺหํ ปุริเสนิห
 ตสฺมา ตํ สามภาสาย รจิสฺสนฺ ตํ สุณาถ เม ติ
 อหํ อันว่าข้า นตฺวา ถวายนมัศการแล้ว พุทฺธํ ซึ่ง
สมเดจ์พระพุทธิเจ้าอันตรัสรู้พระอริยสัจ ๔ โลกาทิจฺจํ อันยัง
โลกยทังสามให้สว่างดูจดวงพระอาทิตยอันส่องโลกย ธมฺมํจ
ซึ่งพระโลกุดรธรรม ๙ ปรการ ๑๐ กับพระบริยัติก็ดี อาทิจฺจ
มณฺฑลํ อันมีบริมณทลแห่งพระคุณปรดูจบริมณทลแห่งพระ
อาทิตย สํฆญฺจ ซึ่งพระอัษฎาริยสงฆแลสมมุติสงฆก็ดี
จกฺขุมาปุริสํ อันเปนอาริยสัปรุษยผู้มีญาณจักษุ วิฆาฏยึ ขจัด
แล้ว อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย เตน รตนตฺตยปฺปณามานุภาเวน
ด้วยอานุภาพแห่งประนามซึ่งพระรัตนไตรนั้น โสตฺถิ อันความ
ศิริสวัสดิ โหตุ จงมี เม แก่เรา วิฆาติตนฺตรายสฺส อันมี
อันตรายอันปรนามพระรัตนไตรขจัดแล้ว สพฺพทา ในกาลทัง
ปวง ยญฺจ สตฺถํ อันว่าคำภีรอันใด โลกหิตํ เปนปรโยชนแก่
สัตวโลกย ปากฏํ ปรากฎิ ธมฺมสตฺถํ อิติ ชื่อว่าคำภีรพระ
ธรรมสาตร มนุสาเรน อันพระมโนสารฤๅษี ภาสิตํ กล่าว
อาทิโต ในต้น มูลภาสาย ด้วยมคธภาษา ปรมฺปราภตํ อัน
ปรำปราจารยนำสืบกันมา ปติฏฺฐิตํ ตั้งอยู่ รามญฺเญสุ ในรา
มัญปรเทษ ภาสาย ด้วยภาษา รามญฺญสฺส จ แห่งรามัญก็ดี
อิทานิ ในกาลบัดนี้ ปุริเสน อันบุรุษผู้เปนวินิจฉัยอำมาตย
ทุคฺคาฬฺหํ จะยังรู้เปนอันยาก อิห สามเทเส ในสยามปรเทษนี้
ตสฺมา เหดุดั่งนั้น อหํ อันว่าข้า รจิสฺสํ จักตกแต่ง ตํธมฺม
สตฺถํ ซึ่งคำภีร์พระธรรมสาตรนั้น สามภาสาย ด้วยสยาม
ภาษา ตุมฺเห อันว่าท่านทังหลาย สุณาถ จงฟัง ตํ สตฺถํ ซึ่ง
คำภีร์พระธรรมสาตรนั้น สนฺติกา แต่สำนักนิ เม แห่งเรา
2
 ตตฺรายมนุปุพพิกถา อยํ อนุปุพฺพิกถา อันว่ากล่าวแต่
ต้นให้เปนลำดับไปนี้ ปณฺฑิเตน อันนักปราผู้วินิจฉัยคดี
เวทิตพฺพา พึงรู้ ตตฺร ธมฺมสตฺเถ ในคำภัร์พระธรรมสาตรนั้น
อิติ ด้วยปรการอันกล่าวไปนี้
 กิร ดั่งจได้ฟังมา ในปถมกัลปแรกตั้งแผ่นดินนั้น มีกำแพง
จักรวาฬ แลเฃาพระสุเมรุราช แลสัตะปะริภัณทะบรรพตทัง
๗ ทวีปใหญ่ ๔ ทวีปน้อย ๒๐๐๐ มหาสมุท ๔ แลไม้ใหญ่
ประจำที่ทัง ๗ คือ ศิริศะพฤกษอันประจำในบุพวิเท่หะ แลไม้
กระทุ่มประจำในอะมระโคญานะ แลไม้กรรมพฤกษประจำ
ทวีปอุดรกาโร แลไม้หว้าประจำชมภูทวีป แลไม้แคฝอย
ประจำในอสูระพิภพ แลไม้งิ้วประจำทวีปสุบรรณราชพิภพ
แลไม้ปาริกะชาติอยู่ในดาวดิงษาสวรรค แลในปถมกัลป
เกีดกอบัวมีดอกห้า บอกสัญานิมิตรอันจะอุบัติแห่งสมเดจ์
พระพุทธิเจ้าทังห้าพระองคอันจได้ตรัสในพัทกัลปนิ้ แล
พรหมทังปวงหอมอายดินลงมากินพะสุธารศ ครั้นนานมา ทิพย
ระสาหารก็อันตระธานถอยรศ รูปทิพยที่ปรากฎิก็เสี่อมลง ๆ
มิได้คงโดยเพศวิไสยพรหม ครั้นนานมา ก็บริโภคชาติษาลีเปน
อาหาร สรรพะอันตระธานเสี่อมสิ้น ศักดาเดชเพศพรหมก็
หาย กลายเปนเพศบุรุษเพศษัตรี บังเกีดมีฉรรทราค ส้องเสพย
อัศธรรม เกีดบุตรนัดดาสืบสืบกันมา แล้วจึ่งตั้งเปนคาม
เขตเคหา ในที่สานุทิศประเทศต่างต่าง
3
 ครั้งนั้น สมเดจ์พระบรมโพธิสัตวเจ้าได้มาบังเกีดเปน
พระมหาบุรุษในต้นพัทกัลป ครั้นอยู่มา ก็เกีดวิวาทแก่กัน
หาผู้ใดจบังคับบัญชามิได้ ฝูงชนทังหลายมาสะโมสรประชุม
พร้อมกัน จึ่งตั้งสมเดจ์พระมหาบุรุษราชเจ้าขึ้นเปนอธิบดี
มีพระนามกรชื่อว่า พระเจ้ามหาสมมุติราช กอบไปด้วยสัตะ
พิธรัตน ๗ ปรการได้ผ่านทวีปทัง ๔
 แลอยู่มา เกีดพระราชกุมาร ๔ พระอง แลเชษฐโอรส
นั้นได้เสวยราชสมบัติในชมภูทวีป แลพระราชกุมารองคหนึ่ง
เสวยราชสมบัติในอุดรกาโร แลพระราชกุมารองคหนึ่งได้
เสวยราชสมบัติในอมรโคญาณ แลพระราชกุมารองคหนึ่ง

|- |นั้นเสวยราชสมบัติในบุพวิเท่หะ แลพระราชกุมารทั้ง๔พระ |- |องค์ก็ย่อมเหาะมาเฝ้าพระราชบิดาทุกๆวัน |- | ครั้นนานมาพระราชบิดานั้นชิวงคต แลพระราชกุมาร |- |ทัง๔พระองคก็ต่างองคต่างอยู่ ย่อมมีไม้ตรีจิตไปมาหากัน |- |ครั้นนานมาๆ ต่างองคต่างนานไปมา ทางพระราชไม้ตรี |- |สำพันทญาติก็ค่อยขาดสูญไปตราบเท้าทุกวันนี้ |- |  พระเชษฐาธิราขผู้เสวยราชสมบัติในชมพูทวีปนั้น ก็ |- |มีพระราชกุมารสิบพระองค แลในชมพูทวีปแบ่งเปนสิบเอ็ด |- |ส่วนๆ หนึ่งพระองคอยู่ สิบส่วนนั้นให้พระราชโอรสอยู่องค |- |ลส่วน พระราชกุมารผู้ใหญ่นั้นเปนมหาอุปราช อยู่จำเนียร |- |นานมาพระราชบิดาถึงชิวงคต พญาอุปราชก็ได้เสวยราช |- |สมบัติแทนพระบิดานั้น แลพระราชกุมารทัง๑๐พระองค |- |ก็ไปมาหากันเป็นนิจ ครั้นนานมาพระราชกุมารทังปวงมิได้ไป |- |มาหากันต่างองคต่างอยู่ แลอยู่มาพระนัดดาพญามหาสมมุติ |- |ราชทัง๑๐พระองค มีพระราชกุมารองคละสิบพระองคเล่า |- |แลพระเชษฐกุมารนั้นตั้งเปนอุปราช แลกุมารอันดัพนั้นก็แต่งให้ |- |เสวยราชในประเทศต่างๆกัน ครั้นนานมาพระราชบิดาถึง |- |ชิวงคต แลพญาอุปราชได้มุรธาภิเศกเอกะราชสมบัติแทน |- |พระราชบิดา ก็ยังไปมาหากันเปนนิจ แลพระมหากระษัตร |- |ทังร้อยเอ็ดพระองคนั้นเปนสำพันทญาติราชสุริวงษเดียวกัน |- |ครั้นนานมาต่างองคต่างทรงพระชะราภาพ จะไปมาหากันนั้น |- |มิได้ต่างองคต่างใช้ให้แต่มหาอำมาตไปมาจำทูลทางพระราช |- |}</noinclude>หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/23หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/24หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/25หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/26หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/27หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/28หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/29หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/30หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/31หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/32หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/33หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/34หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/35หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/36หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/37หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/38หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/39หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/40หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/41หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/42หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/43หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/44หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/45 |- |เลื่องชื่อฦๅนามในสำนักนิพระมหากระษัตรพึง[2] ตั้งตนไว้ให้ |- |พระองควางพระไทยต่างพระเนตรพระกรรณ์ ด้วยมีสันดาน |- |อันซื่อ แลตั้งอยู่ในศีล ๕ ประการ ศีล ๘ ประการ แลวะจี |- |สัจสุริต คิดกลัวบาปละอายบาปเปนหิริโอตัปธรรมโลกย |- |บาลราศรี มีศรัทธาเชื่อผลศีลผลทานการกุศลแลคุณพระศรี |- |รัตนไตรย ปวตฺตยนฺโต สกโล ปิ นิจฺจํ พึงตั้งเมตตาจิตรเปนบุเร |- |จาริกในสัตวทังปวง แลมีกะตัญุตาสวามีภักดิจงรักษในพร |- |มหากระษัตรซึ่งเปนจ้าวแห่งตน อันทรงบำเพญผลโพทธิญาณ |- |สิกฺเขยฺยมีมํ มหาตา คุเณน เมื่อมีสันดานจิตรคิดถึงพระเดชพระ |- |มหากระษัตรดั่งนี้แล้ว พึงอุสาหะศึกสาเล่าเรียนให้รอบรู้ ดู |- |แลเอาใจใส่ในคำภีรพระธรรมสาตร อันอาจให้มีคุณวิเสศ คือ |- |เปนพระเนตรแห่งพระมหากระษัตร จะได้ตัดข้อคดีแห่ง |- |อนาประชาราษฎรในขอบเขตขันทเสมาพระราชอาณาจักรให้ |- |ปราศจากหลักตอเสี้ยนหนาม คือ ความมูลวิวาทแห่งพาล |- |ชาติบุทคลอันมีสันดานเปนทุจริต ให้เปนหิตานุหิตประโยชน์ |- |สิ้นมูลวิวาททุกข ประกอบศุขสถาพรเกษมสารในกาลทุกเมื่อ |- |}


  1. พิมพ์ตามฉะบับหลวง L1 ยังเหลืออีกสองฉะบับครบถ้วน คือ L1x (ก) และ L1y (ข)
  2. ในต้นฉะบับ คำว่า หึง ลบเสีย เพิ่มตาม ก และ ข