ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิซอร์ซ:วิกิซอร์ซคืออะไร"

จาก วิกิซอร์ซ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 50: บรรทัดที่ 50:


โปรดดูรายละเอียดที่ [[วิกิซอร์ซ:นโยบายการป้องกันหน้า]]
โปรดดูรายละเอียดที่ [[วิกิซอร์ซ:นโยบายการป้องกันหน้า]]

==มุมมองที่เป็นกลาง==

"มุมมองที่เป็นกลาง" เป็นนโยบายหลักที่ถือปฏิบัติกันในโครงการส่วนใหญ่ของมูลนิธิวิกิมีเดีย

สำหรับวิกิซอร์ซ มุมมองที่เป็นกลาง หมายถึง การนำงานต้นฉบับมาลงและระบุที่มาที่มาอย่างถูกต้องแม่นยำ โดยปราศจากการเน้นยำหรือลงเฉพาะข้อความส่วนใดตามความต้องการของผู้ใช้ แต่ตัวงานต้นฉบับนั้น เนื้อหาจะเป็นกลางหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น

นอกจากนี้ [[วิกิซอร์ซ:คำอธิบายประกอบ|คำอธิบายประกอบ]]งานนั้น ก็ต้องเขียนอย่างเป็นกลาง


==ลิขสิทธิ์==
==ลิขสิทธิ์==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:48, 22 มิถุนายน 2563

วิกิซอร์ซคืออะไร
หน้านี้ระบุภาพรวมของวิกิซอร์ซ และแนะนำเกี่ยวกับนโยบายของวิกิซอร์ซ เป็นต้น

วิกิซอร์ซเป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิวิกมีเดีย มีขึ้นเพื่อเป็นห้องสมุดสำหรับงานดั้งเดิมซึ่งเนื้อหาปราศจากข้อผูกมัดใด ๆ (เสรี) แล้ว และสำหรับคำแปลงานดั้งเดิมดังกล่าว โดยหวังว่า ห้องสมุดนี้จะขยายขนาดขึ้นเรื่อย ๆ

หน้านี้เป็นความพยายามที่จะกำหนดว่า อะไรที่ใช่และไม่ใช่วิกิซอร์ซ และอะไรเป็นข้อแตกต่างระหว่างวิกิซอร์ซกับโครงการอื่น คำอธิบายในหน้านี้เป็นแต่อย่างย่อ แต่มีลิงก์ไปยังรายละเอียดในหน้าอื่น ๆ ส่วนการอภิปรายเกี่ยวกับนโยบายใดก็ตาม ควรจัดขึ้นในหน้าพูดคุยของหน้านโยบายนั้น

ความเป็นมา

โครงการวิกิซอร์ซ จัดตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) เพื่อเป็นแหล่งประมวลเอกสารประกอบบทความในวิกิพีเดีย เดิมเรียก "โครงการซอร์ซเบิร์ก" โดยเลียนชื่อ "โครงการกูเตนเบิร์ก" (Project Gutenberg) และนับแต่จัดตั้ง ก็พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จนในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) ก็มีเอกสารกว่าสองหมื่นเรื่องในหลายภาษา ช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) วิกิซอร์ซจึงย้ายโดเมน (domain) ย่อยสำหรับแต่ละภาษาออกไปเป็นโดเมนหลักในภาษานั้น ๆ

สำหรับข้อมูล โปรดดู บทความ เรื่อง วิกิซอร์ซ ที่วิกิพีเดีย

วิกิซอร์ซมีอะไรได้บ้าง

วิกิซอร์ซรับงานดั้งเดิม (source text) ทุกประเภท เว้นแต่เข้าลักษณะที่ไม่อาจรับไว้ได้ ตามที่ระบุไว้ในนโยบายการรับงาน เช่น เป็นงานที่มีปัญหาลิขสิทธิ์ หรือเป็นงานที่ผู้ใช้สร้างสรรค์ขึ้นเอง

ภาษา

วิกิซอร์ซเป็นโครงการหลายภาษา และยินดีรับงานทุกภาษา โดยต้องลงไว้ในโครงการของภาษานั้น ๆ

สำหรับวิกิซอร์ซภาษาไทย รับเฉพาะงานดังต่อไปนี้

  • งานที่เป็นภาษาไทย
  • งานที่เป็นภาษาไทย และมีภาษาอื่นร่วมด้วย เช่น หนังสือสองภาษา (billingual)
  • คำแปลภาษาไทยของงานภาษาต่างประเทศ

วิกิซอร์ซกับโครงการอื่น

วิกิตำรา

วิกิซอร์ซต่างจากวิกิตำรา ตรงที่ วิกิซอร์ซเน้นรับงานที่เผยแพร่มาแล้วทุกประเภท เหมือนเป็นห้องสมุด ส่วนวิกิตำรารับเฉพาะงานประเภทให้ความรู้ เหมือนเป็นแหล่งตำรา และเป็นตำราที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง

แต่มีส่วนที่ทำให้วิกิซอร์ซกับวิกิตำราเหลื่อมซ้อนกันอยู่ คือ การที่วิกิซอร์ซอนุญาตให้เขียนคำอธิบายประกอบงานได้

วิกิพีเดีย

วิกิพีเดียเป็นสารานุกรม ส่วนวิกิซอร์ซเป็นห้องสมุด กล่าวคือ วิกิพีเดียประกอบด้วยบทความเกี่ยวกับหนังสือ ส่วนวิกิซอร์ซประกอบด้วยเนื้อหาของหนังสือนั้นเอง แต่ทั้งวิกิพีเดียและวิกิซอร์ซอาจมีเนื้อหาที่ตรงกันได้ เช่น กรณีชีวประวัติของบุคคล

การป้องกันหน้า

ในโครงการทั่วไปของมูลนิธิวิกิมีเดีย หน้าต่าง ๆ ใช้รูปแบบวิกิ คือ ออกแบบมาเพื่อให้มีการพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ

แต่วิกิซอร์ซเป็นห้องสมุดสำหรับงานที่เคยเผยแพร่มาแล้ว จึงมีหลายกรณีที่ไม่เปิดให้เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเนื้อหา เพราะอาจกระทบต่อความถูกต้องแม่นยำตามต้นฉบับ ดังนั้น วิกิซอร์ซจึงมีนโยบายกำหนดคุณภาพของเนื้อหา และห้ามแก้ไขหน้าหลังจากที่ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า หน้านั้นไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ อีก และมีรูปแบบถูกต้องทุกประการแล้ว ส่วนการเสนอความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหน้าที่ถูกป้องกันดังกล่าว สามารถกระทำได้ที่หน้าพูดคุยของหน้านั้นเอง

โปรดดูรายละเอียดที่ วิกิซอร์ซ:นโยบายการป้องกันหน้า

มุมมองที่เป็นกลาง

"มุมมองที่เป็นกลาง" เป็นนโยบายหลักที่ถือปฏิบัติกันในโครงการส่วนใหญ่ของมูลนิธิวิกิมีเดีย

สำหรับวิกิซอร์ซ มุมมองที่เป็นกลาง หมายถึง การนำงานต้นฉบับมาลงและระบุที่มาที่มาอย่างถูกต้องแม่นยำ โดยปราศจากการเน้นยำหรือลงเฉพาะข้อความส่วนใดตามความต้องการของผู้ใช้ แต่ตัวงานต้นฉบับนั้น เนื้อหาจะเป็นกลางหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น

นอกจากนี้ คำอธิบายประกอบงานนั้น ก็ต้องเขียนอย่างเป็นกลาง

ลิขสิทธิ์

กฎเกณฑ์ลิขสิทธิ์นั้น ใช้บังคับแก่วิกิซอร์ซเหมือนในโครงการอื่น ๆ ดังนั้น จึงต้องคำนึงถึงเรื่องลิขสิทธิ์อยู่เสมอ

สำหรับรายละเอียด โปรดดู นโยบายลิขสิทธิ์