ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนังสือสัญญากรุงเทพมหานครกับกรุงอังกริษเปนทางไมตรีค้าขายกัน"

จาก วิกิซอร์ซ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Itpcc (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไข HTML Tag
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{หัวเรื่อง <!-- ข้อมูลหลัก --> | ชื่อ = หนังสือสัญญากรุงเท..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
{{หัวเรื่อง
{{คุณภาพเนื้อหา|75%}}
<!-- ข้อมูลหลัก -->
{{หัวเรื่องกฎหมาย
| ชื่อ = หนังสือสัญญากรุงเทพมหานครกับกรุงอังกริษเปนทางไมตรีค้าขายกัน
| ชื่อเรื่อง = สนธิสัญญาเบาว์ริง
| ปี = 2399
| ชื่อเรื่องย่อย = หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม
| ผู้สร้างสรรค์ =
| วิกิพีเดียชื่อเรื่อง =
| บรรณาธิการ =
| พระราชนิพนธ์ =
| พระนิพนธ์ =
| ผู้แต่ง =
| ผู้แต่งไม่ลิงก์ =
| วิกิพีเดียผู้แต่ง =
| ผู้แปล =
| ผู้แปล =
| ส่วน =
| เรื่องก่อนหน้า =
| ผู้มีส่วนร่วม =
| เรื่องถัดไป =
| ก่อนหน้า =
| ก่อนหน้า =
| ถัดไป =
| ถัดไป =
| หมายเหตุ =
| หมายเหตุ =
<!-- ข้อมูลย่อย (สำหรับจัดระเบียบหรือเชื่อมโยงไปหน้าอื่น) -->
| หมวดหมู่ =
| แก้กำกวม =
| รุ่น =
| สถานีย่อย = สนธิสัญญา
| ผู้สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้อง =
| วิกิพีเดีย =
| คอมมอนส์ =
| หมวดหมู่คอมมอนส์ =
| วิกิคำคม =
| วิกิข่าว =
| วิกิพจนานุกรม =
| วิกิตำรา =
| วิกิห้องสมุด =
| วิกิสนเทศ =
| วิกิท่องเที่ยว =
| วิกิวิทยาลัย =
| วิกิสปีชีส์ =
| เมทา =
}}
}}
<pages index="สัญญากรุงเทพฯ กับกรุงอังกฤษเป็นทางไมตรีค้าขายกัน (๒๓๓๙).pdf" include="1"/>
{{Plain sister
----
| edition = yes
{{สบช|
| wikipedia = สนธิสัญญาเบาว์ริง
* [[/หนังสือสัญญา|หนังสือสัญญา ลงวันพุทธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ สับตศก จ.ศ. 1217 (พ.ศ. 2398)]]
| commons = Category:Bowring Treaty
* [[/กดหมายอย่างพ่อค้า|กดหมายอย่างพ่อค้าอังกฤษซึ่งมาค้าขายในกรุงฯ ต้องใช้]]
* [[/พิกัดภาษีนอกแลใน|พิกัดภาษีนอกแลในที่จะเรียกเอาตามหนังสือสัญญานี้]]
* [[/ไขข้อสัญญาฮาริปาก|ไขข้อสัญญาฮาริปาก ปีมโรง อัฐศก จ.ศ. 1218 (พ.ศ. 2399)]]
* [[/พิกัดอากอรแลสมภักษร/]]
* [[/กดหมายเรื่องเกบภาษี|กดหมายเรื่องเกบภาษีท่านเสนาบดียอมไว้]]
* [[/ปิดตรา/]]
}}
}}
==บรรณานุกรม==
{{clear}}
<div id="treaty">
{{pb2|label=สนธิสัญญา}}
{{fs|85%|[[#กฎ|ลง]]}}


* ''[[ดัชนี:สัญญากรุงเทพฯ กับกรุงอังกฤษเป็นทางไมตรีค้าขายกัน (๒๓๓๙).pdf|Treaty of friendship and commerce between Great Britain and Siam. Signed April 18, 1855. Ratified April 5, 1856]]''. (1856). Bangkok: Washington Press.


{{ลิขสิทธิ์หมดอายุ-ไทย}}


[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาไทย|เบาว์ริง]]

[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาสหราชอาณาจักร|เบาว์ริง]]

{{c|{{fs|140%|'''หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี'''}}}}


{{c|{{fs|120%|'''ประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม'''}}}}


{{r|8em}}





ศุภมัศดุ จุลศักราช ๑๒๑๗ ปีเถาะ สัปตศก ความเจริญงามจงมีแก่บ้านเมืองเทอญ

ครั้งนี้ มีทูตอังกฤษมาแต่พระนางซึ่งเปนใหญ่เปนเจ้าราชอาณาจักรอันผสมกัน คือ ทวีปปริตเตียนใหญ่แลทวีปไอยยิแลน แลที่อื่น ๆ อันขึ้นแก่ราชอาณาจักรนั้น เข้ามาฃอทำสัญญาทางพระราชไมตรีแลการค้าขายกับกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยา จึ่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏ สุทธสมมติเทพยพงษวงษาดิศวรกระษัตริย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลพระบาทสมเด็จพระบวเรนทราเมศวรมหิศเรศรังสรรค์ มหันตวรเดโชไชยมโหฬารคุณอดุลยเดช สรรพเทเวศรานุรักษ์ บวรจุฬจักรพรรดิราชสังกาศ บวรธรรมิกราชบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สองพระองค์ทรงเห็นชอบกับราชดำริห์พระนางเปนเจ้าเปนใหญ่ในทวีปปริตเตียนใหญ่แลไอยยิแลน ร่วมพระราชประสงค์ทำหนังสือสัญญาทางไมตรีกับพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษเมืองปริตเตนอิริลานต์ เพื่อจะให้มีผลประโยชน์แก่ราษฎรอยู่ใต้บังคับไทยแลคนอยู่ในบังคับอังกฤษ จัดแจงการทำมาหากินค้าขายให้มีประโยชน์เรียบร้อย เพราะเหตุฉะนี้ จึ่งได้ตั้งพระไทยจะทำหนังสือสัญญาไมตรีการค้าขาย จึ่งได้ตั้งเสนาบดีให้มีอำนาจทั้งสองฝ่าย ๆ พระเจ้าแผ่นดินเมืองปริตเตนไอยยิแลนตั้งเซอยอนโบวริงเปนขุนนางลูกขุนผู้ใหญ่ ฝ่ายพระบาทสมเด็จบรมนาถบพิตร์พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์พร้อมกันกับความคิดพระราชวงษานุวงษ์แลข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวง มอบความพระราชดำริห์แลพระราชประสงค์ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มาประชุมแทนพระราชวงษานุวงษ์ แล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาปยุรวงษ์ วรุตมพงษ์นายก สยามดิลกโลกานุปาลนนารถ สกลราชวราณาจักราธิเบนทร ปรเมนทรมหาราชานุกูล สรรพกิจมูลมเหศวรเชฐามาตยาธิบดี ตรีสรณรัตนธาดา อดุลยเดชานุภาพบพิตร์ ซึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีอาญาสิทธิ์บังคับบัญชาได้สิทธิ์ขาดทั่วทั้งพระราชอาณาจักร กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ นรเนตรนารถราชสุริยวงษสกุลพงษปดิฐามุขมาตยาธิบดี ไตรสรณศรีรัตนธาดา สกลมหารัชชาธิเบนทร ปรเมนทรมหาราชวโรประการ มโหฬารเดชานุภาพบพิตร์ ซึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีอำนาจบังคับบัญชาทั่วทั้งพระนคร กับเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ สมันตพงษ์พิสุทธิ์ มหาบุรุษรัตโนดม ผู้ว่าที่สมุหพระกลาโหม ผู้สำเร็จราชการบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลปากใต้ฝ่ายตะวันตก กับเจ้าพระยาผู้ช่วยสำเร็จราชการกรมท่า เปนผู้สำเร็จราชการบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายตะวันออก ทั้ง ๕ เปนประธาน ฝ่ายเสนาบดีไทยก็ได้ส่งพระราชลัญจกร ฝ่ายขุนนางอังกฤษได้ส่งหนังสือเจ้าวิกตอเรียซึ่งให้เข้ามาทำหนังสือสัญญากับไทย เห็นถูกต้องพร้อมกันทั้งสองฝ่าย ได้ตกลงกันตามข้อสัญญาที่เขียนไว้สืบต่อไปข้างน่า

ข้อ {{gap|0.5em}} ๑ {{gap|0.5em}} ว่า ตั้งแต่นี้ไป พระเจ้าแผ่นดินกรุงบริตตันไอยยิแลนกับพระเจ้าแผ่นดินที่จะสืบวงษ์ต่อไปภายน่า กับด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ ทั้งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินไทยที่จะสืบพระราชอิศริยยศต่อไปภายน่า ให้มีไมตรีรักใคร่กันราบคาบไปชั่วฟ้าแลดิน แต่บรรดาคนที่อยู่ในบังคับอังกฤษซึ่งเข้ามาอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร เสนาบดีฝ่ายไทยก็จะช่วยบำรุงรักษาให้อยู่เปนศุขสบาย ให้ได้ค้าขายโดยสดวก มิให้ผู้ใดฝ่ายไทยคุมเหงเบียดเบียฬ แต่บรรดาคนที่อยู่ในบังคับไทยที่จะไปอยู่ในแดนอังกฤษ ขุนนางอังกฤษก็จะช่วยบำรุงรักษาให้อยู่เปนศุขสบาย ให้ได้ค้าขายโดยสดวก มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดฝ่ายอังกฤษคุมเหงเบียดเบียฬ

ข้อ {{gap|0.5em}} ๒ {{gap|0.5em}} ว่า แต่บรรดาการงานของคนที่อยู่ในบังคับอังกฤษซึ่งเข้ามาอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร ก็ต้องฟังบังคับบัญชาของกงสุลที่เข้ามาตั้งอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร กงสุลจะได้ทำตามหนังสือสัญญานี้แลข้อหนังสือสัญญาเก่าที่มิได้ยกเสียจงทุกประการ แล้วจะได้บังคับบัญชาคนในบังคับอังกฤษให้ทำตามด้วย แล้วกงสุลจะรับรักษากฎหมายการค้าขาย แลกฎหมายที่จะห้ามปรามมิให้คนที่อยู่บังคับอังกฤษทำผิดล่วงเกินกฎหมายของอังกฤษกับไทยที่มีอยู่แล้วแลจะมีต่อไปภายน่า ถ้าคนอยู่ในบังคับอังกฤษทำผิด กงสุลจะทำโทษตามกฎหมายอังกฤษ คนอยู่ในบังคับไทยทำผิด ไทยจะทำโทษตามกฎหมายเมืองไทย ถ้าคนอยู่ในใต้บังคับไทยเปนความกันเอง กงสุลไม่เอาเปนธุระ คนอยู่ใต้บังคับอังกฤษเปนความกันเอง ไทยก็ไม่เอาเปนธุระ แลไทยกับอังกฤษยอมกันว่า กงสุลซึ่งจะเข้ามาตั้งอยู่ ณ กรุงเทพมหานครนั้นยังไม่ตั้ง ต่อเมื่อทำหนังสือสัญญาตกลงลงชื่อกันแล้ว กำปั่นอังกฤษเข้ามาค้าขาย ณ กรุงเทพมหานครใช้ธงอังกฤษมีหนังสือสำหรับลำเปนสำคัญครบ ๑๐ ลำ หนังสือสัญญาประทับตราเข้ามาถึงเปลี่ยนกันแล้ว กงสุลจึงตั้งได้

ข้อ {{gap|0.5em}} ๓ {{gap|0.5em}} ว่า คนซึ่งอยู่ในบังคับไทยจะไปเปนลูกจ้างอยู่กับคนอยู่ในบังคับอังกฤษ ฤๅคนไทยที่มิได้เปนลูกจ้างก็ดี ทำผิดกฎหมายเมืองไทย จะหนีไปอาไศรยอยู่กับคนในบังคับอังกฤษซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ ถ้ามีพยานว่า ทำผิดหนีไปอยู่กับคนในบังคับอังกฤษจริง กงสุลจะจับตัวส่งให้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายไทย ถ้าคนอยู่ในบังคับอังกฤษที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนแลเข้ามาอาไศรยค้าขายอยู่ในกรุงเทพฯ ทำผิดหนีไปอยากับคนในใต้บังคับไทย ถ้ามีพยานว่า ทำผิดหนีไปอยู่กับคนในใต้บังคับไทยจริง กงสุลจะฃอเอาตัว เจ้าพนักงานฝ่ายไทยจะจับตัวส่งให้ ถ้าพวกจีนคนไรว่าเปนคนอยู่ในบังคับอังกฤษ ไม่มีสิ่งสำคัญสิ่งไรเปนพยานว่า เปนคนอยู่ในบังคับอังกฤษ กงสุลก็ไม่รับเอาเปนธุระ

ข้อ {{gap|0.5em}} ๔ {{gap|0.5em}} ว่า คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะมาค้าขายตามหัวเมืองชายทเลซึ่งขึ้นแก่กรุงเทพฯ ก็ค้าขายได้โดยสดวก แต่จะอาไศรยอยู่ได้ที่เดียวก็แต่ในกรุงเทพฯ ตามในจังหวัดซึ่งกำหนดไว้ในหนังสือสัญญา ประการหนึ่ง คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะมาเช่าปลูกโรงปลูกเรือนปลูกตึก แลจะซื้อเรือนซื้อโรงซื้อตึก พ้นกำแพงออกไปในกำหนด ๒๐๐ เส้น คือ สี่ไมล์อังกฤษ เช่าได้ แต่จะซื้อที่ซื้อไม่ได้ ถ้าอยู่ถึง ๑๐ ปีแล้วจึ่งจะซื้อได้ ถ้าอยู่ยังไม่ถึง ๑๐ ปี ท่านเสนาบดีจะโปรดให้ซื้อก็ซื้อได้ แลที่นอกกำหนด ๒๐๐ เส้นนั้น คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะซื้อจะเช่าที่เรือนที่สวนที่ไร่ที่นาตั้งแต่กำแพงเมืองออกไปเดินด้วยกำลังเรือแจวเรือภายทาง ๒๔ ชั่วโมง จะซื้อจะเช่าเมื่อไรก็ซื้อได้เช่าได้ แต่เมื่อคนอยู่ในบังคับอังกฤษจะซื้อที่ซื้อเรือน จะต้องบอกกงสุล ๆ จะได้บอกเจ้าพนักงานฝ่ายไทย เจ้าพนักงานกับกงสุลเห็นว่า คนที่จะซื้อที่นั้น เปนคนจะทำมาหากินโดยจริง เจ้าพนักงานกับกงสุลจะช่วยว่ากล่าวให้ซื้อตามราคาสมควร แล้วจะได้ดูแล ปักที่ วัดที่ ทำหนังสือประทับตราเจ้าพนักงานให้ไว้เปนสำคัญ แล้วจะได้ฝากฝังเจ้าเมือกรมการให้ช่วยดูแลทำนุบำรุงด้วย แลให้ผู้ที่ไปอยู่นั้นฟังบังคับบัญชาเจ้าเมืองกรมการตามยุติธรรม ค่าธรรมเนียมที่ทำไร่ทำสวน ราษฎรบ้านนั้นเมืองนั้นต้องเสียอย่างไร ก็ให้เสียตามชาวบ้านนั้นชาวเมืองนั้น ถ้าในกำหนดสามปีแล้ว ผู้ที่ซื้อไม่มีทุนรอนฤๅแชเชือนเสียมิได้ตั้งการปลูกสร้าง เสนาบดีจะคืนเงินค่าที่ให้ จะตัดสินคืนเอาที่นั้นเสีย

ข้อ {{gap|0.5em}} ๕ {{gap|0.5em}} ว่า คนอยู่ในบังคับบัญชาอังกฤษที่เข้ามาอาไศรยอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร ต้องไปบอกแก่กงสุลให้จดชื่อไว้ ถ้าคนเหล่านี้จะออกไปทะเลฤๅจะไปเที่ยวเกินกำหนด ๒๔ ชั่วโมงตามสัญญาไว้ ที่จะให้คนในบังคับอังกฤษอยู่ กงสุลจะไปฃอหนังสือเบิกล่องเจ้าพนักงานฝ่ายไทยให้ไป ถ้าคนในบังคับอังกฤษจะกลับออกไปกรุงเทพฯ ถ้าขุนนางเจ้าพนักงานฝ่ายไทยบอกแก่กงสุลว่า มีเหตุควรจะห้ามมิให้ออกไป กงสุลก็จะมิให้ออกไป ถ้าคนอยู่ในบังคับอังกฤษไปเที่ยวในระหว่าง ๒๔ ชั่วโมง กงสุลจะเขียนเปนหนังสือไทยให้ไปว่า คนนั้นชื่ออย่างนั้น รูปร่างอย่างนั้น มีธุระอย่างนั้น แลจะต้องให้เจ้าพนักงานฝ่ายไทยประทับตราหนังสือให้ไปเปนสำคัญด้วย เจ้าพนักงายฝ่ายไทยดูหนังสือแล้ว ให้คืนหนังสือ ให้ปล่อยตัวไปโดยเร็ว ถ้าไม่มีหนังสือกงสุลประทับตราเจ้าพนักงานฝ่ายไทยไปสำหรับตัว สงไสยว่าเปนคนหนี ก็ให้ยึดเอาตัวไว้ แล้วให้มาบอกความแก่กงสุลให้รู้

ข้อ {{gap|0.5em}} ๖ {{gap|0.5em}} ว่า คนซึ่งอยู่ในบังคับอังกฤษจะเข้ามาเที่ยวแลจะเข้ามาอาไศรยอยู่ ณ กรุงเทพฯ จะถือสาศนาคฤษเติน ไทยก็ไม่ห้ามปราม เมื่อจะสร้างวัดขึ้น จะทำได้ก็แต่ในที่เสนาบดีจะโปรดให้ ถ้าคนอยู่ในบังคับอังกฤษซึ่งจะเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ จะจ้างคนซึ่งอยู่ในใต้บังคับไทยมาเปนลูกจ้าง เสนาบดีฝ่ายไทยจะไม่ห้ามปราม ถ้าคนที่มีมุลนายจะมารับจ้างอยู่กับคนอยู่ในบังคับอังกฤษ มุลนายไม่รู้ มุลนายจะมาเอาตัวไปก็เอาไปได้ ถ้าคนในบังคับอังกฤษไปจ้างคนในใต้บังคับไทยเปนลูกจ้าง ไม่ได้ทำสัญญากับมุลนายเขา ภายหลังถ้าเกี่ยวข้องสิ่งหนึ่งสิ่งใด เสนาบดีฝ่ายไทยไม่ชำระให้

ข้อ {{gap|0.5em}} ๗ {{gap|0.5em}} ว่า กำปั่นรบจะเข้ามาทอดน่าด่านเมืองสมุทปราการ เข้ามาทอดได้ แต่จะขึ้นมา ณ กรุงเทพฯ ไม่ได้ เมื่อกำปั่นรบชำรุดจะต้องเข้าอู่ เสนาบดีเจ้าเมืองกรมการเห็นว่า ชำรุดจริง จะยอมให้เอามาเข้าอู่ ถ้าจะมีขุนนางถือหนังสือพระเจ้าแผ่นดินกรุงบริเตนให้มาด้วยกำปั่นรบเข้ามา ณ กรุงเทพฯ จะให้ขึ้นมาแต่ลำเดียว ต้องให้ขึ้นมาทอดอยู่ใต้ป้อมป้องปัจจามิตร ป้อมปิจปัจจนึก อย่าให้ขึ้นมาพ้นป้อม เว้นไว้แต่เสนาบดีจะโปรดให้ขึ้นมาพ้นป้อม จึ่งขึ้นมาได้ ถ้าไม่มีเรือรบอังกฤษอยู่ในกรุงเทพฯ คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะวิวาทกันขึ้น กงสุลจะไประงับ ไทยจะให้ทหารไปช่วยกงสุลระงับภอระงับได้

ข้อ {{gap|0.5em}} ๘ {{gap|0.5em}} ว่า ค่าธรรมเนียมปากเรือที่เคยเรียกแต่ลูกค้าอังกฤษตามสัญญาเก่าซึ่งทำไว้ในคฤษตศักราช ๑๘๒๖ ปีนั้น จะยอมเลิกเสียตั้งแต่หนังสือสัญญานี้ใช้ได้ พ้นนั้นไปจะต้องเสียแต่ภาษีสิ่งของขาเข้าขาออก สินค้าเข้าจะต้องเสียภาษี ๑๐๐ ละสาม จะเสียเปนของฤๅจะเสียเปนเงินคิดราคาตามราคาท้องน้ำสุดแต่ใจเจ้าของจะเสีย ถ้าของเสียภาษี ๑๐๐ ละสามแล้ว ของจำหน่ายไม่ได้ จะเหลือกลับออกไปมากน้อยเท่าใด ต้องคิดภาษีสิ่งของที่เหลือคืนให้แก่เจ้าของให้ครบ ถ้าราคาสิ่งของไม่ตกลงกัน ต้องไปบอกกงสุล ๆ จะเรียกพ่อค้าคนหนึ่งฤๅสองคน เจ้าพนักงานฝ่ายไทยก็จะเรียกพ่อค้าคนหนึ่งฤๅสองคน ช่วยตีราคาภอสมคววร ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะบันทุกเอาฝิ่นเข้ามา ณ กรุงเทพฯ ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องขายฝิ่นให้แก่เจ้าภาษี ถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อฝิ่นไว้ ให้บันทุกกลับออกไปไม่ต้องเสียอะไร ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษเอาฝิ่นไปลักลอบขายทำผิดสัญญาข้อนี้ ให้ริบเอาฝิ่นไปเสียให้สิ้น แลของที่เปนสินค้าจะบันทุกออกไปนั้น ตั้งแต่ของสิ่งนั้นเกิดมาจนได้เปนสินค้าบันทุกกำปั่นออกไป ให้เสียภาษีแต่ชิ้นเดียว ของสิ่งไรที่เปนสินค้าในกรุงเทพฯ จะเรียกเปนสมพักษร ฤๅจะเรียกเปนภาษีป่า ภาษีในกรุงเทพฯ ภาษีปากเรืออย่างไร ได้กำหนดแจ้งในพิกัดอยู่กับหนังสือสัญญาแล้ว ได้ยอมกันเปนชัดแล้วว่า ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ต้องเสียภาษีข้างในแล้ว เมื่อลงเรือไม่ต้องเสีย พวกลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะซื้อสินค้ายอมให้ซื้อ แต่ผู้ทำ ผู้ปลูก แลของที่เขาขายนั้น ถ้าผู้ใดผู้หนึ่งจะซื้อยอมให้ขาย มิให้ผู้ใดผู้หนึ่งขัดขวางห้ามปราม ภาษีที่กำหนดในพิกัดสัญญานี้ สินค้าที่บันทุกเรือไทยเรือจีนที่เคยเสียแล้ว ฝ่ายไทยจะยอมลดภาษีให้เรือไทยเรือจีนแลชาติอื่น ๆ ก็จะยอมลดให้ลูกค้าซึ่งอยู่ในบังคับอังกฤษเหมือนกัน ลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะเข้ามาต่อเรือ ณ กรุงฯ เสนาบดียอมให้ต่อแล้วก็ต่อได้ แลเข้า ปลา เกลือ ของสามสิ่งนี้ ที่กรุงฯ ไม่บริบูรณ มีหมายประกาศห้ามไม่ให้ออกไปก็ได้ เงินทองแลของสำหรับตัวเข้าออกไม่ต้องเสียภาษี

ข้อ {{gap|0.5em}} ๙ {{gap|0.5em}} ว่า ความในกฎหมายซึ่งติดในสัญญานี้ กงสุลกับเจ้าพนักงานฝ่ายไทยพร้อมกันจะต้องรักษา แลจะต้องบังคับให้คนทั้งปวงกระทำตามกฎหมาย เจ้าพนักงานฝ่ายไทยกับกงสุลจะคิดจัดแจงเพิ่มเติมกฎหมายหวังจะรักษาหนังสือสัญญาให้เจริญก็ทำได้ เงินที่ปรับไหมแลของที่ริบเพราะทำผิดสัญญานี้ต้องส่งเปนของในแผ่นดินก่อน เมื่อกงสุลจะเข้ามาตั้งอยู่ ณ กรุงฯ เจ้าของเรือแลกัปตันนายเรือจะว่าด้วยการค้าขายกับเจ้าพนักงานฝ่ายไทยก็ได้

ข้อ {{gap|0.5em}} ๑๐ {{gap|0.5em}} ว่า ถ้าฝ่ายไทยยอมให้สิ่งใด ๆ แก่ชาติอื่น ๆ นอกจากหนังสือสัญญานี้ ก็จะต้องยอมให้อังกฤษแลคนในบังคับอังกฤษเหมือนกัน

ข้อ {{gap|0.5em}} ๑๑ {{gap|0.5em}} ว่า เมื่อพ้น ๑๐ ปีตั้งแต่ประทับตราเปลี่ยนหนังสือสัญญานี้แล้ว ถ้าฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษจะขอเปลี่ยนข้อใด ๆ ในหนังสือสัญญานี้ แลข้อใด ๆ ในหนังสือสัญญาเก่าซึ่งทำไว้ในคฤษตศักราช ๑๘๒๖ ปีซึ่งมิได้ยกเสียนั้น แลข้อใด ๆ ในกฎหมายค้าขายแลพิกัดภาษีที่ติดอยู่กับหนังสือสัญญานี้ แลกฎหมายจะทำต่อไปภายน่า เมื่อบอกให้รู้ก่อนปีหนึ่งแล้ว จะตั้งขุนนางฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมได้ตามแต่เห็นควรเห็นชอบด้วยกันทั้งสองฝ่าย

ข้อ {{gap|0.5em}} ๑๒ {{gap|0.5em}} ว่า หนังสือสัญญานี้ทำไว้เปนอักษรไทยฉบับหนึ่ง เปนอักษรอังกฤษฉบับหนึ่ง ข้อความต้องกัน เมื่อหนังสือสัญญาประทับตราเข้ามาเปลี่ยนกันแล้ว ใช้ได้เมื่อ ณ วันที่ ๖ เดือนเอปริล คฤษตศักราช ๑๘๕๖ ปี คิดเปนไทย ณ วันอาทิตย์เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช ๑๒๑๘ ปีมโรง อัฐศก ผู้สำเร็จราชการฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษทำหนังสือสัญญานี้เขียนเปน ๔ ฉบับ ลงชื่อประทับตราด้วยกันทั้งสองฝ่าย ทำไว้ในกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสิทรมหินทรายุทธยา ณ วันพุฒ เดือนหก ขึ้นสองค่ำ ปีเถาะ สัปตศก





: (ลงชื่อประทับตรา) {{fs|120%|เซอยอนโบวริง ราชทูตอังกฤษ}}

: (ลงชื่อประทับตรา) {{fs|120%|ท่านผู้สำเร็จราชการฝ่ายไทย ห้าดวง}}




</div>
<div id="rule">
{{pb2|label=กฎตามความในข้อ ๙ แห่งสนธิสัญญา}}
{{fs|85%|[[#สธสญ|ขึ้น]] • [[#พิกัด|ลง]]}}





{{c|{{fs|140%|'''กฎหมายอย่างพ่อค้าอังกฤษซึ่งมาค้าขายในกรุงฯ ต้องใช้'''}}}}


{{r|8em}}





ข้อ {{gap|0.5em}} ๑ {{gap|0.5em}} ว่ากปิตันนายกำปั่นซึ่งจะเข้ามาค้าขายณกรุงเทพมหานคร เมื่อเข้ามาถึงนอกสันดอน จะทอดสมอใช้คนเข้ามาบอกแก่เจ้าพนักงานฤๅจะเอากำปั่นเลยเข้ามาเมืองสมุทปราการก็ได้ตามใจ แล้วจะต้องมาบอกเจ้าพนักงานที่ด่านเมืองสมุทปราการว่าเรือมาแต่เมืองใดมีลูกเรือขี่คน มีปืนขี่บอก ทอดสมอที่เมืองสมุทปราการแล้ว ต้องมอบปืนใหญ่แลดินดำแก่ขุนนางเจ้าพนักงานเมืองสมุทรปราการฝ่ายไทแล้ว ต้องมีขุนนางกรมการฝ่ายไทกำกับเรือขึ้นมาจนถึงกรุงฯ ๚ะ๛

ข้อ {{gap|0.5em}} ๒ {{gap|0.5em}} ว่าถ้ากำปั่นเลยเดินด่านสมุทปราการขึ้นมามิได้เอาปืนแลดินดำขึ้นไว้ที่เมืองสมุทปราการตามกดหมายนี้ ต้องเอากำปั่นกลับลงไปเอาปืนแลดินดำขึ้นไว้เสียที่เมืองสมุทปราการแลต้องปรับไหมเงิน ๘๐๐ บาดด้วยไม่ฟังกดหมายนี้ ถ้าเอาปืนใหญ่แลดินดำขึ้นไว้ที่เมืองสมุทปราการแล้วต้องปล่อยให้เรือขึ้นมาค้าขายที่กรุงฯ ๚ะ๛

ข้อ {{gap|0.5em}} ๓ {{gap|0.5em}} ว่าถ้ากำปั่นลูกค้าในบังคับอังกฤษขึ้นมาทอดสมอที่กรุงฯ แล้ว ถ้าไม่ได้เปนวันอาทิตย์กปิตันนายกำปั่นต้องเอาหนังสือสำรับลำแลบาญชีสิ่งของซึ่งมีเข้ามาในลำกำปั่น ต้องมอบให้แก่กงซุนใน ๒๔ ชั่วโมง กงซุนจะได้เอาบาญชีไปให้เจ้าพนักงานฝ่ายไทที่ได้เรียกภาษี แล้วเจ้าพนักงานคนนั้นต้องให้หนังสือสำรับเปิดรวางในเวลานั้น ถ้ากปิตันนายเรือมิได้ส่งหนังสือแลบาญชีสิ่งของใน ๒๔ ชั่วโมงนั้นฤๅส่งบาญชีไม่ครบจำนวนสิ่งของในลำเรือจะต้องปรับไหมเงิน ๔๐๐ บาทแต่ว่ายอมให้กปิตันนายเรือแก้บาญชีสิ่งของที่หลงลืมในรว่าง ๒๔ ชั่วโมงตั้งแต่ได้ส่งหนังสือถึงกงซุนนั้น ไม่ปรับไหมเอาเงิน ๚ะ๛

ข้อ {{gap|0.5em}} ๔ {{gap|0.5em}} ว่าถ้ากำปั่นอังกฤษเปิดรวางขนสินค้าก่อนยังไม่ได้หนังสือเปิดรวางแลลักลอบขายสิ่งของในกรุงฯ ก็ดี นอกสันดอนก็ดี จะต้องปรับไหมเงิน ๘๐๐ บาท แลสิ่งของที่ลักขายนั้นให้ริบเอาให้หมด ๚ะ๛

ข้อ {{gap|0.5em}} ๕ {{gap|0.5em}} ว่า เมื่อกำปั่นอังกฤษขนของออกแล้วบันทุกของที่ออกไปเสรจแล้วเสียภาษีให้เสร็จแล้วได้ให้บาญชีแก่กงซุนครบสิ่งของแล้ว ถ้ามิได้เกี่ยวข้องสิ่งใด ๆ ต้องมีเบิกล่องอักษรไทให้กงซุน ๆ คืนหนังสือสำหรับลำให้กปิตันนายเรือ ปล่อยเรือให้ล่องไปเมืองสมุทปราการ ต้องมีเจ้าพนักงานกำกับเรือลงไปจนถึงเมืองสมุทปราการ ถ้าเจ้าพนักงานเมืองสมุทปราการไปตรวจดูที่กำปั่นแล้ว ปืนและดินดำที่เอาขึ้นไว้ให้กับตันนายเรือไป ๚ะ๛

ข้อ {{gap|0.5em}} ๖ {{gap|0.5em}} ว่าฝ่ายราชทูตอังกฤษซึ่งเข้ามาทำหนังสือสัญญาครั้งนี้ ราชทูตหารู้จักภาษาไทไม่เสนาบดีฝ่ายไทยยอมให้เอาหนังสืออักษรอังกฤษในหนังสือสัญญาไมตรี แลกฎหมาย แลค้าขาย แลพิกัดซึ่งติดอยู่กับหนังสือสัญญานั้นเปนแน่ ๚ะ๛

พิกัดภาษีนอก และใน ที่จะเรียกเอาตามหนังสือสัญญา ข้อหนึ่งเปนพิกัดสินค้าภาษีชั้นในไม่ต้องเสียเลย เสียแต่เมื่อบันทุกลงเรือ เสียภาษีอย่างนี้ ๚ะ๛





: (ลงชื่อประทับตรา) {{fs|120%|เซอยอนโบวริง ราชทูตอังกฤษ}}

: (ลงชื่อประทับตรา) {{fs|120%|ท่านผู้สำเร็จราชการฝ่ายไทย ห้าดวง}}




</div>
<div id="range">
{{pb2|label=พิกัดภาษีตามความในข้อ ๘ แห่งสนธิสัญญา}}
{{fs|85%|[[#กฎ|ขึ้น]]}}





{{c|{{fs|140%|'''พิกัดภาษีนอกแลในที่จะเรียกเอาตามหนังสือสัญญานี้'''}}<ref>[[พูดคุย:สนธิสัญญาเบาว์ริง|ต้นฉบับ]]ปรากฏแต่ข้อ ๑ และตารางในข้อ ๑ ก็ไม่สมบูรณ์ด้วย มีเพียง ๔๕ รายการจากทั้งหมด ๕๑ รายการ ดูเพิ่มที่[[:en:Bowring Treaty|ฉบับภาษาอังกฤษ]]</ref>}}


{{r|8em}}





ข้อ {{gap|0.5em}} ๑ {{gap|0.5em}} เปนพิกัดสินค้าภาษีชั้นใน ไม่ต้องเสียเลย เสียแต่เมื่อบันทุกลงเรือ เสียหย่างนี้

{{:สนธิสัญญาเบาว์ริง/พิกัด}}

</div>



== เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ ==
{{smr}}





----
{{ท้ายเรื่อง}}
----
{{ข้อมูลข่าวสารของราชการ-ไทย}}

[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาไทย]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาสหราชอาณาจักร]]

[[en:Bowring Treaty]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:18, 7 พฤศจิกายน 2563

หนังสือสัญญา
กรุงเทพมหานครกับกรุงอังกริษ
เปนทางไมตรีค้าขายกัน


Treaty
of
Friendship and Commerce
between
Great Britain and Siam.
Signed April 18, 1855. Ratified April 5, 1856.
Bangkok, Siam
Printed at the Washington Press.
By J. H. Chandler.
1856.

บรรณานุกรม

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก