ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำสั่งนายกรัฐมนตรี ให้ประหารชีวิตนายรวม วงศ์พันธ์"

จาก วิกิซอร์ซ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bitterschoko (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
| แก้กำกวม =
| แก้กำกวม =
| รุ่น =
| รุ่น =
| โครงการ = ธรรมนูญการปกครองฯ 2502/คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
| โครงการ = อำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญ/คอมมิวนิสต์
| ผู้สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้อง =
| ผู้สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้อง =
| วิกิพีเดีย =
| วิกิพีเดีย =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:50, 19 กุมภาพันธ์ 2564

(สำเนา)
คำสั่ง
ให้ประหารชีวิตนายรวม วงศ์พันธ์

โดยที่มีหลักฐานแน่ชัด ทั้งเอกสารและคำให้การของผู้ร่วมกระทำผิดหลายคนตรงกันว่า นายรวม วงศ์พันธ์ มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ทำการเป็นกบฏ ทรยศต่อประเทศชาติ รับคำสั่งจากคนต่างด้าวภายนอกประเทศมาล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศไทย เพื่อจะเปลี่ยนให้กลายเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ นายรวม วงศ์พันธ์ ได้วางแผนดำเนินงานไว้อย่างกว้างขวาง โดยได้แบ่งเขตการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์และส้องสุมกำลังผู้คนไว้เป็นภาค ๆ เมื่อได้สมัครพรรคพวกพอแล้ว ก็จะทำการเป็นกบฏเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยสืบไป การกระทำดังกล่าวนับว่า ร้ายแรงที่สุด เพราะเป็นการทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์ ก่อกวนความสงบสุขของประชาชน และคุกคามต่อเอกราชอธิปไตยของชาติเป็นอย่างยิ่ง นายรวม วงศ์พันธ์ ได้กระทำความผิดนี้ในท้องที่ ๕ จังหวัด คือ จังหวัดพระนคร สุพรรณบุรี ลพบุรี อ่างทอง และกาญจนบุรี การกระทำของนายรวม วงศ์พันธ์ ไม่สมควรเป็นการกระทำของผู้ที่เกิดมาเป็นคนไทย เพราะเป็นการกระทำที่พยายามจะนำเอาเอกราชและอธิปไตยของชาติตนไปมอบให้เป็นทาสของชาติอื่น ซึ่งเป็นความผิดอันร้ายแรงยิ่ง สมควรจะต้องโทษประหารชีวิตเพื่อมิให้เป็นตัวอย่างที่เลวทรามแก่ผู้อื่นสืบไป

ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๗ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร และโดยมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๐๕ จึงให้กระทรวงมหาดไทยทำการประหารชีวิตนายรวม วงศ์พันธ์ เสียแต่บัดนี้ และเมื่อทำการประหารชีวิตเสร็จแล้ว ให้รีบรายงานให้ข้าพเจ้าทราบโดยด่วน

การประหารชีวิตนี้ให้กระทำที่เรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี

  • สั่ง ณ วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๐๕
  • (ลงนาม) จอมพล ส. ธนะรัชต์
  • (สฤษดิ์ ธนะรัชต์)
  • นายกรัฐมนตรี

บรรณานุกรม

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"