ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา/ภาค 1/บท 18"

จาก วิกิซอร์ซ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bitterschoko (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย "{{หัวเรื่อง <!-- ข้อมูลหลัก --> | ชื่อ = {{พห|ห|1}} | ปี = | เขียนทับปี = {{..."
 
Venise12mai1834 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
{{หัวเรื่อง
{{หัวเรื่อง
| ชื่อ = {{พห|1}}
<!-- ข้อมูลหลัก -->
| ปี = 2455
| ชื่อ = {{พห|ห|1}}
| ปี = | เขียนทับปี = {{พห|ป}}
| ผู้สร้างสรรค์ =
| ผู้สร้างสรรค์ =
| บรรณาธิการ =
| บรรณาธิการ =
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 7:
| ส่วน = {{พห|ผ|18|มหินทราธิราช ครั้งที่ 1}}
| ส่วน = {{พห|ผ|18|มหินทราธิราช ครั้งที่ 1}}
| ผู้มีส่วนร่วม =
| ผู้มีส่วนร่วม =
| ก่อนหน้า = [[../แผ่นดินที่ 17/]]
| ก่อนหน้า = {{พห|ผ3|17}}
| ถัดไป = [[../แผ่นดินที่ 19/]]
| ถัดไป = {{พห|ผ3|19}}
| หมายเหตุ =
| หมายเหตุ =
<!-- ข้อมูลย่อย (สำหรับจัดระเบียบหรือเชื่อมโยงไปหน้าอื่น) -->
| หมวดหมู่ =
| แก้กำกวม =
| รุ่น =
| สถานีย่อย =
| ผู้สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้อง =
| วิกิพีเดีย =
| คอมมอนส์ =
| หมวดหมู่คอมมอนส์ =
| วิกิคำคม =
| วิกิข่าว =
| วิกิพจนานุกรม =
| วิกิตำรา =
| วิกิห้องสมุด =
| วิกิสนเทศ =
| วิกิท่องเที่ยว =
| วิกิวิทยาลัย =
| วิกิสปีชีส์ =
| เมทา =
}}
}}
<pages index="พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา ภาค ๑ (๒๔๕๕) b.pdf" from="125" fromsection="125-2" to="131" tosection="131-1"/>
<pages index="พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา ภาค ๑ (๒๔๕๕) b.pdf" from="125" fromsection="125-2" to="131" tosection="131-1"/>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:34, 22 สิงหาคม 2565

พระเจ้าช้างเผือกเสด็จออกไปอยู่ณพระราชวังหลัง ขณะนั้น พระชนม์ได้ ๕๙ พระพรรษา.

 ส่วนสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ พระชนม์ได้ ๒๕ พระพรรษา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกเวนราชสมบัติแล้ว ถึงเดือน ๓ ก็เสด็จขึ้นไปเมืองลพบุรี ตรัศให้บุรณะพระอารามพระศรีรัตนมหาธาตุให้บริบูรณ์ แลแต่งผขาวนางชีสองร้อยกับข้าพระให้อยู่รักษาพระมหาธาตุ แล้วก็เสด็จลงมายังกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา.

 ครั้งนั้น เมืองเหนือทั้งปวงเปนสิทธิ์แก่พระมหาธรรมราชาเจ้า อนึ่ง การแผ่นดินในกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา พระมหาธรรมราชาบังคับบัญชาลงมาประการใด สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินต้องกระทำตามทุกประการ ก็ขุ่นเคืองพระราชหฤไทย จึงเอาความนั้นไปกราบทูลสมเด็จพระราชบิดา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกก็น้อยพระไทย.

 ขณะนั้น พระยารามออกจากที่กำแพงเพ็ชร เอามาเปนพระยาจันทบูร สมเด็จพระมหินทราธิราชก็ตรัศกิจการทั้งปวงด้วยพระยารามเปนความลับ แล้วก็ส่งข่าวไปแก่พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตให้ยกมาเอาเมืองพระพิศณุโลก จึงพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็บำรุงช้างม้ารี้พลสรรพจะยกมาเอาเมืองพระพิศณุโลก พระมหาธรรมราชาตรัศรู้ว่า พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหตุจะยกทัพมา มิได้แจ้งในกล ก็ส่งข่าวมาทูลแก่สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ๆ ก็ให้พระยาสีหราชเดโชแลพระท้ายน้ำขึ้นไปช่วย แต่สั่งเปนความลับไปว่า ถ้าทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตล้อมเมืองพระพิศณุโลกเมื่อใด ก็ให้กุมเอาพระมหาธรรมราชาให้จงได้ เสร็จราชการแล้ว จะเลี้ยงท่านให้ถึงขนาด พระยาสีหราชเดโชไปถึงเมืองพระพิศณุโลก มิไว้ความลับ กลับเอาคดีซึ่งพระยารามกับสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินคิดการเปนความลับนั้นทูลแถลงแก่พระมหาธรรมราชาทุกประการ พระมหาธรรมราชาแจ้งตระหนัก ก็ให้ข้าหลวงเอาข่าวรุดขึ้นไปทูลแก่พระเจ้าหงษาวดี.

 ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็ยกช้างม้ารี้พลประมาณญี่หญิบแสนมาโดยทางนครไทยมายังเมืองพระพิศณุโลก พระมหาธรรมราชาก็ให้กวาดครัวเมืองนอกทั้งปวงเข้าเมืองพระพิศณุโลก แลแต่งการที่จะกันเมืองไว้พร้อมเสร็จ.

 ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตยกมาถึงเมืองพระพิศณุโลกเดือนยี่ แรมสิบสามค่ำ ปีฉลู เบญจศก ก็ตั้งทัพพลับพลาไชยในตำบลโพธิ์เรียงตรงประตูสวรรค์ไกลออกไปประมาณ ๕๐ เส้น ทัพพระยาแสนสุรินทรคว่างฟ้าตั้งตำบลเต่าไห้ พระยามือไฟตั้งตำบลวัดเขาพราหมณ์ ทัพพระยานครตั้งตำบลสระแก้ว ทัพพระยามือเหล็กตั้งตำบลบางสแก.

 ฝ่ายสมเด็จพระมหินทราธิราชแจ้งกำหนดว่า ทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตยกมายังเมืองพระพิศณุโลกแล้ว พระองค์ก็กรีธาพลเสด็จขึ้นไปโดยทางชลมารค ตั้งทัพหลวงตำบลพิง พระยารามแลพระยาจักรีเปนกองน่า ขึ้นไปตั้งตำบลวัดจุฬามณี แลทัพเรือจอดแต่วัดจุฬามณีทั้งสองฟากน้ำแน่นตลอดลงไปจนทัพหลวงณปากน้ำพิง แล้วก็บอกขึ้นไปว่า จะยกเข้าไปช่วยกันเมืองพระพิศณุโลก พระมหาธรรมราชาตรัศทราบการอยู่แล้ว ก็ให้ออกมาห้ามมิให้เข้าไป.

 ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งว่า สมเด็จพระมหินทราธิราชยกกองทัพเรือขึ้นมาเหมือนกำหนด ก็ดีพระไทย ตรัศให้ยกพลเข้าปีนเมือง แลแต่งทหารห่มเสื้อเหลืองสามพันหนุนพลเข้าไป เจ้าน่าที่เชิงเทินก็สาดปืนไฟแหลนหลาวต้องชาวล้านช้างตายมากนัก พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเห็นดังนั้น ก็เสด็จยกพลเข้ายืนช้างที่นั่งแฝงวิหารอยู่แทบริมคูเมือง ให้เจ้าน่าที่ทำทุบทูบังตัวข้ามคูเข้าไปขุดถึงเชิงกำแพงเมือง ชาวพระพิศณุโลกผู้รักษากำแพงพุ่งอาวุธลงมามิได้ต้อง จึงพระมหาธรรมราชาก็เสด็จไปยืนช้างที่นั่ง ตรัศให้ขุนศรีเอาพลอาสาห้าร้อยออกทลวงฟัน พลลาวก็พ่ายออกไป พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็ถอยไปยังค่ายหลวง แลบัญชาให้นายทัพนายกองตั้งบรรชิเมือง.

 ฝ่ายสมเด็จพระมหาธรรมราชาดำริห์การที่จะทำลายทัพเรือ ก็ตรัศให้เอาไม้ไผ่ผูกแพกว้าง ๑๐ วา ยาว ๒๐ วา ๕๐ แพ แล้วเอาเชื้อเพลิงใส่เต็มหลังแพ ชันน้ำมันยางรดทั่วไปทั้งนั้น แลให้แต่งเรือเร็วไว้สองลำสำหรับจะได้จุดเพลิง ครั้นจัดการเสร็จณเดือน ๔ ขึ้นสี่ค่ำ เพลาเดือนตก ก็ให้ปล่อยแพติดกันลงไปถึงคุ้งเหนือวัดจุฬามณี เรือเร็วสองลำก็เอาเพลิงจุดเชื้อไฟหลังแพคลอดขึ้นมาทั้งสองข้าง เพลิงก็ติดรุ่งโรจเปนอันหนึ่งอันเดียว น้ำที่นั้นตื้นเชี่ยวก็พัดแพเร็วลงไป กองทัพเรือมิทันรู้ตัว เห็นแพไฟเต็มแม่น้ำลงมาก็ตกใจ ลงเรือทันบ้างมิทันบ้าง เยียดยัดคับคั่งเปนโกลาหล แพไฟก็ไหม้เรือต่อกันไป เสียเรือแลผู้คนตายเปนอันมาก เรือแลคนกองน่าที่เหลือนั้นก็ล้นลงไปยังทัพหลวงณปากน้ำพิง.

 ฝ่ายทัพพระเจ้าหงษาวดีแจ้งข่าวว่า เมืองพระพิศณุโลกเกิดศึก ก็ใช้พระยาภุกาม พระยาเสือหาญ มาเปนนายกอง ม้าพันหนึ่ง พลหมื่นหนึ่ง รุดมาช่วยกันเมืองพระพิศณุโลก พระยาภุกาม พระยาเสือหาญ ก็ยกทัพม้ามาถึงเมืองพระพิศณุโลก เห็นข้าศึกล้อมแล้วก็ตีหักเข้าด้านพระยามือเหล็กซึ่งตั้งในบางสะแก ทัพพระยามือเหล็กต้านมิได้ ก็พ่ายแยกออกไป พระยาภุกามแลพระยาเสือหาญก็เข้าเมืองพระพิศณุโลกได้ พระยาภุกาม พระยาเสือหาญ กับพลทหารชาวหงษา ก็เข้าไปถวายบังคมพระมหาธรรมราชา ๆ ก็ให้รางวัลแก่ผู้มาช่วยทั้งปวงเปนอันมาก สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินรู้ว่า พระเจ้าหงษาวดีให้กองทัพมาช่วยเมืองพระพิศณุโลก เห็นการศึกไม่สมหมายแล้ว ก็เลิกกองทัพคืนลงมายังพระนครศรีอยุทธยา.

 ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเห็นว่า จะเอาเมืองพระพิศณุโลกมิได้ ก็เลิกทัพจากเมืองพระพิศณุโลกคืนไปโดยทางบ้านมุงดอนชมภู จึงพระยาภุกามแลพระยาเสือหาญทูลแก่พระมหาธรรมราชาว่า ข้าพเจ้าทั้งสองจะขอยกไปตามตีทัพพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตให้แตกฉานเปนบำเหน็จมือ พระมหาธรรมราชาก็ตรัศห้ามว่า ศึกใหญ่มิได้แตกฉานล่าไปดังนี้ อันจะยกไปตามนั้น หาธรรมเนียมมิได้ พระยาทั้งสองก็ทูลว่า พระเจ้าหงษาวดีใช้ข้าพเจ้าทั้งสองมาครานี้ ยังไป่ได้รบพุ่งเปนสามารถ ครั้นข้าพเจ้าจะมิยกไปตามไซ้ เห็นว่า พระเจ้าหงษาวดีจะเอาโทษ พระมหาธรรมราชาก็ตรัศว่า ท่านทั้งสองยกมาก็ได้กระทำการรบพุ่งมีไชยอยู่แล้ว แลซึ่งว่า พระเจ้าหงษาวดีจะลงโทษนั้น เปนภารธุระเรา ถ้าท่านมิฟัง จะขืนยกไปให้ได้ เห็นจะเสียทีข้าศึกเปนมั่นคง พระยาพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินครั้นตรัศทราบดังนั้นก็เคืองพระไทย ฝ่ายพระยารามแจ้งดังนั้น กลัวพระมหาธรรมราชาจะส่งตัวไปหงษาวดี ก็ทูลแก่สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินว่า ข้าพเจ้าได้ฟังซึ่งกิจการในเมืองพระพิศณุโลกนั้นว่า พระมหาธรรมราชาคิดการทั้งปวงเปนฝ่ายข้างพระเจ้าหงษาวดี แลเอาเมืองเหนือทั้งปวงไปขึ้นแก่พระเจ้าหงษาวดีแล้ว บัดนี้ จะย้ายเอาท้าวพระยาผู้ใหญ่ในพระนครไปยังหงษาวดีเล่า แลซึ่งพระมหาธรรมราชาบังคับบัญชาพระองค์ลงมาเปนสิทธิดังนี้ ข้าพเจ้าเห็นมิควร ถ้าแลศึกหงษาวดีมาถึงพระนครก็ดี ข้าพเจ้าขอประกันการตกแต่งป้องกันพระนครไว้ให้ได้ สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็เห็นชอบด้วย ก็บัญชาโดยพระยาราม.

แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ครั้งที่ ๒

 สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินแลพระยารามก็เอายุบลคดีซึ่งคิดทั้งปวงนั้นกราบทูลแก่พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก แล้วอัญเชิญพระองค์ลาพระผนวชออกมาครองราชสมบัติ พระเจ้าช้างเผือกก็มิได้รับ จึงสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินแลพระยารามก็ทูลวิงวอนเปนหลายครั้งว่า บัดนี้ ไภยจะมาถึงประชาราษฎรทั้งปวงแล้ว ขอทรงพระกรุณาเสด็จมาครองราชสมบัติเอาอาณาประชาราษฎรทั้งหลายไว้ให้รอด พระเจ้าช้างเผือกก็ตรัศบัญชาตามสมเด็จพระโอรสาธิราชกราบทูลนั้น จึงเสด็จลาพระผนวชในเดือน ๔ แรม ๑๓ ค่ำ ศักราช ๙๑๖ ปีขาล ฉศก.

หน้า:พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา ภาค ๑ (๒๔๕๕) b.pdf/131