รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยบทฉะเพาะกาล พุทธศักราช 2483

จาก วิกิซอร์ซ
วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๔๘๓
เล่ม ๕๗ หน้า ๔๕๙
ราชกิจจานุเบกษา

ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยบทฉะเพาะกาล
พุทธศักราช ๒๔๘๓

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ. พิชเยนทรโยธิน
ตราไว้ณวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๓
เป็นปีที่ ๗ ในรัชชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทฉะเพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้เหมาะสมแก่สถานะการณ์

จึ่งมีพระบรมราชโองการให้ตรารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยบทฉะเพาะกาล ขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้

มาตรา  รัฐธรรมนูญนี้ให้เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยบทฉะเพาะกาล พุทธศักราช ๒๔๘๓"

มาตรา  ให้ใช้รัฐธรรมนูญนี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๕ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๖๕ ตั้งแต่วันใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินไทยชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นกำหนดเวลายี่สิบปี สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสองประเภทมีจำนวนเท่ากัน

(๑) สมาชิกประเภทที่ ๑ ได้แก่ ผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้น ตามเงื่อนไขในบทบัญญัติมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗

(๒) สมาชิกประเภทที่ ๒ ได้แก่ ผู้ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างเวลาที่ใช้บทบัญญัติฉะเพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕"

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"