๑. องค์กรสําคัญของสหประชาชาติที่ได้สถาปนาขึ้น มีสมัชชา คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และสํานักเลขาธิการ
๒. องค์กรย่อยเช่นที่จะเห็นจําเป็น อาจสถาปนาขึ้นได้ตามกฎบัตรฉบับปัจจุบัน
สหประชาชาติจักไม่วางข้อจํากัดในการรับบุรุษ และสตรีเข้า ร่วมในองค์กรสําคัญ และองค์กรย่อยไม่ว่าในฐานะใดๆ และต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งความเสมอภาค
๑. สมัชชาประกอบด้วยสมาชิกทั้งปวงของสหประชาชาติ
๒. สมาชิกแต่ละประเทศ จะมีผู้แทนในสมัชชาได้ไม่มากกว่า ๕ คน
สมัชชาอาจอภิปรายปัญหาใดๆ หรือเรื่องใดๆ ภายในกรอบแห่งกฎบัตรฉบับปัจจุบัน หรือที่เกี่ยวโยงไปถึงอํานาจและหน้าที่ขององค์กรใดๆ ตามที่บัญญัติไว่ในกฎบัตรฉบับปัจจุบันนี้ได้ และอาจทําคําแนะนําไปยังสมาชิกแห่งสหประชาชาติหรือคณะมนตรีความมั่นคงหรือทั้งสองแห่งในปัญหาหรือเรื่องราวใดๆ เช่นที่ว่านั้นได้ เว้นแต่ที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒
๑. สมัชชาอาจพิจารณาหลักการทั่วไปแห่งความร่วมมือในการธํารงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งหลักการในเรื่องการลดอาวุธและข้อบังคับว่าด้วยกําลังอาวุธ และอาจทําคําแนะนําเกี่ยวกับหลักการเช่นว่าไปยังสมาชิกหรือคณะมนตรีความมั่นคงหรือทั้งสองแห่งก็ได้
๒. สมัชชาอาจอภิปรายปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการธํารงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ อันได้เสนอต่อสมัชชา โดยสมาชิกใดๆ ของสหประชาชาติ หรือโดยคณะมนตรีความมั่นคง หรือโดยรัฐที่มิใช่สมาชิกของสหประชาชาติตามความในมาตรา ๓๕ วรรค ๒ และเว้นแต่ที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒ อาจทําคําแนะนําเกี่ยวกับปัญหาใดๆ เช่นว่านั้นไปยังรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐที่เกี่ยวข้องหรือคณะมนตรีความมั่นคง หรือทั้งสองแห่งก็ได้ สมัชชาจักส่งปัญหาใดๆ เช่นว่าซึ่งจําเป็นต้องได้รับการดําเนินการไปยังคณะมนตรีความมั่นคงจะเป็นก่อนหรือหลังการอภิปรายก็ได้
๓. สมัชชาอาจแจ้งให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบสถานการณ์ซึ่งน่าจะเป็นอันตรายต่อสันติภาพและความมั่นคงะหว่างประเทศได้
๔. อํานาจของสมัชชาตามที่กําหนดไว้ในมาตรานี้ จักไม่จํากัดขอบเขตทั่วไปของมาตรา ๑๐