๓. สมัชชาจักพิจารณาและให้ความเห็นชอบแก่ข้อตกลงทางการเงิน และงบประมาณกับทบวงการชํานัญพิเศษดังกล่าวไว้ในมาตรา ๕๗ และจักตรวจสอบงบประมาณฝ่ายธุรการของทบวงการชํานัญพิเศษดังกล่าว เพื่อที่จะทําคําแนะนําต่อทบวงการที่เกี่ยวข้อง
๑. สมาชิกแต่ละประเทศของสมัชชาจักมีคะแนนเสียง ๑ คะแนน
๒. คําวินิจฉัยของสมัชชาในปัญหาสําคัญๆ จักต้องกระทําโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก ๒ ใน ๓ ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ปัญหาเหล่านี้จักรวม คําแนะนําเกี่ยวกับการธํารงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจําของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตีตามมาตรา ๘๖ วรรค ๑ ข้อ ค. การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาที่เกี่ยวกับการดําเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ
๓. คําวินิจฉัยปัญหาอื่นๆ รวมทั้งการกําหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ๒ ใน ๓ เพิ่มเติมนั้นจักกระทําโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง
สมาชิกของสหประชาชาติที่ค้างชําระค่าบํารุงแก่องค์การย่อมไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจํานวนเงินค้างชําระเท่าหรือมากกว่าจํานวนเงินค่าบํารุงที่ถึงกําหนดชําระสําหรับ ๒ ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตามสมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทําให้เป็นที่พอใจได้ว่าการไม่ชําระนั้นเนื่องมาแต่ภาวะอันอยู่นอกเหนืออํานาจควบคุมของสมาชิกนั้น
สมัชชาจักประชุมกันในสมัยสามัญประจําปี และในสมัยพิเศษ เชานที่จําเป็นแก่โอกาส สมัยประชุมพิเศษจักเรียกโดยเลขาธิการตามคําร้องขอของคณะมนตรีความมั่นคง หรือของสมาชิกส่วนข้างมากแห่งสหประชาชาติ
สมัชชาจักรับเอาข้อบังคับระเบียบการประชุมของตนเอง ทั้งจักเลือกตั้งประธานสมัชชาสําหรับแต่ละสมัยประชุมด้วย
สมัชชาอาจสถาปนาองค์กรย่อยเช่นที่เห็นจําเป็นสําหรับการปฏิบัติหน้าที่ของตนก็ได้
๑. คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิกแห่งสหประชาชาติ ๑๕ ประเทศ สาธารณรัฐจีน ฝรั่งเศส สหภาพแห่งสาธารณรัฐโซเวียตโซเชียลลิสต์ สหราชอาณาจักรแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ