และสหรัฐอเมริกาเป็นสมาชิกประจําของคณะมนตรีความมั่นคง สมัชชาจักเลือกตั้งสมาชิกอื่นของสหประชาชาติอีก ๑๐ ประเทศเป็นสมาชิกไม่ประจําของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งนี้จักต้องคํานึงเป็นพิเศษในประการแรกถึงส่วนอุดหนุนของสมาชิกแห่งสหประชาชาติในการที่จะธํารงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศและวัตถุประสงค์อื่นขององค์การ กับทั้งการแจกกระจายตามเขตภูมิศาสตร์อันเป็นธรรมอีกด้วย
๒. สมาชิกไม่ประจําของคณะมนตรีความมั่นคง จักได้รับเลือกตั้งมีกําหนดระยะเวลา ๒ ปี ในการเลือกตั้งครั้งแรกของสมาชิกไม่ประจําจักมีประเทศที่ถูกเลือกอยู่ในตําแหน่งมีกําหนด ๑ ปีรวม ๓ ประเทศ สมาชิกที่พ้นตําแหน่งไปแล้วไม่มีสิทธิเข้ารับเลือกตั้งซ้ำโดยทันที
๓. สมาชิกแต่ละประเทศของคณะมนตรีความมั่นคง จักมีผู้แทนได้คนเดียว
๑. เพื่อให้เป็นที่แน่นอนใจ ในการดําเนินการของสหประชาชาติอย่างทันท่วงทีและเป็นผลจริงจัง สมาชิกของสหประชาชาติจึงมอบความรับผิดชอบโดยปฐมภูมิสําหรับการดํารงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงและตกลงว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบนี้ คณะมนตรีความมั่นคงย่อมกระทําในนามของสมาชิก
๒. ในการปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้ คณะมนตรีความมั่นคง จักทําให้เป็นไปตามความมุ่งหมาย และหลักการของสหประชาชาติ อํานาจเฉพาะที่มอบให้คณะมนตรีความมั่นคง สําหรับปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้ ได้กําหนดไว้แล้วในหมวดที่ ๖,๗,๘ และ ๑๒
๓. คณะมนตรีความมั่นคง จักเสนอรายงานประจําปี และรายงานพิเศษในเมื่อจําเป็นต่อสมัชชาเพื่อให้พิจารณา
สมาชิกของสหประชาชาติ ตกลงที่จะยอมรับและปฏิบัติตาม คําวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงตามกฎบัตรฉบับปัจจุบัน
เพื่อที่จะส่งเสริมการสถาปนา และการธํารงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยการนําเอาทรัพยากรทางมนุษยชนและทางเศรษฐกิจของโลกมาใช้เพื่อเป็นกําลังอาวุธให้น้อยที่สุด ให้คณะมนตรีความมั่นคงรับผิดชอบในการจัดรูปแผนผังที่จะเสนอต่อสมาชิกสหประชาชาติ สําหรับการสถาปนาระบบแห้งข่อบังคับว่าด้วยกําลังอาวุธ ทั้งนี้ด้วยความช่วยเหลือของคณะกรรมการเสนาธิการทหาร ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๔๗
๑. สมาชิกแต่ละประเทศของคณะมนตรีความมั่นคง จะมีคะแนนเสียง ๑ คะแนน
๒. คําวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคง ในเรื่องวิธีดําเนินการจักกระทําโดยคะแนนเสียงเห็นชอบของสมาชิก ๙ ประเทศ
๓. คําวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคง ในเรื่องอื่นทั้งหมด จักกระทําโดยคะแนนเสียงเห็นชอบของสมาชิก ๙ ประเทศ ซึ่งรวมคะแนนเสียงเห็นชอบของบรรดาสมาชิกประจําอยู่ด้วย แต่ว่าในคําวินิจฉัยตามหมวดที่ ๖ และตามวรรค ๓ ของมาตรา ๕๒ ผู้เป็นฝ่ายในกรณีพิพาทจักต้องงดเว้นจากการลงคะแนนเสียง