หน้า:กฎหมายลักษณะทาส - สมิท - ๒๔๒๓.pdf/100

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๙๗
พระราชบัญญัติหมายประกาศ

ใด จุลศักราชเท่าไร แล้วจดหมายปากคำไว้ให้เปนแน่ในสารกรมธรรม์ว่า มันเกิดปีนั้น นักษัตรศกเท่านั้น ถ้าภายหลังมันกลับถ้อยคืนคำเปนอย่างอื่นไซ้ จงปรับโทษมันผู้ทาษเท็จโดยถานกระบัดสินท่านในลักษณทาษ มาตรา ๑๔ โน้น ถ้าเจ้าสินอยากใช้ทาษ มิได้ถามเอาปากคำมันตราไว้ในสารกรมธรรม์ให้แน่ชัด แล้วรับช่วยไถ่มาเปนทาษ ถ้าตัวทาษมันว่า มันเกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก เปนต้นไป ซึ่งเปนปีที่ห้ามในพระราชบัญญัติไซ้ ให้ปรับไหมเจ้าเบี้ยนายเงินเปนภัพในเงินค่าตัวทาษซึ่งมีในสารกรมธรรม์นั้น ๚ะ

 มาตรา  ถ้าผู้มีทรัพย์รับช่วยไถ่ลูกทาษลูกไทยที่เกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก เปนต้นไป อายุได้ ๒๑ ปี พ้นนี่หลุดค่าตัวเปนไทยแล้วนั้นมาเปนทาษ มิได้เปนสิทธิ์แก่เจ้าสินโดยพระราชบัญญัติ ถึงกรมธรรม์มีศุภมาศวันคืนชื่อตัวเบี้ยจำนวนเงินประการใด ตัวเบี้ยจะไปจากเจ้าเบี้ยเจ้าเงินได้ตามลำพังใจ เจ้าเบี้ยเจ้าเงินจะตามกุมเกาะมาว่ากล่าวไม่ได้ เงินค่าตัวเปนภัพแก่เจ้าเบี้ยเจ้าเงินโดยโทษล่วงพระราชกฤษฎีกา ๚ะ

 มาตรา ๑๐ ลูกทาษลูกไทยอายุถึง ๒๐ ปีพ้นค่าตัวจากเจ้าเบี้ยนายเงินแล้ว มันเหล่านั้นศักข้อมือหมายหมู่แล้วก็ดี ยังมิได้ศักข้อมือขาวก็ดี ให้เจ้าเบี้ยนายเงินเดิมฤๅเจ้าหมู่มุลนายใหม่ทำหางว่าวศักแปลงยื่นต่อกรมพระสุรัศวดีให้ศักแปลงเปนทาษพ้นค่าตัวมีศักดินา ๑๐ ไร่จงทุกคน ถ้านายเดิมแลเจ้าหมู่ใหม่แกล้งปิดบังเสือกไสไม่นำตัวทาษพ้นค่าตัวไปศัก จงปรับไหมมีโทษแก่ผู้ปิดบังจงหนักตามพระราชกฤษฎีกา

13