หน้า:กม รธน และ เลือกตั้ง - ดิเรก ชัยนาม - ๒๔๙๓ (๑).pdf/11

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
8
กฎหมายรัฐธรรมนูญและเลือกตั้งพิศดาร

การแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกเป็น ๒ ประเภท คือ ลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนี้ มีผู้วิพากย์กันมาก โดยอ้างเหตุผลว่า ความจริงกก็ไม่แตกต่างกันในสาระสำคัญเท่าใดนัก เพราะว่า รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นเองก็บรรจุธรรมเนียมประเพณี คำพิพากษาของศาล ไว้เหมือนกัน แต่เอามารวมเป็นกฎหมายฉะบับเดียวกันหรือเป็นหลายฉะบับ และไม่มีรัฐธรรมนูญฉะบับใดที่สมบูรณ์ เพราะปัญหาย่อมเกิดขึ้นเสมอ และปัญหาใดที่รัฐธรรมนูญไม่มีบัญญัติไว้ ก็ต้องตีความเอา และตราบใดที่ยังไม่ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ ก็เกิดเป็นธรรมเนียมประเพณีซึ่งรับนับถือกันว่า มีผลอย่างรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ในที่สุด ก็คล้ายกับรัฐธรรมนูญไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

ความจริง ที่ว่า รัฐธรรมนูญไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นั้น ก็ไม่เป็นการถูกต้อง เพราะว่า รัฐธรรมนูญนี้มีสาระสำคัญมากหลายที่เขียนไว้เป็นตัวบทกฎหมาย แม้จะไม่มีหมดครบถ้วน เช่น อย่างรัฐธรรมนูญบริติช เป็นต้น ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์การปกครองหรือรัฐธรรมนูญบริติชมาแล้ว จะเห็นได้ว่า มีกฎหมายหลายฉะบับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายบริติช เช่น Magna Carta, Bill of Rights ฯลฯ จริงอยู่ รัฐธรรมนูญบริติชนั้นส่วนมากนั้นไม่ได้เขียนไว้ และส่วนที่เขียนไว้ก็กระจัดกระจายไม่ได้รวมกัน และที่เขียนไว้ก็ล้วนเป็นหลักสำคัญ ๆ ยิ่งกว่าที่ไม่ได้เขียนไว้เสียอีก ฉะนั้น ผู้ที่ค้านการแยกประเภทรัฐธรรมนูญดั่งกล่าวนี้จึงมีความเห็นว่า การแยกเช่นนี้ทำให้สับสน และขัดหลักวิทยาศาสตร์ (unscientific)

ได้มีผู้แสดงความเห็นว่า ควรแยกออกเป็นประเภทยืดหยุ่นหรือแก้ไขง่าย (flexible) และประเภทตึงเครียดหรือแก้ไขยาก (rigid) จะเหมาะกว่า ประเภทแก้ไขได้ง่าย คือ การแก้ไขทำได้อย่ากฎหมายธรรมดา ส่วนประเภทแก้ไขได้ยาก คือ การแก้ไขไม่เหมือนกฎหมายธรรมดา ต้องมีวิธีการพิเศษ ประเภทแรก ได้แก่ รัฐธรรมนูญ

ม.ธ.ก.