หน้า:กม รธน และ เลือกตั้ง - ดิเรก ชัยนาม - ๒๔๙๓ (๑).pdf/7

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
4
กฎหมายรัฐธรรมนูญและเลือกตั้งพิศดาร

อย่างแคบหรืออย่างกว้าง ศาสตราจารย์เยอรมันชื่อ Georg Jellinek มีความเห็นว่า รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งจำเป็นของรัฐ รัฐทุกรัฐต้องมีรัฐธรรมนูญ และความจริงทุกรัฐมีอยู่แล้ว แม้รัฐที่มีการปกครองอย่างพลการตามใจชอบดั่งเผด็จการหรือสมบูรณาญาสิทธิราชก็ต้องมีรัฐธรรมนูญ รัฐที่ไม่มีรัฐธรรมนูญจะเป็นรัฐไม่ได้ เป็นอนาธิปไตย คำว่า "รัฐธรรมนูญ" สำหรับ Jellinek คงหมายถึง กฎหมาย หรือข้อบังคับ หรือนิติประเพณีใด ๆ ที่วางระเบียบหลักเกณฑ์ในการปกครองประเทศ ตัวอย่างประเทศไทยเราก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง เราไม่มีรัฐธรรมนูญ แต่เราก็ปกครองกันมาได้ เพราะเรามีกฎหมายหลายฉะบับซึ่งเป็นรากฐานของการปกครอง หรือในประเทศฝรั่งเศสก็ปกครองกันมากว่าพันปีก่อนมีรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น การตีความของ Jellinek จึงเป็นการตีความในความหมายอย่างกว้าง และข้าพเจ้าเห็นว่า ถูกต้อง เพราะประเทศจะตั้งอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีกฎหมาย หรือข้อบังคับ หรือธรรมเนียมประเพณีซึ่งรับรองเสมือนหนึ่งกฎหมายซึ่งวางรากฐานการปกครองประเทศ

ในประเทศฝรั่งเศสในราวคริสศตวรรษที่ ๑๔ พวกนักปราชญ์กฎหมายได้แยกกฎหมายออกเป็นสองประเภท คือ ๑) กฎหมายซึ่งเป็นรากฐานของราชอาณาจักร์ (Les lois fondalemtales du Royaume) และ ๒) กฎหมายของกษัตริย์ (Les lois du Roi)

ประเภทแรกเป็นกฎหมายซึ่งรวบรวมหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ธรรมเนียมประเพณี และหลักการซึ่งเกิดขึ้นในระยะหลายร้อยปีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งกษัตริย์เองได้ทรงยอมรับว่า จะยกเลิกเสียหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นไว้แต่จะได้รับความยินยอมจากที่ประชุม States General กฎหมายประเภทนี้กษัตริย์ฝรั่งเศสยอมผูกพันพระองค์ในการใช้อำนาจสูงสุดในทาง "นิติบัญญัติ" เช่นเดียวกับการออกกฎหมายในประเทศต่าง ๆ ที่มีรัฐสภา กฎหมายเหล่านี้ ได้แก่ การเก็บภาษีอากร การสืบสันติวงศ์ การเปลี่ยนแปลง

ม.ธ.ก.