หน้า:กม ระหว่างประเทศ - รพี - ๒๔๔๕.pdf/10

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เมืองจีน, เมืองรัสเซีย, เปนต้น ประการที่สอง พระเจ้าแผ่นดินมีที่ปฤกษา ทั้ง ๒ อย่างรวมกัน จึ่งมีอำนาจสิทธิ์ขาด (รียกว่า ลิมิตเต็ดมอนนกี้) เปนต้นคือ เมืองอังกฤษ เมืองออสเตรีย เมืองอิตตาลี เมืองสเปน เมืองโปรตุเกศ เมืองยี่ปุ่น เมืองเบลเยี่ยม มืองเดนหมาก เมืองคริก เมืองฮอลันดา แลเมืองไทยในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่อยู่ ประการที่สาม ราษฎรตั้งกันเองขึ้นว่าการสิทธิ์ขาดแทนราษฎร ผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งนั้นเรียกว่า เปรสิเดน อำนาจสิทธิ์ขาดอยู่ในราษฎร จะตั้งเมื่อไร จะเลิกเมื่อไร ได้หมด (เรียกว่า ริปับลิก) คือ ประเทศฝรั่งเศส เปนต้น ประการที่สี่ (เรียกว่า คอนเฟกเดอเรชั่น) คือ ประเทศหลายประเทศรวมกันตั้งนายแลที่ปฤกษาอันหนึ่งซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชาประเทศซึ่งได้รวมอยู่ในนั้น คือ ยุในเต๊ดสเตดออฟอเมริกา, สวิดเซอร์แลนด์ แลเยอรมัน ตละที่ได้รวมกันนี้มีอำนาจที่จะว่าการอะไรได้หมดในกิจของตน เว้นแต่จะได้สัญญากันไว้ยกอำนาจให้แก่เจ้าฤๅนายซึ่งครอบครองทั้งหมด

 อำนาจที่จะทำอะไรต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในประเทศนั้น มีเก็บภาษี แลเพิ่มทหาร ฤๅตั้งกฎหมายบังคับราษฎร เปนต้น ซึ่งประเทศอื่นไม่มีอำนาจจะร้อง

 คนต่างประเทศในเวลาที่อยู่ในประเทศหนึ่งประเทศใดซึ่งจะไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชานั้น คือ พระเจ้าแผ่นดินต่างประเทศซึ่งได้เสด็จมาประพาศ แลกองทัพเมืองอื่น แลทูต ที่ว่า ไม่ได้