หน้า:กม ระหว่างประเทศ - รพี - ๒๔๔๕.pdf/11

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐

อยู่ในข้อบังคับของประเทศนั้น ๆ เรียกว่า อำนาจเอกสตราเตรีเตอเรียแอนลิตี้ แต่เมื่อพระเจ้าแผ่นดินได้อยู่ในประเทศใดโดยนอกน่าที่ เรียกว่า เปนคนธรรมดา (คือ อินขอกนิโต) ดูเหมือนว่า จะต้องอยู่ในบังคับเขา แต่อย่างไรก็ดี เมื่อได้ไปโดยน่าที่พระเจ้าแผ่นดินฤๅมิใช่ ไม่มีอำนาจที่จะปกครองโจรผู้ร้ายฤๅกระทำโทษผู้ร้ายในอาณาเฃตรของเขา แลเขามีอำนาจที่จะไล่ออกเสียจากอาณาเฃตรได้

 ประเทศไม่มีอำนาจที่จะชำระทูตได้ในความอาญา แลไม่มีอำนาจที่จะจับกุม เมื่อได้ทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว เปนน่าที่รัฐบาลที่จะขอให้เขาเรียกกลับเสีย แลในเรื่องความแพ่งก็ดี ไม่ปรากฎว่าจะออกหมายถึงเขาได้ฤๅไม่ แต่สงสัยว่า ไม่ได้ เพราะเหตุว่า ไม่มีอำนาจบังคับ

 มีข้อซึ่งยังเถียงกันอยู่ว่า เมื่อทูตนั้นได้กระทำโจรกรรมอันร้ายแรง ประเทศจะมีอำนาจที่จะจับตัวไว้ในระหว่างที่รัฐบาลทั้ง ๒ พูดกันได้ฤๅไม่? คือ เมื่อปี ๑๘๑๗ เคาน์กินเลนเบิก, ทูตเมืองสวิเดนซึ่งประจำอยู่ที่เมืองอังกฤษ ได้ไปช่วยคิดขบถต่อพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ๆ หาได้ไล่ออกเสียไม่ จับตัวไว้แล้วปล่อย ถึงกระนั้น ก็ได้มีคำร้องขึ้นบ้าง แลเมื่อปี ๑๗๑๘ ทูตเมืองสเปนที่ประจำอยู่เมืองปารีศคิดจบถ ฝรั่งเศสได้จับไว้แล้วปล่อยเหมือนกัน แต่ในคราวหลังนี้ไม่ได้มีใครร้องเลย