หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/6

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๒๕ หน้า ๒๑๑
วันที่ ๑ มิถุนายน ๑๒๗
ราชกิจจานุเบกษา

(๒) ข้อความในพระราชกำหนดกฎหมายแลกฎข้อบังคับอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายนี้บัญญัติว่า ต้องมีโทษ หรือยกเว้นไม่ต้องมีโทษ ให้ใช้กฎหมายนี้แทน

(๓) บรรดาพระราชกำหนดกฎหมายแลกฎข้อบังคับอื่น ๆ ที่มีเนื้อความขัดกับกฎหมายลักษณอาญานี้

มาตรา ๔

กฎหมายลักษณอาญานี้ไม่ลบล้างกฎหมายที่ใช้เฉภาะในศาลกระทรวงวัง ศาลกระทรวงธรรมการ ศาลทหารบก แลศาลทหารเรือ



มาตรา ๕

เพื่อจะมิให้เกิดมีความสงไสยในบทกฎหมายนี้ ท่านจึงให้อธิบายคำสำคัญต่าง ๆ ไว้เปนหลักถานในมาตรา ๖ ต่อไปนี้ แลให้ถือตามความอธิบายนั้นเสมอไป เว้นไว้แต่เมื่อคำสำคัญเหล่านี้ คำใดไปปรากฎในที่ใดซึ่งมีเนื้อความขัดกันกับความอธิบายในมาตรา ๖ นี้ไซ้ จึงให้ถือเอาเนื้อความในที่นั้นเปนใหญ่

มาตรา ๖

(๑) คำว่า กระทำ นั้น ท่านให้ถือว่า ไม่หมายความแต่เฉภาะการที่บุคคลกระทำ ให้หมายความได้ตลอดถึงการละเว้นการซึ่งกฎหมายกำชับให้กระทำ แลผลแห่งการที่ละเว้นนั้นด้วย

(๒) ผู้ใดกระทำการอันใดที่ตนมิได้มีอำนาจจะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ท่านว่า ผู้นั้นกระทำมิชอบ

(๓) ผู้ใดกระทำการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองก็ดี เพื่อผู้อื่นก็ดี อันเปนประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แลเกิดเสียหายแก่ผู้อื่นด้วยไซ้ ท่านว่า ผู้นั้นกระทำการทุจริต

(๔) ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเจตนาจะให้ผู้อื่นขาดเสียความชอบธรรมที่เขาควรมีควรได้ ท่านว่า ผู้นั้นกระทำการฉ้อโกง

(๕) ผู้ใดทำสิ่งของเทียมโดยเจตนาจะให้ผู้อื่นหลงว่า เปนของแท้ ท่านว่า ผู้นั้นทำของปลอม

(๖) ผู้ใดกระทำการอันใดซึ่งกฎหมายที่คงใช้อยู่ในเวลานั้นบัญญัติว่า จะต้องถูกทำโทษ ท่านว่า ผู้นั้นกระทำความผิด

(๗) คำว่า ความผิดต่อส่วนตัว นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาความผิดที่จะฟ้องขอให้ศาลพิจารณาทางอาญาได้แต่เมื่อผู้ที่ต้องประทุษฐร้ายหรือเสียหายนั้นได้มาร้องทุกข์ขอให้ว่ากล่าว

(๘) ถ้าบุคคลตั้งแต่สองขึ้นไปสมรู้ด้วยกันเพื่อจะกระทำความผิด ท่านว่า คนเหล่านั้นสมคบกัน

(๙) บุคคลเอาทรัพย์หรือประโยชน์อย่างใด ๆ อันมิใช่เปนของที่ต้องให้ตามกฎหมาย