หน้า:การปกครองลาวและเขมรของฝรั่งเศส - มท - ๒๔๘๓.pdf/52

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๘

รัฐมนตรีดังเช่นรัฐอิสสระเช่นนั้น คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ๕ กระทรวง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและการสาสนา, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง คลัง และศิลปากร, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารเรือ พาณิชย์ และเกษตราธิการ, และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและธรรมการ ซึ่งเป็นขุนนางเขมรทุกคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหล่านี้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการเป็นผู้ช่วย ซึ่งต้องเลือกจากข้ารัฐการชั้นอุดมมนตรี คณะรัฐมนตรีมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๑ นาย ซึ่งตั้งจากข้ารัฐการชั้นอุดมมนตรีหรือวอรักมนตรี และเลขานุการ ซึ่งตั้งจากข้ารัฐการชั้นวอรักมนตรีหรืออนุมนตรี เรสิดังต์สุเปริเออร์แห่งแคว้นเขมรเป็นนายกของคณะรัฐมนตรี คือ เป็นนายกรัฐมนตรีนั่นเอง แต่ในการประชุมคณะรัฐมนตรี กษัตริย์จะประทับฟังการประชุมก็ได้ คณะรัฐมนตรีอาจตั้งคณะกรรมาธิการประจำ (Commission Permanente) ขึ้นได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและการสาสนาเป็นประธานคณะกรรมาธิการนี้ เรสิดังต์สุเปริเออร์ตั้งข้ารัฐการพลเรือนชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งประจำช่วยเหลืออยู่ในคณะรัฐมนตรีเขมร ที่ทำการรัฐบาลเขมรตั้งอยู่ที่พนมเป็ญ

เรสิดังต์สุเปริเออร์มีสภาที่ปรึกษารัฐการ ๓ สภา คือ

๑. Conseil de Protectorat (สภาแห่งรัฐอารักขา)ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นข้ารัฐการผู้ใหญ่ของแคว้นเขมร และมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในกิจการปกครองทั่วไป เรสิดังต์สุเปริเออร์เป็นประธานโดยตำแหน่ง สภานี้เทียบได้กับ Conseil de Gouvernement ของรัฐบาลอินโดจีน

๒. Conseil des Intérêts Français Economiques et Financiers (สภาการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการคลังของฝรั่งเศส)