หน้า:การปกครองลาวและเขมรของฝรั่งเศส - มท - ๒๔๘๓.pdf/64

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๖๐

ที่ดิน การเหมืองแร่ การเกษตรและการประมง การจดทะเบียนบุริมสิทธิ์และทรัพยสิทธิ์ การไปรษณีย์โทรเลข การศึกษา ตลอดจนการสโมสร นับว่า ดำเนินไปในทำนองคล้ายคลึงกันกับในแคว้นลาวเป็นส่วนมาก ฉะนั้น ในที่นี้ จะได้กล่าวถึงแต่ฉะเพาะกิจการบางอย่างเท่านั้น

การทหาร

ในยามปกติ แคว้นเขมรมีทหารตั้งอยู่ที่พนมเป็ญ ๑ กองพัน มีนายพันโทเป็นผู้บังคับบัญชา พลทหารเป็นชาวเขมร แขก และญวน

การตำรวจ

การตำรวจจัดเช่นเดียวกับในแคว้นลาว แต่ไม่มีตำรวจอาสาสมัคร (Partisan)

การสาสนา

พระพุทธสาสนาเป็นสาสนาประจำชาติเขมรดั่งที่ทราบกันอยู่แล้ว ฝ่ายฝรั่งเศสได้พยายามนำสาสนาโรมันคาทอลิกมาเผยแพร่ แต่ได้ผลน้อย เพราะพลเมืองเลื่อมใสในพระพุทธสาสนามาแต่บรรพบุรุษจนติดเป็นนิสสัย วัดวาอารามและที่ปูชนียสถานต่าง ๆ ซึ่งมีไม่น้อยกว่าในประเทศไทย ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ตามควรแก่กรณี

การเกณฑ์แรงราษฎร

ไม่ปรากฏว่า ได้มีการเกณฑ์ประชากรใช้งานสาธารณประโยชน์เป็นประจำปีดั่งเช่นในแคว้นลาว แต่มีการเกณฑ์จ้างโดยบังคับให้ชายฉกรรจ์ต้องจำรับจ้างเพื่อประโยชน์แห่งรัฐการปีละ ๕ วันต่อคน ถ้าไม่