(๔)ศาลต่างประเทศมณฑลนครราชสิมา มีอำนาจครอบงำตลอดเขตต์มณฑลนั้น
(๕)ศาลต่างประเทศมณฑอุบล มีอำนาจครอบงำตลอดเขตต์มณฑลนั้น รวมทั้งมณฑลอุดรและร้อยเอ็จ
(๖)ศาลต่างประเทศมณฑลพายีพ ครอบงำพายัพและมหาราษฎร์ เว้นจังหวัดน่าน แพร่
(๗)ศาลต่างประเทศจังหวัดน่าน, แพร่
สำหรับศาลมณฑลอุบล ต่อมาได้มีการตกลงระวางกระทรวงยุตติธรรมกับสถานทูตฝรั่งเศสเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ให้ยกเลิกหน้าที่ที่ปรึกษากฎหมายประจำศาลนั้น และคดีที่เกิดขึ้นในเขตต์ของศาลนั้นให้ศาลที่คดีเกิดขึ้นนั้นพิจารณาแล้วส่งสำนวนมาให้ศาลต่างประเทศกรุงเทพฯ พิจารณาพิพากษาพร้อมด้วยที่ปรึกษากฎหมาย แต่ถ้าเป็นคดีสำคัญหรือลักษณะอุกฉกรรจ์ กระทรวงยุตติธรรมจะได้มีการตกลงเช่นเดียวกัน ต่อมาให้ยุบมณฑลอุบลเป็นจังหวัดอุบล โดยให้ขึ้นต่อมณฑลนครราชสิมา แต่ยังคงมีฐานะเป็นศาลต่างประเทศดุจเดิม ศาลจังหวัดน่านนี้ได้ยกไปรวมกับศาลต่างประเทศมณฑลพายัพแล้ว ศาลมณฑลจันทบุรีก็ได้ยุบลงเป็นศาลจังหวัดเสียแล้ว โดยให้ขึ้นต่อศาลมณฑลปราจิณ แต่ศาลจังหวัดยังคงมีฐานะเป็นศาลต่างประเทศดุจเดิมเหมือนกัน
คดีเกี่ยวกับพลเมืองฝรั่งเศสชั้นรับฟ้องในคดีอาชญา
ถ้าเป็นคดีที่พลเมืองฝรั่งเศสเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี โดยเป็นโจทก์หรือเจ้าทุกข์ (ไม่ใช่จำเลยหรือผู้ต้องหา) และคดีนั้นเกิดที่ศาลหัวเมืองซึ่งไม่ใช่เป็นศาลต่างประเทศแล้ว ศาลที่รับฟ้องคดีนั้นต้องรายงานส่งฟ้องมายังศาลต่างประเทศที่มีอำนาจพิจารณาคดีนั้นโดยทันที เมื่อได้รับรายงานแล้ว ศาลต่างประเทศที่กรุงเทพฯ จะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑)ถ้าเป็นคดีอุกฉกรรจ์ ศาลต่างประเทศจะมีรายงานไปยังกระทรวงยุตติธรรมขอให้ตกลงกับสถานทูตฝรั่งเศสในการที่จะมอบหมายให้ศาลที่รับ