หน้า:ข่าวแจกของศาลแพ่ง (๒๕๖๔-๐๘-๐๖).pdf/1

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
  • Press Release
  • ข่าวแจกสื่อมวลชน
  • ศาลแพ่ง
  • The Civil Court
ศาลแพ่ง
🖂 civil@coj.go.th
✆ ๐๒ ๕๑๒ ๘๔๗๘ ๐๒ ๕๔๑ ๒๔๓๑

– ๑ –

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณะว่า เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ ศาลแพ่งมีคำสั่งให้รับคำฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ พ๓๖๑๘/๒๕๖๔ ที่บริษัท รีพอร์ตเตอร์ โปรดักชั่น จำกัด กับพวก รวม ๑๒ คน ยื่นฟ้องพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๙) ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ พร้อมรับคำร้องขอให้ศาลได่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้ระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดดังกล่าว และห้ามมิให้นำมาตรการ คำสั่ง หรือการกระทำใด ๆ ที่สั่งการตามประกาศดังกล่าวมาใช้กับฝ่ายโจทก์ ประชาชน และสื่อมวลชน ไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีนี้ และศาลนัดฟังคำสั่งวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกานั้น

บัดนี้ ศาลแพ่ง ในคดีหมายเลขดำที่ พ๓๖๑๘/๒๕๖๔ ได้ออกนั่งพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานแล้ว มีคำสั่งอันสรุปใจความได้ว่า "ข้อกำหนดฯ ข้อ ๑ ที่ห้ามเผยแพร่ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว มิได้จำกัดเฉพาะข้อความอันเป็นเท็จ ดังเหตุผลและความจำเป็นตามที่ระบุไว้ในการออกข้อกำหนดดังกล่าว ย่อมเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของโจทก์ทั้งสิบสองและประชาชนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ บัญญัติคุ้มครองไว้ ทั้งยังไม่ต้องด้วยข้อกำหนดฯ ที่ระบุว่า จำเป็นต้องมีมาตรการที่กำหนดให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกเป็นไปอย่างมีเหตุผล ถูกต้องดามข้อเท็จจริงดามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวตามข้อกำหนดข้อดังกล่าวนั้นมีลักษณะไม่แน่ชัดและขอบเขตกว้าง ทำให้โจทก์ทั้งสิบสอง ประชาชน และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ไม่มั่นใจในการแสดงความคิดเห็นและสื่อสารตามเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติคุ้มครองไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ต้องด้วยมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญฯ ทั้งข้อกำหนดดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ทั้งสิบสองหรือประชาชนเกินสมควรแก่เหตุตามความในมาตรา ๙ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ส่วนข้อกำหนดฯ ข้อ ๒ ที่ให้อำนาจระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่เลขที่อยู่

(พลิก)