หน้า:ข้อกำหนดตาม ม ๙ (ฉ ๓๗, ๒๕๖๔-๑๐-๓๐).pdf/1

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๖๒ ง

๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๔
หน้า ๑
ราชกิจจานุเบกษา

ข้อกำหนด
ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด
การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
(ฉบับที่ ๓๗)

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตห้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาถือเป็นความท้าทายและเป็นบทพิสูจน์ครั้งสําคัญที่ประเทศไทยได้ข้ามผ่านอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยอาศัยการประสานความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน พนักงานเจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ร่วมดําเนินการและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคตามที่ได้กําหนดไว้ประกอบกับอัตราผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่เพิ่มจํานวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ปวยอาการรุนแรงและผู้เสียชีวิตมีจํานวนลดลงอย่างมีนัยสําคัญ เหตุดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยส่งผลต่อภาพรวมของสถานการณ์การระบาดในประเทศไทยที่มีแนวโน้มคลี่คลายไปในทางที่ดี รัฐบาลโดยข้อเสนอของฝ่ายสาธารณสุข จึงเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจําแนกตามระดับพื้นที่สถานการณ์ รวมทั้งปรับเกณฑ์การพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นและรองรับแผนการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยว ข้อกําหนดฉบับนี้จึงเป็นการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค และรวบรวมบรรดามาตรการควบคุมแบบบูรณาการต่าง ๆ ที่ได้ประกาศไว้แล้วในข้อกําหนดฉบับก่อนหน้าโดยจําแนกออกเป็นพื้นที่สถานการณ์ที่แตกต่างลดหลั่นกันตามความรุนแรงของการระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงเน้นย้้าถึงเจตนารมณ์ที่จะผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ที่ได้กําหนดไว้ให้ดําเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้การดําเนินกิจการและกิจกรรมของบุคคลและสถานที่ต่าง ๆ อยู่ภายใต้เงื่อนไขการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรค เพื่อรักษาสมดุลด้านความมั่นคงทางสาธารณสุขกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติ

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคําแนะนําของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิต - 19) (ศบค.) ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์ ให้ ศบค. มีคำสั่งปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจำแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ