หน้า:ข้อกำหนดตาม ม ๙ (ฉ ๓๙, ๒๕๖๔-๑๑-๓๐).pdf/1

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๙๓ ง

๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
หน้า ๙๙
ราชกิจจานุเบกษา

ข้อกำหนด
ออกตามความในมาตรา ๙
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
(ฉบับที่ ๓๙)

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ นั้น

โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทยในห้วงเวลาที่ผ่านมามีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ การระบาดที่ตรวจพบจะเกิดขึ้นเฉพาะในบางเขตพื้นที่หรือในบางจังหวัดที่พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าควบคุมสถานการณ์และจำกัดพื้นที่โดยมีมาตรการเฝ้าระวังและกำกับติดตามการระบาดอย่างใกล้ชิด ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวังและการจัดหาวัคซีนให้กับประชาชนสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายประกอบกับศักยภาพด้านสาธารณสุขของไทยที่เข้มแข็ง ทำให้สามารถจัดหาทรัพยากรทางสาธารณสุขที่จำเป็นเพื่อบริการแก่ประชาชนได้อย่างครอบคลุม ฝ่ายสาธารณสุขจึงได้ประเมินภาพรวมของสถานการณ์และมีข้อเสนอแนะให้พิจารณาปรับระดับพื้นที่และผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ลงได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้รัฐบาลดำเนินการตามแผนและนโยบายการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจควบคู่กับการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพและมุ่งเน้นต่อความปลอดภัยของประชาชน โดยยังมีความจำเป็นต้องคงไว้ซึ่งมาตรการสำหรับการดำเนินกิจกรรมกิจการต่าง ๆ ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคมดำเนินไปควบคู่กับมาตรการด้านสาธารณสุขได้อย่างสมดุล เข้มแข็ง และยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคำแนะนำของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์และการกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ให้ ศบค. มีคำสั่งเพื่อปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจำแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ และกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และดำเนินการตามแผนการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่กำหนดไว้สำหรับพื้นที่