หน้า:คดีอาญา - ถวิล ระวังภัย - ๒๔๗๗.pdf/18

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๑

ฟังพะยานหลักฐานข้อต่อสู้ของจำเลยในข้อสัญชาติของจำเลยที่เป็นคนบังคับสยาม นอกจากนี้ ยังปรากฏในหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้าขายและการเดินเรือระหว่างสยามกับฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๖๗ ข้อ ๓ อีกด้วย ส่วนในข้อตกลงระหว่างสยามกับฝรั่งเศสว่าด้วยการปราบผู้ร้ายชายแดน พ.ศ. ๒๔๖๒ แม้จะไม่มีความกล่าวไว้ว่า ต่างฝ่ายจะไม่ส่งคนสัญชาติตนข้ามแดนก็ดี แต่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายก็ได้ทำความเข้าใจกันถือหลักนโยบายที่จะไม่ส่งคนสัญชาติตนข้ามแดนโดยเคร่งครัด ไม่ว่าในกรณีอย่างไร (คดีอ้ายทากับพวก จังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๔๗๐ คดีนายสาย อุทัยศรี จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. ๒๔๗๒ คดีนายโหน จังหวัดตราด พ.ศ. ๒๔๗๔)

มีบางประเทศที่ไม่นิยมหลักข้างต้นนี้ เช่น ประเทศอังกฤษและประเทศสหปาลีรัฐอเมริกา สองประเทศนี้ยอมส่งคนสัญชาติตนข้ามแดนให้ประเทศอื่น ที่เป็นอังนี้เนื่องจากกฎหมายแห่งประเทศทั้งสองนั้น ซึ่งถือหลักว่า กฎหมายอาชญานั้นมีผลบังคับใช้ได้แต่ในประเทศเท่านั้น กฎหมายอังกฤษไม่อนุญาตให้คนบังคับอังกฤษขึ้นศาลในประเทศสำหรับความผิดที่กระทำในต่างประเทศ ฉะนั้น ถ้าสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนไม่อนุญาตให้ส่งตัวข้ามแดนไปแล้ว ผู้ร้ายที่หลบหนีก็จะพ้นโทษไป

เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ถือหลักการแตกต่างกันดังกล่าวมานี้ ในสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนของบางประเทศ เช่น ระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษ, ระหว่างสยามกับอังกฤษ, ระหว่างสยามกับอเมริกา จึง