หน้า:คดีอาญา - ถวิล ระวังภัย - ๒๔๗๗.pdf/20

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๓

พ.ศ. ๒๔๗๑, คดีนายอาอี จังหวัดระนอง พ.ศ. ๒๔๗๒, คดีนายุมก จังหวัดระยอง พ.ศ. ๒๔๗๔, คดีนายโถม ธนบัตร์ จังหวัดระนอง พ.ศ. ๒๔๗๕)

การไม่ส่งคนสัญชาติของตนข้ามแดนนั้น บางประเทศเดินไกลคุ้มครองไปถึงคนประเภทที่เทียบได้กับมีสัญชาติตนด้วย เช่น สัญญาระหว่างประเทศสวิสส์กับเนเดรลันดฺยอมรับถือคนต่างประเทศบางประเภทว่า เทียบได้กับคนสัญชาติตน คือ ชาวต่างประเทศซึ่งหลักจากได้ทำการสมรสกับหญิงพื้นเมืองแล้วเกิดบุตร์หลายคนจากหญิงในประเทศนั้นเอง สัญญาระหส่างฝรั่งเศสกับดันมารฺกก็ไม่ยอมส่งชนชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศผู้รับคำขอเกินกว่า ๒ ปี

เหตุผลที่ประกอบหลักทั่วไปว่า ไม่ส่งคนสัญชาติตนข้ามแดนนั้น มีอยู่หลายประการ ข้อแรกก็คือ พลเมืองควรต้องได้รับความป้องกันและได้รับความยุตติธรรมจากรัฐบาลประเทศตนได้ดีกว่าที่จะได้รับจากผู้พิพากษาต่างประเทศซึ่งถือกฎหมายและธรรมนูญศาลแตกต่างกัน ความเกลียดชังในท้องที่เพราะเหตุเป็นคนต่างชาติต่างศาสนาอาจเป็นเหตุให้เกิดความอยุตติธรรมได้ นอกจากนี้ ยังถือกันว่า การอาศัยศาลในต่างประเทศให้วินิจฉัยพลเมืองของตนนั้น ประเทศย่อมสละอำนาจส่วนหนึ่งแห่งอธิปไตยของตน อนึ่ง การที่ไม่ยอมส่งคนสัญชาติตนข้ามแดนนั้น ไม่ใช่ว่าจะช่วยให้