หน้า:ความตกลงสมบูรณ์แบบ.pdf/7

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๑

ข้อ เก้า

รัฐบาลไทยรับว่าจะเจรจากับรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรโดยเร็วที่สุดที่จะกระทำได้ เพื่อทำสนธิสัญญาการตั้งถิ่นฐานการพาณิชย์และการเดินเรือฉะบับใหม่ และทำอนุสัญญาการกงสุลโดยอาศัยการถ้อยทีถ้อยใช้หลักการในข้อสิบเอ็ดข้างล่างนี้เป็นมูลฐาน

ข้อ สิบ

รัฐบาลไทยรับว่าจะเจรจากับรัฐบาลอินเดียโดยเร็วที่สุดที่จะกระทำได้ เพื่อทำสนธิสัญญาการพาณิชย์และการเดินเรือฉะบับใหม่ โดยอาศัยการถ้อยทีถ้อยใช้หลักการในข้อต่อไปนี้เป็นมูลฐาน

ข้อ สิบเอ็ด

(๑) ระหว่างที่ยังไม่ได้ทำสนธิสัญญาและอนุสัญญาดั่งกล่าวในข้อเก้าและสิบข้างบนนี้ และภายให้บังคับให้วรรค (๒) ของข้อนี้ รัฐบาลไทยรับว่าจะถือตามบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญาการพาณิชย์และการเดินเรือ ซึ่งลงนามกัน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๓๗ กับทั้งรับว่า นอกจากสนธิสัญญานั้นจะอนุญาตให้กระทำได้โดยชัดแจ้งแล้ว จะไม่ใช้กระบวนการใด ๆ บังคับ อันเป็นการอาศัยเหตุสัญชาติ กีดกันผลประโยชน์ทางพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมฝ่ายบริติชหรือผู้ประกอบวิชาชีพฝ่ายบริติช จากการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจและการค้าของไทย หรือกระบวนการใด ๆ ที่บังคับให้รักษาไว้ซึ่งสต๊อกหรือส่วนสำรองเกินกว่าที่ปฏิบัติกันอยู่โดยปรกติในการพาณิชย์ การเรือ การอุตสาหกรรม หรือการธุรกิจ

(๒) คำมั่นสัญญาของรัฐบาลไทยดั่งกล่าวข้างบนนี้ (ก) ให้มีข้อยกเว้นใด ๆ ได้ ตามแต่จะได้ตกลงกันในเวลาใด ๆ ระหว่างรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรหรือรัฐบาลอินเดีย แล้วแต่กรณีย์กับรัฐบาลไทย (ข) นอกจากจะได้ยืดเวลาออกไปด้วยความตกลงพร้อมกัน จะเป็นอันตกไป ถ้าหากว่าสนธิสัญญาและอนุสัญญาดั่งกล่าวในข้อเก้าและสิบไม่ได้กระทำกันภายในกำหนดเวลาสามปี นับแต่วันใช้ความตกลงนี้

(๓) ความในข้อนี้ไม่ให้ถือว่า เป็นการตัดทางที่จะให้ผลปติบัติซึ่งให้ประโชน์อนุเคราะห์เท่าเทียมกันแก่คนชาติ และการธุระของสหประชาชาติทั้งหมด หรือแต่ชาติหนึ่งชาติใด