หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/43

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(๒๗)

ทางที่จะเข้าหรือออกจากห้องพระบรรทมคงมีแต่งทางเดียว คือ ทางประตูที่นายบุศย์ นายชิต ประจำรักษาอยู่นั่นเอง

ปัญหาที่พนักงานสอบสวนจะต้องคำนึงมีต่อไปว่า ลำพังแต่นายบุศย์ นายชิต จะกล้าหาญชาญชัยลอบปลงพระชนม์ได้อย่างใด มีเหตุหนึ่งที่เป็นกฎธรรมดาอยู่ว่า คดีฆาตกรรมนั้น พนักงานสอบสวนควรจะเพ่งเล็งฐานะคนร้ายและฐานะผู้ถูกฆ่า ดังเช่น นาย ก. เป็นผู้มีฐานะดี ไม่เคยประพฤติตนเป็นที่เดือดร้อนหรือก่อกรรมทำเข็ญแก่ใครเลย มาถูกฆ่าตาย ถ้าจับนาย ข. เป็นผู้ฆ่าได้ ซึ่งปรากฏอีกว่า นาย ข. กับ นาย ก. ไม่เคยมีสาเหตุอะไรกันเลย ตรงข้าม กลับได้ความว่า นาย ข. เป็นผู้ที่ได้รับอุปการะจากนาย ก. และนาย ข. ก็เคารพนาย ก. ด้วยซ้ำไป หากการสืบสวนได้หลักฐานว่า นาย ข. เป็นผู้ฆ่านาย ก. ผู้ได้ยินได้ฟังอาจสงสัยว่า คนชอบ ๆ กัน ทำไมจึงฆ่า แต่มูลเหตุที่ทำให้นาย ข. กระทำ ก็เพราะมีคู่แข่งขันของนาย ก. เป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้ทำ ดังนี้ พอเป็นอุทาหรณ์ที่แสดงว่า คดีฆาตกรรมนั้น บางคดีจับคนร้ายที่ฆ่าโดยตรงได้ อย่าพึ่งดีใจว่า ได้ตัวคนร้ายในคดีนั้น ถ้าพนักงานสอบสวนได้พิจารณาเหตุผลฐานะของผู้ตายและคนทำร้ายโดยถ่องแท้ ท่านอาจจะมองในแง่หนึ่งว่า ในพรรคพวกของคนร้ายมีผู้แอบแฝงอยู่อีก ยิ่งกรณีเกี่ยวแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ นี้แล้ว วิญญูชนที่มีจิตใจเป็นกลางจะต้องมองเห็นว่า พระองค์ท่านถูกลอบปลงพระชนม์ ดังนั้น คนร้ายที่จะคิดการปลงพระชนม์นั้นจะต้องได้รับความ