หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/642

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๘๙

เช่นนั้น วันนั้นเอง ก็ได้มาที่พระที่นั่งบรมพิมาน คือ มาในวันที่ ๘ (สวรรคตวันที่ ๙) เมื่อเข้ามาถึง เห็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ทรงประชวรอยู่ ก็ไม่กล้ากราบทูลว่าอย่างไร แต่ได้กราบทูลต่อสมเด็จพระราชชนนีให้ทรงทราบไว้ ซึ่งในเรื่องนี้ สมเด็จพระราชชนนีก็ได้พระราชทานพระราชกระแสเป็นพยานรับรองคำของนายวงศ์ เชาวนะกวี นี้

โจทก์ได้นำพลตำเรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ เข้าสืบว่า ในครั้งนั้น ได้พบกับนายจิตตะเสน ปัญจะ ซึ่งเป็นผู้ที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองร่วมกันมากับนายปรีดี พนมยงค์ และนายเฉลีว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ นี้ ในครั้งนั้น นายจิตตะเสน ปัญจะ ได้บอกว่า ในหลวงเล่นการเมือง

อีกประการหนึ่งที่โจทก์ได้นำสืบ การติดต่อของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งในสมัยนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่มีหน้าที่ราชการอย่างไร ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นได้ทรงปรารภว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม นี้ ตั้งแต่พ้นที่หน้าที่ราชการ ก็หายหน้าหายตาไป มีพระราชประสงค์ที่จะพบ ข้อความนี้ก็ได้ติดต่อไปถึงนายสนิท โสพจน์ ซึ่งเป็นหลานสมเด็จพระราชชนนี และเป็นพี่ภรรยา พ.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ นายสนิท โสพจน์ ก็มาติดต่อกับ พ.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ขอให้หาทางติดต่อกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อไปเฝ้า แต่ พ.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ