ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๖๓-๔.pdf/26

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– ๓ –

และคุ้มครองการมีชีวิตของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา โดยแยกสิทธิในการมีชีวิตของทารกและ สิทธิในการกําหนดเจตจํานงเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์และสิทธิของชีวิตและร่างกายของมารดาออกจากกัน แม้ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาซึ่งมีลักษณะเป็นตัวอ่อนจะต้องพึ่งมารดาเพื่อดํารงชีวิตให้อยู่รอดก็ตาม โดยกําหนดให้การกระทําอันทําให้ตนแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตนแท้งลูกเป็นความผิดและต้องรับโทษทางอาญา ซึ่งสอดคล้องกับความคิดและความเชื่อทางศาสนาของสังคมไทยอันเป็นพื้นฐานความคิดของ ประชาชนมาโดยตลอด แม้ต่อมาในปี ๒๕๐๐ มีการแก้ไขบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑ แต่มีได้แก้ไขในส่วนเนื้อหาของการกระทําความผิด เป็นการแก้ไขในส่วนโทษของการกระทําความผิดของหญิงที่ทําให้ตนแท้งลูก อันแสดงได้ว่า สังคมไทยยังเคารพหลักการคุณธรรมทางกฎหมายข้อนี้อยู่ กรณีที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า การให้หญิงต้องรับผิดทางอาญาเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ลงโทษชายซึ่งมีความสัมพันธ์กับหญิงทําให้หญิงตั้งครรภ์ด้วย และการที่หญิงไม่มีสิทธิที่จะยุติการตั้งครรภ์ของตนเองได้ ทั้งที่เป็นสิทธิของหญิงที่จะกําหนดเจตจํานงเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ของตนเอง จึงขัตต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘ นั้น เห็นว่า ตามหลักธรรมชาติของมนุษย์ เพศหญิงเท่านั้นเป็นเพศตั้งครรภ์ได้ แม้บทบัญญัติมาตรา ๓๐๑ บัญญัติให้หญิงที่ทําให้ตนแท้งลูกหรือยอมให้บุคคลอื่นทําให้ตนแท้งลูก หญิงนั้นมีความผิดและต้องโทษทางอาญา อันเป็นบทลงโทษเฉพาะหญิงเท่านั้นก็ตาม แต่หากการกระทําของชายซึ่งมีความสัมพันธ์ทําให้หญิงตั้งครรภ์มีการกระทําที่เกี่ยวข้องกับการทําให้หญิงแห้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑ ย่อมต้องรับผิดทางอาญาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตราอื่นที่บัญญัติให้เป็นการกระทําความผิดและต้องรับโทษทางอาญา สําหรับสิทธิของหญิงในการกําหนดเจตจํานงเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ของตนที่จะยุติการตั้งครรภ์ จะมีได้ก็ด้วยเงื่อนไขอันเป็นเหตุที่กฎหมายบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ ซึ่งได้แก่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพของหญิง หรือมีครรภ์เนื่องจากการกระทําความผิดอาญาเท่านั้น เนื่องจากบทบัญญัติมาตรา ๓๐๑ มีเจตนารมณ์ที่มุ่งคุ้มครองชีวิตของทารกในครรภ์มารดาซึ่งมีสิทธิในการมีชีวิตและได้รับการปกป้องและคุ้มครองจากมารดาอันเป็นสิทธิที่เกี่ยวเนื่องกับคุณธรรมของมนุษย์ หญิงผู้ตั้งครรภ์จึงไม่อาจนําเหตุอื่นนอกเหนือปัญหาสุขภาพมายุติการตั้งครรภ์ได้ ตังนั้น บทบัญญัติมาตรา ๓๐๑ เป็นบทบัญญัติที่เป็นไปตามความมุ่งหมายของกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองทารกในครรภ์ คุณธรรมของมนุษย์ และความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน มิได้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยไม่เป็นธรรม และมิได้จํากัดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘

ประเด็นที่สอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ และมาตรา ๗๗ หรือไม่