หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๖๓-๔.pdf/30

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
– ๒ –

ของบุคคลว่าจะปฏิบัติต่อบุคคลภายในรัฐโดยเท่าเทียมกัน และบุคคลจะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุแห่งความไม่เป็นธรรมตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๘ เป็นบทบัญญัติ ว่าด้วยบุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย บทบัญญัตินี้จึงเป็นบทบัญญัติที่รับรองสิทธิ และเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล ซึ่งมีแนวคิดมาจากสิทธิตามธรรมชาติ (natural right) ว่ามนุษย์ ทั้งหลายเกิดมาเท่าเทียมกัน และมีสิทธิบางประการที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ได้แก่ สิทธิในชีวิต เสรีภาพ ในร่างกาย สิทธิในทรัพย์สิน และการใช้สิทธิและเสรีภาพดังกล่าวย่อมกระทำได้ภายในแดนแห่งเสรีภาพ ของตนตราบเท่าที่ไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ทั้ง ๒ มาตราเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ

สำหรับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑ เป็นบทบัญญัติที่ให้หญิงผู้ทำแท้งเท่านั้น ต้องรับผิดโดยบทบัญญัติมาตราดังกล่าวจึงมุ่งลงโทษเฉพาะแต่ผู้หญิงที่ยุติการตั้งครรภ์ ทั้งที่ขายซึ่งมี ความสัมพันธ์กับหญิงและเป็นต้นเหตุทำให้หญิงตั้งครรภ์กลับไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ ในทางอาญา เมื่อพิจารณาบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาทั้งหมดนั้น มีเพียงบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐ด เท่านั้น ที่บัญญัติให้ลงโทษเฉพาะหญิง โดยไม่ให้โอกาสเลือก บทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นบทบัญญัติที่อาศัยความแตกต่างในเรื่องธรรมชาติทางเพศมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดโทษ เพราะการที่ชายหญิงมีความสัมพันธ์กันอย่างเสมอภาคแต่หญิงเท่านั้นที่สามารถตั้งครรภ์ได้และอาจมี ความผิดจากความสัมพันธ์ที่เสมอภาคและกลับกลายเป็นความไม่เสมอภาคโดยกำหนดให้การยุติการตั้งครรภ์ เป็นความผิดของหญิงเพียงฝ่ายเดียวเพราะโดยธรรมชาติชายไม่อาจตั้งครรภ์ได้และไม่ต้องมีความผิดใด ๆ จากการกระทำของตนต่อหญิง กรณีจึงเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ อีกทั้งการที่ประมวลกฎหมายอาญามาตราดังกล่าวบัญญัติให้การทำแท้งเป็นความผิด โดยไม่ให้โอกาสหญิง ตัดสินใจว่าจะตั้งครรภ์ต่อไปหรือยุติการตั้งครรภ์นั้น เป็นการไม่ให้หญิงใช้อำนาจในการตัดสินใจต่อเนื้อตัว ร่างกายของตนเอง แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองทารกในครรภ์มารดา แต่สิทธิและเสรีภาพ ในการที่จะกระทำต่อร่างกายของคนผู้ที่เกิดมาแล้วย่อมเป็นสิทธิตามธรรมชาติที่ต้องมีมาก่อนและต้องได้รับ การคุ้มครองก่อนชีวิตที่ยังไม่เกิดซึ่งชีวิตที่ยังไม่เกิดนั้นกขึ้นย่กับผู้ตั้งครรภ์นั่นเองด้วย

ผู้หญิงมีสิทธิส่วนตัวที่จะเลือกตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ได้ การที่รัฐไม่ยอมรับสิทธิส่วนบุคคล ในการยุติการตั้งครรภ์ มีผลต่อหญิงอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมหรือภาระที่จะตามมา กฎหมายห้ามทำแท้ง ทำให้หญิงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการทำแท้ง ต้องเผชิญกับความไม่ปลอดภัย ในกระบวนการทำแท้ง และการถูกตั้งข้อรังเกียจจากสังคม อันเนื่องมาจากแนวคิดอนุรักษ์นิยม นักเรียนที่ตั้งครรภ์จะถูกบังคับให้ออกจากโรงเรียนในระหว่างภาคการศึกษาและต้องรับภาระเลี้ยงเด็ก โดยไม่พร้อมทำให้คุณภาพชีวิตทั้งแม่และเด็กเสื่อมทรามลง หากทำงานก็ต้องหยุดงาน ขาดรายได้หรือ ต้องออกจากงาน ทั้ง ๆ ที่มีภาระที่ต้องอุ้มครรภ์อยู่ โดยรัฐมิได้จัดสวัสดิการดูแลใด ๆ ให้แก่หญิงหรือ ทารกในครรภ์ภาระจึงตกแก่หญิงแต่เพียงผู้เดียว และผูกพันไปจนถึงหลังคลอดตลอดจนการเลี้ยงดูเด็กนี้ด้วย นอกจากนี้ ขณะตั้งครรภ์จนสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมย่อมส่งผลต่อสภาพจิตใจของแม่ และมีผลเสียต่อเด็ก ที่จะคลอดออกมาโดยไม่ได้รับการเลี้ยงดูตามสมควร การปฏิเสธสิทธิในการยุติการตั้งครรภ์ของสตรี