หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๖๓-๔.pdf/32

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
– ๔ –

แพทย์ที่จะทำให้หญิงปลอดภัย หญิงจึงยังคงต้องเสียชีวิตในการยุติการตั้งครรภ์กับผู้ที่มิด้ประกอบอาชีพ เวชกรรมด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๒ ดังกล่าวจึงเป็นอุปสรรคในการใช้สิทธิเสรีภาพของ บุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ และมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง

มาตรา ๓๐๒ จึงควรบัญญัติลงโทษเฉพาะผู้ที่มิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ส่วนกรณีมาตรา ๓o๓ ที่ปัญญัติว่า "ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้องระวางโทษ…

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษ…

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษ…"

ไม่มีปัญหาชัดรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

ส่วนประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๔ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ และ มาตรา ๒๘ หรือไม่

มาตรา ๓๐๔ บัญญัติว่า "ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิดตามมาตรา ๓๐๑ หรือ มาตรา ๓๐๒ วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ"

การพยายามทำแท้งบางกรณีไม่มีโทษ หากเงื่อนไขการยุติการตั้งครรภ์ได้รับการปรับแก้ไข ให้เหมาะสมแล้วก็คงบัญญัติให้การพยายามทำแท้งเป็นความผิดในทุกกรณีได้

ประเด็นที่สอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ และมาตรา ๗๗ หรือไม่

มาตรา ๓๐๕ บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา ๓๐ด และมาตรา ๓๐๒ นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์ และ

(๑) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ

(๒) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗๖ มาตรา ๒๗๑๗ มาตรา ๒๘๒ มาตรา ๒๘๓ หรือมาตรา ๒๘๔

ผู้กระทำไม่มีความผิด"

มาตรานี้มีกรณีขัดรัฐธรรมนูญเพราะการรักษาสุขภาพโดยแพทย์เป็นเรื่องของการรักษา (medical treatment)

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ (๑) การกระทำของแพทย์ที่จำเป็นต้องกระทำเนื่องจาก สุขภาพของหญิงนั้น มีข้อบังคับของแพทยสภาวางหลักเกณฑ์ไว้แล้ว การกระทำของแพทย์จึงเป็นการรักษา (medical treatment) มิใช่การกระทำความผิด แต่การบัญญัติว่า "ผู้กระทำไม่มีความผิด" ทำให้ การดำเนินคดีกับแพทย์ขึ้นอยู่กับ ทัศนคติ" ของพนักงานสอบสวนทำให้แพทย์ที่ทำแท้งให้หญิง อย่างปลอดภัยถูกดำเนินคดีฐานทำแท้งก่อน แล้วไปพิสูจน์ว่าไม่มีความผิดที่ศาล ทั้ง ๆ ที่การรักษา