หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๖๓-๔.pdf/33

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
– ๕ –

ทางการแพทย์นั้นไม่เป็นความผิดมาตั้งแต่ต้น เป็นเรื่องเดียวกับการฉีดยา ผ่าตัด หรือตัดอวัยวะบางส่วน ในการรักษาโรค ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าแพทย์มีอำนาจกระทำหรือการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิด จึงไม่มีการดำเนินคดีฐานทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด ดังนี้จึงเห็นได้ว่าการทำแท้งเพราะจำเป็นเนื่องจาก สุขภาพของหญิงจึงเป็นการรักษาทางการแพทย์ (medical treatment) ไม่ใช่การกระทำความผิด ที่แพทย์มีอำนาจกระทำหรือเหตุยกเว้นโทษแต่อย่างใด

มาตรานี้จึงขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๒๗ ด้วยเหตุที่ข้อความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ (๑) ที่ว่าจำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพ (ทั้งกายและจิตใจ) ของหญิงนั้น เป็นการรักษาทางการแพทย์ (medical treatment) มิใช่มุ่งกระทำความผิดเพราะเป็นเรื่องของสุขภาพ (ทั้งกายและจิตใจ) ซึ่งแพทย์มีอำนาจหน้าที่และมาตรฐานในการรักษาอยู่แล้ว กรณีจำเป็นเนื่องจาก สุขภาพแสดงว่าหญิงจะตั้งครรภ์ต่อไปไม่ได้เพราะสุขภาพจึงต้องยุติการตั้งครรภ์ เป็นเจตนารักษาสุขภาพ อันมีสภาพร้ายแรงเนื่องจากการตั้งครรภ์ที่คุกคามหญิง เช่น หากอายุครรภ์มากขึ้นจะไปกดทับ เส้นประสาททำให้เป็นอัมพาต หรือเป็นโรคครรภ์เป็นพิษหรือหญิงมีความเครียดอย่างรุนแรง ซึ่งก็มีเกณฑ์ กำหนดโรคต่าง ๆ ของแพทยสภากำหนดไว้แล้วจึงเป็นการรักษาโรคมิใช่เจตนากระทำความผิด ทำนอง เดียวกับการที่แพทย์จำเป็นต้องฉีดยา ตัดแขน ขา หรืออวัยวะน้อยใหญ่ของผู้ที่เป็นเบาหวาน มะเร็ง หรือบาดทะยัก ไม่ใช่เรื่องการทำร้ายที่กฎหมายให้แพทย์มีอำนาจกระทำได้โดยไม่มีความผิด แต่เป็นการ รักษาตามหน้าที่ของแพทย์แห่งวิชาชีพตามข้อกำหนดหรือมาตรการการรักษาของแพทย์หรือผู้ประกอบ อาชีพเวชกรรม ดังนี้การที่กฎหมายกำหนดว่า "ผู้กระทำไม่มีความผิด" ทำให้แพทย์ถูกดำเนินคดี แล้วต้องไปพิสูจน์การกระทำของตนในศาลจึงเป็นกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ เพราะแพทย์ซึ่งแม้ทำตามมาตรฐานการรักษาเพื่อสุขภาพของหญิงแล้วยังต้องคอยพะวงว่าการรักษา ของตนนั้นเป็นความผิดอาจจะต้องถูกดำเนินคดีได้ ในขณะที่การรักษาโรคเบาหวาน บาดทะยัก หรือโรคมะเร็ง โดยตัดแขนตัดขาคนไข้ของแพทย์เป็นการทำร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสแต่กฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติ ให้การกระทำนั้น "ไม่เป็นความผิด" เหมือนกรณีแพทย์ยุติการตั้งครรภ์ด้วยความจำเป็นเนื่องจากสุขภาพ ของหญิง แพทย์ที่ตัดอวัยวะเพื่อรักษาโรคมะเร็งหรือเบาหวาน จึงไม่ต้องพะวงว่าการรักษาของตนนั้น จะเป็นความผิดอาญาฐานทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด

ส่วนประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ (๒) การพิจารณาว่าหญิงถูกกระทำผิดตามที่ กฎหมายบัญญัติหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ตั้งแต่เกิดการกระทำความผิด แต่เนื่องจาก การกำหนดให้เป็นความผิด แพทย์หลายรายจึงไม่กล้าดำเนินการให้โดยเกรงว่าจะต้องพิสูจน์ตามข้อกฎหมาย เสียก่อน เช่น กรณีหญิงถูกข่มขืนกระทำชำเรา (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ และ มาตรา ๒๗๗) ต้องมีการแจ้งความทำเป็นคดีซึ่งเป็นการบังคับให้หญิงต้องเปิดเผยพฤติกรรมที่ตนถูก กระทำทางเพศ ซึ่งเป็นการกดขี่ข่มเหงและไม่คำนึงถึงสภาพจิตใจของหญิงอย่างรุนแรงโดยไม่จำเป็น ตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน อีกครั้งโดยอัยการ ถูกซักฟอกโดยทนายจำเลยและศาล ทำให้หญิงต้อง อับอายขายหน้าเสียชื่อเสียงและสะเทือนใจโดยไม่จำเป็น ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้เสียหายเป็นเหยื่อของอาชญากรรม