หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๖๔-๒๐ (ส่วนตน).pdf/22

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– ๔ –

๒.๒ สาระสําคัญมีการแก้ไขเพิ่มเติม จํานวน ๓ มาตรา คือ

๒.๒.๑ กําหนดให้ชายหรือหญิงจะทําการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสหรือคู่ชีวิตอยู่ไม่ได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๔๕๒)

๒.๒.๒ เพิ่มเหตุฟ้องหย่าในกรณีที่สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต หรือกระทํากับผู้อื่นหรือยอมรับการกระทําของผู้อื่นเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นเป็นอาจิณ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๕๑๖ (๑))

๒.๒.๓ เพิ่มเหตุที่ทําให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพหมดไปในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพจดทะเบียนคู่ชีวิต (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๕๒๘)

สําหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีเห็นความสําคัญของสถาบันครอบครัวที่อยู่ร่วมกันของบุคคลที่มีเพศเดียวกันโดยกําเนิค โดยมีการอุปการะเลี้ยงดูและมีความสัมพันธ์อื่น ๆ ไม่แตกต่างไปจากคู่สมรสเช่นเดียวกับบางประเทศในปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... ซึ่งประกอบด้วย ๔ หมวด จํานวน ๔๖ มาตรา กล่าวคือ หมวดที่ ๑ ว่าด้วยการจดทะเบียนคู่ชีวิต หมวดที่ ๒ ว่าด้วยการเป็นคู่ชีวิต หมวดที่ ๓ ว่าด้วยบุตรบุญธรรม และหมวดที่ ๔ ว่าด้วยมรดก และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จํานวน ๓ มาตรา คือ มาตรา ๑๔๕๒ มาตรา ๑๕๑๖ (๑) และมาตรา ๑๕๒๘ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๒๓ และรับทราบสรุปผลของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๓ แล้วตามหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร ๐๕๐๓/๔๐๙๕๕ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๓ แต่ขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองดังกล่าวยังไม่ได้ส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่อย่างใด เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มีเพียงแต่ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่เสนอโดยพรรคการเมืองเท่านั้นที่ได้เสนอมายังสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้วแต่ยังไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ ๑ ของสภาผู้แทนราษฎร

พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว” มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ บัญญัติว่า “การสมรสจะทําได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ