หน้า:คำสั่งศาลอาญา ๒๕๖๔-พศ๗๖.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
 (๓๑ พ.)
สำหรับศาลใช้
 
ตราครุฑ
ตราครุฑ
– ๓ –

บริษัท แอสตราเซเนกา นั้น ผู้คัดค้านยืนยันข้อเท็จจริงว่า บริษัทดังกล่าวมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด ตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เอกสารหมาย รค.๑ หากมีความผิดพลาดในการจัดหาวัคซีน อาจกระทบต่อพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งควรได้รับการปกป้อง จึงไม่ควรดึงบริษัทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถือหุ้นดังกล่าวมาเกี่ยวข้องกับการจัดการที่มีความเสี่ยงเช่นนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ

ผู้ร้องนำสืบว่า เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๔ นายทศพร เพ็งส้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำความไปกล่าวโทษผู้คัดค้านต่อพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ และมาตรา ๑๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เนื่องจากผู้คัดค้านเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อความตามวิดิโอคลิป วัตถุพยานหมาย วร.๑ ช่วงนาทีที่ ๑๕ และ ๒๘ ทั้งนี้ รัฐบาลมิได้ว่าจ้างบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด แต่บริษัท แอสตราเซเนกา เป็นผู้จัดจ้าง ผู้คัดค้านให้ข้อความในเชิงว่า หากผลิตวัคซีนไม่มีคุณภาพหรือล่าช้า จะต้องมุ่งความรับผิดไปที่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งที่ผู้รับผิดควรเป็นนิติบุคคล ภายหลังการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้คัดค้าน ส่งผลกระทบให้เกิดการแสดงความคิดเห็นในโลกโซเชียล ตามเอกสารหมาย ร.๓

พิเคราะห์แล้ว คดีมีข้อพิจารณาประการแรกว่า มีเหตุให้รับคำคัดค้านไว้พิจารณาหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยความเห็นชอบจากรัฐมนตรี ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้ 

/และ...