หน้า:คำสั่ง สตช ๒๕๕๓-๑๒๒.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– ๓ –

 ๓.๗ ผู้บังคับการ ท้องที่เกิดเหตุ/รับผิดชอบ เป็น กรรมการ

 ๓.๘ ผู้บังคับการ กองกฎหมาย เป็น กรรมการ

 ๓.๙ ผู้บังคับการ กองคดีอาญา เป็น กรรมการ/เลขานุการ

 คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณาสำนวนการสอบสวน และมีความเห็นในความผิดดังกล่าวเพื่อเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีความเห็นทางคดีหรือสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับคดี

 ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการที่มีอาวุโสสูงสุด ทําหน้าที่เป็นประธานกรรมการแทน หรือกรณีที่ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการที่มีอาวุโสถัดลงมาทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการแทน

 อนึ่ง ในกรณีที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ สั่งให้มีการประชุมเป็นการเร่งด่วน ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติอาจเข้าเป็นประธานที่ประชุมก็ได้ และรองผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติที่เข้าประชุมเป็นรองประธาน

๔. การรายงานเหตุเบื้องต้น ให้พนักงานสอบสวนสรุปข้อเท็จจริงโดยให้ปรากฎชื่อผู้กล่าวหา ชื่อผู้ต้องหา ความผิดที่กล่าวหา วันเดือนปีที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ และพฤติการณ์แห่งคดีโดยละเอียด เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผ่าน กองคดีอาญา) ภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่รับคํากล่าวโทษ

๕. กำหนดชั้นความลับในการเสนอเรื่องเป็น "ลับมาก" ทุกกรณี

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

 สั่ง ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

  • พลตำรวจเอก 
  • (ปทีป ตันประเสริฐ)
  • จเรตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการแทน
  • ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ