หน้า:คำแถลงการณ์ฯ กฎอัยการศึกฯ ๒๔๘๗.pdf/4

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๗

เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๗๙
๑๒๕๙
ราชกิจจานุเบกษา

จำเลยก็ไม่มีสิทธิแต่งทนายความเข้าช่วยแก้คดี และเมื่อศาลทหารตัดสินไปประการใดแล้ว คดีย่อมเสร็จเด็ดขาดไม่มีทางที่จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้ ซึ่งต่างกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือนดังนี้

เมื่อได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยอำนาจศาลในยามสงครามดังว่านี้แล้ว ยังได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้จัดแบ่งพื้นที่แห่งราชอาณาจักร์เกี่ยวแก่การศาลออกเป็น ๓ เขตต์ ในเขตต์ (๑) ซึ่งเป็นเขตต์สำคัญอันทางราชการทหารต้องระวังระไวมาก ได้ระบุประเภทคดีที่พลเมืองต้องอยู่ในอำนาจศาลทหารมากกว่าในเขตต์อื่น แต่ก็ยังน้อยกว่าจำนวนประเภทคดีที่เคยอยู่ในอำนาจศาลทหารมาแต่เดิม ในเขตต์ (๒) ได้ลดจำนวนประเภทคดีที่พลเมืองจะต้องอยู่ในอำนาจศาลทหารลงมาอีกชั้นหนึ่ง ส่วนในเขตต์ (๓) พลเมืองจะไม่ต้องอยู่ในอำนาจศาลทหารเลย ดังนี้ จึงเห็นได้ว่า รัฐบาลได้ให้หลักประกันในเสรีภาพแห่งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ของประชาชนในยามฉุกเฉินนี้อย่างมากที่สุดที่จะให้ได้ เป็นการช่วยปลดเปลื้องความเดือดร้อนของ