หน้า:ฎ ๒๕๓๑-๒๓๕๔.pdf/13

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
หมิ่นประมาท ดูหมิ่นซึ่งหน้า • ๙๔
 

จีรพันธ์ ได้ประชุมพิจารณาและทำความเห็นไปยังอธิบดีกรมตำรวจว่าไม่เข้าข่ายองค์ประกอบของมาตรา ๑๑๒ จึงให้ระงับเรื่อง ขณะเดียวกันกลุ่มประชาชนเริ่มลุกฮือเป็นที่หวั่นเกรงว่าจะเกิดความไม่สงบขึ้นได้ ในที่สุดตำรวจได้สั่งการให้ดำเนินคดีแก่จำเลย โดยให้ถือว่าคดีพอมีมูลที่จะฟ้องร้องได้ ทั้งนี้จริง ๆ แล้วเพื่อแก้ปัญหาความกดดันทางการเมือง เมื่อมีความกดดันดังกล่าวจำเลยจึงต้องแก้ปัญหาด้วยการลาออกโดยไม่มีใครบังคับ ทั้งนี้ เพื่อเจตนาที่จะแก้ปัญหาความกดดันทางการเมืองและปกป้องรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตย ที่จำเลยกล่าวขอขมาเนื่องจากพลโท วัฒนชัย วุฒิศิริ ซึ่งในขณะนั้นเป็นรองแม่ทัพภาคที่ ๑ ได้ติดต่อกับจำเลยเพื่อแก้ปัญหา โดยให้จำเลยพบ พลโท พิจิตร กุลละวณิชย์ แม่ทัพภาคที่ ๑ ในขณะนั้น จำเลยก็ได้ไปพบตามที่นัดหมาย และได้พูดคุยทำความเข้าใจจนชัดแจ้งว่าจำเลยมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งเจตนาที่จำเลยปราศรัยที่จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อแก้ข้อกล่ให้แก่นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ และไม่ได้มีเจตนาอย่างที่ฝ่ายค้านหรือทางทหารเข้าใจ พลโท พิจิตร กุลละวณิชย์ ก็เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างและจะเลิกรากันไป แต่มีปัญหาว่าญัตติที่พลโท พิจิตร กุลละวณิชย์ ยื่นไว้ต่อวุฒิสภากล่าวหาว่าจำเลยละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ถ้าจะถอนญัตติจะอธิบายแก่ประชาชนอย่างไร เพราะประชาชนอาจมองไปในแง่ไม่ดี จำเลยบอกว่าจะให้ทำอย่างไรก็ยินดี พลโท พิจิตร กุลละวณิชย์ จึงเชิญสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นเจ้าของญัตติมาพบพร้อมกันที่รัฐสภา ขอให้จำเลยกล่าวคำขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ จำเลยจึงกล่าวขอขมาเพื่อให้ผู้ยื่นญัตติทุกคนสบายใจ และเพื่อให้กลุ่มมวลชนที่กำลังลุกฮือสลายตัวไป ทั้งนี้โดยการแสดงออกถึงความจริงใจของจำเลยในความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนคำกล่าวของจำเลยตอนหนึ่งที่ว่า จะผิดหรือไม่ผิดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในประเด็น