หน้า:ฎ ๒๕๓๑-๒๓๕๔.pdf/14

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๙๕ • ปริญญา จิตรการนทีกิจ
 

ข้อกฎหมายนั้นจะไม่พูดถึงทั้งนี้เพราะจำเลยเห็นว่าเป็นเรื่องของศาล และถ้าเห็นว่าเป็นเรื่องระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาทจำเลยก็พร้อมที่จะขอพระราชทานอภัย สำหรับคำกล่าวขอพระราชทานอภัยตามเอกสารหมาย ป.จ. ๒ นั้น กองทัพภาคที่ ๑ ได้จัดพิมพ์ใส่ซองมาให้จำเลยกล่าว ไม่ใช่เป็นการรับสารภาพเพราะจำเลยให้การปฏิเสธมาตลอดตั้งแต่ชั้นสอบสวนจนถึงชั้นศาล จำเลยมีสาเหตุขัดแย้งกับพยานโจทก์ คือ นายสิงห์โต จ่างตระกูล นายสรวง อักษรานุเคราะห์ นายชวลิต รุ่งแสง พลโท พิจิตร กุลละวณิชย์ และ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยปราศรัยที่อำเภอลำปลายมาศและอำเภอสตึก เป็นการพูดหลายครั้ง เป็นการกระทำโดยเจตนานั้น ไม่เป็นความจริง เพราะจำเลยไม่มีเจตนา จำเลยเป็นรัฐมนตรี เห็นว่าสิ่งใดผิดจะไม่พูด และขณะนั้นเป็นช่วงหาเสียงต้องการเสียงสนับสนุนจากประชาชน หากพูดสิ่งที่ประชาชนโกรธและเกลียดก็จะไม่ได้คะแนนเสียง จำเลยเข้าใจอย่างซาบซึ้งว่า ทุกพระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย ยากที่บุคคลธรรมดาจะปฏิบัติได้ และการที่นายสุจินต์ ทิมสุวรรณ อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่งให้พนักงานอัยการพิเศษ ๒ นายเป็นผู้ดำเนินคดีนี้เฉพาะเรื่อง ก็เพราะมีเหตุโกรธเคืองจำเลยเนื่องมาจากเรื่องคดีฆ่าผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดภูเก็ต สำหรับคดีที่จำเลยถูกฟ้องที่ศาลแขวงพระนครเหนือและศาลแขวงพระนครใต้ซึ่งโจทก์ขอให้นับโทษต่อนั้น ศาลทั้งสองได้พิจารณายกฟ้องแล้ว

พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้เบื้องต้นว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุที่โจทก์ฟ้อง จำเลยซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยและเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้ไปกล่าวปราศรัยต่อประชาชนที่อำเภอลำปลายมาศและอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อช่วยหาเสียงให้แก่ นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ สมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งรับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ เขต ๑ ในการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้ง