หน้า:ฎ ๒๕๓๑-๒๓๕๔.pdf/19

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
หมิ่นประมาท ดูหมิ่นซึ่งหน้า • ๑๐๐
 

และผู้อำนวยการรักษาความสงบภายในประเทศ พลโท พิจิตร กุลละวณิชย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งขณะเกิดเหตุคดีนี้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพภาคที่ ๑ ยศพลโท พลโท รวมศักดิ์ ไชยโมมินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพภาคที่ ๓ พลตรีสุดสาย เทพหัสดิน สมาชิกวุฒิสภา นายสมัคร สุนทรเวช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าพรรคประชากรไทย นายสิงห์โต จ่างตระกูล สมาชิกวุฒิสภาและผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน นายสรวง อักษรานุเคราะห์ สมาชิกวุฒิสภา เรือตรีหญิงสุรีย์ บูรณธนิต รองอธิการบดีวิทยาลัยกรุงเทพ นายฐัตย์ ชูศิลป์ ทนายความ นายเชิดชัย เพชรพันธ์ ที่ปรึกษาพรรคสหประชาธิปไตย นายสุรินทร์ พันธ์ฤกษ์ นายอำเภอลำปลายมาศ และนายภาวาส บุนนาค รองราชเลขาธิการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พยานดังกล่าวต่างเบิกความให้ความเห็นในทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งได้ยินได้ฟังจำเลยกล่าวปราศรัยในวันเกิดเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายภาวาส บุนนาค รองราชเลขาธิการ เบิกความว่า ข้อความที่จำเลยกล่าวนั้นเป็นการจาบจ้วงล่วงเกินองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมราชวงศ์ คือ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมโอรสาธิราชฯ ด้วย พระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินีนาถ และองค์รัชทายาท คำว่าพระบรมมหาราชวังนอกจากจะเป็นสถานที่แล้วยังหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นเจ้าของด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันตอนประสูติก็ทรงเป็นพระองค์เจ้า ปรากฎตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๐ ผู้ที่เกิดในพระบรมมหาราชวังได้ต้องเป็นพระโอรสและพระธิดาของพระมหากษัตริย์ซึ่งต่อไปจะเป็นองค์รัชทายาท บุคคลอื่นจะเกิดในพระบรมมหาราชวังไม่ได้เพราะฉะนั้นที่จำเลยกล่าวว่าเกิดในใจกลางพระบรมมหาราชวัง เป็นพระองค์เจ้า