หน้า:ฎ ๒๕๓๑-๒๓๕๔.pdf/24

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๐๕ • ปริญญา จิตรการนทีกิจ
 

อย่างซาบซึ้งว่าทุกพระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย ยากที่บุคคลธรรมดาจะปฏิบัติได้ พยานจำเลยที่นำสืบไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังหักล้างพยานโจทก์ ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อความที่จำเลยกล่าวนั้นเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง แม้การกระทำของจำเลยจะไม่บังเกิดผลเพราะไม่มีใครเชื่อถือคำกล่าวของจำเลย จำเลยก็หาพ้นความรับผิดไม่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

ที่จำเลยกล่าวในฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นทั้งสามพระองค์ แต่เป็นการสมมุติอุปมาอุปมัยเพื่อกล่าวแก้ให้แก่นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งถูกฝ่ายตรงกันข้ามโจมตีในการหาเสียงว่าเป็นลูกเศรษฐีและไม่ได้เกิดที่จังหวัดบุรีรัมย์ จำเลยกล่าวเพื่อให้ประชาชนเห็นว่าคนเราเลือกที่เกิดไม่ได้ และที่จำเลยกล่าวว่าถ้าเลือกเกิดได้จะเลือกเกิดเป็นพระองค์เจ้าวีระ ก็หมายถึงตัวจำเลยเอง เมื่ออ่านคำกล่าวปราศรัยของจำเลยตลอดทุกข้อความจะไม่เป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยจะมีเจตนาหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นหรือไม่ มิใช่ถือตามความเข้าใจของจำเลย ซึ่งเป็นผู้กล่าวเอง การที่จำเลยจะช่วยกล่าวแก้ให้นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งถูกฝ่ายตรงกันข้ามโจมตีนั้นย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะกล่าวได้ แต่ไม่มีเหตุจำเป็นอย่างใดที่จำเลยจะต้องยกเอาสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนมากล่าวเปรียบเทียบในทางที่เสื่อมเสีย ที่จำเลยกล่าวว่า ถ้าจำเลยเลือกเกิดได้ จะเลือกเกิดเป็นพระองค์เจ้าวีระ